กำลังแสดงผล 1 ถึง 1 จากทั้งหมด 1

หัวข้อ: ประวัติวันไหว้พระจันทร์

  1. #1
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63

    ประวัติวันไหว้พระจันทร์

    ประวัติวันไหว้พระจันทร์

    ประวัติวันไหว้พระจันทร์

    วันไหว้พระจันทร์ 2556 ประวัติวันไหว้พระจันทร์ ขนมไหว้พระจันทร์


    ค่ำคืนวันที่ 19 กันยายน 2556 เป็นอีกหนึ่งวันสำคัญของคนจีน นั่นคือ วันไหว้พระจันทร์ 2556 ซึ่ง วันไหว้พระจันทร์ ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 โดยในบางปี วันไหว้พระจันทร์ จะตรงกับเดือนกันยายน หรือตุลาคม ซึ่งก็คือช่วงกลางฤดูใบไม้ร่วง ชาวจีนจึงเรียกว่า "จงชิว" (Zhong Qiu) แปลว่า "กลางฤดูใบไม้ร่วง" ซี่ง วันไหว้พระจันทร์ เป็นประเพณีที่ชาวจีนถือปฏิบัติสืบต่อกันมานับพันปี

    ความเชื่อเกี่ยวกับ วันไหว้พระจันทร์

    วันไหว้พระจันทร์ เป็นวันที่พระจันทร์ส่องแสงงดงามที่สุด และเต็มดวงที่สุด ชาวจีนจึงให้พระจันทร์เป็นสัญลักษณ์ของความสวยงาม เป็นสื่อกลางของการคิดถึงซึ่งกันและกัน เมื่อคนในครอบครัวจากบ้านเกิดไปไกลคิดถึงครอบครัว ก็ให้แหงนมองดวงจันทร์ส่งความรู้สึกที่ดี ส่งความคิดถึงไปสู่ครอบครัวและคนที่รักผ่านดวงจันทร์

    นอกจากนี้ ชาวจีนยังถือว่า วันไหว้พระจันทร์ เป็นวันที่คนในครอบครัวจะได้แสดงความสามัคคีกัน และได้ชมดวงจันทร์พร้อมหน้ากัน ซึ่งชาวจีนได้นิยาม วันไหว้พระจันทร์ ว่า "วันแห่งการอยู่พร้อมหน้าของครอบครัว"

    ประวัติวันไหว้พระจันทร์

    อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับต้นกำเนิดของเทศกาลนี้ ยังคงไม่เป็นที่ปรากฏแน่ชัด บ้างก็ว่าจักรพรรดิ์วู แห่งราชวงศ์ฮั่น เป็นผู้ริเริ่มการฉลองเพื่อกราบไว้พระจันทร์เป็นเวลา 3 วันในฤดูใบไม้ร่วงนี้

    ขณะที่บางประวัติศาสตร์กล่าวว่า เทศกาลไหว้พระจันทร์ เกิดขึ้นในราวปี พ.ศ. 1911 ในช่วงมองโกลยึดครองจีน ขนมเค้กที่ทำขึ้นก็เพื่อซุกซ่อนข้อความลับของพวกกบฎ ที่มีถึงประชาชนทั่วทั้งประเทศให้มาชุมนุมกันครั้งใหญ่นเดือน 8 นี้ ทหารมองโกลไม่ได้ระแวงถึงจุดประสงค์ของพวกกบฎ เพราะคิดว่าขนมเค้กเหล่านั้นเป็นการทำตามประเพณีดั่งเดิมของชาวจีน ด้วยเหตุนี้ในคืนนั้นเองทหารมองโกลจึงถูกปราบเสียราบคาบ หลังจากที่ราชวงศ์ใหม่คือราชวงศ์หมิงได้ถูกจัดตั้งขึ้นแล้ว วันไหว้พระจันทร์ จึงถือปฏิบัติกันมาจนถึงทุกวันนี้

    การไหว้พระจันทร์

    ก่อนหน้านี้ วันไหว้พระจันทร์ ชาวจีนที่เป็นผู้ชายจะไม่นิยมไหว้พระจันทร์ เนื่องจากชาวจีนเชื่อว่า พระจันทร์ถือเป็นหยินซึ่งเป็นธาตุของผู้หญิง ผู้ชายถือเป็นหยาง ดังนั้น จึงให้แต่ผู้หญิงเป็นคนไหว้เท่านั้น แต่ปัจจุบันชาวจีนทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ก็สามารถไหว้พระจันทร์ได้เช่นกัน

    การไหว้พระจันทร์ จะเริ่มต้นตอนหัวค่ำซึ่งดวงจันทร์เริ่มปรากฏบนท้องฟ้า และถึงแม้ปีไหนหรือสถานที่แห่งใดมองไม่เห็นพระจันทร์ แต่การไหว้พระจันทร์ของชาวจีน ก็จะยังต้องมีการไหว้พระจันทร์ในค่ำคืนนั้นเหมือนเดิม พิธีดำเนินไปจนถึงประมาณ 4-5 ทุ่ม หลังเสร็จพิธีทุกคนในครอบครัวจะตั้งวงแบ่งกันกินขนมไหว้พระจันทร์ โดยขนมต้องนำมาหั่นแบ่งให้เท่ากับจำนวนคนในครอบครัว ห้ามเกินหรือขาด และแต่ละชิ้นต้องมีขนาดที่เท่ากัน ขนมไหว้พระจันทร์จึงเป็นสัญลักษณ์ของความสามัคคี ความกลมเกลียวคนในครอบครัว ดังนั้น รูปลักษณะของขนมไหว้พระจันทร์ จะต้องทำเป็นก้อนวงกลมเท่านั้น


    ประวัติวันไหว้พระจันทร์


    ขนมไหว้พระจันทร์ หรือ ของไหว้พระจันทร์

    ขนมไหว้พระจันทร์ (Moon Cake) เป็นของไหว้ที่ขาดไม่ได้ โดยขนมไหว้พระจันทร์จะทำเป็นรูปกลม จะต้องมีไส้หวาน หรือสอดไส้ด้วยธัญพืชที่มีรสหวานเท่านั้น แต่ปัจจุบัน ขนมไหว้พระจันทร์ มีทั้งไส้หมูแฮม ไส้หมูแดง ไส้หมูหยอง และไส้ต่าง ๆ ที่มีรสเค็ม รสเปรี้ยว ซึ่งไม่ได้ให้ความหมายใดๆ มากไปกว่า "ขนม" หรือ "Moon Cake" ที่รับประทานกันเพื่อความอร่อยเท่านั้น ซึ่ง ขนมไหว้พระจันทร์ จะมีการจำหน่ายกันล่วงหน้าก่อนวันไหว้พระจันทร์

    ส่วนผลไม้ต่าง ๆ อาทิ ส้มโอ แอปเปิ้ล สาลี่ ทับทิม กล้วย ส้ม และผลไม้ท้องถิ่นอื่น ๆ รวมทั้ง เครื่องสำอาง แป้ง ก็สามารถนำมาไหว้พระจันทร์ได้

    สถานที่ไหว้พระจันทร์

    ชาวจีนบางบ้านอาจจะไหว้พระจันทร์ที่ลานหน้าบ้าน ดาดฟ้า โดยมีการตั้งโต๊ะ ทำซุ้มต้นอ้อย มีธูปเทียน กระดาษเงินกระดาษทองที่พับเป็น เงินตราจีน โคมไฟ และสิ่งของเซ่นไหว้

    วันไหว้พระจันทร์ เป็นอีกวันหนึ่งที่คนในครอบครัวจะได้แสดงออกถึงความสามัคคีกัน ได้อยู่พร้อมหน้ากัน และหากคนที่ไมได้อยู่กับครอบครัวก็สามารถสื่อความรัก ความคิดถึงไปยังครอบครัว และคนที่รักได้ ดังนั้นในวันนี้จึงเป็นอีกหนึ่งวันที่คนจีนให้ความสำคัญ

    ***เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม**







    เทศกาลไหว้พระจันทร์

    ประวัติวันไหว้พระจันทร์
    โคมไฟสีแดงยามค่ำคืนในเทศกาลไหว้พระจันทร์ที่ฮ่องกง

    ประวัติวันไหว้พระจันทร์

    เทศกาลไหว้พระจันทร์ หรือ เทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง (อังกฤษ: Moon Festival[1], Mid-Autumn Festival; จีนตัวเต็ม: 中秋節; จีนตัวย่อ: 中秋节; พินอิน: zhōngqiū jié; เวียดนาม: Tết Trung Thu) เป็นเทศกาลตามวัฒนธรรมจีนที่มีขึ้นในกลางฤดูใบไม้ร่วง เพื่อเฉลิมฉลองการเก็บเกี่ยว จะมีขึ้นในคืนวันเพ็ญเดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติ (กันยายนตามปฏิทินสากล)
    ในเทศกาลนี้ ชาวจีนจะเฉลิมฉลองด้วยการไหว้ดวงจันทร์ในเวลากลางคืน ในบางประเทศ เช่น ฮ่องกง, ไต้หวัน, สิงคโปร์ หรือเวียดนาม จะจัดเป็นประเพณีใหญ่ มีการเฉลิมฉลองด้วยโคมไฟสีแดง เป็นสีสันยามค่ำคืน หรือบางแห่งอาจมีการเชิดมังกร ทั้งนี้จะมีชื่อเรียกต่างกันออกไปตามแต่ท้องถิ่น
    นอกจากนี้แล้ว ยังมีขนมชนิดหนึ่ง เรียกว่า "ขนมไหว้พระจันทร์" (月饼) ที่มีสันฐานกลมคล้ายขนมเค้ก ทำจากแป้ง มีไส้ต่าง ๆ เป็นธัญพืช ใช้เซ่นไหว้และรับประทานกันจนเป็นเอกลักษณ์สำหรับเทศกาลนี้
    ที่มาของเทศกาลนี้ เกี่ยวกับเทพปกรณัมจีนที่เล่าถึง เทพธิดาแห่งดวงจันทร์ ที่ชื่อ "ฉางเอ๋อ" (嫦娥) ซึ่งเป็นหญิงคนรักของโฮวอี้ นักยิงธนูแห่งสวรรค์ ที่ใช้ธนูยิงดวงอาทิตย์ตกลงไปถึง 9 ดวงจากทั้งหมด 10 ดวง ซึ่งเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนบัญชาสวรรค์ จึงโดนลงทัณฑ์ให้ไปใช้ัชีวิตธรรมดาเช่นมนุษย์ทั่วไปบนโลกมนุษย์กับฉางเอ๋อ แต่แล้วโฮวอี้ก็ถูกคนสนิททรยศฆ่าตาย ส่วนฉางเอ๋อนางได้ดื่มน้ำอมฤตเพื่อที่จะมีชีวิตอมตะ แล้วเหาะกลับไปยังดวงจันทร์อีกครั้งตามลำพังด้วยความเศร้าสร้อย ในยุคของฮั่นเหวินตี้ (漢文帝) แห่งราชวงศ์ฮั่น ได้ทรงพระสุบินว่า พระองค์ลอยขึ้นไปเที่ยวชมพระราชวังบนดวงจันทร์ และได้พบกับฉางเอ๋อกำลังร่ายรำอยู่อย่างงดงาม ในสุบินนั้น พระองค์ทรงเพลิดเพลินและเกษมสำราญเป็นอย่างยิ่ง กระทั่งเมื่อตื่นพระบรรทมและโปรดให้สุบินนั้นเป็นความจริง จึงมีรับสั่งให้นางสนมแต่งตัวและร่ายรำเลียนแบบเทพธิดาฉางเอ๋อที่พระองค์ได้พบเจอมา จนแพร่หลายไปสู่ราษฎรและเป็นประเพณีมา ซึ่งในอดีต ชาวจีนโดยเฉพาะหญิงสา่วจะสวดขอพรจากฉางเอ๋อเพื่อที่ขอให้มีความเยาว์วัยและงดงามตลอดไปดุจดั่งนาง
    นอกจากนี้แล้ว ยังมีอีกตำนานหนึ่งที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ขณะที่ชาวฮั่นถูกปกครองอย่างกดขี่จากชาวมองโกล (ราชวงศ์หยวน) ได้มีการก่อกบฏขึ้นของชาวฮั่น ด้วยการแอบส่งสาสน์บอกต่อ ๆ กันในไส้ขนม ความว่า คืนนี้เมื่อเวลายาม 3 ให้ทุกบ้านจัดการ...หารทหารมองโกลให้หมด อันเป็นที่มาของขนมไหว้พระจันทร์


    เทศกาลไหว้พระจันทร์ เป็นเทศกาลของชาวจีนโดยปกติจะมีวันเพ็ญ เดือน 8 (เดือนกันยายน หรือตุลาคม) ซึ่งปีนี้ตรงวันที่ 30 กันยายน 2555 เทศกาลนี้จัดขึ้นกลางฤดูใบไม้ร่วงจึงเรียกว่า "จงชิว" (Zhong Qiu) แปลว่า "กลางฤดูใบไม้ร่วง" เพื่อระลึกถึงเทพธิดาแห่งพระจันทร์ ซึ่งเชื่อกันว่าถือกำเนิดขึ้นในวันนี้ อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับต้นกำเนิดของเทศกาลนี้ยังคงไม่เป็นที่ปรากฏแน่ชัด บ้างก็ว่าจักรพรรดิ์วูแห่งราชวงศ์ฮั่นเป็นผู้ริเริ่มการฉลองเพื่อกราบไว้พระจันทร์เป็นเวลา 3 วันในฤดูใบไม้ร่วงนี้

    ประวัติวันไหว้พระจันทร์

    แต่หลายคนก็แย้งว่า ความจริงแล้วเทศกาลนี้เกิดขึ้นในราวปี พ.ศ. 1911 ในช่วงมองโกลยึดครองจีน ขนมเค้กที่ทำขึ้นก็เพื่อซุกซ่อนข้อความลับของพวกกบฎที่มีถึงประชาชนทั่วทั้งประเทศให้มาชุมนุมกันครั้งใหญ่ในเดือน 8 นี้ ทหารมองโกลไม่ได้ระแวงถึงจุดประสงค์ของพวกกบฎ เพราะคิดว่าขนมเค้กเหล่านั้นเป็นการทำตามประเพณีดั้งเดิมของชาวจีน ด้วยเหตุนี้ในคืนนั้นเองทหารมองโกลจึงถูกปราบเสียราบคาบหลังจากที่ราชวงศ์ใหม่คือราชวงศ์ หมิงได้ถูกจัดตั้งขึ้นแล้ว ประเพณีนี้ก็ถือปฏิบัติกันมาจนถึงทุกวันนี้ จันทราเทวี ฉางเอ๋อ วาดโดยฮว๋าซานชวน

    นอกจากข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เหล่านี้แล้ว ก็ยังมีนิทานและตำนานอีกหลายเรื่อง หนึ่งในจำนวนนี้ก็คือเรื่องเกี่ยวกับนางเซียงง้อ (บ้างก็เรียกฉางเอ๋อ) ซึ่งเป็นหญิงที่มีความงดงามมาก นางเป็นภรรยาของขุนนางจีนท่านหนึ่ง หลังจากที่นางทานยาวิเศษเข้าไป นางก็เหาะขึ้นไปอยู่บนพระจันทร์ภายหลังนางกลายเป็นอมตะหลังจากที่ได้ดื่มน้ำอมฤตของเทพธิดาองค์หนึ่งบนสวรรค์ กล่าวกันว่านางจันทรเทพธิดาเสี้ยงหงอมีน้ำใจเมตตาเอื้ออารีมาก พอถึงฤดูกาลเพาะปลูกนางก็จะประพรมน้ำอมฤตลงมาบนพื้นโลกและนี่ก็นำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองแก่ชาวไร่ชาวนาทั้งมวล


    เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูต่อนางจันทรเทพธิดาชาวนาจึงทำขนมโก๋จากแป้งข้าวเจ้าเพื่อสักการะนางในคืนวันเพ็ญเดือน 8 เนื่องจากว่าโดยปกติประเพณีต่าง ๆ ของชาวจีนจะเกี่ยวของกับการทำอาหารพิเศษ ๆ เพื่อเป็นเครื่องสักการะในวันนั้น แต่ว่าอาหารจีนที่ทำขึ้นในวันไหว้พระจันทร์นี้ไม่ใช่ขนมเค้กอย่างเช่นของชาวตะวันตกตามที่เข้าใจกัน ในประเทศไทย ศิลปะการทำขนมเค้กแบบชาวจีนนี้ถูกนำเข้ามาเผยแพร่โดยชาวจีนอพยพมากกว่า 100 ปีมาแล้ว ขนมไหว้พระจันทร์ของจีนแต่เดิมนั้นมีส่วนประกอบ เช่น ถั่วแดง ลูกนัทจีน 5 ชนิด และ เมล็ดบัว เป็นต้น


    ประวัติวันไหว้พระจันทร์

    ในประเทศไทยก็มีส่วนประกอบที่แตกต่างออกไป เช่น การรวมเอาทุเรียน ลูกเกาลัดและลูกพลับเข้าไว้ด้วย เครื่องปรุงที่เพิ่มเข้ามาก็อาจจะรวมเอาเมล็ดบัว ไข่แดงเค็ม และเมล็ดแตงโมด้วย เป็นที่น่าสังเกตว่า โดยปกติแล้วพิธีนี้จะให้สตรีเป็นผู้ทำเพราะว่าคนเชื่อกันว่าพระจันทร์มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างแนบแน่นกับเทพเจ้าสตรีเรื่อยมา ดังนั้น จึงมีการบูชาด้วยแป้งและเครื่องสำอางด้วยเพราะหวังว่าการทำเช่นนี้จะนำมาซึ่งความสวยงามและผิวงามแก่สมาชิกในครอบครัวที่เป็นจริงทั้งหมด ไม่ว่าความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์จะก้าวหน้าไปไกลขนาดไหนก็ตาม สิ่งเหล่านี้ไม่มีผลกระทบต่อความเชื่อตามประเพณี และพิธีที่สืบทอดกันมาชั่วลูกชั่วหลานของชาวจีนแต่ประการใด

    ขั้นตอนการไหว้พระจันทร์

    1. ไหว้เจ้าในช่วงเช้า ของไหว้จัดปกติ เหมือนจัดของไหว้เจ้าปกติ แต่เพิ่มขนมไหว้พิเศษ คือ ขนมไหว้พระจันทร์, ขนมโก๋, ขนมเปี๊ยะ

    2. ของไหว้บรรพบุรุษ ของไหว้จัดปกติ เหมือนจัดของไหว้บรรพบุรุษปกติ แต่เพิ่มขนมไหว้พิเศษ คือ ขนมไหว้พระจันทร์ ไส้อะไรก็ได้, ขนมโก๋ต่าง, ขนมเปี๊ยะต่างๆ แล้วแต่เลือก ผลไม้ไหว้พิเศษ ส้มโอผลใหญ่ๆ สวยๆ

    3. ของไหว้เจ้าแม่ในตอนค่ำ

    - ของคาว อาหารเจแห้ง 5 อย่าง คือ วุ้นเส้น, ดอกไม้จีน, เห็ดหูหนู, เห็ดหอม, ฟองเต้าหู้

    - ขนมไหว้ ขนมไหว้พระจันทร์ ไส้อะไรก็ได้ ที่ไม่มีไข่แดงเค็ม และ ต้องไม่ใช่ไส้โหงวยิ้ง หรือเมล็ด 5 อย่าง เพราะไส้โหงวยิ้ง มีใส่มันหมูแข็ง จึงเป็นของชอ คือมีคาว แต่ไหว้เจ้าแม่ ต้องไหว้อาหารเจ

    - ขนมโก๋ มีหลายชนิดเช่น ขนมโก๋ขาว คนจีนเรียก "แป๊ะกอ" แป๊ะ แปลว่า สีขาว กอ คือขนม ก็มีอีกหลายแบบ ทั้งแบบ แผ่นกลม ใหญ่แบน ๆ ปั๊มทำลายนูนสวยงาม มีทั้งแบบกลมเล็ก ๆ ที่มีทั้งแบมีไส้และไม่มีไส้ แล้วยังมี ทำแบบ แท่งสี่เหลี่ยม มีไส้ก็มี ไม่มีไส้ก็มี , โก๋เหลือง หรือโก๋ถั่ว มีไส้ที่นิยม เช่น ไส้ทุเรียน ไส้งาดำ, โก๋เช้ง น่าสนใจที่สุด เพราะคนไทยไม่ค่อยรู้จัก นิยมทำเป็นแผ่นกลมใหญ่ ขนาดเท่าขนมโก๋ขาว เป็น แผ่นกลมแบนสีเหลืองตุ๋น ๆ เพราะผสมน้ำส้มเช้ง และบางเจ้า มีใส่เม็ดกวยจี๊ ที่แกะเปลือกแล้วด้วย เวลาเคี้ยวโดนจะกรุบกรับอร่อยดี และขนมโก๋อ่อน หรือหล่ากอ ก็ทานอร่อย เหนียว ๆ ยืด ๆ หนืด ๆ นิ่ม ๆ มีสอดไส่ถั่วบดหวานมันอร่อย ไส้งาดำก็มี

    - ผลไม้ อะไรก็ได้เหมือนปกติ และเพิ่มพิเศษ ส้มโอใหญ่ๆ สวยๆ

    - เครื่องดื่ม ใช้ชาน้ำหรือชาใบ หรือมีทั้งสองแบบ

    - กระดาษเงิน ค้อซี, กอจี๊

    - กระดาษเงิน-ทองพิเศษ

    1. เนี้ยเก็ง หรือวังเจ้าแม่กวนอิม

    2. โป๊ยเซียนตี่เอี๊ย คือ กระดาษ เงินกระดาษทองลายโป๊ยเซียน

    3. กระดาษเงินกระดาษทองแบบจัดทำพิเศษสวยงาม เช่น กิมก่อง คือ โคมคู่. สัปปะรด. อ้วงมึ้ง หรือผ้าม่าน, เนี้ยเพ้า คือ ชุดเจ้าแม่พระจันทร์ ถ้าไหว้เจ้าแม่พระ จันทร์ หรือกวนอิมเนี้ยเพ้า ถ้าคิดว่าการไหว้ของเราเป็นการไหว้เจ้าแม่กวนอิม

    - ของไหว้พิเศษอื่นๆ เครื่องใช้อุปโภค หรือสบู่ แชมพู ยาสีฟัน แป้ง เครื่องสำอาง ผ้าเช็ดหน้า อะไรก็ได้ที่เราใช้ประจำ เครื่องประดับ และ อ้อยลำยาวๆ ตัดจากราก และ เอายอดด้วยผูกไว้ ที่ด้านหน้าโต๊ะไหว้ ยึดกับขาโต๊ะ แล้วทำขึ้นไปเป็นซุ้มประตู แล้วตกแต่งสวยงาม พร้อมดอกไม้ ใส่แจกันประดับโต๊ะไหว้

    - จำนวนธูปไหว้ 3 ดอก หรือ บางบ้านใช้ธูปไหว้พิเศษ เป็นธูปมังกรดอกใหญ่ดอกเดียว หรือ ดอกย่อมๆ

    3 ดอก เช่นเดียวกับ เทียนแดงคู่

    - เวลาไหว้ ไหว้หัวค่ำ บางบ้านขอบไหว้สาย เพื่อคอยเวลาให้พระจันทร์เต็มดวง








    ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก wikipedia,bloggang.com
    http://horoscope.sanook.com
    http://www.baanmaha.com/community/ne...ewthread&f=138
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย lungyai1123; 19-09-2013 at 11:52. เหตุผล: แก้ไขภาพ

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •