กำลังแสดงผล 1 ถึง 1 จากทั้งหมด 1

หัวข้อ: แตนเบียนหนอนกระทู้ผัก - สิ่งที่น่าพิศวงตามธรรมชาติ

Threaded View

คำตอบที่แล้วมา คำตอบที่แล้วมา   คำตอบถัดไป คำตอบถัดไป
  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    แตนเบียนหนอนกระทู้ผัก - สิ่งที่น่าพิศวงตามธรรมชาติ


    แตนเบียนหนอนกระทู้ผัก - สิ่งที่น่าพิศวงตามธรรมชาติ



    แตนเบียนหนอนกระทู้ผัก
    การใช้ศัตรูธรรมชาติในการจัดการแมลงศัตรูพืช โดยใช้แตนเบียน



    โดยหลักแล้ว ธรรมชาติจะสร้างสมดุลให้เกิดขึ้น ควบคู่กัน เช่น ธรรมชาติสร้างสิ่งเล็กๆที่เรียกว่าแมลง ซึ่งมีทั้งแมลงที่แสนสวยงาม และแมลงที่เป็นศัตรูของพืช เมื่อธรรมชาติสร้างศัตรูของพืชขึ้นมา ธรรมชาติก็สร้างแมลงที่กำจัดแมลงที่เป็นศัตรูของพืชอีกทีหนึ่งเหมือนกัน และในบางครั้งมนุษย์ก็ไม่รู้ความลับของธรรมชาติ มนุษย์กับเป็นผู้ทำลาย สิ่งที่ธรรมชาติสร้างเสียเอง ใช่การใช้สารกำจัดแมลงอย่างไม่ถูกต้องและเกินความจำเป็น ซึ่งเป็นการทำลายสิ่งที่ธรรมชาติได้สร้างขึ้นโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์นั่นเอง



    แตนเบียนหนอนกระทู้ผัก - สิ่งที่น่าพิศวงตามธรรมชาติ



    เช่นกรณีของ

    หนอนกระทู้ผัก เป็นหนอนที่สำคัญมากต่อการปลูกผักทั่วโลก ตัวเต็มวัยตัวผู้มีสีเข้ม ตัวเมียมีแถบสีจาง ปีกยาวกว่าตัวผู้เล็กน้อย เวลาเกาะหุบปีกอยู่บนหลัง โดยแถบสีจางบนหลังเป็นรูปสี่เหลี่ยมข้ามหลามตัด หรือที่ฝรั่งมองว่าเป็นรูปเพชรหลายเม็ดมาเรียงต่อกัน จึงเรียกผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็กนี้ว่า “diamond-back moth” ตัวเต็มวัยหลังจากออกจากดักแด้ แล้วสามารถผสมพันธุ์และวางไข่ได้ภาย ใน 1 วัน

    และการมีวงจรชีวิตที่สั้นจึงทำให้แมลงชนิดนี้ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว วงจรชีวิตของหนอนใยผักใช้เวลา 14-18 วัน อาจมีมากถึง 25 ชั่วอายุขัยต่อปี


    ตัวหนอนมีลักษณะลำตัวเรียวยาว หัวแหลมท้ายแหลม ขาเทียมคู่สุดท้ายยื่นออกเป็น 2 แฉก เมื่อถูกกระทบกระเทือน มักทิ้งตัวลงดินโดยการชักใยและสามารถปีนเส้นใยกลับมาเกาะกินอยู่ที่เดิมได้ ดักแด้มีลักษณะเป็นรูปกระสวยมีใยไหมปกคลุม ปัจจุบันหนอนกระทู้ผักสามารถสร้างความต้านทานต่อสารฆ่าแมลงได้หลายชนิด และรวดเร็ว จึงเป็นการยากที่จะป้องกันกำจัดด้วยสารฆ่าแมลงด้วยการฉีดพ่นเป็นประจำเพียงอย่างเดียว ดังนั้นการป้องกันกำจัดจึงต้องใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพหลายกลุ่มพ่นสลับกัน หรือใช้การป้องกันกำจัดหลายๆ วิธีการผสมผสานกัน


    แตนเบียนหนอนกระทู้ผัก - สิ่งที่น่าพิศวงตามธรรมชาติ


    แตนเบียนหนอนกระทู้ผัก - สิ่งที่น่าพิศวงตามธรรมชาติ


    ดังนั้นจะเห็นว่าหนอนกระทู้ผักทำความเสียหายรุนแรงแก่พืชผักหลายชนิด เช่น กะหล่ำปลี ผักกาดขาวปลี คะน้า ผักกาด กวางตุ้ง กะหล่ำดอก บรอคโคลี่ เป็นต้น

    โดยที่หนอนกระทู้ผักมีความต้านทานต่อสารเคมีกำจัดแมลงหลายชนิดและยากที่จะควบคุม ลักษณะการทำลายของหนอนกระทุ้ผักจะทำลายใบโดยแทะกินผิวใบด้านล่าง ทำให้มีลักษณะโปร่งแสงคล้าย “หน้าต่าง” บนผิวใบพืช

    ในธรรมชาติมีตัวเบียนมากมายหลายชนิดที่ช่วยลดปริมาณหนอนกระทู้ผัก การใช้สารกำจัดแมลงอย่างไม่ถูกต้องและเกินความจำเป็นจะเป็นการทำลายตัวเบียนที่เป็นประโยชน์เหล่านี้ และทำให้การควบคุมหนอนกระทู้ผักทำได้ยากขึ้น

    เกษตรกรสามารถช่วยกันอนุรักษ์ตัวเบียนเหล่านี้โดยใช้สารชีวภัณฑ์ต่างๆ เช่น เชื้อแบคทีเรีย Bt หรือสารสะเดา



    มารู้จักกับสิ่งที่ธรรมชาติได้สร้างขึ้นเพื่อกำจัดสิ่งที่เรียกว่าแมลงศัตรูพืช นั่นคือแตนเบียน

    แตนเบียนตัวแรกที่เราจะให้ท่านได้รู้จัก ก็คือ แตนเบียนของหนอนกระทู้ผัก



    แตนเบียนหนอนกระทู้ผัก

    Cotesia plutellae Kurdjumov

    อันดับ (Order) : Hymenoptera

    วงศ์ (Family) : Braconidae





    แตนเบียนหนอนกระทู้ผัก - สิ่งที่น่าพิศวงตามธรรมชาติ


    แตนเบียนหนอนกระทู้ผัก - สิ่งที่น่าพิศวงตามธรรมชาติ



    แตนเบียนหนอนกระทู้ผัก

    แตนเบียนหนอนกระทู้ผัก เป็นแมลงศัตรูธรรมชาติขนาดเล็ก สามารถเข้าทำลายหนอนกระทู้ผักโดยการเข้าเบียนหนอนใยผักในวัย 2-3 แมลงเบียนหนอนกระทู้ผักเพศเมีย 1 ตัว

    สามารถเบียนหนอนกระทู้ได้ 16 ตัว / วัน ตัวหนอนที่ถูกเบียนจะเคลื่อนไหวช้า ลำตัวสีซีดลง กินอาหารน้อย เมื่อตัวหนอนแตนเบียนเจริญเติบโตเต็มที่จะเจาะ ผนังลำตัวหนอนกระทู้ผักมาเข้าดักแด้ภายนอก ดักแด้มีสีขาว และจะติดแน่นบนใบพืช
    ปัจจุบันแตนเบียนหนอนกระทู้ผักเริ่มมีบทบาทมากขึ้น


    ในการควบคุมหนอนกระทู้ผักเนื่องจากหนอนกระทู้ผักสามารถเข้าทำลายผักได้อย่างรุนแรง บางครั้งไม่สามารถเก็บผลผลิตได้ และที่สำคัญที่สุดคือหนอนกระทู้ผักยังสามารถพัฒนาสร้างความต้านทานสาร ฆ่าแมลงได้อย่างรวดเร็ว การควบคุมโดยใช้แตนเบียน จึงเป็นแนวทางหนึ่ง ที่จะช่วยลดการใช้สารเคมีในการจำใจหนอนกระทู้ผัก



    รูปร่างลักษณะของแตนเบียนหนอนกระทู้ผัก



    แตนเบียนหนอนกระทู้ผัก - สิ่งที่น่าพิศวงตามธรรมชาติ



    ระยะไข่ มีสีขาวใส ยาวเรียว ส่วนท้ายแคบ ส่วนหัวกว้าง ไข่จะวางภายในตัวหนอน มักพบเพียง 1 ฟอง/หนอน 1 ตัว

    ตัวหนอน มีทั้งหมด 3 วัย มีลักษณะดังนี้

    หนอนวัย 1
    มีลักษณะลําตัวใส mandibulate type มี
    ส่วนหางยื่นยาวตอนท้ายของลำตัว และมีฟัน (mandible)
    ลำตัวมี 10 ปล้อง มองเห็นไม่ชัดเจน


    หนอนวัย 2
    ส่วนหัวกลม มีถุงเป็นกระเปาะที่ส่วนท้าย
    ลำตัว (anal vesicle) ลำตัวสีขาว และปล้องลำตัวมองเห็น
    ชัดเจน

    หนอนวัย 3
    ส่วนหัวมีลักษณะเรียวเล็กลง ส่วนท้ายเป็น
    กระเปาะ เล็กลง เป็นหนอนแบบ hymenopterous สีครีมขาว
    ถึงสีเหลืองอมเขียว ปล้องลำตัวเห็นชัดเจนมากขึ้น


    ระยะดักแด้ ดักแด้มีเส้นใยสีขาวหุ้ม
    ตัวเต็มวัย เพศผู้และเพศเมียมีขนาดเล็ก หนวดแบบ
    เส้นด้าย ลำตัว สีดำหรือสีน้ำตาล มี 18 ปล้อง ขาสีดำ ปีกบาง
    ใส เพศเมียมีอวัยวะวางไข่ยื่นยาวออกมาจากท้องปล้องสุดท้าย
    ของลำตัว

    ระยะเวลาการพัฒนาการจากไข่ถึงตัวเต็มวัยประมาณ16-23วัน


    พฤติกรรมการเบียน


    แตนเบียนหนอนกระทู้ผักตัวเมียจะใช้อวัยวะวางไข่แทงลงบนหนอนกระทู้ผัก และวางไข่ในแมลงอาศัยหรือเหยื่อ ตัวหนอนของแตนเบียนจะเจริญเติบโตอยู่ภายในลำตัวของหนอนกระทู้ผัก หนอนกระทู้ผักที่ถูกเบียนจะกินอาหารได้น้อยลงและตายใน
    เวลาต่อมา



    วงจรชีวิตของหนอนกระทุ้ผัก


    แตนเบียนหนอนกระทู้ผัก - สิ่งที่น่าพิศวงตามธรรมชาติ



    ระยะไข่ เป็นฟองเดี่ยวๆ หรือวางไข่กลุ่มติดกัน 2-5 ฟอง ไข่มีขนาดเล็กค่อนข้างแบนและยาวรี มีสีเหลืองอ่อนเป็น
    มัน ระยะไข่ 2-3 วัน


    ระยะตัวหนอน มีหัวแหลม ท้ายแหลม ลำตัวเรียวยาว ส่วนท้ายมีปุ่มยื่นออกไปเป็น 2 แฉก ตัวหนอนมสีเขียวอ่อน
    หรือเขียวปนเหลือง เมื่อถูกตัวจะดิ้นอย่างรุนแรง และทิ้งตัวลงดินโดยชักใย ระยะหนอน 4-8 วันมี 4 วัย


    ระยะดักแด้ มักพบที่บริเวณใบพืชโดยดักแด้จะมีใยปกคลุม ระยะดักแด้ 4-5 วัน

    ระยะตัวเต็มวัย เป็นผีเสื้อขนาดเล็กสีเทา มีอายุ 7-12 วัน ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่ได้ประมาณ 37-407 ฟอง


    แตนเบียนหนอนกระทู้ผัก - สิ่งที่น่าพิศวงตามธรรมชาติ



    ลักษณะการทำลายของหนอนกระทู้ผัก

    หนอนกระทู้ผักจะกัดกินผิวใบด้านล่างเป็นวงกว้างทำให้มองเห็นใบมีลักษณะโปร่งแสง หากมีการระบาดรุนแรงจะกัดกินใบจนเป็นรูพรุน ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต นิสัยของหนอนใยผักเมื่อถูกตัวจะดิ้นและสร้างใย ทิ้งตัวห้อยลงบนพื้นดิน จึงเรียกชื่อของหนอนชนิดนี้ว่าหนอนกระผัก



    การนำแตนเบียนไปใช้ประโยชน์

    นำแตนเบียนหนอนกระทู้ผักระยะตัวเต็มวัย ไปปล่อย เพื่อควบคุมปริมาณหนอนกระทู้ผักในแปลงผัก เช่น คะน้า ผักกะหล่ำ เป็นต้น โดยจะปล่อยในช่วงเช้าและเย็น หรือในช่วงที่แสงแดดไม่ร้อนเกินไป


    การอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ


    1. หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่เป็นอันตรายต่อศัตรูธรรมชาติ
    2. ใช้สารกำจัดศัตรูพืชที่มีความปลอดภัยสูงต่อสภาพแวดล้อม
    3. เพิ่มอาหารเสริมแก่แมลงเบียนในธรรมชาติ
    4. ควรเหลือวัชพืชในแปลงปลูกบางส่วน เพื่อเป็นร่มเงาแก่ศัตรูธรรมชาติ
    5. ไม่เผาเศษซากพืชหลังการเก็บเกี่ยว





    ขอบคุณ

    - ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

    - malaeng.com
    - ดร. เบรนท์ โรเวลล์ มหาวิทยาลัยเคนตั๊กกี้ ประเทศสหรัฐอเมริกา
    และอาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยแม่โจ้

    - life.illinois.edu





    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 02-10-2013 at 05:33.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •