กำลังแสดงผล 1 ถึง 3 จากทั้งหมด 3

หัวข้อ: 19 ตุลา วันเทคโนโลยีของไทย

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    19 ตุลา วันเทคโนโลยีของไทย


    19 ตุลา วันเทคโนโลยีของไทย


    19 ตุลา วันเทคโนโลยีของไทย




    ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
    เรื่อง การเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    ในฐานะที่ทรงเป็น

    "พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย"

    และกำหนดให้วันที่ ๑๙ ตุลาคมของทุกปีเป็น

    "วันเทคโนโลยีของไทย"

    เล่ม ๑๑๘, ตอน พิเศษ ๕ ง, ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๔, หน้า ๑

    เป็นวันเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




    โดยประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2543
    ได้มีมติว่า ให้ความเห็นชอบในการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะทรงเป็น


    "พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย"




    และให้วันที่ 19 ตุลาคมของทุกปีเป็น


    "วันเทคโนโลยีของไทย"




    เนื่องจากวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2515


    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงอำนวยการสาธิตฝนเทียมสูตรใหม่ครั้งแรกของโลกด้วยพระองค์เอง ณ เขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี

    และทรงพระปรีชาสามารถทำให้ฝนตกลงตรงเป้าหมาย ท่ามกลางสายตาของคณะผู้แทนของรัฐบาลจากต่างประเทศ เป็นครั้งแรก

    โดยมอบหมายให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นหน่วยงานหลักในการจัดงาน



    โครงการพระราชดำริฝนหลวง เป็นโครงการที่ก่อกำเนิดจากพระมหากรุณาธิคุณ

    โครงการพระราชดำริฝนหลวง เป็นโครงการที่ก่อกำเนิดจากพระมหากรุณาธิคุณ

    ที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยากของพสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดาร ที่ต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ เพื่ออุปโภคบริโภค และเกษตรกรรม อันเนื่องมาจากภาวะแห้งแล้ง ซึ่งมีสาเหตุมาจากความผันแปรของฤดูกาลตามธรรมชาติ ฝนหลวงจึงเปรียบเสมือนน้ำพระราชหฤทัยที่พระราชทานจากฟ้ามาช่วยต่อลมหายใจให้กับเกษตรกร และประเทศไทย ที่ต้องพึ่งพิงการเกษตรกรรมเป็นหลัก



    นอกจาก "โครงการฝนหลวง" แล้ว
    พระองค์ยังทรงเป็นนักประดิษฐ์ และนักวิทยาศาสตร์ ดังจะเห็นได้จากโครงการในพระราชดำริ และที่เป็นสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ หลายด้าน ตัวอย่างเช่น



    กังหันน้ำชัยพัฒนา

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงประดิษฐ์คิดค้น "เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย" หรือ "กังหันชัยพัฒนา" เพื่อทำหน้าที่เติมออกซิเจนลงไปในน้ำ เป็นการลดมลภาวะทางน้ำถือได้ว่า เป็นประวัติศาสตร์ของการออกสิทธิบัตรแก่สิ่งประดิษฐ์ของไทย


    การออกแบบสายอากาศ (Antenna)

    เพื่อใช้กับวิทยุสื่อสารให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


    "ทฤษฎีใหม่"

    เป็นการบริหารจัดการที่ดินเพื่อเกษตรกร ให้มีสภาพการใช้งานที่สร้างความยั่งยืนมากกว่าการทำการเกษตร โดยไม่มีการแบ่งส่วนของที่ดิน เพื่อใช้ทำหน้าที่เป็นแหล่งน้ำ และเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ ควบคู่ไปกับการเพาะปลูก เป็นต้น ฯลฯ


    โครงการ "แกล้งดิน"

    โดยทรงพบว่า ดินพรุเป็นดินเปรี้ยวจัด ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ จึงมีพระราชดำริว่า ควรแกล้งทำให้ดินเปรี้ยวจนถึงที่สุด แล้วทำ "วิศวกรรมย้อนรอย" หาทางปรับปรุงดินที่เปรี้ยวนั้น เพื่อจะได้รู้วิธีแก้ไข และป้องกันไม่ให้เกิดสภาพเปรี้ยวแบบที่เคยเป็น จากนั้นจึงมีการปรับปรุงดินเปรี้ยวโดยวิธีการต่างๆ จนทำให้พื้นดินที่เปล่าประโยชน์ และไม่สามารถทำอะไรได้ กลับฟื้นคืนสภาพที่สามารถทำการเพาะปลูกได้อีกครั้งหนึ่ง





    "พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย"
    และ

    "วันเทคโนโลยีของไทย"



    โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดี และรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอด


    โดยทรงศึกษาค้นคว้าวิจัย และทรงนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาประยุกต์ใช้แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ตลอดจนเป็นการแสดงเทคโนโลยี ที่คิดค้นประดิษฐ์และพัฒนาโดยคนไทย เพื่อเป็นการกระตุ้น ให้สาธารณชนเกิดความเชื่อมั่นและเข้าร่วมพัฒนาเทคโนโลยีของไทย






    ขอบคุณ
    - technology.thai.net
    - most.go.th
    - th.wikipedia.org
    - ldd.go.th
    - dss.go.th
    -kapook.com







    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 19-10-2013 at 12:16.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  2. #2
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63
    ว้าวๆๆๆๆๆก็เหมือนจะลืมไปแล้วบางครั้งได้มีคนที่มีความรู้มาสะกิดเตือนก็ทำให้จำได้ขอบคุณครับ

  3. #3
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63

    ตชด.21จัดงานวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จย่า

    ตชด.21จัดงานวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จย่า

    ตชด.21จัดงานวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จย่า


    สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

    สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
    Srinagarindra, Princess Mother of Thailand.jpg
    พระนาม สังวาลย์
    พระอิสริยยศ สมเด็จพระบรมราชชนนี
    ราชวงศ์ ราชวงศ์จักรี


    ข้อมูลส่วนพระองค์
    ประสูติ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2443
    จังหวัดนนทบุรี, ประเทศสยาม
    สวรรคต 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 (94 ปี)
    โรงพยาบาลศิริราช, กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย
    พระบิดา ชู ชูกระมล
    พระมารดา คำ ชูกระมล
    พระสวามี สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
    (พ.ศ. 2463 - 2472)
    พระโอรส/ธิดา สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
    พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
    ด • พ • ก
    พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง พลตำรวจเอกหญิง สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พระนามเดิม: สังวาลย์ ตะละภัฏ; พระราชสมภพ: 21 ตุลาคม พ.ศ. 2443 ณ จังหวัดนนทบุรี — สวรรคต: 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ณ กรุงเทพมหานคร) เป็นพระชายาในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และพระราชชนนีในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์, พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบัน
    พระองค์มีพระนามที่นิยมเรียกกันว่า สมเด็จย่า และพระองค์ยังมีพระสมัญญานามว่า แม่ฟ้าหลวง ที่ชาวไทยภูเขาจากภาคเหนือถวายแด่พระองค์ เนื่องจากทรงเยี่ยมราษฎรชาวไทยภูเขาที่อาศัยในถิ่นทุรกันดาร และได้พระราชทานความช่วยเหลือผ่านทางเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง เปรียบเสมือนพระองค์เสด็จมาจากฟากฟ้าช่วยให้พวกเขามีวิถีชีวิตที่ดีขึ้น
    วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีมีพระอาการทรุดลง เนื่องด้วยมีพระอาการแทรกซ้อนทางพระยกนะ (ตับ) และพระวักกะ (ไต) ไม่ทำงาน พระหทัย (หัวใจ) ทำงานไม่ปกติ ความดันพระโลหิตต่ำทำให้เกิดภาวะเป็นกรดในพระโลหิต คณะแพทย์ได้ถวายการรักษาความผิดปกติของระบบต่าง ๆ รวมทั้งการฟอกพระโลหิตด้วยเครื่องไตเทียมและกรองสารพิษซึ่งเกิดจากภาวะผิดปกติของพระยกนะ แต่พระอาการคงอยู่ในภาวะวิกฤต จนกระทั่ง เวลา 21.17 น. สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเสด็จสวรรคต สิริพระชนมายุ 94 พรรษา


    ตชด.21จัดงานวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จย่า

    พระประวัติ

    ขณะทรงพระเยาว์


    ขณะทรงพระเยาว์
    สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระนามเดิมว่า สังวาลย์ (ไม่มีนามสกุล เนื่องจากพระราชบัญญัติขนานนามสกุลเริ่มมีในปี พ.ศ. 2456) เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2443 ทรงเป็นบุตรคนที่ 3 ในพระชนกชูและพระชนนีคำ มีพระภคินี และพระเชษฐา 2 คนซึ่งได้ถึงแก่กรรมตั้งแต่เยาว์วัย คงเหลือแต่พระอนุชาอ่อนกว่าพระองค์ 2 ปี คือ คุณถมยา
    พระชนกชู มีอาชีพเป็นช่างทอง เป็นบุตรชายของคหบดี ชื่อ ชุ่ม แต่ไม่ทราบนามของมารดา ชุ่มมีเชื้อสายสืบมาจากผู้ดีเก่าแถวตึกขาว มีนิวาสสถานอยู่ใกล้วัดอนงคาราม ฝั่งธนบุรี ส่วนพระชนนีคำ มีมารดาชื่อผา แต่ไม่ทราบนามของบิดา[4] พระชนนีคำเป็นสตรีที่รู้หนังสือซึ่งหาได้ยากในสมัยนั้น จึงได้นำความรู้นี้มาสอนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ด้วยพระอุปนิสัยที่ชอบการเรียนรู้ และการอ่านหนังสือตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ พระองค์จึงทรงเป็นผู้ที่มีไหวพริบ และเฉลียวฉลาด
    และเชื่อว่าเหล่าเครือญาติฝ่ายพระชนนีของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีมีเชื้อสายชาวเวียงจันทน์ เนื่องจากทางครอบครัวนิยมรับประทานข้าวเหนียว[4] ในพระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับถิ่นฐานเดิมของครอบครัว คือ บ้านช่างทอง ซึ่งตรงกับชุมชนชาวลาวด้านใต้ของธนบุรี อันเป็นชุมชนชาวลาวที่มีชื่อเสียงด้านฝีมือช่าง แต่ปัจจุบันชุมชนลาวดังกล่าวได้ย้ายไปยัง บ้านตีทอง รอบวัดสุทัศนเทพวรารามในปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าเครือญาติที่นิพนธ์นั้นอาจสืบเชื้อสายมาจากชาวลาวที่เคยในชุมชนบ้านช่างทองก็เป็นได้[6]
    พระชนกชูได้ถึงแก่กรรมตั้งแต่พระองค์มีพระชนมายุ 3 พรรษา และพระชนนีคำถึงแก่กรรมเมื่อพระองค์มีพระชนมายุเพียง 9 พรรษา[7] หลังจากนั้นพระองค์ทรงอยู่ในความอุปการะของป้าซ้วย พี่สาวของพระชนนีคำ ซึ่งมีอาชีพรับจ้างม้วนบุหรี่ และทำขนมขาย วันหนึ่ง ญาติของครอบครัวพระชนกชู มาแนะนำพระชนนีคำ ให้นำสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ไปฝากคุณจันทร์ แสงชูโต ซึ่งเป็นญาติและพระพี่เลี้ยงใน สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร พระเชษฐภคินีในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เพื่อถวายตัวเป็นข้าหลวง ในขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 7-8 พรรษา

    ตชด.21จัดงานวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จย่า

    ขณะยังทรงศึกษา


    สังวาลย์ และเนื่อง จินตดุลย์ สหายคนสนิท
    ท่านศึกษาที่ โรงเรียนศึกษานารี ได้ไม่นาน พระองค์ก็ได้ถูกส่งไปศึกษาที่โรงเรียนสตรีวิทยา โดยประทับอยู่บ้านคุณหวน หงสกุล วัดมหรรณพาราม โรงเรียนเพื่อประชาชนสามัญแห่งแรก พระองค์ทรงถูกเข็มเย็บผ้าตำฝ่าพระหัตถ์ ต้องเข้ารับผ่าตัดกับพระยาดำรงแพทยาคุณ (ฮวด วีระไวทยะ)
    เมื่อปี พ.ศ. 2456 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงตัดสินพระทัยเข้าโรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์ และหญิงพยาบาลแห่งศิริราช ตามคำชักชวนจากพระยาดำรงแพทยกุล หลังจากสำเร็จการศึกษา ทรงได้รับการคัดเลือกให้ไปทรงศึกษาวิชาพยาบาลต่อที่ โรงเรียนแพทย์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา พร้อมกับนางสาวอุบล ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา และ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์
    เมื่อไปเรียนต่างประเทศจำเป็นที่จะมีนามสกุลในหนังสือเดินทาง เมื่อขณะนั้นยังไม่มีนามสกุล จึงจำเป็นต้องมีการหานามสกุลให้ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีจึงได้ใช้นามสกุลของข้าราชบริพารที่มีนามสกุลคนหนึ่งคือ ขุนสงขลานครินทร์ (หลี ตะละภัฎ) เจ้ากรมของสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์[8] (เจ้านายที่ทรงกรมคือ เป็นกรมขุน หลวง ฯลฯ จะทรงมี "เจ้ากรม" ซึ่งทำหน้าที่เป็นราชเลขา หรือ ผู้จัดการส่วนพระองค์ ซึ่งจะมีบรรดาศักดิ์ตามเจ้านายของตน เมื่อหลังจากสิ้นพระชนม์แล้ว สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์ ได้เป็นกรมหลวงสงขลานครินทร์ ขุนสงขลานครินทร์ (หลี ตะละภัฏ) ก็เลื่อนเป็นหลวงสงขลานครินทร์) สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีจึงมีพระนามในหนังสือเดินทางว่า นางสาวสังวาลย์ ตะละภัฏ (มีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้คำนำนามสตรี พ.ศ. 2460)
    ต่อมา คุณถมยา พระอนุชาของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อเจริญวัยแล้ว ได้ไปขอจดทะเบียนที่อำเภอใช้นามสกุล "ชูกระมล" ถึงแม้ว่าสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีไม่เคยใช้นามสกุลชูกระมล ก็อยากจะถือว่าทรงเกิดมาในสกุลนี้[8]
    ขณะที่กำลังทรงศึกษาวิชาแพทย์ปีที่ 1 สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์ ทรงพบและพอพระทัยกับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ด้วยมีพระศิริโฉมงดงาม พระอุปนิสัย และพระคุณสมบัติอื่นๆ ดังนั้นสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์จึงทรงมีลายพระหัตถ์กราบบังคมทูลสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระราชมารดา ขอพระราชทานพระราชานุญาตหมั้นกับ นางสาวสังวาลย์
    และเมื่อถึงวันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2463 ได้มีพิธีอภิเษกสมรสที่วังสระปทุม และหลังจากได้อภิเษกสมรสแล้ว ทั้ง 2 พระองค์ได้ตามเสด็จด้วยกันไปประพาสเมืองต่างๆ ในทวีปยุโรป และ สหรัฐอเมริกา เพื่อทรงไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และสถาบันเอ็มไอที เมืองบอสตัน ส่วนสมเด็จพระบรมราชชนนี ทรงเรียนหลักสูตรเตรียมพยาบาลที่วิทยาลัยซิมมอนส์ เมืองบอสตัน

    ตชด.21จัดงานวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จย่า

    ประสูติพระราชธิดาและพระราชโอรส


    สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และพระราชโอรส พระราชธิดา
    หลังจากทั้ง 2 พระองค์ทรงจบการศึกษาแล้วจึงเสด็จไปที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งสมเด็จพระบรมราชชนนีได้ประสูติพระราชธิดาพระองค์แรก เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามว่า หม่อมเจ้ากัลยาณิวัฒนา มหิดล ซึ่งภายหลังทรงได้รับการสถาปนาพระอิสริยศักดิ์เป็นสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
    ในเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2466 ทั้ง 2 พระองค์ได้เสด็จกลับเมืองไทยพร้อมด้วยพระราชธิดา เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระบรมราชชนกทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัย ประทับอยู่ได้ประมาณ 20 เดือน ก็ประชวร แพทย์จึงถวายคำแนะนำให้ประทับในที่อากาศเย็น ที่เมือง ไฮเดลเบอร์ก ประเทศเยอรมนี สมเด็จพระบรมราชชนนีและพระราชธิดาจึงได้ตามเสด็จไปประทับด้วย
    สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีได้ประสูติพระราชโอรสพระองค์แรก เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระนามว่า หม่อมเจ้าอานันทมหิดล มหิดล
    ในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต สมเด็จพระบรมราชชนกเสด็จกลับกรุงเทพฯ เพียงพระองค์เดียวเพื่อถวายพระเพลิงพระบรม..พ และประทับอยู่จนถึงงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2469
    เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีประสูติพระราชโอรสพระองค์ที่ 2 ณ โรงพยาบาลเมาท์ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ์ สหรัฐอเมริกา ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช
    ขณะที่สมเด็จพระบรมราชชนกทรงศึกษาวิชาแพทย์ปีสุดท้ายอยู่ที่เมืองบอสตัน ประชวรโรคพระวักกะกำเริบ และพระโรคหวัด แต่ก็ยังทรงสามารถสอบได้ปริญญาแพทยศาสตร์ขั้นเกียรตินิยม แต่หลังจากสอบเสร็จ และประชวรพระโรคไส้ติ่งอักเสบ ทั้งสองพระองค์ได้พาพระราชโอรสธิดาเดินทางกลับประเทศไทย โดยประทับที่พระตำหนักใหม่สร้างขึ้นในวังสระปทุม ถนนพญาไท
    เมื่อเดือน เมษายนพ.ศ. 2472 สมเด็จพระบรมราชชนกทรงรับเชิญเป็นแพทย์ประจำบ้านจากโรงพยาบาลแมคคอร์มิก จังหวัดเชียงใหม่ ในเดือนต่อมาก็เสด็จกลับกรุงเทพมหานคร หลังจากนั้นก็ทรงพระประชวรอยู่เป็นระยะเวลาประมาณ 4 เดือนก็สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2472 ที่พระตำหนักใหม่ วังสระปทุม

    ตชด.21จัดงานวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จย่า

    สมเด็จพระบรมราชชนนี


    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
    ในขณะที่สมเด็จพระบรมราชชนกสิ้นพระชนม์ สมเด็จพระบรมราชชนนีมีพระชนมายุเพียง 29 พรรษา ทรงต้องรับหน้าที่อบรมเลี้ยงดูพระราชโอรสธิดาทั้งสามพระองค์ตามลำพัง
    เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎรก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า จึงทรงแนะให้สมเด็จพระบรมราชชนนีพาพระราชนัดดาทั้ง 3 พระองค์ เสด็จไปศึกษาต่อที่เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
    เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสละราชสมบัติ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจึงได้มีมติเห็นชอบตามกฎมณเฑียรบาลให้ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ต่อไป พระองค์ที่ 8 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ซึ่งในขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 9 พรรษา
    ดังนั้นสภาผู้แทนราษฎรจึงได้มีมติแต่งตั้ง พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา และเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เป็นคณะผู้สำเร็จราชการแทน ด้วยเหตุนี้สมเด็จพระบรมราชชนนีจึงต้องทรงย้ายไปประทับที่บ้านเช่าขนาดใหญ่ที่เมืองปุยยี ใกล้กับเมืองโลซาน เพื่อให้สมพระเกียรติของพระราชโอรส ทรงตั้งชื่อให้พระตำหนักใหม่ว่า วิลล่าวัฒนา
    ในปี พ.ศ. 2481 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระเชษฐภคินี และพระราชอนุชา ได้เสด็จนิวัติกลับประเทศไทย เพื่อทรงเยี่ยมเยียนพสกนิกรเป็นครั้งแรกโดยประทับอยู่ในพระนครเป็นเวลากว่า 2 เดือน
    เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ประกาศสถาปนาพระอิสริยยศสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเป็น สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์[11] นอกจากนั้นพระองค์ยังพระราชทานเงินส่วนพระองค์สร้างโรงพยาบาลอานันทมหิดล จังหวัดลพบุรี สร้างสุขศาลา จังหวัดสมุทรสาคร เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2481
    ในปี พ.ศ. 2485 สมเด็จพระบรมราชชนนี พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระเชษฐภคินี และพระราชอนุชา เสด็จกลับไปศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยสมเด็จพระพี่นางเธอฯ ทรงเข้าศึกษาวิชาเคมี ที่มหาวิทยาลัยโลซาน ส่วนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลทรงเข้าศึกษาวิชานิติศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยเดียวกัน ในปี พ.ศ. 2486 และอีกสองปีต่อมาในปี พ.ศ. 2488 สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ก็เสด็จเข้าศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยเดียวกัน


    ตชด.21จัดงานวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จย่า


    สวรรคต


    พระเมรุมาศของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
    สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีมีพระอาการทางพระหทัยกำเริบและทรงเหนื่อยอ่อน คณะแพทย์ถวายการรักษาเบื้องต้นที่วังสระปทุม จนกระทั่งวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2538 จึงเชิญเสด็จพระราชดำเนินเข้าประทับรักษาพระองค์ ณ ตึก 84 ปี โรงพยาบาลศิริราช ระหว่างการประทับรักษาที่โรงพยาบาล คณะแพทย์พบว่าเกิดการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต จึงได้ถวายพระโอสถปฏิชีวนะเพิ่ม ต่อมา มีพระอาการแทรกซ้อน มีการอักเสบที่พระอันตะพระอันตคุณ (ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก) และที่พระปับผาสะ (ปอด) ข้างขวา คณะแพทย์ได้พยายามถวายการรักษาจนพระอาการทั่วไปดีขึ้นบ้าง
    เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม สมเด็จพระบรมราชชนนีมีพระอาการทรุดลง เนื่องด้วยมีพระอาการแทรกซ้อนทางพระยกนะ (ตับ) และพระวักกะ (ไต) ไม่ทำงาน พระหทัย (หัวใจ) ทำงานไม่ปกติ ความดันพระโลหิตต่ำทำให้เกิดภาวะเป็นกรดในพระโลหิต คณะแพทย์ได้ถวายการรักษาความผิดปกติของระบบต่าง ๆ รวมทั้งการฟอกพระโลหิตด้วยเครื่องไตเทียมและกรองสารพิษซึ่งเกิดจากภาวะผิดปกติของพระยกนะ แต่พระอาการตั้งแต่เช้าจนเที่ยงของวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 คงอยู่ในภาวะวิกฤต จนกระทั่ง เวลา 21:17 น. สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเสด็จสวรรคต รวมพระชนมายุ 94 พรรษา[12]
    พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรม..พจัดขึ้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคมพ.ศ. 2539 ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง
    พระราชกรณียกิจ[แก้]

    พระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีที่ทรงมีต่อชาวไทยและประเทศชาตินั้นใหญ่หลวงมาก เพราะตั้งแต่ทรงเสกสมรสกับสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ มีพระอุตสาหวิริยะสูงในการทรงงาน เพื่อประโยชน์สุขของปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า ตั้งแต่เหนือสุด จรด ใต้สุด
    ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์[แก้]
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์เป็นผุ้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศต่างๆ ในหลายประเทศ ได้แก่ เวียดนาม (พ.ศ. 2502) อินโดนีเซีย พม่า สหรัฐอเมริกา ประเทศในยุโรป (พ.ศ. 2503) ปากีสถาน สหพันธ์มลายู นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย (พ.ศ. 2505) จีนและญี่ปุ่น (พ.ศ. 2506) ออสเตรีย (พ.ศ. 2507) อังกฤษ (พ.ศ. 2509) อิหร่าน สหรัฐอเมริกา และแคนาดา (พ.ศ. 2510) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (จากการปฏิบัติพระราชภารกิจในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต่อมาได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯสถาปนาเป็น "สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี")

    ตชด.21จัดงานวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จย่า

    การแพทย์ พยาบาล การสาธารณสุข และการศึกษา
    สมเด็จย่าทรงจัดตั้งหน่วยและมูลนิธิที่สำคัญขึ้นดังนี้
    หน่วยแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.) เป็นหน่วยแพทย์อาสาเคลื่อนที่ที่เดินไปในถิ่นทุรกันดาร ประกอบด้วย แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล แพทย์แผนไทย เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และสมาชิกสมทบอีกคณะหนึ่ง ซึ่งไม่ได้รับสิ่งตอบแทน และ เบี้ยเลี้ยง เงินเดือน
    มูลนิธิขาเทียมในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จัดตั้งเมื่อ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2535 เพื่อทำขาเทียมและพระราชทานให้แก่ผู้พิการขาขาดที่ยากจนในชนบท โดยไม่เลือกเชื้อชาติ ศาสนา และไม่คิดมูลค่า ซึ่งมูลนิธิขาเทียมฯนี้ ทรงก่อตั้งร่วมกับสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยพระองค์ท่านพระราชทานพระราชทรัพย์เป็นทุนประเดิมในการก่อตั้งมูลนิธิและทรงดำรงตำแหน่งประธานกิตติมศักดิ์อีกด้วย
    มูลนิธิถันยรักษ์ ที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2538 เพื่อใช้เป็นสถานที่ตรวจวินิจฉัยเต้านม
    ทรงบริจาคเงินเพื่อสร้างโรงเรียนกว่า 185 โรงเรียน และทรงรับเอาโครงการของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนไว้ในพระราชูปถัมภ์
    เสด็จเยี่ยมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นการส่วนพระองค์ เมื่อ 19 กันยายน พ.ศ. 2510โดยการนี้ได้ทรงม้าเสด็จเยี่ยมชม "สวนนอก" มี ศ. บรรเจิด คติการ และ ศ. ระพี สาคริก กราบทูลรายงาน อนึ่ง ในขณะเสด็จอยู่ในมหาวิทยาลัยนี้ สมเด็จพระราชชนนีทรงพอพระทัยเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับรับสั่งกับผู้ติดตามว่า "เกษตรนี้น่าอยู่จริง ๆ ฉันควรจะได้มาเยี่ยมที่นี่ตั้งนานแล้ว.."
    การอนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
    สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นพระราชวงศ์ที่โปรดธรรมชาติมาก ทรงสร้างพระตำหนักดอยตุง ขึ้นบริเวณดอยตุง เนื้อที่ 29 ไร่ 3 งาน ที่บ้านอีก้อป่ากล้วย อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เอง ในพื้นที่เช่าของกรมป่าไม้เป็นเวลานาน 30 ปี มีความสูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 1000 เมตร โดยทรงเรียกพระตำหนักนี้ว่า บ้านที่ดอยตุง ทรงพัฒนาดอยตุง และส่งเสริมงานให้ชาวเขาอีกด้วย ดังนี้
    โครงการพัฒนาดอยตุง เมื่อปี พ.ศ. 2531
    พระราชทานกล้าไม้แก่ผู้ตามเสด็จ และทรงปลูกป่าด้วยพระองค์เอง
    ทรงนำเมล็ดกาแฟพันธุ์อาราบิกา และไม้ดอกมาปลูก
    โครงการขยายพันธุ์โดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหน่อไม้ฝรั่ง กล้วย กล้วยไม้ เห็ดหลินจือ สตรอเบอรี่
    จัดตั้งศูนย์บำบัด และฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ที่บ้านผาหมี ตำบลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
    จากพระราชอุตสาหดังกล่าว และโครงการที่ยังมิได้นำเสนอขึ้นมาข้างต้นนี้ ยอดดอยที่เคยหัวโล้นด้วยการถางป่า ทำไร่เลื่อนลอยปลูกฝิ่น จึงได้กลับกลายมาเป็นดอยที่เต็มไปด้วยป่าไม้ตามเดิม ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงทรงได้รับขนานนามว่า สมเด็จย่า จากชาวไทยบนพื้นราบ หรือ แม่ฟ้าหลวง จากชาวไทยภูเขา


    พระเกียรติยศ

    ตชด.21จัดงานวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จย่า

    ตราสัญลักษณ์ประจำพระองค์
    พระอิสริยยศ
    นางสาวสังวาลย์ (21 ตุลาคม พ.ศ. 2443 - พ.ศ. 2460)
    นางสาวสังวาลย์ ตะละภัฏ (พ.ศ. 2460 - 10 กันยายน พ.ศ. 2463)
    หม่อมสังวาลย์ ในสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์/หม่อมสังวาลย์ สงขลา (10 กันยายน พ.ศ. 2463 - 5 มิถุนายน พ.ศ. 2472)
    หม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา (5 มิถุนายน พ.ศ. 2472 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2477)
    พระราชชนนีศรีสังวาลย์ (25 มีนาคม พ.ศ. 2477 - 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481)
    สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ (16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 - 9 มิถุนายน พ.ศ. 2513)
    สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (9 มิถุนายน พ.ศ. 2513 - 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538)
    เครื่องราชอิสริยาภรณ์
    เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย


    ตชด.21จัดงานวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จย่า


    เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ฝ่ายใน)[14]
    Order of the Nine Gems.JPG เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (ฝ่ายใน)[15]
    Order of Chula Chom Klao - 1st Class (Thailand) ribbon.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า (ฝ่ายใน)[16]
    Order of the White Elephant - Special Class (Thailand) ribbon.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก[17]
    Order of the Crown of Thailand - Special Class (Thailand) ribbon.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ[17]
    Order of the Direkgunabhorn 1st class (Thailand) ribbon.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 1 ปฐมดิเรกคุณาภรณ์[18]
    Order of Ramkeerati (Thailand) ribbon.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ[19]
    Freeman Safeguarding Medal - Class 1 (Thailand).png เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 [20]
    Border Service Medal (Thailand) ribbon.png เหรียญราชการชายแดน
    King Rama VII Royal Cypher Medal (Thailand) ribbon.png เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 3[21]
    King Rama IV Royal Cypher Medal (Thailand) ribbon.png เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 1[22]
    King Rama IX Royal Cypher Medal (Thailand) ribbon.png เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1[23]
    Red Cross Medal of Appreciation (Thailand) ribbon.png เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1

    เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
    JPN Hokan-sho 1Class BAR.svg เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนมงกุฎ จาก ประเทศญี่ปุ่น
    พระยศทางทหาร
    พ.ศ. 2523 พันเอกหญิงพิเศษ ผู้บังคับการพิเศษและนายทหารพิเศษประจำกรมทหารม้าที่ 4 รักษาพระองค์
    พ.ศ. 2525 นายกองใหญ่ กองอาสารักษาดินแดน สำนักอำนวยการกองอาสารักษาดินแดน
    พ.ศ. 2527 พันเอกหญิง นาวาเอกหญิง นาวาอากาศเอกหญิง และนายทหารพิเศษประจำกองบังคับการกรมทหารราบที่ 3 รักษาพระองค์ กรมนาวิกโยธิน กองนักเรียนนายเรือ รักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรือ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ กองนักเรียนนายเรืออากาศ รักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรืออากาศ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ
    พ.ศ. 2532 พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง
    พ.ศ. 2538 พลตำรวจเอกหญิง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
    บุคคลสำคัญของโลก

    วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2543 เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพครบรอบ 100 ปี องค์การวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก ได้เฉลิมพระเกียรติยกย่องให้สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเป็น “บุคคลสำคัญของโลก”
    สถานที่ พรรณพืช และพันธุ์สัตว์อันเนื่องด้วยพระนามาภิไธย

    สถานที่
    ศาสนสถาน
    วัดศรีนครินทรวราราม วัดในสาขาวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ได้รับพระราชทานนาม เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 ตั้งอยู่ในหมู่บ้านเกรทเซ่นบาค (Gretzenbach) จังหวัดโซลธูร์น (Solothurn) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
    พระบรมธาตุศรีนครินทราสถิตมหาสันติคีรี ดอยแม่สลอง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
    การแพทย์ และการสาธารณสุข
    วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี วิทยาลัยพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 28 แห่งทั่วประเทศ
    โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
    โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน

    สถาบันการศึกษา

    ตชด.21จัดงานวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จย่า

    มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
    มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
    อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
    อาคาร 100 ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
    โรงเรียนสังวาลย์วิทยา อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
    โรงเรียนศรีสังวาลย์เชียงใหม่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
    โรงเรียนสังวาลย์วิท ได้แก่
    โรงเรียนสังวาลย์วิท 1 อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ (ขณะนั้นยังขึ้นกับจังหวัดหนองคาย)
    โรงเรียนสังวาลย์วิท 2 อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
    โรงเรียนสังวาลย์วิท 3 อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
    โรงเรียนสังวาลย์วิท 4 อำเภอธารโต จังหวัดยะลา
    โรงเรียนสังวาลย์วิท 5 อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
    โรงเรียนสังวาลย์วิท 6 อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี
    โรงเรียนสังวาลย์วิท 7 อำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช
    โรงเรียนสังวาลย์วิท 8 (โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสังวาลย์วิทย์ 8) บ้านจะลอ ตำบลแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
    โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ เดิมชื่อ โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นโรงเรียนจัดตั้งขึ้นตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำโครงการจัดตั้งโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เพื่อสนองพระราชปณิธานของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีที่ทรงมีต่อการศึกษาในทุกพื้นที่ของประเทศไทย และเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานให้อนุชนรุ่นหลังได้รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์
    ค่าย
    ค่ายศรีนครินทรา กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 42 อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
    ค่ายสมเด็จพระศรีนครินทรา กรมการบินทหารบก อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี
    สวนสาธารณะ
    อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร ที่ตั้งนิวาสสถานเดิมของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
    สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในวาระพระชนมายุครบ 80 พรรษา ปี พ.ศ. 2523 12 แห่งทั่วประเทศ
    สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ '84 (ทุ่งท่าลาด) อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
    สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ '95 (เขาแปะช้อย) อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
    อื่น ๆ
    อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
    อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง
    เขื่อนศรีนครินทร์ อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี
    ถนนศรีนครินทร์ ถนนในกรุงเทพมหานครและจังหวัดสมุทรปราการ
    ถนนบรมราชชนนี ถนนในกรุงเทพมหานคร
    ทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนี
    ท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวงเชียงราย
    พันธุ์สัตว์
    ปูแม่ฟ้าหลวง (Pupamon sangwan Naiyanetr, 1997)
    พรรณพืช
    นครินทรา, Trisepalum sangwaniae - ชื่อภาษาไทย แปลว่า พรรณไม้ที่เป็นศรีสง่าแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี - พืชหายาก และเป็นพืชถิ่นเดียวของประเทศไทย จัดในวงศ์ชาฤๅษี สำรวจพบที่เขาหินปูนบริเวณดอยตุง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
    กล้วยไม้รองเท้านารีลูกผสม
    Princess Sangwan - รองเท้านารีเหลืองตรัง Paphiopedilum godefroyae x รองเท้านารีดอยตุง Paphiopedilum charlesworthii
    Sangwan Anniversary 108th - Paphiopedilum charlesworthii x Paphiopedilum Rosita ฉลอง 9 รอบพระนักษัตร
    Sangwan Celebration 108th - Paphiopedilum charlesworthii x Paphiopedilum Holdenii ฉลอง 9 รอบพระนักษัตร
    อ้างอิง







    ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •