พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๓๕)

ไหว้พระประธาน ๗๗ จังหวัด

พระเจ้าตนหลวง
วัดศรีโคมคำ (พระอารามหลวง) อ.เมือง จ.พะเยา

วัดศรีโคมคำ” ตั้งอยู่เลขที่ ๖๙๒ ถนนพหลโยธิน
ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ริมกว๊านพะเยา

กว๊านพะเยา เป็นทะเลสาบน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่
เป็นอันดับ ๑ ในภาคเหนือของประเทศไทย

เป็นแหล่งน้ำที่มีธรรมชาติงดงาม อยู่ใจกลางเมืองพะเยา
มีทิวเขาเป็นฉากบังข้างหลังสูงตระหง่านอย่างงดงามตา
คำว่า “กว๊าน” ตามภาษาพื้นเมืองหมายถึง “บึง” มีเนื้อที่ ๑๒,๘๓๑ ไร่
มีความลึกเฉลี่ย ๑.๕ เมตร ลึกที่สุด ๔ เมตร เป็นแหล่งประมงน้ำจืด
และเพาะพันธุ์ปลาชนิดต่างๆ กว่า ๕๐ ชนิด เช่น ปลากราย
ปลาสวาย ปลาเทโพ ปลาจีน ปลานิลปลาไน ฯลฯ

ปัจจุบันศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด พะเยาสามารถเพาะพันธุ์ปลาบึก
จากพ่อพันธุ์ในบ่อเลี้ยงเป็นผลสำเร็จ เป็นแห่งแรกของโลกในปี พ.ศ.๒๕๔๔
สามารถเพาะพันธุ์ลูกปลาบึกได้เป็นแสนตัว ส่วนหนึ่งได้ปล่อยลงสู่กว๊านพะเยา
ทัศนียภาพโดยรอบ กว๊านพะเยาเหมาะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ
ในยามเย็นชมพระอาทิตย์ตกริมกว๊าน เป็นภาพที่สวยงามมาก
ซึ่งเป็นที่ประทับใจแก่ผู้พบเห็นและผู้มาเยือน
จนอาจกล่าวได้ว่า หัวใจของเมืองพะเยาอยู่ที่ ‘กว๊านพะเยา’

“วัดศรีโคมคำ” เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองพะเยา
เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ และวัดพัฒนาตัวอย่าง
ชาวเมืองพะเยาทั่วไปนิยมเรียกว่า “วัดพระเจ้าตนหลวง”
ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระประธานนามว่า “พระเจ้าตนหลวง”
โดยสร้างขึ้นในระหว่างปีพุทธศักราช ๒๐๓๔-๒๐๖๗

“พระเจ้าตนหลวง”
เป็นพระประธานเก่าแก่ในพระวิหารหลวง
ศิลปะเชียงแสน ที่องค์พระมีขนาดใหญ่ที่สุดในล้านนา
ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๔ เมตร และสูง ๑๖ เมตร
สร้างจากอิฐมอญผสมกับปูนขาว
ชาวพะเยาถือเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง
เดือนหกของทุกปีจะมีงานนมัสการพระเจ้าตนหลวง

ตามตำนาน พระเจ้าตนหลวงสร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๐๓๔
โดยอยู่ในความอุปถัมภ์ของพระเมืองแก้ว เจ้าผู้ครองเมืองเชียงใหม่
และพระยาเมืองตู้ เจ้าผู้ครองเมืองพะเยาในสมัยนั้น

เจ้าอาวาสรูปแรกที่ปรากฏในตำนาน คือ พระธรรมปาล
ได้เขียนตำนานพระเจ้าตนหลวงออกเผยแพร่

มีสมุดข่อยบันทึกว่า วัดศรีโคมคำ เป็นวัดมาแต่โบราณกาล
แต่ยุคหลัง บ้านเมืองตกอยู่ในสงคราม ต้องอพยพโยกย้ายไปอยู่ตามหัวเมือง
ที่ปลอดภัยจากข้าศึก ทำให้บ้านเมือง วัดวาอาราม รกร้างว่างเปล่าไป
ต่อมาภายหลังได้สถาปนาเมืองพะเยาขึ้น บ้านเมืองก็ดี
วัดวาอารามก็ดี ก็ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ตามลำดับ


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๓๕)

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๓๕)

ถึงปีพุทธศักราช ๒๔๖๕ พระครูศรีวิราชวชิรปัญญา
เจ้าคณะแขวงเมืองพะเยา เป็นประธานฝ่ายสงฆ์
ทางฝ่ายบ้านเมืองคือ พระยาประเทศอุดรทิศ เจ้าผู้ครองเมืองพะเยา
ร่วมกันไปอาราธนาท่านครูบาศรีวิชัยจากจังหวัดลำพูน มาเป็นประธาน
ในการสร้างพระวิหารหลวงและเสนาสนะต่างๆ จนสำเร็จบริบูรณ์
กระทั่งเมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๒๓
ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน
โปรดเกล้าฯ พระราชทานยกฐานะขึ้นเป็น พระอารามหลวง

นอกจากนี้ ยังมี พระอุโบสถกลางน้ำ ซึ่งเป็นศิลปะแบบล้านนาประยุกต์
สร้างขึ้นโดยแรงศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั้งมวลจากทั่วประเทศ
โดยมี “นิยม สิทธหาญ” มัณฑนากรจากมหาวิทยาลัยศิลปากร และ
“จินดา สหสมร” สถาปนิกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกันออกแบบ
ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับพระพุทธประวัติและวิถีชีวิตผู้คน
ฝีมือของ “อังคาร กัลยาณพงศ์” ศิลปินแห่งชาติ และ “ภาพตะวัน สุวรรณกูฏ”

ชะตาพระเจ้าตนหลวงตามตำนาน กล่าวได้ว่า
“พระโมลีใหญ่ ๒๐ กำมือ สูง ๓ ศอก พระเศียรกลม ๖ วา
พระเกศามี ๑,๕๐๐ เส้น ขนาดใหญ่ ๔ กำมือ ขนาดกลาง ๓ กำมือ
ขนาดเล็ก ๒ กำมือ ขนาดจิ๋ว ๑ กำมือ พระพักตร์หน้ายาว ๒ วา กว้าง ๒ วา
พระขนง (คิ้ว) ๓ ศอก ระหว่างพระขนงกว้าง ๑ ศอก
ยาว ๓ ศอก กว้าง ๑ คืบ ดั้งพระนาสิก ๓ ศอก ๑ คืบ ใหญ่ ๖ กำมือ

พระโอษฐ์ (ปาก) ยาว ๔ ศอก กว้าง ๑ คืบ ใหญ่ ๖ กำมือ
พระกรรณ (หู) ยาว ๖ ศอก กว้างศอกคืบ
พระศอยาว ๒ ศอก กลม ๓ วา พระอังสา (บ่า) ยาว ๓ คืบ
กระดูกด้ามมีดยาว ๔ วา ตั้งแต่พระอุระ (อก) ถึงพระชานุ (คาง) ๒ วา
ตั้งแต่พระถัน (นม) ถึงพระอังสา (ไหล่) ๒ วา
ตั้งแต่พระนาภี (สะดือ) ถึงพระอุระ (อก) ๒ วา ระหว่างพระอุระ (อก) กว้าง ๒ วา

พระพาหา (แขน) ยาว ๔ วา กลม ๒๙ กำมือ นิ้วพระหัตถ์ใหญ่ ๙ กำมือ
ยาว ๑ วา พระกฏิ (สะเอว) กลม ๗ วา ฝ่าพระบาทยาว ๒ วา
กว้าง ๓ ศอก ระหว่างพระชานุกว้าง ๗ วา พระหทัยใหญ่ ๖ กำมือ
ตั้งแต่ที่ประทับนั่งถึงพระโมลี สูง ๘ วา ๒ ศอก”

“พระเจ้าตนหลวง” หรือ “พระเจ้าองค์หลวง”
มิใช่เป็นแต่เพียงพระพุทธรูปคู่เมืองพะเยาเท่านั้น
แต่ถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอาณาจักรล้านนาไทยด้วย

ในช่วงเดือนหกของทุกปี ประมาณเดือนพฤษภาคม ตรงกับวันวิสาขบูชา
จะมี งานนมัสการพระเจ้าตนหลวง หรือ เทศกาล “แปดเป็ง”
จะมีประชาชนในจังหวัดพะเยาและจังหวัดใกล้เคียงมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก

เนื่องจากการก่อสร้างพระเจ้าตนหลวง
เมื่อครั้งสมัยที่ยุคทองทางพระพุทธศาสนาของล้านนา
ประชาชนจึงเชื่อว่าพระเจ้าตนหลวง คือ ตัวแทนของพระพุทธเจ้า
ใครที่ได้มากราบสักการะแล้ว จะทำให้เกิดความเป็นสิริมงคลอยู่ดีมีสุขตลอดไป


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๓๕)
พระวิหารหลวงวัดศรีโคมคำ จ.พะเยา

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๓๕)
พระวิหารหลวงและเสนาสนะต่างๆ ภายในวัดศรีโคมคำ จ.พะเยา









พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๓๕)

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๓๕)


ไหว้พระประธาน ๗๗ จังหวัด

พระเจ้านั่งดิน
พระประธานในวิหาร วัดพระเจ้านั่งดิน
บ้านพระนั่งดิน ต.เวียง อ.เชียงคำ จ.พะเยา


“พระเจ้านั่งดิน” หรือ “พระนั่งดิน” เป็นอีกหนึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองพะเยา ที่มีความแปลกและมีตำนานที่น่าอัศจรรย์เป็นอย่างยิ่ง กล่าวคือ พระเจ้านั่งดินเป็นพระประธานของวัด ที่ไม่มีฐานรองรับหรือไม่มีฐานชุกชีเหมือนกับพระประธานองค์อื่นๆ แต่ได้ประดิษฐานอยู่บนพื้นดิน และนั่นจึงเป็นที่มาของชื่อ “พระเจ้านั่งดิน”

ตามตำนานปรัมปราเล่าว่า พระยาคำแดง ผู้ครองเมืองพุทธรสะ ได้ค้นพบประวัติ (ตำนาน) เมื่อนมจตุ จุลศักราช 1,213 ปีระกา เดือน 6 วันจันทร์ พระพุทธเจ้าได้เสด็จออกโปรดเมตตาสรรพสัตว์โดยทั่วทางอภินิหาร จนพระองค์ได้เสด็จมาถึงเขตเมืองพุทธรสะ (อ.เชียงคำ ในปัจจุบัน) พระพุทธองค์ได้ประทับอยู่บนดอยสิงกุตตระ (พระธาตุดอยคำ ในปัจจุบัน) ทรงแผ่เมตตาประสาทพรตรัสให้ พระยาคำแดง ผู้ครองเมืองพุทธรสะ ในขณะนั้น สร้างรูปเหมือนพระพุทธองค์ไว้ยังเมืองพุทธรสะแห่งนี้ ครั้นเมื่อพระพุทธองค์ทรงตรัสจบ ก็ปรากฏว่าได้มีพระอินทร์หนึ่งองค์ พระยานาคหนึ่งตน ฤาษีสององค์ และพระอรหันต์สี่รูป ช่วยกันเนรมิตเอาดินศักดิ์สิทธิ์จากเมืองลังกาทวีปมาสร้างรูปเหมือนเป็นเวลา 1 เดือน กับอีก 7 วัน จึงแล้วเสร็จ

ครั้นเมื่อพระพุทธองค์ได้โปรดสัตว์ทั่วล้านนาแล้ว จึงเสด็จเข้าสู่เมืองพุทธรสะอีกครั้ง ทรงเห็นพระรูปเหมือนที่โปรดให้สร้างขึ้นนั้นเล็กกว่าองค์ตถาคต พระพุทธองค์จึงตรัสให้เอาดินมาเสริมให้ใหญ่เท่าพระพุทธองค์ แล้วพระพุทธองค์จึงได้แผ่รัศมีออกครอบจักรวาล พระรูปเหมือนให้เลื่อนลงจากฐานชุกชี (แท่น) มากราบไหว้ พระพุทธองค์ทรงตรัสกับพระรูปเหมือนพระพุทธองค์ที่ได้สร้างขึ้นนั้นว่า “ขอให้ท่านจงอยู่รักษาศาสนาของเราตถาคตให้ครบ 5,000 พระพรรษา” พระรูปเหมือนจึงได้น้อมรับ แล้วประดิษฐานอยู่ ณ พื้นดินที่นั้นสืบมา ด้วยเหตุนี้พุทธบริษัทจึงหมายเอาชื่อพระรูปเหมือนของพระพุทธองค์ว่า พระเจ้านั่งดิน หรือ พระนั่งดิน

ตามตำนานกล่าวไว้ว่า พระพุทธรูปนี้สร้างตั้งแต่ครั้งองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ ดังนั้น พระเจ้านั่งดินน่าจะมีอายุกว่า 2,500 ปี ในการสร้างพระพุทธรูปนี้ใช้เวลา 1 เดือน 7 วันจึงแล้วเสร็จ เมื่อสร้างเสร็จได้ประดิษฐานไว้บนพื้นราบ ไม่มีฐานชุกชีหรือพระแท่นเหมือนกับพระพุทธรูปในวิหารวัดอื่นๆ ทั่วไป

ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าขานสืบกันมาว่า เคยมีชาวบ้านได้พากันสร้างฐานชุกชีหรือพระแท่น แล้วได้อัญเชิญพระเจ้านั่งดินขึ้นประทับ แต่ได้เกิดเหตุอัศจรรย์ฟ้าได้ผ่าลงมาที่กลางวิหาร ถึง 3 ครา พุทธบริษัททั้งหลายจึงอาราธนาพระเจ้านั่งดินมาประดิษฐานบนพื้นดินดังเดิมตราบจนทุกวันนี้

วัดพระนั่งดิน ตั้งอยู่ที่บ้านพระนั่งดิน หมู่ที่ 7 ต.เวียง อ.เชียงคำ จ.พะเยา เป็นวัดที่มีความสำคัญ เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวเชียงคำและพื้นที่ใกล้เคียง และถือเป็นวัดคู่บ้านคู่เมือง อ.เชียงคำ มาช้านาน

การเดินทางไปวัดพระเจ้านั่งดิน จากตัวเมืองพะเยาใช้ทางหลวงหมายเลข 1021 (ดอกคำใต้-เชียงคำ) วัดพระเจ้านั่งดินอยู่ในตำบลเวียง ห่างจากตัวอำเภอเชียงคำไปประมาณ 4 กิโลเมตร ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงาน ททท. ภาคเหนือ เขต 2 โทรศัพท์ 0-5371-7433 หรือ 0-5374-4674



พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๓๕)

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๓๕)

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๓๕)

วิหาร วัดพระเจ้านั่งดิน จ.พะเยา
ที่ประดิษฐาน “พระเจ้านั่งดิน” หรือ “พระนั่งดิน”


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๓๕)

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๓๕)
ด้านหน้าวัดพระเจ้านั่งดิน จ.พะเยา


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๓๕)


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๓๕)
พระเจ้าล้านตื้อ วัดศรีอุโมงค์คำ ถ.ท่ากว๊าน ต.เวียง อ.เมือง จ.พะเยา

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๓๕)
พระเจ้าทองทิพย์ วัดศรีสุพรรณ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา








เครดิต : http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=73&t=41045&sid=d033155c44b0d1008eae40d5b3342b40
http://www.baanmaha.com/community/newthread.php?do=newthread&f=35