กำลังแสดงผล 1 ถึง 3 จากทั้งหมด 3

หัวข้อ: ดื่มนมต้านมหันตภัยเงียบ

  1. #1
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63

    ดื่มนมต้านมหันตภัยเงียบ

    ดื่มนมต้านมหันตภัยเงียบ

    ป้องโรคกระดูกพรุน ดื่มนมต้านมหันตภัยเงียบ

    "นมและผลิตภัณฑ์จากนม" เป็นแหล่งสารอาหารที่สำคัญต่อร่างกาย หนึ่งในนั้นคือ "แคลเซียมธรรมชาติ" เพื่อเสริมสร้างมวลกระดูกให้แข็งแรง โดยร่างกายต้องการแคลเซียมเฉลี่ย 1,000 ม.ก. ต่อวัน

    จากสถิติการบริโภคนมของคนไทย พบว่า คนไทยดื่มนมเฉลี่ยเพียง 14.19 ลิตรต่อคนต่อปี ทำให้ผู้หญิงไทยทุกๆ 3 คน และผู้ชายไทยทุกๆ 5 คน มีหนึ่งคนที่มีโอกาสเสี่ยงเป็น "โรคกระดูกพรุน" มหันตภัยเงียบ

    "กลุ่มบริษัทดัชมิลล์" ร่วมกับ "มูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศไทยฯ" จัดเสวนาในหัวข้อ "อาหารและการออกกำลังกาย เพื่อกระดูกที่แข็งแรง" ในงานประชุมวิชาการโภชนาการแห่งชาติ ครั้งที่ 7

    รศ.พญ.วิไล คุปต์นิรัติศัยกุล ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล และกรรมการมูลนิธิโรคกระดูกพรุนฯ เผยถึงสถานการณ์ "โรคกระดูกพรุน" ว่า เป็นโรคที่ไม่มีสาเหตุการเกิด ไม่มีอาการเจ็บปวด และไม่มีการรักษา มีเพียงแค่การหยุดยั้งการสูญเสียมวลกระดูกและรักษาอาการกระดูกหักเท่านั้น ซึ่งอาการของโรคจะรุกคืบตลอดเวลาโดยไม่มีสัญญาณเตือนใด ๆ จะรู้ตัวก็ต่อเมื่อกระดูกหักไปแล้ว

    ส่วนใหญ่กระดูกที่มีโอกาสหักได้ง่ายจากภาวะกระดูกพรุนคือ กระดูกสันหลัง ข้อสะโพก ข้อมือ และกระดูกต้นแขนบริเวณหัวไหล่ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้จะเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างต่อเนื่อง หรือเรียกว่า โดมิโน เอฟเฟ็กต์ ซึ่งอาจส่งผลรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ซึ่งพบมากในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน

    "เคล็ดลับง่ายๆ เพื่อกระดูกแข็งแรงคือ การดื่มนมเป็นประจำ เพื่อสะสมแคลเซียมธรรมชาติ และจะดีที่สุดถ้าได้เริ่มดื่มนมตั้งแต่วัยเด็กหรือในช่วงอายุ 30 ปีแรก เพื่อเสริมสร้างและสะสมมวลกระดูกให้แข็งแรง แต่ถ้าอายุเกิน 30 ปี ขึ้นไปก็ควรดื่มนมเพื่อป้องกันไม่ให้สูญเสียมวลกระดูก ไม่ว่าจะเป็นนมเปรี้ยว โยเกิร์ต และชีส ซึ่งมีแคลเซียมสูง

    ทั้งนี้ "การออกกำลังกาย" ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงของการป่วยเป็นโรคกระดูกพรุน โดยสร้างกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ให้แข็งแรง และเสริมความแข็งแกร่งให้กับกระดูก

    นพ.อรรถฤทธิ์ ศฤงคไพบูลย์ รองประธานมูลนิธิโรคกระดูกพรุนฯ อธิบายว่า วิธีป้องกันโรคกระดูกพรุนที่ดีคือ การรับประทานอาหารที่มีปริมาณแคลเซียมสูง และการออกกำลังกายเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก และกล้ามเนื้อ

