วิธีทดสอบเห็ดพิษตามภูมิปัญญาชาวบ้าน

ฤดูฝนเป็นช่วงที่มีเห็ดในธรรมชาติขึ้นมากมาย ทำให้ชาวบ้านมักจะเก็บเห็ดมาบริโภคหรือขายตามตลาด แล้วคิดว่าเเห็ดกินได้ทุกชนิดจนทำให้เกิดอันตราย ซึ่งได้เก็บข้อมูลรวบรวมเห็ดพิษไว้ 7 ชนิด รวมทั้งแนะวิธีการทดสอบด้วย เพื่อไว้ใช้ยามฉุกเฉิน

เห็ดพิษในประเทศไทยมีอยู่หลายชนิด ทั้งที่มีพิษร้ายแรงที่สุดที่ทำให้อันตรายถึงแก่ชีวิตได้ คือ เห็ดในสกุลอะมานิตา (Amanita) และเห็ดในสกุลเฮลเวลลา (Helvella) ส่วนเห็ดในสกุลอื่นๆ ไม่เป็นอันตรายมากนัก เพียงแต่ทำให้เกิดอาการมึนเมา สำหรับในประเทศไทยเห็ดอะมานิตาเป็นเห็ดมีพิษที่ควรระวังมากที่สุด

ทางสถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้จัดทำข้อมูลเห็ดพิษ ที่มักพบได้ทั่วไปหรือบางชนิดมีลักษณะใกล้เคียงกับเห็ดที่รับประทานได้ รวมเห็ดพิษ 7 ชนิด เพื่อเผยแพร่เป็นความรู้ช่วยคุ้มครองผู้บริโภค

เห็ดไข่ตายซาก (เหนือ) หรือ เห็ดระโงกหิน (ตะวันออกเฉียงเหนือ)

เห็ดไข่เป็ด หรือ เห็ดระโงกหิน

เห็ดเกล็ดดาว

เห็ดกระโดงตีนต่ำ

เห็ดขี้วัว

เห็ดยวงขนุน

เห็ดไข่หงส์



การทดสอบเห็ดพิษแบบชาวบ้าน



วิธีการตรวจสอบเห็ดพิษแบบชาวบ้านต่อไปนี้ ถึงแม้จะไม่ถูกต้องตามหลักทางการแพทย์นัก แต่ก็จัดว่าเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้าน ที่จะใช้ตรวจสอบว่าเห็ดชนิดไหนรับประทานได้ ชนิดไหนเป็นเห็ดพิษ ซึ่งจะนำมาใช้ได้เป็นบางส่วนหรือในบางโอกาส ดังต่อไปนี้



1. นำข้าวสารมาต้มกับเห็ด ถ้าไม่เป็นพิษข้าวสารจะสุก ถ้าเป็นพิษข้าวสารจะสุกๆ ดิบๆ

2. ใช้ช้อนเงินคนต้มเห็ด ถ้าช้อนเงินกลายเป็นสีดำ จะเป็นเห็ดพิษ

3. ใช้ปูนกินหมากป้ายดอกเห็ด ถ้าเป็นเห็ดพิษจะกลายเป็นสีดำ

4. ใช้หัวหอมต้มกับเห็ด ถ้าเป็นเห็ดพิษจะเป็นสีดำ

5. ใช้มือถูเห็ดจนเป็นรอยแผล ถ้าเป็นพิษรอยแผลนั้นจะเป็นสีดำ แต่เห็ดแชมปิญญองเป็นเห็ดที่รับประทานได้ เมื่อเป็นแผลก็จะเป็นสีดำ

6. ดอกเห็ดที่มีรอยแมลงและสัตว์กัดกิน เห็ดนั้นไม่เป็นพิษ แต่กระต่ายและหอยทากสามารถกินเห็ดพิษได้

7. เห็ดที่เกิดผิดฤดูกาล มักจะเป็นพิษ แต่ในทุกวันนี้สามารถเพาะเห็ดได้ตลอดปี

8. เห็ดพิษมักจะมีสีฉูดฉาด เห็ดรับประทานได้จะมีสีอ่อน



การปฐมพยาบาลผู้ป่วยที่รับประทานเห็ดพิษ



หากพบผู้ป่วยที่รับประทานเห็ดพิษและเกิดอาการพิษขึ้น ควรทำให้ผู้ป่วยอาเจียนโดยเร็ว เพื่อเอาเศษอาหารที่ ตกค้าง ออกมาให้มากที่สุด หากผู้ป่วยอาเจียนออกยากให้ใช้เกลือแกง 3 ช้อนชา ผสมน้ำอุ่นดื่มจะทำให้อาเจียนได้ง่ายขึ้น แต่วิธีนี้ห้ามใช้กับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ แล้วให้รีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์โดยด่วน พร้อมกับตัวอย่างเห็ดพิษ (หากยังเหลืออยู่) เพื่อให้แพทย์รักษาต่อไป

แหล่งที่มา http://www.dailynews.co.th