พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๓๘)

พระพุทธสิงห์สอง
พระประธานในอุโบสถ วัดศรีบุญเรือง จ.มุกดาหาร


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๓๘)
วัดศรีบุญเรือง
ถ.สำราญชายโขง ต.ศรีบุญเรือง อ.เมือง จ.มุกดาหาร


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๓๘)
พระพุทธสิงห์สอง

ไหว้พระประธาน ๗๗ จังหวัด

ประวัติพระพุทธสิงห์สอง
เจ้ากินรี เจ้าเมืองคนแรกของมุกดาหาร ซึ่งขณะนั้นยังขึ้นต่อเมืองเวียงจันทร์ ประมาณปี พ.ศ.2310-2317 ได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่วัดศรีบุญเรือง เมื่อคราวที่เจ้าเมืองมาบูรณะและปฎิสังขรณ์ เสร็จเรียบร้อยแล้ว ถึงแม้พระพุทธรูปจะไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายในหมู่ประชาชนทั่วไปก็ตาม แต่ชาวบ้านตำบลศรีบุญเรือง ชาวจังหวัดมุกดาหาร เคารพเลื่อมใส.


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๓๘)

พระวิธูรธรรมาภรณ์
เจ้าอาวาสวัดศรีบุญเรือง
เจ้าคณะจังหวัดมุกดาหาร และรักษาการแทน
เจ้าอาวาสวัดศรีมงคลใต้พระอารามหลวง


ประวัติวัดศรีบุญเรือง อุโบสถวัดศรีบุญเรือง เริ่มสร้าง พ.ศ.2500 สร้างเสร็จ พ.ศ.2509 ได้รับพระราชทาน วิสุงคามสีมา พ.ศ.2513
ที่ตั้งวัดและอุปจารของวัด
วัดศรีบุญเรือง ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 บ้านศรีบุญเรือง ตำบลศรีบุญเรือง อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร แต่เดิมนั้นมีเนื้อที่ตั้งวัดจำนวน 5 ไร่ 1งาน 76 ตารางวา ที่ดินด้านทิศตะวันออก จดริมแม่น้ำโขง ทิศใต้จดกับหมู่บ้านศรีบุเรือง ทิศตะวันตกติดกับทุ่งนาชึ้งเป็นที่ของนายเลา และที่ของนายใหม่ทิศเหนือ จดหมู่บ้านศรีบุญเรืองเหนือ
ระยะต่อมา บ้านเมืองได้เปลี่ยนแปลงไป คือเมื่อปี พ.ศ. 2490 ทางราชการได้ดำเนินการตัดถนนสำราญชายโขงผ่านที่ดินของวัดศรีบุญเรือง ที่ดินแห่งนี้เลยถูกแงออกเป็นสองแปลง คือแปลงที่ อยู่ติดริมแม่น้ำโขงในขณะนี้ เป็นที่ธรณีสงฆ์ของวัด มีเนื้อที่จำนวน 1 ไร่ 1 งาน 76 ตารางวา และแปลงที่สองอยู่ทางทิศตะวันตก ของถนนสำราญชายโขง อันเป็นที่ตั้งวัดศรีบุญเรืองในปัจจุบัน มีเนื้อที่จำนวน 4 ไร่ - งาน 84 ตารางวา
เมื่อปี พ.ศ. 2526 มีประชาชนคุ้มศรีบุญเรือง และพ่อค้าในตลาดมุกดาหาร มีศรัทธาบริจาคปัจจัยชื้อที่ดิน เพื่อขยายวัดให้กว้างขวางขึ้นอีก จำนวน 2 งาน 92 เศษ 4 ส่วน 10 ตารางวา เกี่ยวกับที่ดินที่เป็นธรณีของสงฆ์ นี้ ยังมีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคอีก 1 แปลง คือที่ดินอยู่ไกล้ถนนสายมุกดาหารไปดอนตาล อยู่ห่างจากที่ตั้งศาลากลาง จ.มุกดาหาร ประมาณ 1.5 กม. สะดอกต่อการไป มาของพุทธศาสนิกชน สภาพในปัจจุบัน วัดศรีบุญเรืองอยู่ในระหว่างพัฒนา ปรับปรุงและแก้ไข ทั้งทางวัตถุภายนอก และทางด้านจิตใจของประชาชน

การสร้างและการบูรณะวัด จากหลักฐานของคนเฒ่าคนแก่เล่าสืบต่อกันมา และเอกสารพอเชื่อถือได้ กล่าวไว้ว่า วัดศรีบุญเรือง เป็นวัดที่ชาวบ้าน สร้างขึ้นมาในยุคเดียวกับการสร้างเมืองมุกดาหาร ( ประมาณ พ.ศ.2310 - 2317 ) เพื่อให้พระธุดงค์ออกจาริกแสวงบุญได้พักอาศัย ในสมัยนั้นพระสงฆ์มีจำนวนน้อย จึงไม่ค่อยจะมีผู้อยู่อาศัยเป็นประจำ วัดแห่งนี้จึงเป็นที่พักอาศัยของพระธุดงค์มาโดยตลอด แม้แต่ชื่อก็ยังไม่สามารถจะทราบได้ครั้งต่อมา ( ประมาณ พ.ศ. 2318 ) พระยาจันทร์ศรีอุปราชา ( เจ้ากินรี ) ซึ่งเป็นผู้สร้าง และเป็นเจ้าเมืองคานแรกของเมืองมุกดาหาร ได้ชักนำพวกเจ้านาย ข้าราชการ และชาวบ้านร่วมกันบูรณะวัด ให้เหมะสมที่จะเป็นที่พักอาศัยของพระสงฆ์ต่อไป และได้ร่วมกันสร้างอุโบสถพุทธสีมาขึ้นทางด้านหน้าของวัด และเมืออุโบสถพุทธสีมาเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้ตั้งชื่อวัดว่า -วัดศรีบุญเรือง- ถือได้ว่าวัดศรีบุญเรืองเป็นรูปแบบของวัดจริง ๆ ในสมัยที่เจ้ากินรีได้เข้ามาบูรณะและสร้างพระอุโบสถขึ้นนี้เองและท้ายเมือง เมือสร้างวัดหัวเมืองแล้ว (วัดศรีมงคลใต้ ) ก็ควรสร้างวัดท้ายเมือ (วัดศรีบุญเรือง) ด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนได้กราบไหว้สักการะบูชาได้โดยทั่วถึง เป็นที่น่าสังเกตุว่า อุโบสถที่เจ้ากินรีได้สร้างขึ้นนั้น หันหน้าไปทางทิศเหนือ (อุโบสถส่วนใหม่จะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก หรือทิศตะวันตก ) ทั้งนี้คงเป็นเพราะว่าท่านอยากจะสร้างอุโบสถแห่งนี้ไว้เป็นอนุสรณ์สำหรับตัวท่านเอง เพราะท่านเจ้ากินรีเป็นชาวเหนือเชื้อเจ้า ท่านได้พลัดพรากจากบ้านเกิดเมืองนอนมาด้วยความจำเป็น จึงได้สร้างอุโบสถหันหน้าไปทางทิศเหนือ เพื่อเป็นอนุสรณ์ว่าถึงแม้ท่านจะจากบ้านเกดเมืองนอนมาท่านก็ยังมีความอาลัยอาวรณ์อยู่
สำหรับจากสร้างอุโบสถพุทธสีมา เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ได้ให้ชาวบ้านศรีบุญเรืองจัดขบวกดอกไม้ธูปเทียน ไปอัญเชิญพระพุทธสิงห์สองจากวัดศรีมงคลใต้ มาประดิษฐานไว้ เป็นพระประธานในอุโบสถหลังนี้ ก็เนื่องจากว่าพระองค์พระพุทธรูปสิงห์สองนี้ เป็นพระพุทธธูปเมืองเหนือ ตัวท่านเองก็เป็นคนชาวเหนือ ได้อพยพลงมาในดินแดนทีอุดมสมบูรณ์ และท่านมีความเคารพพระพุทธรูปองค์นี้มากจึงได้นำมาประดิษฐานไว้เป็นอนุสรณ์ในอุโบสถที่ท่านได้สร้างขึ้นมา ตามฝาผนังโบสถ์จะเป็นภาพวาด ด้วยสีสรรค์ที่งดงามมากกด้านในเป็นภาพเกี่ยวกับพระพุทธประวัติ ด้านนอกเป็นภาพเกี่ยวกับนรก สวรรค์ ซึ่งศิลปกรรมเหล้านี้ถือว่าเป็นประณีตศิลปที่ทรงคูนค่าอย่างยิ่ง แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า อุโบสถดังกล่าวได้ปรักหักพังลงแล้วเพราะความเก่าแก่นั่นเอง ปัจจุบันเราจึงไม่ได้เห็นภาพอันวิจิตรงดงามนั้นสิ่งที่ปรากฏให้เห็นทุกวันนี้คือ ชากปรักหักพังและฐานอุโบสถเท่านั้น
ในปี พ.ศ.2500 ทางวัดพร้อมด้วยประชาชนผู้มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาได้ร่วมสร้างอุโบสถขึ้นใหม่ และสร้างเสร็จเรียบร้อย พ.ศ. 2509 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมือ ปี พ.ศ.2513 และต่อมาได้มีการตัดต่อหลังคาใหม่ ดูสวยงามกว่าเก่ามาก ดังได้กล่าวมาแล้วว่า วัดศรีบุเรืองมีพระพุทธรูปที่เก่าแก่ และศักดิ์สิทธิ์ยิ่งองค์หนึ่ง ประดิษฐานอยู่ในอุโบสถ (หลังเก่า) คือพระพุทธสิงห์สอง ท่านเจ้าเมืองคนแรก (เจ้ากินรี ) ของมุกดาหาร ชึ่งในขณะนั้นยังขึ้นต่อเมืองเวียงจันทร์ (ประมาณ พ.ศ.2310-2317) ได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่วัดศรีบุญเรือง เมื่อคราวที่ท่านเจ้าเมือง (เจ้ากินรี มาบูรณะ และปฏิสังขรณ์เสร็จเรียนร้อยแล้ว ถึงแม้ว่าพระพุทธรูปสิงห์สองจะไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายในหมู่ประชาชนทั่วไปก็ตาม แต่ชาวบ้านตำบลศรีบุญเรือง ชาวจังหวัดมุกดาหาร และประชาชนทั่วไปที่รู้จัก และเคารพเลื่อมใสในพระพุทธสิงห์สองแล้ว ย่อมาจะกล่าวเป็นเสียงเดี่ยวกันว่า พระพุทธสิงห์สอง เป็นพระพุทธที่อภินิหารนานาประการ เป็นพระ พุทธรูปที่มีความศักดิ์สิทธ์น่าอัศจรรย์ ท่านจะช่วยปกป้องผองภัยอันตรายต่าง ๆ ได้ เป็นอย่างดียิ่ง พระพุทธสิงห์สองเป็นพระพุทธรูปที่มีความศักดิ์สิทธิ์ทรงมหิทธานุภาพเพียงใดนั้น ผู้ที่ไปนมัสการขอพรด้วยตนเองเท่านั้นย่อมจะรู้ดี คนอื่นนั้นไม่อาจบอกได้ถึง มีตัวอย่างเล่าให้ท่านทั้งหลายได้แนวความคิดดังนี้ เมื่อไม่กี่ปีมานี้นายทหารชั้นผู้ใหญ่ ท่านทีหนึ่งมาเยี่ยมคาระวะท่านเจ้าอาวาสปัจจุบัน (พระครูอุดมธรรมรักษ์) แล้วนมัสการพระพุทธรูปองค์นี้ ก็จำลักษณะได้ว่าเป็นพระพุทธรูปสิงห์สองแน่นอน จึงกล่าวได้ว่าพระพุทธรูปสิงห์สอง แต่นั้นมา ( ก่อนหน้านั้นเรียกว่าหลาวงพ่อเฉยๆ ) และท่านยังได้กล่าวต่อไปอีกว่า ถ้าบูชาให้สีถูกต้องแล้วจะให้คุณหลายประการ โดยเฉพาะช่วยให้ฝนตกตามฤดูกาล มีผู้เฒ่าผู้แก่หลายคนได้เล่าถึงอภินิหารพระพุทธสิงห์สองว่า ท่านเจ้าอาวาสรูปัจจุบัน ( พระครูอุดมธรรมรักษ์ ) ได้เล่าอภินิหารของพระพุทธสิงห์สองว่ามีผู้มาถ่ายรูปพระพุทธสิงห์สองแล้วนำฟิล์มไปล้างแล้วอัด ปรากฏว่าไม่มีรูปให้เห็น แม้จะถ่ายใหม่อีกครั้งหนึ่ง ก็ไม่เป็นผลเช่นกัน ทั้ง ๆที่มีแสงสว่างเพียงพอแต่ก็ถ่ายรูปพระพุทธสิงห์สองไม่สำเร็จ ภายหลังจากท่านเจ้าอาวาสสมัยปัจจุบันได้รับพระราชทานสรณศักดิ์ ิ์เป็นครูสัญญาบัตรชั้นโทเป็น พระครูอุดมธรรมรักษ์ จึงทำได้สำเร็จ จึงนับว่าเป็นเรื่องแปลกและน่าคิดเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ก็มีผู้เล่าอะไรเกี่ยวกับอภินิหารและความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธสิงห์สอง ซึ่งจะไม่นำมาพิมพ์ลงในหนังสือเล่มนี้ แต่ท่านทั้งหลายก็สามารถทราบได้ไม่ยากนัก โดยหาเวลาไปคุยกับท่านเจ้าอาวาสและชาวบ้านศรีบุญเรือง ตลอดจนผู้มีความเคารพเลื่อมใสในองค์พระพุทธสิงห์สอง

พระพุทธสิงห์สอง เป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน ปัจจุบันทางวัดได้ถือเอาหลวงพ่อพุทธสิงห์ เป็นพระประธานและเป็นสัญญลักษณ์ของวัดตลอดมา ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวบ้านศรีบุญเรือง และชาวมุกดาหาร จะยึดเอาหลาวพ่อพุทธสิงห์สองนี้ เป็นหลักยึดเหนี่ยวทางจิตใจมาโดยตลอด

ระวัติท่านพระครูอุดมธรรมรักษ์ เจ้าอาวาสวัดศรีบุญเรือง เจ้าคณะจังหวัดมุกดาหาร
พระครูอุดมธรรมรักษ์ ( ยอด ยสชาโต ) เจ้าอาวาส วัดศรีบุญเรือง เจ้าคณะอำเภอเมืองมุกดาหาร
สถานะเดิม ท่านมีชื่อเดิมว่า ยอด นามสกุล บรรเทิงใจ เกิดวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2475
ตรงกับวัน 1 ฯ 9 10 ค่ำ ปีมะแม ณ บ้านเลขที่ 10 ตำบลกระหาด อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์
โยมบิดาชื่อ เข็ม บรรเทิงใจ โยมมารดาชื่อ แอม บรรเทิงใจ มีญาติพี่น้องด้วยกันทั้งหมด 10 คน คือ
1. นายทอง บรรเทิงใจ
2. นางพน คาทอง
3. นางพร แสนกล้า
4. นายทน บรรเทิงใจ
5. นางใคร บรรเทิงใจ
6. นายอน บรรเทิงใจ
7. ท่านพระครูอุดมธรรมรักษ์ (ยอด บรรเทิงใจ )
8. นายวัน บรรเทิงใจ
9. นายบัว บรรเทิงใจ
10. นายเพิ่ม บันเทิง
อุปสมบท เมื่ออายุได้ 20 ปี เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ.2494 ตรงกับวัน 1ฯ 4 6ค่ำ ปีเถาะ ณ วัดประทุมทองกระหาด ตำบลกระหาด อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ พระครูอนุโยคภัทรกิจ เป็นพระอปัชณาย์ พระอธิการแวน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการแดง เป็นพระอนุสาวนาจารย์
เมื่ออุปสมบทแล้ว ได้ไปอยู่จำพรรษาที่วัดบ้านผาง ตำบลกระหาด เป็นเวลา 3 พรรษา ภายใน 3 พรรษานี้ ได้ท่องบทสวดมนต์ ทั้งในเจ็ดดำนาน และสิบสองตำนาน จนมีความชำนาญได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย อันเป็นข้อวัตรปฏิบัติ ของพระภิกษุสามเณร และได้อุปัฏฐานพระอุปัชณาย์อาจารย์ ซึ่งท่านถือว่าเป็นผู้มีพระคุณต่อ ท่านอย่างล้นเหลือในระหว่างที่พำนักอยู่ที่วัดบ้านผางนี้ ได้สร้างถาวรวัตถุ ดังนี้
พรรษาแรก หลังจากออกพรรษาแล้ว ได้ไปสร้างสะพานกับครูบาอาจารย์จากอำเภอไปสูหมู่บ้านจนเสร็จเรียบร้อย
พรรษาสอง ช่วยสร้างกุฏิวัดบ้านชุมแสง กว้าง 11 เมตร ยาว 20 เมตร หลังคามุงด้วยสังกะสี เสร็จเรียบร้อยในปีนั้นเอง
พรรษาสาม สร้างศาลาการเปรียญ วัดบ้านผาง ตำบลกระหาด กว้าง 15 เมตร ยาว 20 เมตร จน แล้วเสร็จเรียบร้อยในปีนั้นเอง
ต่อมาเมือปี พ.ศ 2497 ตรงกับวันพฤหัสบดี ที่ 17 มิถุนายน ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเมีย ได้เดินทางออกจากวัดบ้านผาง ตำบลกระหาด าตั้งใจจะไปศึกษา เล่าเรียนพระธรรมวินัย เพื่อจะได้เข้าสอบธรรมสนามหลวง จึงเดินทางด้วยเท้าจากบ้านที่อาศัยจนถึงตัวจังหวัดสุรินทร์ นอนพักที่นั่น 1 คืน ตื่น เช้าจึงขึ้นรถไฟจากจังหวัดสุรินทร์ไปจังหวัดอุบลราชธานี ถึงประมาณเที่ยงพอดี แล้วขึ้นรถยนต์จากอุบลราชธานี ไปอำเภออำนาจเจริญ พักค้างคืนที่นั้น 1คืน คืนเช้าจึงออกเดินทางต่อถึงอำเภอมุกดาหารในสมัยนั้น และเข้าพักอาศัยที่วัดศรีมงคลใต้ เป็นการชั่วคราว หลังจากนั้นจึงเดินทางออจากวัดศรีมงคลใต้ เพื่อย้ายมาเรียนที่สำนักเรียนวัดศรีบุญเรือง และได้เรียนพระธรรมวินัยในปีนั้นเอง
ใน พ.ศ.2499สอบได้นักธรรมชั้นตรี จากนั้นจึงเข้าศึกษานักธรรมชั้นโทและสอบได้ในปีต่อมา คือ ปี พ.ศ. 2499 และในปีนี้ ได้เข้าศึกษาหลักสูตรบาลีไวยากรณ์ และสอบได้บาลีไวยากรณ์ในปีเดียวกัน
ในปี พ.ศ.2500 เป็นครูสอนนักธรรมชั้นตรี ทั้งเข้าสอบนักธรรมชั้นเอกและแปลธรรมบทด้วย แต่สอบไม่ได้ เนื่องจากวัดศรีบุญเรือง ว่างเว้นเจ้าอาวาส จำเป็นที่จะต้องเข้ารับตำแหน่งหน้าที่ดังกล่าว ตลอดจนภาระกิจอื่น ๆ มากขึ้น จากนั้นจึงได้ใช้ความพยายามสอบนักธรรมชั้นเอก จนบรรลุผลในปี พ.ศ.2503 นั้นเอง วิทยฐานะ พ.ศ. 2490 สอบได้ชั้นประถมปีที 4 จากโรงเรียนวัดบ้านผาง ตำบลกระหาด อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์
พ.ศ.2498 สอบได้นักธรรมชั้นตรี สำนักเรียนวัดศรีบุญเรือง อ. เมือง มุกดาหาร
พ.ศ.2499 สอบได้นักธรรมชั้นโท สำนักเรียนวัดศรีบุญเรือง อ.เมือง จ. มุกดาหาร
พ.ศ.2503 สอบได้นักธรรมชั้นเอก สำนักเรียนวัดศรีบุญเรือง อ.เมือง จ. มุกดาหาร
การศึกษาพิเศษ
พ.ศ.2517 เข้ารับการอบรมพระสังฆาธิการส่วนกลาง ณ วัดสามพระยา กรุงเทพมหานคร
พ.ศ.2520 เข้าฝึกอบรมวิปัสนากัมมัฏฐาน ณ สำนักวิปัสสนากัมมัฏฐาน วัดมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร

ประวัติและผลงาน
สมณศักดิ์
พ.ศ.2517 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรรองเจ้าคณะอำเภอชั้นที่พระครูอุดมธรรมรักษ์
พ.ศ.2525 ได้รับพระราชทานเลื่อนชั้นสมศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรรองเจ้าคณะอำเภอชั้นเอก
งานปกครอง
พ.ศ.2489 เป็นรองเจ้าอาวาสวัดศรีบุญเรือง
พ.ศ.2510 เป็นเจ้าอาวาสวัดศรีบุญเรือง
พ.ศ.2508 เป็นเจ้าคณะตำบลศรีบุญเรือง
พ.ศ.2516 เป็นรองเจ้าคณะอำเภอมุกดาหาร
พ.ศ.2520 ได้รับแต่ตั้งเป็นพระอุปัชณย์
พ.ศ.2526 เป็นเจ้าคณะอำเภอเมืองมุกดาหาร

หน้าที่พิเศษทางการปกครอง
พ.ศ.เป็นกรรมการระงับอธิกรณ์คณะสงฆ์อำเภอมุดาหาร

งานการศึกษา
พ.ศ.2501 เป็นครูสอนปริยัติธรรม ประจำสำนักเรียนวัดศรีบุญเรือง
พ.ศ.2502 เป็นเจ้าสำนักเรียนวัดศรีบุญเรือง
พ.ศ.2503 เป็นกรรมการตรวจข้อสอบธรรมสนามหลาวงง
พ.ศ.2515 จัดตั้งโรงเรียนปริยัติธรรมแผนกบาลีขึ้น ที่สำนักเรียนวัดศรีบุญเรือง ซึ่งยังดำเนินการสอน อยู่จนกระทั้งปัจจุบันนี้ มีผู้สมัครเข้าสอบ และสอบได้เป็นประจำทุกปีมิได้ขาด
พ.ศ.2516 ตั้งโรงเรียนการศึกษาผู้ใหญ่สำหรับพระภิกษุสามเณรขึ้น ที่วัด ศรี บุญเรือง และเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนการศึกษาผู้ใหญ่ วัดศรีบุญเรืองแห่งงนี้
พ.ศ.2522 เป็นครูใหญ่โรงเรียนการศึกษาผู้ใหญ่วัดศรีบุญเรือง
พ.ศ.2526 เป็นผู้อำนวยการสนามสอบธรรมสนามหลวาง อำเภอเมืองมุกดาหาร

หน้าทีพิเศษทางการศึกษา
พ.ศ.2514 เป็นกรรมการการศึกษาโรงเรียนบ้านศรีบุญเรือง(สงวนราษฎร์บำรุง)
พ.ศ.2526 เป็นกรรมการที่ปรึกษาพิเศษโรงเรียนบ้านสามขัว ต.ดงเย็น อ.เมือง จ. มุกดาหาร

งานสาธารณูปการ (ก่อสร้างและปฏิสังขรณ์)
พ.ศ.2495 เป็นประธานสร้างสะพานข้ามหัวยระวี ระหว่างหมู่บ้านเชื่อทางไปอำเภอจอมพระ
พ.ศ.2497 เป็นประธานสร้างศาลาการเปรียญวัดบ้านผาง
พ.ศ.2501 เป็นประธานดำเนินการก่อสร้างอุโบสถวัดศรีบุญเรือง จนสำเสร็จเมือปี พ.ศ.2509
พ.ศ.2504 เป็นประธานสร้างกุฏิวัดโพธิ์ศิลา บ้านเหล่าคราม ต. คำอาฮวน อ.เมือง จ. มุกดาหาร
พ.ศ.2505 เป็นประธานสร้างกุฏิวัดศรีบุญเรือง เป็นกุฏิไม้ชั้นเดียว
พ.ศ.2508 เป็นประธานปฏิสังขรณ์อุโบสถวัดศรีใคร บ้านท่าไค้ ต.นาสีนวล อ.เมือง จ.มุกดาหาร
พ.ศ.2511 สร้างห้องสมุดวัดศรีบุญเรือง สร้างด้วยไม้สองชั้น ต่อมาชั้นบนใช้เป็นสำนักงานเจ้าคณะอำเภอเมืองมุกดาหาร
พ.ศ.2512 เป็นประธานสร้างกุฏิวัดโพธิ์ศรี บ้านส้มป่อย ต. นาสีนวล อ. เมือง จ.มุกดาหาร
พ.ศ.2513 เป็นประธานสร้างกุฏิวัดศรีชมชื้านบ้านพรานอ้น ต. คำอาฮวน อ. เมือง จ.มุกดาหาร
พ.ศ 2513 เป็นประธานสร้างโรงเรียนปริยัติธรรมวัดศรีบุญเรือง( ปัจจุบันได้ริ้อถอานสร้างใหม่แล้ว)
พ.ศ.2513 เป็นประธานสร้างโรงเรียนศาลาการเปสรียญศรีบุญเรือง
พ.ศ.2515 เป็นประธานปฏิสังขรณ์อุโบสถวัดมาลัยวัลย์ บ้านโนนสะอาด ต.คำอาฮวน อ. เมือง จ.มุกดาหาร
พ.ศ.2516 ทำฝายกั้นน้ำให้ชาวบ้านเขามโนรมย์ ได้ใช้เป็นสาธารณะประโชนย์ ยาว 30 เมตร สูง 3 เมตร
พ.ศ.2517 สร้างโรงเรียนปริยัติธรรมวัดศรีบุญเรือง กว้าง 8 เมตร ยาว 30 เมตร
พ.ศ.2517 เป็นประธานสร้างศาลาการเปรียญวัดศรีบุญเรือง กว้าง 14 เมตร ยาว 4 เมตร
พ.ศ.2521 สร้างกุฏิกัมมัฏฐานวัดบรรพดมโนรมย์ จำนวน 2 หลัง กว้าง 4 เมตร ยาว 4 เมตร
พ.ศ.2523 เป็นประธานสร้างกำแพงวัดศรีบุญเรือง ยาว 195 เมตร และสร้างชุ้มประตูวัดศรีบุญเรือง
พ.ศ.2523 เป็นประธานสร้างกุฏิวัดศรีบุญเรือง กว้าง 8.50 เมตร ยาว 46 เมตร เป็นกุฏิขนาน 2 ชั้น จำนวน 48 ห้อง โดยชั้นบนจัดเป็นห้องโถง 1 ห้องสำหรับประดิษฐานพระพุทธสิงห์สอง และทำวัตรของสงฆ์
พ.ศ.2524 สร้างห้องน้ำห้องส้วมวัดศรีบุญเรือง รวม 8 ห้อง
พ.ศ.2525 เป็นประธานสร้างศาลาการเปรียญวัดศรีบุญเรือง (หอฉัน) มีลักษณะเป็นทรงไทย กว้าง 10 เมตร ยาว 24 เมตร
พ.ศ.2525 ได้ปฏิสังขรณ์อุโบสถวัดศรีบุญเรือง โดยคัดหลังคาและสลักลวดลายใหม่
พ.ศ.2525 ได้รับมอบ จากวัดหน้าธรรมฑูต สายที่ 6 เป็นผู้ดำเนินการสร้างโรงเรียน บ้านนาหัวภู ตำบลนาโสก อำเภอเมือง ร่วมกับกองร้อยที่ 7 ตำรวจตระเวนชายแดน มุกดาหาร เป็นอาคารเรียน2 ชั้น 3 ห้องเรียน ขนาดกว้าง 8.50 เมตร ยาว 27 เมตร จนเสร็จเรียบร้อย
พ.ศ.2526 เป็นประธานสร้างอุโบสถวัดบรรพตมโนรมย์ ซึ่งเป็นอุโบสถ 4 มุข ทรงไทย (ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้าง)
พ.ศ.2526 เป็นประธานจัดซื้อที่ดินถวายเป็นสมบัติวัดศรีบุญเรือน จำนวน 3 งาน เป็นเงิน 137,300บาท
พ.ศ.2527 สร้างห้องน้ำ ห้องส้วม วัดศรีบุญเรือง จำนวน 6 ห้อง
พ.ศ.2527 ติดต่อประสานงานขอจัดสร้างถนน จากบ้านนาถ่อน-นาหัวภู จากสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท และได้รับการสนับสนุนในการจัดสร้างจนเสร็จเรียบร้อย
พ.ศ.2527 สร้างหอระฆัง วัดบรรพตมโนรมย์

งานเผยแผ่
พ.ศ.2509 -2516 เป็นพระธรรมฑูตฝ่ายปฏิบัติการที่ 5 ออกอบรมประชาชนตาม หมู่บ้านต่าง ๆ ในเขตทุรกันดาร
พ.ศ.2520 เป็นพระธรรมฑูตฝ่ายอำนวยการ เขตอำเภอเมืองมุกดาหาร
พ.ศ.2522 เป็นประธานหน่วยอบรมประจำตำบล (อ.ป.ต. ) ศรีบุญเรือง

หน้าที่พิเศษเกี่ยวกับการเผยแผ่
พ.ศ.2526 เป็นพระวิทยากรพิเศษออกไปอบรมประชาชนตามหน่วย อ.ป. ต. ต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ
พ.ศ.2526 เป็นผู้อำนวยกรศูนย์อบรมศีลธรรม เยาวชนวัดศรีบุญเรือง
พ.ศ.2527 เป็นผู้อำนวยการโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน ในช่วงเดือนเมษายนโดยมีลูกหลานของชาวบ้านจากหมู่บ้านต่าง ๆ ในเขตจังหวัดมุกดาหาร เข้ามารับการบรรพชาจำนวน 126 รูป และให้การอบรมศีลธรรมแก่เยาวชนจำนวน 145 คน
พ.ศ.2527 เป็นประธานอำนวยการฝึกอบรมวิปัสสนากัมมัฏฐาน ที่วัดบรรพรตมโนรมย์ อำเภอเมือง จ.มุกดาหาร มีพระวิปัสสนาจารย์มาให้การอบรม จำนวน 15 รูป พระภิกษุ สามเณร ที่เข้ารับการอบรม จำนวน 142 รูปและอุบาสก อุบาสิการ จำนวน 25 คน รวมเวลาทำการอบรม 12 วัน
พ.ศ.2527 ได้นำพระพุทธรูปไปมอบถวายตามวัดต่าง ๆ จำนวนหลายวัด ซึ่งการดังกล่าวถือว่าเป็นงานเผยแผ่ที่ให้ผลที่ให้ผลทางด้านจิตวิทยามาก นอกจากนั้นปี พ.ศ. 2528 ท่านยังมีโครงการที่จะสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ประดิษฐานไว้ปรสะจำศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดมุกดาหาร โดยจัดสร้างที่สนาม โรงเรียนมุกดาหารอีกด้วย
. อภิฤติกถาและกิตติคุณ
จากประวัตการทำงาน เราจะเห็นได้ว่า ท่านพระครูอุดมธรรมรักษ์ เป็นพระนักทำงานพระนักพัฒนาจริง ๆ ท่านเป็นเสียสระ และทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวม งานทางด้านการปกครองในวัดศรีบุญเรือง ท่านจัดให้พระภิกษุสามเณรอยู่ใรระเบียบ วินัยและกฏกติกาของวัด เป็นที่ยืนยันได้ว่า พระเณรที่อยู่ ในวัดศรีบุญเรืองเป็นพสระเณรที่มีระเบียบวินัยดี ทั้งนี้เป็นเพราะการ เอาใจใส่ ในการเป็นอยู่ของพระเณรความเด็ดขาดในการตัดสินใจ ความมั่นใจในหลักการที่ตั้งอยู่บนฐานแห่งความถูกต้องและยุติธรรมการเป็นตัวอย่างที่ดี และการตั้งอยู่ในพรหมวิหารธรรมของท่านนั้นเองจึงทำให้พระเณรที่อาศัยอยู่ในวัดนี้ให้ความเคารพยำเกรงในท่าน และมีระเบียบวินัย มีคนเคยโจมตีท่านว่าการที่พระเณรไปเรียนการศึกษาผู้ใหญ่ที่วัดศรีบุญเรืองนั้น ทำให้พระเณรขาดระเบียบวินัยไม่เคารพเชื่อฟังครูอาจารย์ เป็นคนหัวดื้อหัวแข็ง ท่านพูดว่า เราได้ทำถูกต้องที่สุดแล้ว เพราะตามปรัชญาการศึกษาจริง ๆ นั้น การศึกษาไม่ได้ทำให้คนเลวลง หรือขาดระเบียบมารยาท แต่ตรงกันตรงกันข้าม การศึกษาย่อมทำให้เคนเป็นคนดี มีระเบียบ มีวินัย แต่การที่พระเณรขาดระเบียบวินัยนั้น ขึ้นอยู่กับหลักการปกครองต่างหาก เพราะเมื่อจัดระเบียบการปกครองของวัดให้ดีแล้ว ก็ย่อมจะทำให้พระเณรที่อยู่ในวัดนั้น ๆ เป็นคนดีมีระเบียบวิวนัยด้วย ฉะนั้นในวัดศรีบุญเรืองท่านจึงไม่ว่างระเบียบวินัยไว้อย่างเคร่งครัดถือว่าเป็นการทดลองความอดทน และความเข้มแข็งของคนที่จะมาอยู่ในวัดนี้นั้นเอง ซึ่งปรากฏว่า บางรูปไม่สามารถจะอยู่ในวัดนี้ได้
แต่อย่างไรก็ตาม ระเบียบวินัยที่ท่านวางไว้ ก็อยู่ในกรอบของพระธรรมวินัยนั่นเอง เพราะฉะนั้น วัดศรีบูญเรืองจึงยังคงความเป็นเอกลักษณ์นี้มาโดยตลอด มิใช่แต่พระเณรทีอยู่ในวัดเท่านั้น ที่ท่านได้ใช้หลักการอ่านแม้แต่กับฆราวาสญาติโยมก็เช่นเดียวกัน ทานจะใช้ทั้งพระเดช พระคุสร ไม้อ่อนไม้แข็ง ความเด็ดขาด หลักการแนะนำทำให้ดูเป็นตัวอย่าง บางครั้งก็ใช้อุเบกขาธรรมมีญาติ หลายคนที่เคยโกรธไม่เข้าใจท่าน แต่ไม่ช้าก็จะมาขอขมาโทษต่อท่าน ทั้งนี้เพราะเห็นในคุณความดีการทำจริง และทำด้วยความบริสุทธิ์ใจของท่านนั้นเอง นอกจากนี้ท่านนพระครูฯ ยังได้เคยใช้มาตรการอันเด็ดขาด ของท่านระงับเรื่องราว และอธิกรณ์ต่าง ๆ และที่เกิดขึ้นแก่วงการคณะสงฆ์ไม่สามารถที่จะตัดสินใจได้ าต้องอาศัยท่านช่วยระงับ วินิจฉัย และตัดสิน เรื่องราวอธิกรณ์ต่าง ๆ และทุกครั้งที่ท่านได้ทำการระงับ วินิจฉัย และตัดสิน เรื่องราวก็จะลงเอยไปในทางที่ดีเสมอ จึงถือว่าท่านเป็นพระนักปกครอง ที่มีความสามารถมาก และเป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจ ต่อวงการคณะสงฆ์พอสมควร ที่นี้หันมาดูงานด้านการศึกษา ของท่านบ้าง ท่านเคยตั้งปณิธานไว้ว่า จะหาวิธีการส่งเสริมให้พระภิกษุสามเณรได้รับการศึกษามีความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม
ท่านบอกว่า ตัวท่านเองนั้นหมดโอกาส ที่จะเข้ารับการศึกษาที่เป็นระบบแบบนี้ เพราะมีภาระหน้าที่การงานอย่างอื่นมาก ทางจึงมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมให้พระภิกษุสามเณร ได้รับการศึกษาให้มีความรู้ทันกับชาวโลกเขา ซึ่งท่านถือว่าเป็นการสร้างคน ให้เป็นมนุษย์ เพราะการให้การศึกษาที่ถูกต้องนั้น ย่อมทำให้คนเป็นผู้ประเสริฐได้ อีกประการหนึ่ง ท่านถือว่าพระภิกษุสามเณรที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนานั้นส่วนมากเป็นลูกของชาวบ้านที่ยากจน พ่อแม่ไม่มีปัญญาที่จะส่งลูกเข้ารับการศึกษาตามสถาบันทางโลกเขาเมือเขาหันมาพึ่งพระศาสนาแล้ว ก็ควรจะส่งเสริมให้ได้รับความรู้ หลังจากลาสิกขาแล้ว ก็สามารถนำไปประกอบสัมมาชีพได้ และถือว่า เป็นการช่วยเหลือรัฐบาลในการพัฒนาทรัพยากรของชาติ ให้มีความเจริญทัดเทียมกับอารยประเทศทั้งหลาย การส่งเสริมด้านการศึกษาเราจะเห็นได้ว่า ท่านได้ตั้งโรงเรียนปริยัติธรรม ทั้งแผนกนักธรรมและแผนกบาลี ตลอดทั้งการศึกษาผู้ใหญ่ สำหรับแผนกบาลีนั้น ท่านมีความมุ่งหวังเป็นอย่างยิ่ง ที่จะส่งเสริมให้พระภิกษุสามเณร ได้มีความรู้ความเข้าใจภาษาบาลี และสอนได้ประโยคบาลีชั้นสูงสุด เพราะถือว่าภาษาบาลี ที่พระพุทธเจ้าทรงใช้ประกาศ พระศาสนา ควรจะรักษาพุทธพาจนภาษานี้ ไว้แผนกบาลีนี้นับตั้งแต่ตั้งขึ้นมา มีพระภิกษุสามเณรสมัครเข้าเรียน และสอบได้เป็นประจำทุก ๆปี อย่างน้อยปีละ 2-3-4 รูป แม้ว่าบางปีจะขาดครูสอน แต่ท่านก็พยายามวิ่งเต้นหามาสอนจนได้ บางปีถึงกับ ต้องไปขอร้องฆราวาส มาช่วยสอนให้ หากท่านไม่มีใจรัก และมีความมุ่งมั่นอย่างจริงจังแล้ว คงต้องเลิกไปนานแล้ว (เรื่องนี้ คงจะเป็นการสะกิด เตือนกรมการศาสนาให้ได้คิดว่า หากจะให้การสนับสนุนการศึกษาบาลี อย่างจริงจังแล้ว ข้อที่ควรคำนึงถึงให้มากที่สุดก็คือ ครูสอนบาลีนั้นหายากมาก เรื่องนี้แม่กองบาลีหรือกรมการศาสนา ควรจะลงมือให้ความช่วยเหลืออย่างจริงจัง ควรจะหาครูบาลีไปประจำไว้ที่สำนักเรียนบาลี ที่มีการเรียน และการสอนกันอย่างจริงจัง และให้สวัสดิการแก่ครูสอนปริยัติธรรมทั้งสองแผนกนี้บ้างพอสมควร) กล่าวได้เลยว่าสำนักเรียนบาลี ที่ดำรงอยู่ได้ตลอดมานั้นก็ด้วยรความเสียสระของท่านเองปัจจุบันนี้ มีพระภิกษุสามเณรจากวัดต่าง ๆ สมัครเข้ามาเรียนทั้งนักธรรม บาลีและการศึกษาผู้ใหญ่เป็นจำนวนมาก และคงจะไม่เกินความจริงถ้าหากจะพูดว่ามีวัดศรีบุญเรืองเพียงแห่งเดี่ยวเท่านั้นในจังหวัดมุกดาหาร ที่สามรถจัดการศึกษา ให้พระภิกษุสามเณรได้ศึกษาเล่าเรียน เกือบจะครบทุกแผนก นอกจากนั้น ท่านยังได้สนับสนุนให้กุลบุตรธิดา เข้ามารับการศึกษาศิลธรรมเพื่อให้เขา เหล่านั้นได้มีความใกล้ชิด กับพระพุทธศาสนา เห็นความสำคัญของศาสนา นำเอาหลักธรรมทางศาสนา ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ จะเห็นได้ว่าเมื่อท่าน ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอเมืองมุกดาหาร จำนวนพระหภิกษุสามเณรที่เข้าสอบนักธรรม และกุลธิดาเข้าสอบธรรมศึกษา ได้เพิ่มจำนวนมากขึ้นกว่าแต่ก่อนมากโดย เฉพาะอย่างยิ่งธรรมศึกษานับว่ามากที่สุดว่า ที่ผ่านมามากจนกระทั้งว่าโต๊ะเก้าอี้ไม่พอสอบ ต้องยืมจากโรงเรียนของฆราวาสมาเสริมจึงเพียงพอ ซึงเหตุนี้เองทำให้ท่านมีกำลังใจ เห็นแรงผลักดัน ให้ท่านคิดหาวิธีจัดหาอุปกรณ์การสอบ คือ โต๊ะเก้าอี้ในการประชุมพระสังฆาธิการประจำปี เมื่อเดือนตุลาคม 2527 ท่านได้นำเรื่องนี้เข้าสู้ที่ประชุมโดยได้ปรึกษาพระสังฆาธิการผู้เข้าร่วมประชุม ถึงวิธีการที่จะจัดหหาโต๊ะเก้าอี้ ที่ประชุมมีมติขอรับบริจาคข้าวเปลือกจากหมู่บ้านต่าง ๆ ในเขตอำเภอเมือง มุกดาหารแล้วนำไปจำหน่ายซื้อโต๊ะเก้าอี้ ไว้เป็นสมบัติาของคณะสงฆ์อำเภอเมืองมุกดาหารต่อไป ( ขณะนี้กำลังดำเนินการโดยซื้อโต๊ะไม้เนื้อแข็ง สำเร็จรูปจากจังหวัดแพร่ จำนวน 200 ชุด ชุดละ 230.-บาท )

วิธีการส่งเสริมการศึกษาอีกวิธีหนึ่งก็คือ จัดหารางวัลแก่ผู้เรียนดีเด่น และสอบได้เป็นประจำ ทุก ๆ ปี นอกจากนี้ยังได้ส่งพระภิกษุสามเณร ที่สำเร็จการศึกษาจากสำนักเรียนนี้ไปต่อที่อื่นๆ เช่น กรุงเทพฯ (ทั้ง ๆ ที่ปัจจุบันนี้กรุงเทพฯ หาวัดอยู่มากมาก ) ปัจจุบันพระภิกษุสามเณรที่เรียนจบ จากสำนักเรียนแห่งนี้ เข้าไปศึกษาต่อที่กรุงเทพฯ เป็นจำนวนมากจึงถือได้ว่า ในด้านการศึกษาแล้ว ท่านเป็นพระเถระ อีกรูปหนึ่งที่ให้การสนับสนุน เฉพาะอย่างยิ่งที่วัดศรีบุญเรือง เพิ่งจะมีความมีผลงาน ทางด้านจิตวิทยาเกี่ยวกับการเผยแผ่ศาสนาเป็นอย่างมาก เพราะเมื่อเราได้ไกล้ชิดกับประชาชนแล้ว มีโอกาส ที่จะเชื่อเรา และรับฟังเรานั้น ย่อมมีมากขึ้น
เพราะฉะนั้น เมื่อพูดถึงพระครูอุดมธรรมรักษ์หรือท่านอาจารย์ยอดแล้วใคร ๆ ก็รู้จักท่านดี นอกจากนั้นแล้วยังมีผลงานเผยแผ่ที่ทำเป็นรูปแบบ คืองานพระธรรมฑูต ท่านได้ทำมาตลอดปัจจุบันนี้ ท่านดำรงตำแหน่งหัวหน้าพระธรรมฑูตและผู้อำนวยการพระธรรมฑูตอำเภอเมืองมุกดาหาร นอกจากผลงานพระธรรมฑูตแล้ว ท่านยังเป็นวิทยากรพิเศษออกไปให้การอบรมประชาชนตามหน่วยงาน อ.ป.ต. ตำบลต่าง ๆ ทุกตำบล และงานหลักอีกประการหนึ่งท่านได้ทำมาตลอด คือการออกประเยี่ยมประชาชนตามหมู่บ้านต่าง ๆขณะเดียวกันก็ให้การอบรมศีลธรรมแก่ประชาชน โดยได้นิมนต์พระภิกษุ ที่ทรงความรู้ ร่วมออกไปให้การอบรมนอกจากนั้นแล้วท่านยังจัดรูปแบบการเผยแผ่หนึ่ง คือการจัดการฝึกกอบรมวิปัสสนากัมมัฏฐาน โดยชักชวนพระภิกษุสามเณรและอุบาสกอุบาสิกาเข้าวิปัสสนากัมมัฏฐาน ซึ่งถือว่าเป็นหลักเป็นแก่ของพระพุทธศาสนา โดยท่านได้สร้างวัดบรรพตมโนรมย์เป็นวัดฝึกกอบรมวิปัสสนากัมมัฏฐาน ปี 2527 นับเป็นปีแรกที่ท่านไจัดโครงการนี้ มีพระภิกษุสามเณรและอุบาสกอุบาศิกา เข้าร่วมรับการอบรมจากพระวิปัสสนาจารย์ที่ท่านอาธนานิมนต์มาจากสำนักต่าง ๆ จำนวนถึง 167 รูป/คน
เราจะเห็นได้ว่า ถึงแม้ว่า ท่านจะจับงานด้านการศึกษา ซึ่งถือว่าเป็นคันธุระหรืองานสาธารณูปกการก็ตาม ขณะเดียวกันท่านยังให้การสนับสนุนงานด้านการอบรมวิปัสนากัมมัฏฐาน นี่คือท่านทำงานทั้งทางคันธุระ และงานวิปัสสนาธุระยิ่งถือว่าทั้งสองอย่างนี้เป็น ธุระพระภิกษุสามเณรที่บวชเข้าในพระพุทธศาสนา

กิติศักดิ์ของท่านอีกประการหนึ่ง ที่รู้จักกันดีเกือบทั่วประเทศนั่นคือ การรักษาผู้ป่วยโดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับกระดูก ไม่ว่าจะเป็นกระดูกหักกระดูกแตก หรือเส้นเอ็นพลิกแพลง แม้กระทั้งถูกอาวุธปืนหรือโดนของมีคม ฯลฯ ท่านสามรถรักษาให้หายได้ เรื่องนี้ท่านมีชื่อเสียงมาก บางครั้งจะมีญาติโยมมากจากกรุงเทพ ฯ ภาคเหนือ ภาคใต้ มารักการรักษาจากท่าน ที่น่าปลื้มใจ คือาจจะทำการรักษาให้แก่ทุกคน โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ ปกติแล้ว ถ้าหากว่ามีคนป่วยไม่มาก ท่านการรักษาด้วยตนเอง แต่ถ้ามีคนป่วยมาก หรือท่านไม่ได้คิดค่ารักษา นอกจากผู้นั้นจะมีจิตศรัทธาบริจากเอง และเมื่อบริจาคแล้ว ท่านก็ไม่ได้เก็บไว้เป็นส่วนตัว ท่านจะเก็บเป็นเงินก่องกลางสำหรับสร้าง และปฏิสังขรณ์วัดต่อไป

จากการศึกษางานของท่านทุก ๆ ด้านจะเห็นได้ว่าท่านเป็นพระเถระที่ทำกรณียกิจที่เป็นประโยชน์ต่อการคณะสงฆ์ ต่อสังคม และต่อประเทศชาติมาก เป็นพระนักเสัยสละ นักพัฒนา และทำงานโดยไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย สมควรที่จะยกย่องท่านให้เป็นพระเถระตัวอย่าง ที่อนุชนรุ่นหลัง ควรจะยึดถือเป็นแบบอย่างในการทำงานต่อไป.


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๓๘)

พระครูศิริปุญญกิจ เจ้าอาวาสวัดบรรพตมโนรมณ์ ต.ศรีบุญเรือง อ.เมือง จ.มุกดาหารโทร.042-612775,01-2619974 สนับสนุนข้อมูล
( 15 เม.ย.45)






พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๓๘)

พระประธานในอุโบสถ
วัดป่าวิเวกวัฒนาราม อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร






เครดิต : http://www.dhammajak.net/forums/viewforum.php?f=73

http://www.baanmaha.com/community/newthread.php?do=postthread&f=35