    รวมทั้งลด ละ เลี่ยง พฤติกรรมที่ส่งผลร้ายทำลายกระดูก เช่นลดหรือเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เลิกสูบบุหรี่ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินซ้ำๆ หรือแม้แต่การใส่รองเท้าส้นสูง การสะพายกระเป๋าหนักข้างเดียว และควรให้ร่างกายได้รับแสงแดดในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อช่วยในการสังเคราะห์วิตามินดี





    วิทยาศาสตร์ธรรมชาติและคณิตศาสตร์
    รายงานพิเศษ/ข่าวสดออนไลน์, 1 พ.ย.2556

  2. #2
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63

    ***กินอะไรป้องกันภูมิแพ้ ?***

    ***กินอะไรป้องกันภูมิแพ้ ?***
    ***กินอะไรป้องกันภูมิแพ้ ?***

    กินอะไรป้องกันภูมิแพ้

    โรคภูมิแพ้เป็นโรคเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ พบมากเป็นอันดับต้น ๆ ในประเทศไทย พบได้มากทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ และพบมากกับคนที่ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมเมือง เพราะสังคมเมืองอากาศมักจะเต็มไปด้วยมลพิษ ฝุ่นละอองที่สกปรก เมื่อเราหายใจเข้าไปบางครั้งอาจจะทำให้เราเกิดอาการไอ จาม คัดจมูกได้โดยทันที

    นอกจากนั้นอาการภูมิแพ้อาจเกิดขึ้นได้จากการที่ร่างกายแพ้สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเรา เช่น ขนสัตว์ เกสรดอกไม้ ไรฝุ่น ฝุ่นละออง อาหารทะเล เป็นต้น และถ้าร่างกายของเราได้สัมผัสกับสิ่งเหล่านี้ ไม่ว่าจะผ่านทางจมูก ทางปาก ทางผิวหนังก็จะทำให้ร่างกายของเราเกิดปฏิกิริยาต่อต้านทันที ด้วยการคันตามร่างกาย เยื่อบุจมูกบวมแดงทำให้น้ำมูกไหล จาม หลอดลมอักเสบและไอ

    สำหรับคุณผู้อ่านคนไหนที่ไม่อยากจะป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ก็ควรดูแลรักษาสุขภาพตัวเองด้วยวิธีง่าย ๆ ด้วยการเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ สงสัยใช่ไหมว่าอาหารที่มีประโยชน์จะมีอะไรบ้าง

    กรดไขมันโอเมก้า 3

    สำหรับโอเมก้า 3 จะพบมากในพวกเมล็ดฟักทอง เมล็ดทานตะวัน ถั่วเหลือง ผักใบเขียวต่าง ๆ รวมถึงปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำเย็นอย่างปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล และปลาทะเลต่าง ๆ

    แมกนีเซียม

    พบมากในถั่ว เช่น ถั่วเขียว ถั่วแดง รวมถึงในเต้าหู ผักกวางตุ้ง สาหร่ายทะเล และผักใบเขียวต่าง ๆ ยิ่งเราทานอาหารที่มีสารอาหารประเภทนี้มากเท่าไร ก็จะยิ่งช่วยให้เราห่างไกลโรคหืดหอบ อีกทั้งยังชวยป้องกันไม่ให้เราป่วยเป็นโรคหลอดลมอักเสบอีกด้วย

    วิตามินซี

    วิตามินซีขึ้นชื่อในเรื่องของการป้องกันการเป็นไข้หวัดและภูมิแพ้มาก สังเกตเห็นได้จากเวลาที่เราไม่สบายหมอจะบอกให้เราทานวิตามินซีให้เยอะ ๆ ซึ่งวิตามินซีจะพบมากในผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น สตรอเบอร์รี่ กีวี ส้ม มะเขือเทศ มะนาว เป็นต้น

