กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: สารเร่งเนื้อแดง

  1. #1
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63

    สารเร่งเนื้อแดง

    Beta-agonist / สารเร่งเนื้อแดง

    สารเร่งเนื้อแดง

    สารเร่งเนื้อแดง

    สารเร่งเนื้อแดง

    สารเร่งเนื้อแดงเป็นสารในกลุ่มเบต้าอะโกนิสต์ (Beta-Agonist หรือ b-Agonist) โดยที่สารในกลุ่มนี้เป็นตัวยาสำคัญในยาบรรเทาโรคหอบ หืด ช่วยในการขยายหลอดลม มีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นการเต้นของหัวใจ ช่วยให้กล้ามเนื้อมดลูกคลายตัว และช่วยให้กล้ามเนื้อขยายตัว เพิ่มการสลายตัวไขมันที่สะสมในร่างกาย

    แต่มีการนำสารในกลุ่มนี้ โดยเฉพาะ เคลนบิวเตอรอล (clenbuteral) และ ซัลบูตามอล (salbutamol) มาใส่ในอาหารสำหรับเลี้ยงหมู ซึ่งสารนี้จะตกค้างในเนื้อหมู และสะสมมาทำอันตรายต่อผู้บริโภค

    เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูรู้จักและเริ่มใช้สารเบต้าอะโกนิสต์ โดยเฉพาะเคลนบิวเตอรอลมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2531 โดยใช้ชื่อทางการค้าต่างๆ กัน เช่น เลนดอล โดโซลบี แอมโปรฟีด บีดอล 2201 และแมคโตเอส เป็นต้น

    เนื่องจากไม่มีการใช้เคลนบิวเตอรอลในยาคน และความเข้มงวดในการสั่งนำเข้าประเทศ ดังนั้น จึงมีการนำสารเร่งเนื้อแดงอีกชนิดหนึ่งคือซัลบูตามอล ซึ่งหาซื้อได้ง่ายกว่าเพราะมีการใช้เป็นยาของคนมาใช้ผิดวัตถุประสงค์ คือใช้เป็นสารเร่งเนื้อแดง โดยผสมในอาหารและน้ำสำหรับเลี้ยงหมู เพื่อให้ได้เนื้อหมูที่มีเนื้อแดงมาก ไขมันน้อย ขายได้ราคาดี

    ผลของสารเร่งเนื้อแดงก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อตัวสัตว์ ทำให้สัตว์เกิดอาการหัวใจเต้นเร็วขึ้น ในสัตว์บางชนิดอาจพบการตายของกล้ามเนื้อหัวใจ ทั้งนี้ การสร้างความร้อนในตัวสัตว์ที่เพิ่มขึ้น มีผลทำให้สัตว์ทนต่อความร้อนได้น้อยลง และอาจเกิดภาวะเครียดจากความร้อน (heat stress) ได้

    โดยในหมูที่ยังไม่ตายสังเกตอาการได้จากลักษณะมัดกล้ามนูนเด่นกว่าปกติ โดยเฉพาะบริเวณสะโพก สันหลังหรือบริเวณหัวไหล่ และถ้าได้รับสารดังกล่าวสูงมาก ๆ หมูจะมีอาการสั่นอยู่ตลอดเวลา

    สำหรับผู้บริโภค อันตรายจากการบริโภคเนื้อหมูหรือเนื้อสัตว์ที่มีสารเร่งเนื้อแดงตกค้างอยู่ มีผลต่อการทำงานของระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือด หลอดลม กระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น

    อาจมีอาการมือสั่น กล้ามเนื้อกระตุก ปวดศีรษะ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ กระวนกระวาย วิงเวียนศีรษะ บางรายมีอาการเป็นลม นอนไม่หลับ คลื่นไส้ อาเจียน มีอาการทางจิตประสาท และเป็นอันตรายมากสำหรับหญิงมีครรภ์และผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และโรคไฮเปอร์ไทรอยด์

    ประเทศไทยและต่างประเทศห้ามใช้สารกลุ่มนี้ในการผลิตอาหารสัตว์โดยเด็ดขาด เพราะเป็นอันตรายในอาหารประเภทอันตรายทางเคมี ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 269) พ.ศ.2546 เรื่องมาตรฐานอาหารที่มีการปนเปื้อนสารเคมีกลุ่มเบต้าอะโกนิสต์ ให้อาหารทุกชนิดมีมาตรฐานโดยตรวจไม่พบ การปนเปื้อนสารเคมีกลุ่มเบต้าอะโกนิสต์ (b-Agonist) และเกลือ ของสารกลุ่มนี้ รวมถึงสารในกระบวนการสร้างและสลาย (metabolites) ของสารดังกล่าวด้วย

    โดยการตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนสารเคมีให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการตรวจวิเคราะห์ทางวิชาการที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประกาศ โดยความ เห็นชอบของคณะกรรมการอาหารซึ่งมีความผิดตาม พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ.2525 มาตรา 6(5) และ 57







    คอลัมน์ รู้ไปโม้ด, ข่าวสดออนไลน์
    โดยน้าชาติ ประชาชื่น nachart@yahoo.com
    http://www.baanmaha.com/community

  2. #2
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63

    Beta-agonist / สารเร่งเนื้อแดง

    Beta-agonist / สารเร่งเนื้อแดง

    Beta-agonist / สารเร่งเนื้อแดง

    สารในกลุ่มบีตา - อะโกนิสต์ (เบต้าอะโกนิส) เช่นซัลบูทามอล (Salbutamol) ซิมบูเทอรอล (Cimbuterol) เคลนบูเทอรอล (Clenbuterol) มาเพนเทอ รอล (Mapenterol) แรคโตพามีน (Ractopamine) เคลนเพนเทอรอล (Clenpenterol) ไซมาเทอรอล (Cimaterol) คาบูเทอรอล (Cabuterol) มาบิวเทอรอล (Mabuterol) ทูโลบูเทอรอล (Tulobuterol) โบรโมบูเทอรอล (Bromobuterol) เทอบูทาลีน (terbutaline)

    Beta-agonist / สารเร่งเนื้อแดง

    Beta-agonist / สารเร่งเนื้อแดง


    หืดช่วยในการขยายหลอดลมมีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นการเต้นของหัวใจช่วยให้กล้ามเนื้อมดลูกคลายตัวและช่วยให้กล้ามเนื้อขยายตัว

    ในประเทศไทย เคลนบิวเทอรอล (Clenbuteral) และซัลบูทามอล (Salbutamol) มาใช้เติมลงในอาหารหมู เป็นอันตรายในอาหาร ( อาหารอันตราย ) ประเภทอันตรายทางเคมี ( สารเคมี โดยเฉพาะเคลนบิว - เทอรอลมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 โดยใช้ชื่อทางการค้าต่างๆกันเช่นเลนดอลโดโซลบีแอมโปรฟีดบีดอล 2201 และแมคโต - เอ สเป็นต้น



    ซัลบูทามอล (Salbutamol) เพื่อให้ซากหมูมีเนื้อแดงมากมีไขมันน้อยซึ่งทำให้ได้ราคาดี

    ผลของสารเร่งเนื้อแดงต่อหมู



    ก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อตัวสัตว์ และอาจเกิดภาวะเครียดจากความร้อน (ความเครียดความร้อน) ได้
    โดยเฉพาะบริเวณสะโพกสันหลังหรือบริเวณหัวไหล่ถ้าได้รับปริมาณสูงมาก ๆ หมูจะมีอาการสั่นอยู่ตลอดเวลา
    ผลของสารเร่งเนื้อแดงต่อซากหมู

    ไขมันน้อยลงตรงกับความต้องการของผู้บริโภค



    การเกิดเนื้อซีดฉ่ำน้ำ (PSE) ลดลง
    เนื้อสีแดงคล้ำกว่าปกติ


    อันตรายจากการบริโภคเนื้อหมูที่มีสารเร่งเนื้อแดงตกค้าง

    กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือดหลอดลมกระเพาะปัสสาวะเป็นต้นอาจมีอาการมือสั่นกล้ามเนื้อกระตุกปวดศีรษะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติกระวนกระวายวิงเวียนศีรษะบางรายมีอาการเป็นลมนอนไม่หลับคลื่นไส้อาเจียนมีอาการทางจิตประสาท ความดันโลหิตสูงเบาหวานและโรคไฮเปอร์ไทรอยด์

    เป็นอันตรายในอาหาร ( อาหารอันตราย ) ประเภทอันตรายทางเคมี ( สารเคมีอันตราย ) ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 269) พ.ศ. 2546 เรื่อง และเกลือของสารกลุ่มนี้รวมถึงสารในกระบวนการสร้างและสลายหรือเมแทบอไลต์ (metabolite) ของสารดังกล่าวด้วย ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ พ.ศ. 2525มาตรา 6 (5), 57



    การอ้างอิง

    รณชัยสิทธิไกรพงษ์ * สายชลเลิศสุวรรณ * กันยาตันติวิสุทธิกุล * และจุฑารัตน์เศรษฐกุล ผลของ Salbutamol เมื่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพซากของสุกรระยะขุน
    ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 269) พ.ศ. 2546 เรื่อง

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •