พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๒)

ไหว้พระประธาน ๗๗ จังหวัด

หลวงพ่อโต วัดมหาพุทธาราม
อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ


หลวงพ่อโต เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย วัสดุหินพอกปูนลงรักปิดทอง ขนาดหน้าตักกว้าง ๓.๕๐ เมตร สูง ๖.๘๐ เมตร ศิลปะล้านช้าง นับเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดศรีสะเกษ วัดมหาพุทธารามค้นพบเป็นป่าแดง โดยอาจารย์ศรีธรรมาชาวนครจำปาศักดิ์

เดิมมีลักษณะเป็นตุ๊กตาหิน มีต้นไม้และจอมปลวกคลุม ต่อมาสร้างเป็นวัดป่าแดง เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๘ ปัจจุบันคือวัดมหาพุทธาราม หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "วัดพระโต" มีหลักฐานว่า หลวงพ่อโตองค์จริงนั้นถูกหุ้มอยู่ข้างใน เป็นพระพุทธรูปหินดำเกลี้ยง บางแห่ง ว่าหินเขียว บ้างก็ว่าหินแดง ต่อมาเกรงว่ามิจฉาชีพจะทำให้เสียหาย จึงมีผู้ศรัทธาหุ้มเสริมองค์จริงเข้าไปหลายครั้งจนมีขนาดใหญ่ ขึ้นมาก เดิมมีหน้าตักกว้าง ๒.๕๐ เมตร ต่อมาขยายเป็น ๓.๕๐ เมตร เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙ สร้างพระวิหารใหญ่ครอบเรียกว่าวิหาร หลวงพ่อโต ขนาดกว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๔๐ เมตร ดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน "หลวงพ่อโต" เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัด ศรีสะเกษมาช้านานชาวเมืองศรีสะเกษให้ความเคารพนับถือมาก เป็นที่พึ่งทางใจของประชาชนผู้มีความทุกข์ เมื่อมาสักการะ แล้วก็คลายจากทุกข์ มีกำลังใจต่อสู้กับชีวิจต่อไป และเมื่อภึงเทศกาลสงกรานต์ชาวบ้านจะอัญเชิญหลวงพ่อโตมาสรงน้ำเป็นประจำทุกปี


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๒)

พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๒)


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๒)


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๒)

พระธาตุภูเพ็ก

ตั้งอยู่ที่ตำบลนาหัวบ่อ บนเส้นทางหลวงสายสกลนคร-อุดรธานี ทางหลวงหมายเลข 22 ห่างจากตัวเมืองสกลนครไปประมาณ 22 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายไปอีก 14 กิโลเมตร ผู้ที่จะไปนมัสการพระธาตุต้องเดินขึ้นบันไดประมาณ 491 ขั้น จะถึงองค์พระธาตุซึ่งสร้างอยู่บนยอดเขาภูพาน องค์พระธาตุสร้างด้วยหินทราย อยู่บนฐานศิลาแลง มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุม ด้านหน้าเชื่อมต่อกับมณฑป รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ชั้นที่ 1 สูงประมาณ 1.58 เมตร ชั้นที่ 2 สูงประมาณ 0.70 เมตร ตัวปราสาทสูง 7.67 เมตร ซึ่งยังสร้างไม่แล้วเสร็จ ไม่มีหลังคา และยอดปราสาท เพียงแต่ทำขื่อตั้งไว้เท่านั้น พระธาตุภูเพ็กสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16 เพื่อเป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู ภายหลังดัดแปลงเป็นพุทธศาสนสถานและมีการยกเรื่องประวัติศาสตร์ การก่อสร้างไว้ในตำนานพระอุรังคธาตุ หรือตำนานพระธาตุพนม ซึ่งกล่าวไว้ว่า พระธาตุภูเพ็กสร้างโดยกลุ่มผู้ชายเพื่อแข่งขันกับกลุ่มผู้หญิงซึ่งสร้างพระธาตุนารายณ์เจงเวงเพื่อรอบรรจุพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้า แต่กลุ่มผู้ชายได้ยุติการสร้างเมื่อเห็นดาวเพ็กบนท้องฟ้า ซึ่งเป็นกลลวงของกลุ่มผู้หญิงผู้สร้างพระธาตุนารายณ์เจงเวง ปราสาทหลังนี้จึงได้ชื่อว่า ปราสาทพระธาตุภูเพ็ก ตามชื่อดาว “เพ็ก”
การเดินทาง ตามทางหลวงหมายเลข 22 (สกลนคร-อุดรธานี) ห่างจากตัวเมืองสกลนครประมาณ 22 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายไปอีก 14 กิโลเมตร




พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๒)

พระประธานในอุโบสถ
วัดถ้ำขาม ต.ไร่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร


พระประธาน-พระคู่บ้านคู่เมือง ๗๗ จังหวัด (๔๒)

ไหว้พระประธาน ๗๗ จังหวัด

วัดถ้ำขาม
หมู่ 4 บ้านคำข่า ต.ไร่
อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร 47130


ชื่อ วัดถ้ำขาม
ผู้สร้างวัด หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
ที่ตั้ง ตำบลไร่ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
วัดถ้ำขามอดีตเป็นถ้ำที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เป็นที่เงียบสงบ บริเวณโดยรอบจะมีต้นมะขามอยู่เป็นจำนวนมาก อีกทั้งทั่วบริเวณวัดจะมีลิงป่าอาศัยอยู่มากเช่นกัน เพราะความอุดมสมบูรณ์ของป่านั่นเอง บริเวณวัดถ้ำขามมีความสงบมากจึงเหมาะแก่การนั่งสมาธิ วิปัสสนากรรมฐานของพระสงฆ์
การเดินทางขึ้นสู่บริเวณถ้ำขามในอดีตมีความยากลำบากมาก เพราะเป็นป่าเขาสูงและมีสัตว์ป่าอันตรายมากมาย แต่ในปัจจุบันได้สร้างถนนลาดยางขึ้นไปถึงบริเวณวัดถือได้ว่าสะดวกสบายมาก
จุดเด่น
บริเวณโดยรอบของวัดจุดต่าง ๆ ที่น่าสนใจคือ กุฏิของหลวงปู่ฝั้น อาจาโร จะเก็บรวบรวมประวัติและเครื่องใช้ต่าง ๆ ของหลวงปู่ฝั้น ในบริเวณดังกล่าวยังมีหุ่นขี้ผึ้งของหลวงปู่ฝั้น อาจาโร อยู่ด้วย ในแต่ละวันจะมีผู้มีจิตศรัทธาเข้ามากราบไหว้อยู่มิขาด
อีกทั้งวัดถ้ำขามยังเป็นที่ที่หลวงปู่เทสก์ เทศรังสี และได้มรณภาพที่วัดแห่งนี้ จึงมีการสร้างเจดีย์เพื่อไว้บรรจุอัฐิของหลวงปู่เทสก์ เทศรังสี ไว้ด้วย และบริเวณทางขึ้นสู่เจดีย์หลวงปู่เทสก์ ยังมีลิงอยู่เป็นจำนวนมาก ตามบริเวณทางเดิน และลิงเหล่านี้มีความเชื่องมาก นักท่องเที่ยวจึงชอบที่จะให้อาหารลิงก่อน จะขึ้นไปกราบนมัสการเจดีย์ข้างบน
หลวงปู่เขี่ยม โสรโย อดีตเจ้าอาวาส
หลวงปู่เขี่ยม ท่านเป็นลูกศิษย์หลวงปู่ฝั้น อาจาโรและหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
หลวงปู่ฝั้น อาจาโร อดีตเจ้าอาวาสและวิปัสสนาจารย์
ที่วัดจะมีที่พักเป็นกุฏิ (กุฏิละ 1 คน) หรือพักรวมบนศาลาก็ได้
เหมาะสำหรับไปปฏิบัติธรรมแบบอุกฤษฎ์

ประวัติย่อวัดถ้ำขามหรือภูถ้ำขาม


วัด ตั้งอยู่บนยอดเขาในเขตบ้านคำข่าน้อย หมู่ ๑๑ ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๖๐ กิโลเมตร วัดนี้เป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์ ซึ่งตั้งขึ้นโดย หลวงปู่อาจารย์ฝั้น อาจาโร และเคยเป็นสถานที่ที่ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร และหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ใช้ฝึกวิปัสสนาบำเพ็ญเพียร ทุกวันนี้ยังคงเป็นยอดเขาที่สงบเงียบ เหมาะเป็นสถานที่นั่งวิปัสสนาสมาธิสำหรับผู้ใฝ่ธรรมและเป็นที่พักผ่อนจิตใจ สำหรับบุคคลทั่วไป บริเวณวัดถ้ำขามเมื่อเดินขึ้นบันไดไป ๓๐๐ เมตร จะพบลานหินบนยอดเขาซึ่งมีทิวทัศน์งดงามโดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อน จะมีดอกลั่นทมป่าบานสะพรั่งสวยงาม

วัดอยู่บนเขาสูง มีพื้นที่จดเขตอุทยานป่าแนวเทือกเขาภูพาน จากตัว จ.สกลนคร ใช้ทางหลวงหมายเลข ๒๒ ไปทาง จ.อุดรธานีประมาณ ๒๐ กม. จะมีป้ายวัดให้เลี้ยวซ้ายเข้าไป ๑๖ กม. วัดอยู่บนเขาสูงทิวทัศน์สวยงาม อากาศดี แม้จะค่อนข้างสูง แต่ก็มีบันไดขึ้นลงสะดวก หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ธุดงค์ไปพบและพักปฏิบัติรุกมูล ต่อมาได้พัฒนาเป็นวัด ส่วนหลวงปู่เทสก์ ก็ได้เลือกที่นี่สำหรับจำพรรษาในช่วงสุดท้ายแห่งชีวิต นอกจากนี้วัดถ้ำขามยังเป็นวัดที่ได้นำอิฐของหลวงปู่เทสก์ มาเก็บรักษาไว้ให้บุคคลทั่วไปเคารพบูชา


วัดถ้ำขามนี้หลวงปู่หลายองค์ บอกตรงกันว่า มีเทวดาคุ้มครองอยู่มาก โดยเฉพาะภายในบริเวณศาลาถ้ำขาม เทวดาจะมาไหว้พระสวดมนต์ทุกคืน จึงไม่ให้วิ่งหรือนั่ง-นอนเกะกะ หรือส่งเสียงดังไม่สำรวมบริเวณหน้าพระประธาน ทั้งนี้มีพระ ชี และบุคคลทั่วไปหลายคนประสบพบเห็นมาแล้ว










ที่มา : หนังสือสุดยอดสถานที่ปฏิบัติกรรมฐาน

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
http://www.kusol.com/membersend/mb0006.html
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=73&t=41029&sid=b1342930988bdf1e00ca50f3f6ce328d
http://www.baanmaha.com/community/newthread.php?do=newthread&f=35