    ควอร์ซิติน

    ควอร์ซิตินมีคุณสมบัติช่วยต้านอนุมูลอิสระ พบมากในหัวหอม แอปเปิ้ล และชาเขียว

    สำหรับอาหารต้องห้ามที่คนป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ห้ามทานเลยก็คือ อาหารที่มีเกลือเป็นส่วนผสม อาหารที่มีมันโปรตีนจากไข่และนม รวมทั้งมัสตาร์ด เนยถั่ว และน้ำมันเนย เพราะถ้าขืนเราทานเข้าไปอาจทำให้อาการภูมิแพ้กำเริบขึ้นมาหนักมากกว่าเก่าได้ ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงไปทานพวกผักและผลไม้จะดีที่สุด

    การทำความสะอาด

    นอกจากการดูแลเรื่องของอาหารการกินแล้วก็ควรให้ความสำคัญกับสิ่งรอบตัวของเราด้วย เช่น การทำความสะอาดบ้าน เพราะการที่บ้านสกปรกมีฝุ่น มีเชื้อราฝังแน่นอยู่ตามผนัง ฝ้าเพดาน อาจจะทำให้เราป่วยเป็นโรคภูมิแพ้เรื้อรังและไม่หายขาด

    ทางที่ดีที่สุดเราควรดูแลเรื่องความชื้นภายในบ้าน เช่น รักษาความสะอาดของห้องน้ำและห้องครัว ไม่ให้เปียก แฉะ อับชื้น และไม่ควรปลูกต้นไม้ชิดตัวบ้าน เพราะการที่เราปลูกต้นไม้ชิดตัวบ้านมากเกินไป อาจทำให้รากของต้นไม้นำความชื้นไปสู่ฐานของบ้านได้

    ถ้าบ้านไหนมีเครื่องปรับอากาศหรือเครื่องฟอกอากาศ ควรหมั่นทำความสะอาดทุก 3 เดือน เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค และถ้าเลี้ยงสัตว์เช่น หมา แมว ก็ควรนำไปเลี้ยงไว้นอกบ้านและหมั่นทำความสะอาดอย่างเป็นประจำ


    ที่มา : women's story
    หมอยาเภสัช ร้านยาประจำบ้านคุณ

  3. #3
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63

    โรคภูมิแพ้อากาศ

    โรคภูมิแพ้อากาศ


    ระวังอันตรายที่มากับ โรคภูมิแพ้จมูก

    ฮัดเช้ย!...จามบ่อย ๆ ติดต่อกัน อีกทั้งมีอาการคัดจมูกร่วมด้วย ระวังโรคภูมิแพ้จมูกถามหา โดยเฉพาะในช่วงปลายฝนต้นหนาวมักจะมีอาการกำเริบมากขึ้น...

    โรคภูมิแพ้จมูก (Allergic Rhinitis) หรือที่เรียกว่า "แพ้อากาศ" นี้ พญ.มนิณทร วรรณรัตน์ กุมารแพทย์โรคระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลเวชธานี ได้ให้ข้อมูลว่า เป็นโรคที่พบบ่อยในประเทศไทย โดยเฉพาะในผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่น มากกว่า 80% ของผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ มีอาการก่อนอายุ 20 ปี แต่ก็สามารถพบได้ในคนทุกวัย โรคภูมิแพ้จมูกนี้มีอาการเรื้อรัง สร้างความรำคาญให้แก่ผู้ป่วย และอาจเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้ เช่น ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ เป็นต้น

    ภูมิแพ้จมูกเกิดขึ้นได้อย่างไร ซึ่งการทำงานต้องผ่านกระบวนการระบบการทำงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะการทำงานที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจและการทำงานต้องผ่านขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับทางเดินอาหารซึ่งเมื่อเปรียบเทียบดูแล้ว

    ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้จมูก จะมีปฏิกิริยาตอบสนองไวเกินต่อสารก่อภูมิแพ้ เมื่อมีสารก่อภูมิแพ้เข้าสู่ร่างกาย สารอิมมูโนโกลบูลินอี (Immunoglobulin E: IgE) ที่ถูกสร้างขึ้นจะเข้าทำปฏิกิริยากับสารก่อภูมิแพ้ที่หายใจเข้าไป เป็นผลให้เซลล์บางชนิดภายในจมูก มีการแตกตัวและหลั่งสารเคมีออกมาทำให้เกิดการอักเสบ และมีอาการต่าง ๆ ของโรคตามมา

