ความรู้ทั่วไป เกี่ยวกับปลวก

ปลวกเป็นแมลงที่สำคัญในแง่ของเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก มีทั้งคุณและโทษ ปลวก จัดเป็นสังคมส่วนหนึ่งของป่าไม้ที่สำคัญ เป็นทั้งผู้สร้างและผู้ทำลายในระบบนิเวศ โทษของปลวกนั้นเกิดขึ้น เพราะว่าปลวกเป็นแมลงที่ต้องการเซลลูโลสเป็นอาหารหลักในการดำรงชีวิต โดย เซลลูโลส เป็นส่วนประกอบสำคัญของเนื้อไม้ ดังนั้นปลวกจึงเข้าทำลายไม้ หรือ โครงสร้างอาคารบ้านเรือน รวมถึงวัสดุข้าวของ เครื่องเรือน เครื่องใช้ ต่าง ๆ ที่ทำจากไม้ และ ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ผลิตจากส่วนผสมของ เซลลูโลส หรือ มี เซลลูโลส เป็นส่วนประกอบ

ในประเทศไทย ปลวกแพร่กระจายอยู่กว่า 150 ชนิด แต่มีเพียง 10 ชนิดเท่านั้ที่ต่อให้เกิดความเสียหายต่อไม้ที่นำไปใช้ประโยชน์

ปลวกใต้ดิน จัดเป็นปลวกที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจสูงที่สุด โดยก่อให้เกิดความเสียหายของอาคารบ้านเรือน คิดเป็นมูลค่าปีละหลายร้อยล้านบาท การเข้าทำลายของปลวกชนิดนี้เริ่มจาก ที่อยู่อาศัยใต้พื้นดิน ท่อทางเดินใต้ดิน ทะลุขึ้นมาตามรอยแตก ของคอนกรีต หรือรอยเชื่อต่อระหว่างผนัง เสา คานคอดิน เพื่อเข้าไปทำลายโครงสร้างไม้ต่าง ๆ ภายในอาคาร เช่น เสาและคานไม้ พื้นปาเก้ คร่าวเพดาน คร่าวฝา ไม้วงกบ ประตู และ หน้าต่าง

ในการดำรงค์ชีวิตของปลวกใต้ดิน นอกจากอาหารแล้ว ความชื้นเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิตของปลวกอีกประการหนึ่ง ข้อมูลทางชีววิทยา และ นิเวศวิทยา ของปลวกนี้ ช่วยให้สามารถวางแผน และ วางแนวทางในการควบคุม ปลวกประเภทนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีวิธีดำเนินการหลายวิธี เช่น การทำให้พื้นดินภายในอาคารเป็นพิษ การทำแนวป้องกันใต้อาคารที่ปลวกใต้ดินไม่สามารถเจาะผ่านได้ หรือ การทำให้เนื้อไม้เป็นพิษ ปลวกใช้ทำอาหารไม่ได้ การดำเนินการมีทั้งการใช้สารเคมี และ ไม่ใช้สารเคมี ซึ่งขั้นตอนในการควบคุมปลวกนี้ ประชาชนทั่วไปสามารถนำไปปฏิบัติได้ด้วยตนเอง เพื่อช่วยลดความเสียหาย และ ช่วยยืดอายุการใช้ประโยชน์ไม้ให้คงทนถาวรยิ่งขึ้น

ความรู้ทั่วไป เกี่ยวกับปลวก

ความสำคัญของปลวก

ปลวกเป็นแมลงที่มีความสำคัญในแง่เศรษฐกิจมาก คือ มีทั้งประโยชน์และโทษ

ประโยชน์ที่ได้รับจากปลวก ปลวกเป็นแมลงที่มีบทบาทสำคัญ มากในระบบนิเวศวิทยา ป่าไม้ คือ

* ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุต่าง ๆ ได้แก่เศษไม้ ท่อนไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ และ ส่วนต่าง ๆ ของพืช ที่หักร่วง ล้มตายทับถมกันอยู่ในป่า แล้วเปลี่ยนให้กลายสภาพเป็น ฮิวมัส ในดิน เป็นกระบวนการหมุนเวียนธาตุ อาหารจากพืชไปสู่ดิน ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ ซึ่งจะส่งผลให้พรรณพืชทุกระดับ ในป่าธรรมชาติ เจริญเติมโตสมบูรณ์
* บทบาทสำคัญในห่วงโซ่อาหาร ในระบบนิเวศน์ นอกจากจะช่วยให้พืชในป่าเจริญเติมโตแล้ว ยังเป็นอาหารของสัตว์ป่าได้อีกด้วย โดยตัวปลวกเองเป็นอาหารที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยโปรตีน ของสัตว์ขนาดเล็กหลายชนิด เช่น ไก่ กบ นก คางคก และ สัตว์เลื้อยคลานต่าง ๆ ซึ่งจะกลายเป็นอาหารสัตว์ใหญ่ต่อไปเป็นทอด ๆ
* เป็นแหล่งผลิตโปรตีนสำคัญ ของมนุษย์ โดยปลวกบางชนิดสามารถสร้างเห็ดโคน ซึ่งเป็นอาหารอันโอชะและมีราคาแพง สามารถสร้างรายได้เสริมให้แก่เกษตรกร ทั้งนี้โดยมีเชื้อราที่อยู่ในปลวกหลายชนิดช่วยในการผลิต
* จุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในทางเดินอาหารของปลวก สามารถผลิตเอ็นไซม์บางชนิดที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถนำมาพัฒนาเพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ด้านการเกษตร อุตสาหกรรม หรือ ใช้ในการแก้ไขควบคุมมลภาวะสิ่งแวดล้อมในอนาคตต่อไป เช่น การย่อยสลายสารกำจัดศัตรูพืช ที่มีฤทธิ์ตกค้างนานหรือ การกำจัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมเป็นต้น

โทษที่เกิดจากปลวก ปลวกเป็นแมลงที่ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจต่อ

* กล้าไม้ และ ไม้ยืนต้นในป่าธรรมชาติและสวนป่า
* ไม้ใช้ประโยชน์ที่อยู่กลางแจ้ง
* ไม้ใช้ประโยชน์ที่เป็นโครงสร้างภายในอาคารบ้านเรือน
* วัสดุของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ทำมาจากไม้ และ พืชเส้นใย เช่น โต๊ะ ตู้ กระดาษ หนังสือ พรมและเสื้อผ้า เป็นต้น
* กัดทำลายรากของพืชเกษตร พืชไร่ พืชผัก พืชสวนและไม้ผล

ความรู้ทั่วไป เกี่ยวกับปลวก

ปลวกเป็นแมลงที่อยู่ในอันดับ Isoptera ซึ่งปลวกจะมีลักษณะคล้ายมดมาก คนไทยเราจึงรู้จักปลวกในอีกชื่อหนึ่งว่า “มดขาว”

ปลวก จัดเป็นกลุ่มแมลงสังคม ปลวก มีโครงสร้างของลำตัวแบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกันคือ ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง ส่วนของหัวเป็นที่ตั้งของอวัยวะในการรับความรู้สึกเสียส่วนใหญ่ เช่น หนวด 1 คู่ ลักษณะเป็นปล้องเล็กๆ ต่อกันคล้ายลูกปัด10-32 ปล้อง หน้าที่ของหนวดช่วยในการรับความรู้สึก นอกจากนี้ยังประกอบด้วยตาประกอบ 1 คู่ (ยกเว้น ปลวกงาน ที่จะไม่มีตา) มีปากอยู่ด้านล่างของหัว ปากจะมีส่วนของกรามและฟันเจริญดี

ความรู้ทั่วไป เกี่ยวกับปลวก

ปลวกส่วนอกประกอบด้วย อก 3 ปล้องแต่ละปล้องจะเป็นที่ตั้งของขาปล้องละ 1 คู่ ปีกของปลวกตัวเต็มวัยโดยปีกคู่หน้าจะตั้งอยู่ตรงส่วนของอกปล้องที่ 2 และปีกคู่หลังจะตั้งอยู่ตรงส่วน ของอกปล้องที่สุดท้าย

ส่วนท้องเป็นส่วนที่อยู่ต่อจากอกปล้องที่ 3 ลักษณะเรียงต่อกันทั้งหมดประมาณ 10 ปล้อง บริเวณด้านของส่วนท้องจะเป็นที่ตั้งของรูหายใจประมาณ 8 คู่ ปล้องท้ายๆ จะเป็นที่ตั้งของอวัยวะสืบพันธุ์ อวัยวะในการวางไข่ และอวัยวะที่จะใช้ในการขับถ่าย

ความรู้ทั่วไป เกี่ยวกับปลวก

“ปลวก” วัฎจักรชีวิตในกองดิน

แทบทุกครั้งที่ออกเดินศึกษาธรรมชาติในป่า เรามักพบเห็นจอมปลวกขนาดเล็กบ้างใหญ่บ้างกระจายอยู่ทั่วไป เคยสงสัยไหมว่าปลวกมีวงจรชีวิตเช่นใดภายในกองดินอันแข็งแกร่ง
จอมปลวก หรือ รังของปลวก ถือเป็นอาณาจักรของแมลงที่มีขนาดใหญ่และซับซ้อนมากที่สุดรังปลวกบางพันธุ์ในทวีปแอฟริกามีความสูงเหนือพื้นดินถึง ๖ เมตร มีอุโมงค์เชื่อมต่อใต้ดินครอบคลุมพื้นที่มากกว่า ๕ ไร่ และมีปลวกอาศัยอยู่รวมกันประมาณ ๕ ล้านตัว รังของปลวกที่มีลักษณะเป็นกองดินขนาดใหญ่ในบ้านเรามักเป็นปลวกในสกุล Macrotemes ความที่ปลวก (Termite) มีรูปร่างคล้ายมดและมีสีค่อนข้างขวาซีด จึงมีชื่อเรียกบางชื่อว่า White ant ทั้งที่จริง ๆ แล้วปลวกจัดอยู่ในอันดับ Isopthera ส่วนมด ผึ้ง ต่อ แตน นั้นจัดอยู่ในอันดับ Hyminoptera เพราะปลวกมีส่วนท้องกว้างกว่าอก ซึ่งผิดกับมดที่ส่วนท้องตอนที่ติดกับอกคอดกิ่ว ปัจจุบันทั่วโลกค้นพบชนิดของปลวกแล้วไม่ต่ำกว่า 1,800 ชนิด 200 สกุล ส่วนในประเทศไทยเองพบว่ามีปลวกนับร้อยชนิด
ปลวกแต่ละชนิดต่างมีกลวิธีและรูปแบบในการสร้างรังไม่เหมือน แต่ไม่ว่าจะมีขนาดมหึมาราวหอคอยหรือเล็กเพียงแค่เนินดิน ปลวกจำนวนมากมายในแต่ละรังจะแบ่งออกได้เป็น 3 วรรณะคือ ปลวกงาน ผู้คอยวิ่งวุ่นทำงานทุกอย่างภายในรัง เริ่มตั้งแต่ตอนก่อสร้างจอมปลวก ซ่อมแซมรังถ้ามีการสึกหรอ ดูแลรักษาไข่ของนางพญาไปจนถึงการหาอาหารมาเลี้ยงดูปลวกในวรรณะอื่น ถัดมาคือ ปลวกทหาร ซึ่งมีรูปร่างทะมัดทะแมงมีส่วนหัวและกรามใหญ่โตกว่าส่วนอื่น เพื่อใช้เป็นอาวุธในการออกรบ ปลวกทหารจะเป็นผู้ต้อนรับด่านแรกหากมีผู้บุกรุกเข้ามาภายในจอมปลวก และปลวกในวรรณะสุดท้ายได้แก่ ปลวกสืบพันธุ์ ซึ่งเป็นพวกเดียวที่มีโอกาสเจริญเติบโตจนสามารถผสมพันธุ์และวางไข่ได้ และเชื่อไหมว่าภายในจอมปลวกหนึ่ง ๆ ซึ่งมีปลวกนับหมื่นนับแสนตัวล้วนถือกำเนิดมาจากพญาปลวกเพียงตัวเดียว ส่วนนางพญาปลวกเกิดขึ้นได้อย่างไรนั้น ต้องไล่ค้นไปถึงวงจร

ความรู้ทั่วไป เกี่ยวกับปลวก

ชีวิตของปลวกอันเริ่มต้นจากการจับคู่ของมวลหมู่แมลงเม่า

แมลงเม่า (alates) คือปลวกในวรรณะสืบพันธุ์ที่โตเต็มที่โดยมีปีกยาวเลยลำตัวออกมา เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ ซึ่งมักจะอยู่ในช่วงฤดูฝน ปลวกหนุ่มสาวที่มีปีกภายในจอมปลวกจะพากันบินออกมาจากรังมารวมหมู่เพื่อเลือกคู่ครอง พอจับคู่กันได้หนึ่งต่อหนึ่ง ก็ชักชวนกันไปหาทำเลอันเหมาะสม จัดการสลัดปีกทิ้งผสมพันธุ์กันแล้วมุดลงสู่พื้นดิน หลังจากนั้นแมลงเม่าสองตัวก็จะกลายสภาพเป็นราชาและราชินีปลวก รานิชีเริ่มต้นขบวนการวางไข่อย่างต่อเนื่องทันทีหลังการผสมพันธุ์ โดยมีราชาคอยผสมพันธุ์ โดยมีราชาคอยผสมพันธุ์ให้เป็นระยะ ๆ นับจากนี้เธอจะกลายเป็นนางพญาปลวก คอยทำหน้าที่วางไข่สร้างประชากรไปตลอดชั่วชีวิต เมื่อเวลาผ่านไปรูปร่างของนางพญาจะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ คือ ส่วนท้องจะขยายใหญ่ขึ้นตลอดเวลาเพื่อให้เหมาะสมกับจำนวนไข่ที่ต้องวางเพิ่ม เมื่ออายุ 10 ปี ขึ้นไปรูปร่างของนางพญาจะมองดูคล้ายหนอนยักษ์ตัวอ้วนพองที่เคลื่อนที่ไปไหนไม่ได้อีกต่อไป ประมาณกันว่านางพญาปลวกสามารถวางไข่ได้ 14 ฟอง ในทุก 3 วินาที ในช่วงเวลาไม่กี่เดือนเธอจึงมีลูกจำนวนมหาศาล ประชากรปลวกรุ่นใหม่เหล่านี้เองที่ช่วยกันสร้างอาณาจักรใหม่อย่างแข็งขัน การสร้างจอมปลวกเริ่มขึ้นโดยเหล่าปลวกงานจะช่วยกันกัดดินและขนดินมาทีละก้อน แล้วใช้น้ำลายเป็นตัวเชื่อมติด พวกมันค่อย ๆ สร้างผนังจอมปลวกแน่นหนาขึ้นทีละน้อยอย่างอดทน โดยมีปลวกทหารคอยทำหน้าที่อารักขาความปลอดภัยให้ ศัตรูสำคัญของปลวกทหารคือมดพันธุ์ต่าง ๆ ที่ชอบเข้ามารุกรานถึงภายในจอมปลวก เมื่อปราศจากการรบกวนปลวกงานจะสร้างห้องหับต่าง ๆ อย่างเป็นระบบเริ่มตั้งแต่ตำหนักของนางพญาที่จะต้องแข็งแกร่งเป็นพิเศษและซ่อนอยู่มิดชิดที่สุดภายในรัง แล้วจึงสร้างห้องเก็บรักษาไข่เพื่อบ่มฟักตัวอ่อน ซึ่งมันจะต้องขนไข่ออกจากตำหนักของนางพญามาจัดเก็บให้เป็นระเบียบอยู่เสมอเสร็จจากนั้นปลวกงานส่วนหนึ่งทำการขุดช่องระบายอากาศเพื่อให้ภายในจอมปลวกเย็นสบายอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งขุดอุโมงค์ใต้ดินสู่ภายนอกเพื่อใช้เป็นเส้นทางในการออกไปหาเสบียงอันได้แก่เศษไม้เป็นหลัก ความจริงปลวกไม่สามารถย่อยไม้ได้เองอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่เป็นโปรโตซัวซึ่งอาศัยอยู่ในกระเพาะของมันต่างหากที่ช่วยย่อยเซลลูโลสให้กลายเป็นสารอาหาร ปลวกงานจะนำเชื้อราที่ได้จากการย่อยมาสร้างเป็นสวนเห็ดขึ้นภายในจอมปลวกเพื่อลดภาระในการออกตระเวนหาอาหารจะเห็นว่าปลวกงานมีหน้าที่หนักที่สุดในบรรดาปลวกทั้ง 3 วรรณะ ปลวกงาน จึงมีประชากรมากที่สุด ทั้งนี้นางพญาจะมีฮอร์โมนสังคม (Social Hormone) ควบคุมการวางไข่ให้อัตราส่วนประชากรในวรรณะต่าง ๆ งงได้สมดุลอยู่ตลอดเวลา เมื่อทุกอย่างเริ่มเข้าที่ทางนางพญาจะผลิตปลวกในวรรณะสืบพันธุ์ขึ้นมาจำนวนหนึ่ง พอถึงฤดูผสมพันธุ์ปลวกจำนวนนี้จะกลายเป็นแมลงเม่าบินอำลาจากจอมปลวกอันเก่าเพื่อเริ่มต้นจับคู่และสร้างอาณาจักรของมันเองขึ้นมาอีกครั้ง ปลวกมีบทบาทสำคัญในการช่วยย่อยสลายไม้ เศษไม้ และวัตถุอื่น ๆ เพื่อนำแร่ธาตุหมุนเวียนกลับสู่ระบบนิเวศและเมื่อแปลงร่างเป็นแมลงเม่าก็ยังเป็นอาหารทรงคุณค่าทั้งต่อนกและสัตว์ต่างๆภายในกอง

แหล่งที่มา http://www.thaiantipest.com