"กล้วยนาก"

"กล้วยนาก"

"กล้วยนาก"

"กล้วยนาก" มีชื่อพื้นบ้านว่า กล้วยกุ้ง กุ้งแดง
"กล้วยนาก" มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Musa (AAA group)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของกล้วยนาก กล้วยนาก หรือกล้วยกุ้ง เป็นกล้วยที่พบทางภาคใต้ มีลักษณะของผลเป็นสีม่วงอมแดง หรือสีแดงอมม่วง
ลักษณะลำต้น มีลำต้นสูงประมาณ 3 - 4 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 18 - 22 เซนติเมตร กาบใบด้านนอกมีสีเขียวปนแดงหรือสีแดงอมม่วง ส่วนกาบใบด้านในมีสีชมพู ที่ส่วนของ
ลำต้นจะมีปื้นแดงเป็นแถบๆ
ใบ ก้านใบขอดงกล้วยนากหรือกล้วยกุ้งจะมีสีชมพูปนแดง ร่องใบเปิด ใบมีสีเขียวเข้ม ท้องใบมีสีชมพู
ดอก ดอกของกล้วยกุ้งมีลักษณะเป็นปลีรูปไข่ ปลายแหลม ปลีมีสีแดงอมม่วง กาบปลีเปิดม้วนงอขึ้น
ผล ในเครือหนึ่งๆของกล้วยนากหรือกล้วยกุ้งจะมี 5 - 7 หวี ในหวีหนึ่งๆจะมี 14 - 18 ผล ผลของกล้วยนากมีลักษณะของผลกลม ไม่มีเหลี่ยม คล้ายกับผลกล้วยไข่ มีความยาวผล 12 - 14 เซนติเมตร กว้าง 3 - 4 เซนติเมตร ผลของกล้วยนากหรือกล้วยกุ้งเมื่อดิบจะมีสีแดงสดใส และเมื่อแก่จัดจะมีสีเขียวอมแดง เมื่อสุกจะมีสีแดงอมเหลือง เนื้อผลมีสีเหลืองส้ม มีรสหวาน และมีกลิ่นหอมเย็น

สรรพคุณของกล้วยนากและวิธีใช้ กล้วยนากหรือกล้วยกุ้งใช้ประโยชน์ได้เกือบทุกส่วนนับตั้งแต่รากไปจนถึงใบ เช่นเดียวกับกล้วยหิน นอกจากนี้ผลของกล้วยนากยังใช้รับประทานสด ใบประกอบเครื่องบูชาเทวดา ในงานมงคล



'กล้วยนาก'หอม-อร่อย
ไม้ดี มีประโยชน์ : 'กล้วยนาก' หอม-อร่อย
..........

"กล้วยนาก" บางพื้นที่เรียก กล้วยกุ้ง กุ้งแดง ปลูกกันมากแถบภาคใต้ นิยมรับประทานเป็นผลสุก ใบนำมาประกอบเครื่องบูชาเทวดาในงานมงคลต่างๆได้

เป็นพืชลุ้มลุก ในตระกูล Musa สูง 3-4 เมตร กาบด้านนอกมีสีเขียวปนแดง ด้านในสีชมพู มีปื้นแดงเป็นแถบ

ใบ ออกเป็นใบเดี่ยว ก้านใบมีสีชมพูปนแดง ร่องใบเปิดค่อนข้างกว้าง พื้นมีสีเขียวเข้ม ขณะที่ท้องใบจะมีสีชมพู

ดอก เป็นลักษณะปลีรูปไข่ ปลายแหลม มีสีแดงอมม่วง กาบปลีเปิดม้วนงอขึ้น

ผล ออกเป็นเครือ เครือหนึ่งมี 5-7 หวี แต่ละหวีมี 14-18 ผล ผลกลมคล้ายกล้วยไข่ เมื่อดิบจะมีสีแดงสดใส เมื่อแก่จัดสีเขียวอมแดง เมื่อสุกสีแดงอมเหลือง เนื้อผลสีเหลืองส้ม รสหวาน กลิ่นหอมเย็น

ขยายพันธุ์ แยกหน่อปลูก เติบโตเร็วในทุกสภาพพื้นดิน ที่ระบายน้ำได้ดี มีแสงแดดส่องตลอดวัน


http://www.komchadluek.net/detail




ชื่อที่เรียก
กล้วยนาก
ชื่ออื่นๆ
กล้วยนาก
หมวดหมู่ทรัพยากร
พืช
ลักษณะ
กล้วย เป็นพรรณไม้ล้มลุกในสกุล Musa มีหลายชนิด เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยน้ำไท กล้วยหอมทอง กล้วยหอมเขียว กล้วยไข่ กล้วยตานี กล้วยหักมุก กล้วยเล็บมือนาง กล้วยนิ้วมือนาง กล้วยส้ม กล้วยนาค กล้วยหิน กล้วยงาช้าง ฯลฯ บางชนิดก็ออกหน่อแต่ว่าบางชนิดก็ไม่ออกหน่อ ใบแบนยาวใหญ่ ก้านใบตอนล่างเป็นกาบยาวหุ้มห่อซ้อนกันเป็นลำต้น ออกดอกที่ปลายลำต้นเป็น ปลี และมักยาวเป็นงวง มีลูกเป็นหวี ๆ รวมเรียกว่า เครือ พืชบางชนิดมีลำต้นคล้ายปาล์ม ออกใบเรียงกันเป็นแถวทำนองพัดคลี่ คล้ายใบกล้วย เช่น กล้วยพัด (Ravenala madagascariensis) ทว่าความจริงแล้วเป็นพืชในสกุลอื่น ที่มิใช่ทั้งปาล์มและกล้วย

ประโยชน์
การใช้ประโยชน์
กล้วยเป็นพืชที่ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ใบตองใช้ห่ออาหารและทำงานฝีมือหลายชนิด ลำต้นใช้ทำเชือกกล้วย กระทง

อาหารที่ทำจากกล้วย

ส่วนต่างๆของกล้วยนำมาทำอาหารได้หลายส่วน ทั้งหัวปลี หยวกกล้วย ผลทั้งสุกและดิบ ตัวอย่างเช่น กล้วยแขก กล้วยบวชชี กล้วยปิ้ง กล้วยตาก กล้วยเชื่อม ข้าวเม่าทอด กล้วยทอด

ประโยชน์ทางสมุนไพร

ใบอ่อนของกล้วยอังไฟพอนิ่ม ใช้พอกแก้เคล็ดขัดยอก
ก้านใบตองตำให้แหลกช่วยลดอาการบวมของฝี
หัวปลี ใช้บำรุงน้ำนม ช่วยลดน้ำตาลในเลือด
ผลกล้วยมีสารเซอโรโทนินซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาระบาย ผลดิบมีสารกระตุ้นเซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหารให้หลั่งสารออกมาเคลือบกระเพาะ
ในผลกล้วยสุกอุดมด้วยคาร์โบไฮเดรตถึง 22 % รวมถึงมีเกลือแร่ เพกติน วิตามินเอ บี และซี มีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา
แหล่งที่พบ
สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
ตำบล
จตุจักร
อำเภอ
จตุจักร
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
ฤดูกาลใช้ประโยชน์
ตลอดปี
ศักยภาพการใช้งาน
อนุรักษ์พันธุ์พืช
ชื่อสามัญ
Banana
ชื่อวิทยาศาสตร์
Musa sp.
ชื่อวงศ์
MUSACEAE
แหล่งที่มาของข้อมูล
หนังสือสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์


"กล้วยนาก"






เครดิต : http://natres.psu.ac.th/radio/radio_article/radio47-48/47-480021.htm
http://www.biogang.net/biodiversity_view.php?menu=biodiversity&uid=837&id=91235
http://www.baanmaha.com/community