    ใครบ้างที่มีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้จมูก

    กรรมพันธุ์ ถ้าพบว่าบิดาหรือมารดาเป็นโรคภูมิแพ้ ลูกมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้สูงถึง 50% และถ้าทั้งบิดาและมารดาเป็นโรคภูมิแพ้ ลูกมีโอกาสเป็นเพิ่มขึ้นถึง 70% และมักจะมีอาการเร็วสิ่งแวดล้อม สารก่อภูมิแพ้มักจะเป็นสารที่เด็กได้รับเข้าไป ซึ่งอาจเป็นจากการหายใจ สัมผัส รับประทาน หรือฉีดเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งแบ่งเป็นสารก่อภูมิแพ้ในบ้าน เช่น ฝุ่น, ไรฝุ่น, แมลงสาบ, รังแคหรือขนของแมวและสุนัข, เชื้อราในอากาศ, ควันบุหรี่ สารก่อภูมิแพ้นอกบ้าน เช่น ละอองหญ้า, เกสรดอกไม้, ฝุ่นละออง, ควันจากรถยนต์, ควันไฟจากการหุงต้มอาหาร, ก๊าซพิษปัจจัยอื่นๆ เช่น ทารกที่ได้รับนมมารดาเพียงอย่างเดียวเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน พบว่ามีโอกาสเกิดภูมิแพ้น้อยลง, ทารกที่ได้รับอาหารเสริมตั้งแต่อายุ 4 เดือนมีโอกาสเกิดโรคภูมิแพ้มากกว่าทารกที่ไม่ได้รับอาหารเสริมถึง 3 เท่า

    อาการของโรค

    ผู้ป่วยจะมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล จามบ่อย คันในจมูก และมีเสมหะไหลลงคอ โดยอาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นตลอดปี หรือเพียงบางฤดูกาลก็ได้ โดยเฉพาะฤดูฝนหรือฤดูหนาว บางรายอาจมีอาการทางตาร่วมด้วย เช่น คันตา เคืองตา ตาบวม น้ำตาไหล อันเกิดจากการอักเสบของเยื่อบุภายในตา ที่เรียกว่า Allergic conjunctivitis ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการเฉพาะบางเวลา เช่น ตอนเช้าหรือกลางคืน ประมาณวันละ1-2 ชั่วโมง

    อาการของโรคนี้ต่างจากอาการหวัดอย่างไร

    อาการของโรคภูมิแพ้จมูกมักมีอาการเรื้อรังเป็นๆ หาย ๆ อาการเด่น คือ มีน้ำมูกใส จาม และคัดจมูก คันจมูก บางครั้งอาจมีอาการคันตาร่วมด้วย โดยมักไม่มีไข้ อาจมีอาการไอเรื้อรังด้วย เนื่องจากมีเสมหะไหลลงคอทำให้ระคายคอ แต่หากมีอาการไข้ เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามร่างกายร่วมด้วยน่าจะเป็นหวัดมากกว่า นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้จมูก มักมีคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคในกลุ่มโรคภูมิแพ้ด้วย เช่น โรคภูมิแพ้จมูก โรคหอบหืด แพ้อาหาร ลมพิษเรื้อรัง ผื่นแพ้

    ภาวะแทรกซ้อนจากโรคภูมิแพ้จมูก

    โรคไซนัสอักเสบ

    ไซนัส คือ โพรงอากาศที่อยู่ในกระดูกบริเวณใกล้จมูกมีส่วนท่อต่อกับจมูก ทำให้อากาศผ่านเข้าออกได้ เมื่อเยื่อบุภายในจมูกบวมอักเสบ จะทำให้ท่อต่อนี้อุดตัน เกิดการติดเชื้อในโพรงไซนัส เกิดเป็นโรคไซนัสอักเสบ โดยมีอาการปวดบริเวณไซนัส ปวดศีรษะ น้ำมูกเขียว บางครั้งมีเสมหะไหลลงคอ หูชั้นกลางอักเสบ ผู้ป่วยมีอาการปวดหู หูอื้อ ถ้าเป็นเรื้อรังอาจมีหนองไหลออกจากหูเนื่องจากมีเยื่อแก้วหูทะลุ

    นอนกรน ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้จมูกจะมีเยื่อบุจมูกบวม บางครั้งอาจมีต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์โตร่วมด้วย มีผลทำให้ช่องทางเดินหายใจถูกอุดกั้น และมีอาการกรนเกิดขึ้น ถ้าอาการรุนแรงอาจมีการหยุดหายใจเป็นช่วงๆ ขณะนอน ออกซิเจนต่ำ และมีผลต่อสมอง ทำให้เด็กสมาธิสั้น ส่งผลต่อพฤติกรรมและการเรียนรู้ได้

    การรักษาและการป้องกัน

    ในครอบครัวที่ทารกมีโอกาสเกิดโรคภูมิแพ้ ควรส่งเสริมให้มีการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาเพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน เสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย ได้แก่ การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอนาน 30 นาที ความถี่ 3-4 ครั้ง/สัปดาห์ เพื่อก่อให้เกิดการปฏิชีวนะการทำงานของหน่วยงานราชการและการทำงานที่มาพร้อมกับการส่งเสริมการทำงานที่มีประสิทธิภาพและกรทำงานที่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์ที่พร้อมจะทำให้เป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย

    การดูแลสิ่งแวดล้อม

    ห้องนอนควรใช้เครื่องนอนที่เหมาะสม ไม่ควรใช้หมอนหรือที่นอนที่ทำจากนุ่น และควรหมั่นทำความสะอาดเป็นประจำ งดใช้พรม ไม่สะสมหนังสือ ของเล่นหรือตุ๊กตาที่มีขนในห้องนอน ทำความสะอาดที่นอน หมอน ผ้าห่มเป็นประจำ โดยใช้การซักด้วยน้ำร้อน 60 องศา นาน 15-20 นาที เพื่อฆ่าตัวไรฝุ่น และตากแดดให้แห้ง ควรทำความสะอาด ดูดฝุ่น เช็ดถูพื้นเรือน ผ้าม่าน และทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศเป็นประจำ งดการสูบบุหรี่ในบ้าน ไม่ควรใช้แป้งฝุ่น สเปรย์ปรับอากาศ และยาจุดกันยุง อาจเลือกใช้ผ้าใยสังเคราะห์พิเศษเพื่อคลุมที่นอนและหมอน เพื่อป้องกันไรฝุ่น หรือใช้เครื่องกรองอากาศชนิดที่เป็น HEPA Filter ไม่เลี้ยงสัตว์ที่มีขนในบ้าน เช่น แมว สุนัข

    การกำจัดขยะและเศษอาหารต่าง ๆ ควรมีฝาปิดมิดชิดเพื่อป้องกันแมลงสาบ หลีกเลี่ยงสารระคายเคือง เช่น ท่อไอเสียรถยนต์ การล้างจมูก ในกรณีมีน้ำมูกปริมาณมากหรือเป็นไซนัสอักเสบ กรณีที่พยายามหลีกเลี่ยง และพยายามออกกำลังกายแล้วอาการยังมีอยู่แนะนำให้พบแพทย์เฉพาะทางและรับการรักษาดังนี้

    ยาต้านฮีสตามีนหรือยาแก้แพ้แบบรับประทาน ยาลดจมูกบวม แก้คัดจมูก การให้ยาพ่นจมูกเป็นประจำเพื่อป้องกันการเกิดภูมิแพ้ การให้การรักษาโดยวิธี Desensitization (การให้วัคซีนภูมิแพ้) เป็นการรักษาโรคภูมิแพ้ที่ต้นเหตุ และพบว่ามีอัตราการหายขาด 60–80 % ในรายที่มีโรคแทรกซ้อนของภูมิแพ้ เช่น ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ ให้รีบรับการรักษาที่ถูกต้องโดยแพทย์เฉพาะทาง โดยการให้ยาปฏิชีวนะ






    ที่มา : นสพ.ไทยรัฐ
    http://health.kapook.com/view5201.html

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •