กำลังแสดงผล 1 ถึง 4 จากทั้งหมด 4

หัวข้อ: โครงกระดูกในตู้ สายสัมพันธ์ของไทยและเขมร

  1. #1
    Moderators สัญลักษณ์ของ สาวชัยภูมิ ลูกพ่อขุน
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    ที่อยู่
    เกาหลี
    กระทู้
    750
    บล็อก
    30

    อ่านข่าวออนไลน์ โครงกระดูกในตู้ สายสัมพันธ์ของไทยและเขมร

    ในยุคสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ห้า ได้มีหม่อมเจ้าหญิงพระองค์หนึ่ง ที่ควรกล่าวถึง เป็นผู้เชื่อมโยงความสัมพันธ์ทางสายโลหิตระหว่างเชื้อพระวงศ์เจ้ากรุงสยาม กับเจ้าครองนครเขมร คือหม่อมเจ้าหญิงฉวีวาด


    โครงกระดูกในตู้ สายสัมพันธ์ของไทยและเขมร

    (หม่อมเจ้าหญิงฉวีวาดครั้งยังทรงพระเยาว์)

    หม่อมเจ้าหญิงฉวีวาด เป็นพระธิดาของพระองค์เจ้าปราโมช กรมขุนวรจักรธรานุภาพ (โอรสของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ท่านเป็นต้นราชสกุล ปราโมช) กับมารดา คือ หม่อมราชวงศ์ดวงใจ ปราโมช


    โครงกระดูกในตู้ สายสัมพันธ์ของไทยและเขมร


    ลำดับราชสกุล ปราโมช


    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปราโมช กรมขุนวรจักรธรานุภาพ เสกสมรสกับ หม่อมราชวงศ์หญิงดวงใจ มีพระโอรส-ธิดา 7 องค์ ได้แก่


    หม่อมเจ้าหญิงเมาฬี


    หม่อมเจ้าหญิงฉวีวาด


    หม่อมเจ้าชายจำรูญ


    หม่อมเจ้าหญิงคอยท่า


    หม่อมเจ้าหญิงโอษฐอ่อน


    หม่อมเจ้าหญิงรำมะแข


    หม่อมเจ้าชายคำรบ (พระบิดาของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ กับ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช)



    โครงกระดูกในตู้ สายสัมพันธ์ของไทยและเขมร


    พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ เสกสมรสกับ หม่อมแดง ปราโมช (บุนนาค) ธิดา เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาธิบดี (แพ บุนนาค) มีโอรส-ธิดา คือ


    หม่อมราชวงศ์หญิงบุญรับ พินิจชนคดี สมรสกับ พระพินิจชนคดี (พินิจ อินทรทูต)


    หม่อมราชวงศ์หญิงอุไรวรรณ ปราโมช


    หม่อมราชวงศ์หญิงเล็ก ปราโมช


    หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช (พ.ศ. 2448 - 2540)


    หม่อมราชวงศ์ถ้วนเท่านึก ปราโมช


    หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช (พ.ศ. 2454 - 2538)


    ความเดิมการหมั้นและสมรส





    หม่อมเจ้าหญิงฉวีวาดนั้น เดิมท่านหมั้นกับพระองค์เจ้าคัคณางคยุคล ซึ่งเป็นพระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ 4 แต่เนื่องจากพระองค์เจ้าคัคณางคยุคล มีหม่อมอยู่ในวังแล้ว คือ หม่อมสุ่น เป็นเหตุให้หม่อมเจ้าหญิงฉวีวาดไม่พอพระทัย ขอยกเลิกการหมั้นนั้น


    ต่อมาหม่อมเจ้าหญิงฉวีวาด ได้สมรสกับพระราชโอรสในสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระนามว่าพระองค์เจ้าเฉลิมลักษณวงศ์ ซึ่งเป็น พระอนุชาของกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ และกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญนี้ได้มีเรื่องราวบันทึกไว้ ในคราวเรื่องกบฏวังหน้า และต่อเนื่องไปยังหม่อมเจ้าหญิงฉวีวาดต้องพลัดถิ่นฐานสยามประเทศ ไปพำนักพักยังนครเขมร ก่อเกิดสายสัมพันธ์ ในกาลต่อมา
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สาวชัยภูมิ ลูกพ่อขุน; 21-11-2013 at 08:47.

  2. #2
    Moderators สัญลักษณ์ของ สาวชัยภูมิ ลูกพ่อขุน
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    ที่อยู่
    เกาหลี
    กระทู้
    750
    บล็อก
    30




    (หม่อมเจ้าฉวีวาดทรงเครื่องเจ้าจอมอย่างเขมร)

    กบฎวังหน้า ครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2417)


    มีบันทึกไว้ว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเจริญพระชนมายุได้ 23 พรรษา หลังจากที่เสด็จกลับจากชวา เกิดการวางเพลิงระเบิดขึ้นในวังหลวง


    ก่อนเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้นั้น มีข่าวปล่อยว่าจะมีการลอบปลงพระชนม์กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ทำให้เกิดความระแวงกันขึ้นระหว่างวังหลวงกับวังหน้า


    และเมื่อหลังเหตุระเบิดไฟไหม้ที่ตึกดินในวังหลวง มีการสอบสวนหาสาเหตุการระเบิด โดยเจ้านายในวังหลวง




    (นาฏศิลป์ไทยที่หม่อมเจ้าฉวีวาดเป็นผู้ไปฝึกสอนให้ขณะถวายงานเป็นเจ้าจอมในเขมร)

    กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ซึ่งเป็นผู้ที่เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแต่งตั้ง ให้การสนับสนุน เป็นผู้มีอำนาจและกำลังทหารและอาวุธยุทธภัณฑ์ อยู่ในวังหน้า จึงเกรงภัยที่อาจถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังเหตุระเบิด ได้หลบหนีออกจากวังหน้า ตรงไปที่สถานกงสุลอังกฤษ มีท่านกงสุล คือนายทอมัส นอกซ์ เมื่อจุลศักราช 1236 (พ.ศ. 2417) และได้ทรงพักอยู่ที่สถานกงสุลอังกฤษนานถึง 2 อาทิตย์


    สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ได้ไปเชิญเสด็จกรมพระราชวังบวรฯ
    ออกจากสถานกงสุลอังกฤษ


    ด้วยขณะนั้นเป็นยุคที่อาณาจักรสยาม ถูกต่างชาติแทรกแซง คือ อังกฤษและฝรั่งเศส ประเทศเหล่านี้มีกำลังทหาร และอาวุธ ทั้งนิยมล่าประเทศในแหลมอินโดจีนไปเป็นอาณานิคมเมืองขึ้น หากเกิดความร้าวฉานขึ้นในราชอาณาจักรสยามแล้ว อาจเป็นเหตุถูกเข้าทำลายบ้านเมือง ดังเช่นชะตากรรมของประเทศเพื่อนบ้าน คือ เขมร และลาว


    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชวินิจฉัยถึงสถานการณ์ช่วงนั้นว่า การแถลงข้อเท็จจริงจะช่วยให้ประชาชนสิ้นความหวาดวิตกลงได้ จึงมีประกาศออกเป็นทางราชการความบางส่วนว่า





    (นาฏศิลป์ในราชสำนักเขมร)


    “...แต่ความที่พูดจาดูร่ำลือกันนั้น ข้าพเจ้าก็มิได้เชื่อว่าเป็นความจริง เพราะกรมพระราชวังกับข้าพเจ้า มิได้มีอริร้าวฉานแก่กันกับสิ่งหนึ่งสิ่งใด ครั้นถึงวันจันทร์ เดือนอ้ายแรมห้าค่ำ ปีจอ ฉศก ข้าพเจ้าได้ทราบความอีกว่า กรมพระราชวังได้เตรียมทหารและคนซึ่งมิได้เป็นทหาร ซึ่งอยู่บ้านนอกนั้น เจ้าหมู่มูลนายก็ได้เรียกไพร่เหล่านั้นให้เข้ามาพร้อมกันในเดือนอ้าย ถึงกระนั้น ข้าพเจ้าก็ยังไม่เชื่อในความนั้นเป็นแน่ชัด


    ครั้นค่ำลงวันนั้น เวลา ๕ ทุ่มเศษ เกิดเพลิงไหม้ขึ้นในโรงแก๊สในพระบรมมหาราชวัง ที่โรงแก๊สซึ่งเกิดเพลิงไหม้ขึ้นเป็นที่สำคัญน่ากลัวยิ่งนัก คือข้างฝ่ายตะวันตกของโรงแก๊ส เป็นโรงเก็บภูษามาลา อันนี้เป็นที่ไว้พระมหาพิชัยมงกุฎ และพระมหาชฎา และเครื่องต่างๆซึ่งเป็นต้นเครื่องสำหรับแผ่นดินสืบมาแต่โบราณ


    โรงภูษามาลา ที่ไว้เครื่องต้นนี้ห่างจากโรงแก๊สที่ติดเพลิงขึ้นนั้น ๒ วา หลังโรงภูษามาลานั้นติดกับฉนวนประตูดุสิตศาสดา ทางซึ่งจะออกวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หลังจากฉนวนนั้น ก็ติดกับหอพระปริตรสาตราคมและพระที่นั่งราชฤดี ใกล้กับพระที่นั่งอัมรินทร์วินิจฉัย และพระที่นั่งไพศาลทักษิณ และด้านใต้ของโรงแก๊สนั้นมีเขื่อนเพ็ชร์ พระราชวังชั้นในห่างจากโรงแก๊ส ๑๔ วา ๓ ศอก ที่โรงแก๊สที่เพลิงติดขึ้นนั้นอยู่ตรงกลาง เป็นที่คับแคบ แลของที่เป็นเชื้อเพลิงนั้นมีมากคือ ดินประสิวแลน้ำมัน เป็นต้น


    ถ้าเพลิงไหม้ติดลามขึ้นแล้ว พระที่นั่ง แลคลังของต่างๆที่อยู่ใกล้เคียงดังข้าพเจ้ากล่าวมาแล้วนั้น ก็คงจะเป็นอันตรายทั้งสิ้น เพราะของเหล่านี้ติดเนื่องกัน โรงแก๊สซึ่งเกิดเพลิงขึ้นในเวลากลางคืนนั้นเป็นที่ลับ ที่สงัด มิได้มีผู้คนไปมาเล้าลม ซึ่งเพลิงติดขึ้นดังนั้นก็เป็นที่สงสัยหวาดหวั่นยิ่งนัก ในเวลาที่เพลิงติดขึ้นนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระปราบปรปักษ์แลข้าราชการได้ช่วยกันดับเพลิงนั้น ถ้าเพลิงนั้นจะติดอยู่ช้า ฤามีลมเป่ามาก็จะรักษาไว้ไม่ได้เลย ฤาถ้ามีหม้อแก๊สแตก ก็จะเป็นอันตรายแก่คนเป็นอันมากซึ่งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง



    (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าครั้งยังทรงพระเยาว์)


    ในเวลานั้นเพราะเหตุบังเกิดขึ้น ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงได้มีความหวาดหวั่นเป็นอันมาก เพราะเพลิงเกิดขึ้นในที่สำคัญ จะเกิดขึ้นด้วยเหตุอันใดก็ไม่รู้ เกรงว่าจะเกิดขึ้นด้วยเหตุกลอุบายอันใดอันหนึ่ง การอันนี้ก็เป็นการเหลือที่จะคาดคะเนว่าจะเป็นการเท็จฤาจริงให้แน่ได้ เหตุที่บังเกิดขึ้นได้ดังนี้แล้ว ครั้นจะเชิญท่านเสนาบดีมาประชุมปรึกษาในเวลากลางคืนนั้นก็เห็นว่าเป็นเวลาดึกถึงเจ็ดทุ่ม เกินเวลาแล้ว


    ข้าพเจ้าจึงสั่งข้าราชการซึ่งเป็นพนักงานทั้งปวงที่มาช่วยดับเพลิงในเวลากลางคืนนั้น ให้นอนอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ประจำซองอยู่ตามพนักงาน เพราะกลัวว่าจะมีเหตุขึ้นอีกในเวลากลางคืนนั้น..”






    เรื่องไฟไหม้ในพระบรมมหาราชวังนี้ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้ตอบปัญหาประจำวันไว้ในหนังสือสยามรัฐ ประจำวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๐๒ ความตอนหนึ่งว่า






    “...จนวันหนึ่ง มีคนร้ายลอบเข้าไปจุดไฟในพระบรมมหาราชวังใกล้กับตึกที่เก็บดินดำ โดยประสงค์ที่จะให้ดินดำนั้นระเบิดขึ้น เคราะห์ดีที่เจ้านายข้าราชการในวังหลวง เห็นเหตุการณ์และดับไฟเสียทัน มิฉะนั้นจะเกิดเหตุร้ายแรง และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอาจถึงสวรรคตเสียแต่ในต้นรัชกาล


    เมื่อเกิดเหตุนี้ขึ้นแล้ว ความอลเวงทางการเมืองก็เกิดขึ้นในเมืองไทยอย่างหนัก กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จไปประทับอยู่ในกงสุลของชาติมหาอำนาจนั้น และยอมพระองค์อยู่ใต้อารักขาของชาตินั้น เมืองไทยขณะนั้นจึงล่อแหลมหวุดหวิดจะมีมหาอำนาจเข้ามาแทรกแซง และยึดเอาเป็นเมืองขึ้น เดชะบุญที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระปรีชาสามารถระงับเหตุต่าง ๆ ได้ทันท่วงที และเดชะบุญที่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์มีใจซื่อสัตย์ จงรักภักดีและอาจหาญ ได้อุตสาหะบากบั่นเข้าไปถึงกงสุลต่างประเทศ และเชิญเสด็จกรมพระราชวังบวรฯออกมาได้ เมืองไทยจึงรอดมาได้ไม่เสียเอกราช...”






    การทำความเข้าใจและสมานฉันท์กันในระหว่างวังหน้า และวังหลวง ได้ในที่สุด จึงทำให้แผ่นดินไทยร่มเย็น เป็นสุข และรักษาความเป็นเอกราชไว้ได้


    เหตุการณ์หลังเกิดระเบิด


    กล่าวถึงหม่อมเจ้าหญิงฉวีวาด ในวันรุ่งขึ้นหลังเกิดเหตุการณ์ระเบิดไฟไหม้ตึกเก็บดินดำวังหลวงนั้น หม่อมเจ้าหญิงฉวีวาดได้ขนทรัพย์สมบัติส่วนตัว และคณะละครหลวง ของเจ้าจอมมารดาอำภา ทั้งตัวรำ เครื่องละครและดนตรีปี่พาทย์ต่าง ๆ รวมเป็นคนหลายสิบคน จ้างเรือสำเภาล่องลงตามแม่น้ำเจ้าพระยา ออกจากแผ่นดินสยาม ผ่านเสาหินทางทิศใต้ที่ปักอยู่ ก่อนถึงพระประแดง มุ่งหน้าตรงไปยังเมืองเขมร


    ฝ่ายรัฐบาลกรุงสยามได้ส่งทหารลงเรือกลไฟ แล่นไล่ตามจับเรือสำเภาของหม่อมเจ้าหญิงฉวีวาด เผอิญเรือกลไฟของรัฐบาลเกิดชำรุดเสียหาย จักรหัก ต้องจอดทอดสมออยู่กลางน้ำ เรือสำเภาของหม่อมเจ้าหญิงฉวีวาดจึงชักใบแล่นเรือ เดินทางสู่เขมรได้อย่างปลอดภัย






    (นักองด้วง)

    ขณะนั้น สมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษ์ (นักองด้วง ซึ่งประสูติและโตที่กรุงเทพฯ) เป็นเจ้าครองเขมร และเป็นพระสหายของหม่อมเจ้าหญิงฉวีวาด ได้ต้อนรับและเชิญให้พำนักอยู่ที่นครเขมร


    หม่อมเจ้าหญิงฉวีวาดเข้าไปอยู่ในวังกับสมเด็จพระนโรดมนั้น มีคนในวังหน้าติดตามไปด้วยหลายคน เป็นเจ้านายวังหลวงคนหนึ่งคือหม่อมเจ้าหญิงปุก และลูกสาวคนรองของนายโรเบิร์ต น็อกส์ หม่อมเจ้าหญิงปุกประทับที่เมืองเขมรตลอดมาจนชรามาก และสิ้นชีพิตักษัยที่เมืองเขมรในรัชกาลที่ 7





    หม่อมเจ้าหญิงฉวีวาดได้ช่วยฝึกการละครในวังเขมร กระทั่งสมเด็จพระนโรดมฯ ได้แต่งตั้งหม่อมเจ้าหญิงฉวีวาด เป็นพระราชเทวี มีพระราชบุตรด้วยกัน ๑ องค์ คือ "พระองค์เจ้าพานคุลี"


    ลำดับความเป็นมาของกรุงสยาม กับเขมร


    สมัยธนบุรี-รัตนโกสินทร์ทั้งญวนทั้งเขมร เกิดจลาจลแย่งชิงอำนาจราชบัลลังก์กันขึ้น บุตรชายเจ้าเมืองญวนที่เกิดกบฏ ชื่อ องเชียงสือ หนีมาพึ่งไทย (มีปรากฏอยู่ในเรื่อง ‘บุญบรรพ์’ บรรพ ๑)


    ขณะเดียวกันทางเมืองเขมร ก็เกิดเรื่องวุ่นวายจนขุนนางเขมร ต้องพาพระเจ้าแผ่นดินอายุเพียง ๑๑ ขวบ หนีเข้ามาพึ่งพระบารมีพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ คือนักองเอง หรือ นักพระองค์เอง (ปรากฎอยู่ในเรื่อง ‘บุญบรรพ์’ บรรพ ๑ เช่นกัน)


    เมื่อญวนกำเริบจะยึดเอาเขมรซึ่งกำลังวุ่นวาย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ จึงโปรดฯให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นแม่ทัพใหญ่ยกออกไปทำศึกกับญวน ปราบปรามการจลาจลในเขมรอยู่นานถึง ๑๕ ปี มิให้เขมรถูกญวนกลืนเสีย จนกระทั่งตั้งเมืองหลวง และพระราชวังใหม่ขึ้นที่เมืองอุดงฦาชัยเมืองหลวงเก่า แล้วให้ราชวงศ์ของนักองเองครอบครองเป็นพระเจ้าแผ่นดินเขมรสืบกันต่อมา


    จากพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี กรมศิลปากร 2547 บันทึกว่า






    “เมื่อ พ.ศ. 2379 ... แล้วทรงพระราชดำริถึงลาวฝ่ายตะวันออกเขมรป่าดง ยังไม่ได้จำนวนบัญชีชายฉกรรจ์เป็นแน่ว่ามากน้อยเท่าใด จึ่งโปรดให้เจ้าพระยาบดินทรเดชาออกไปทำบัญชีเขมรป่าดง เมืองขุขันธ์ เมืองสุรินทร์ เมืองสังขะ เมืองศีรษะเกษ เมืองเดชอุดม เมืองนครจำปาศักดิ์ เมืองอุบล เมืองสุวรรณภูมิ เมืองยโสธร เมืองศรีทันดร เมืองเชียงแตง เมืองแสนปาง เมืองอัตปือ รวม 13 เมือง ให้พระมหาเทพ (ป้อม) ซึ่งเป็นพระยามหาอำมาตย์ พระพิเรนทรเทพ (ขำ) ขึ้นไปชำระบัญชีคนเก่าและคนที่ข้ามมาใหม่...”



    (พระนโรดมสีหนุ)


    ตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงอภิเษกให้นักองเอง เป็นพระเจ้าแผ่นดินเขมรใหญ่ มีพระเจ้าแผ่นดินสืบราชสมบัติกันต่อๆมา ๘ รัชกาล คือ






    รัชกาลที่ 1 นักองเอง (สมเด็จพระนารายณ์ราชาธิราช)


    รัชกาลที่ 2 นักองจันทร์ (สมเด็จพระอุไทยราชาธิราช)


    รัชกาลที่ 3 นักองด้วง (สมเด็จพระหริรักษ์ราชาธิบดี)


    รัชกาลที่ 4 นักองราชาวดี (สมเด็จพระนโรดม โอรสใหญ่ ร.๓)


    รัชกาลที่ 5 นักองศรีสุวัตถ (สมเด็จพระศรีสวัสดิ์)


    รัชกาลที่ 6 สมเด็จพระมณีวงศ์ (ถึง ร.๖ นี้ เขมรตกเป็นของฝรั่งเศส แล้ว การสืบราชสันตติวงศ์หันกลับไปทางสายเหลนของนักองราชาวดี คือเจ้าชายสีหนุ อายุ ๑๘ ปี)


    รัชกาลที่ 7 พระเจ้านโรดมสีหนุ (ถึง ร.๗ ต่อมาเมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ เจ้าชายสีหนุสละราชบัลลังก์ถวายพระราชบิดา การสืบราชสันตติวงศ์จึงย้อนขึ้นจากลูกขึ้นไปหาพ่อ (พระองค์สุรามฤต) ซึ่งดูเหมือนจะไม่เคยปรากฏในประวัติศาสตร์การสืบราชสมบัติ)


    รัชกาลที่ 8 พระองค์สุรามฤต (ลูกของพระองค์สุธารส ซึ่งเป็นลูกของ ร.๔ อีกที)









    พระเจ้าแผ่นดินเขมรนั้นตั้งแต่ ร.๑ - ร.๕ ล้วนอยู่วังในกรุงเทพฯ และตั้งแต่ ร.๑ - ร.๔ ได้รับอภิเษกจากพระเจ้าแผ่นดินกรุงรัตนโกสินทร์ให้ขึ้นครองราชย์ทุกพระองค์จนกระทั่งตกอยู่ในอำนาจของฝรั่งเศส


    โทษทัณฑ์หลังออกจากกรุงสยาม




    การที่หม่อมเจ้าหญิงฉวีวาด มีเหตุต้องหนีออกจากกำแพงวังนั้น ทางกรุงสยาม ถือว่าการที่ท่านออกนอกเขตวังโดยไม่ได้รับพระบรมราชานุญาตเป็นความผิด ทั้งท่านยังเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ การเสด็จออกจากพระนครเกินเสาหินที่ปักเป็นอาณาเขตกรุงเทพพระมหานครทั้งสี่ทิศโดยไม่ได้กราบถวายบังคมลา ถือว่าเป็นกบฏ


    เมื่อตามจับตัวหม่อมเจ้าหญิงฉวีวาดไม่ได้ ตามอาญาต้องจับมารดา คือหม่อมราชวงศ์ดวงใจ ปราโมช และพี่น้อง ไปลงโทษแทน ให้คุมขังและริบราชบาตร ได้รับความลำบากอยู่หลายปี ถึงพ้นโทษได้กลับมาอยู่วัง


    ชีวิตบั้นปลายของหม่อมเจ้าหญิงฯ


    จนสิ้นแผ่นดินสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เข้าสู่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ครองราชย์ หม่อมเจ้าหญิงฉวีวาดจึงได้กลับมากรุงสยาม และบวชชีหลายปีจึงสึก ใช้ชีวิตสงบ ยามวัยชราได้ช่วยเลี้ยงหลานชาย คือ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ซึ่งเป็นลูกของน้องชาย (พระองค์เจ้าคำรบฯ) อันเป็นที่มาที่ท่าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ กล่าวเล่าความถึงท่านป้าในแง่มุมต่าง ๆ


    ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ท่านเขียนบรรยายไว้ในหนังสือโครงกระดูกในตู้ เปรียบหม่อมเจ้าหญิงฉวีวาด เป็น “โครงกระดูกในตู้” ชิ้นใหญ่ของราชสกุลปราโมช


    สมเด็จพระนโรดมทรงแต่งตั้งท่านป้าฉวีวาดเป็นถึงพระราชเทวี ท่านประสูติพระองค์เจ้าเขมรกับสมเด็จพระนโรดมองค์หนึ่งเป็นพระองค์เจ้าชาย มีนามว่าพระองค์เจ้าพานคุลี


    พระองค์เจ้าพานคุลีนี้เคยเข้ามาเยี่ยมท่านแม่ที่กรุงเทพฯ ครั้งหนึ่ง หลังจากที่ท่านป้าฉวีวาดกลับมาจากเมืองเขมรแล้วในรัชกาลที่ 6 และได้บวชชี หลานๆ จึงเรียกท่านป้าฉวีวาดว่า “ท่านป้าแอหนัง” หรือ “ท่านยายแอหนัง” เพราะท่านเป็นนางเอกต้องระหกระเหินเหมือนนางบุษบาในเรื่องอิเหนา เมื่อนางบุษบาบวชชีก็มีชื่อว่า แอหนังติหลาอรสา


    หม่อมเจ้าหญิงฉวีวาดมีชีวิตบั้นปลายอยู่โดยสงบ จนสิ้นชีพิตักษัย ด้วยวัย 80 ปี กว่า


    บทส่งท้ายของทุกชีวิต


    จักเห็นได้ว่าไม่ว่ายุคใดสมัยใด การปกครองบ้านเมืองต้องเป็นไปด้วยความปรองดองของคนในชาติ ทุกหมู่เหล่า หาไม่แล้วคนต่างชาติที่มุ่งทำลายชาติ และหวังเอาผลประโยชน์ ก็จะแทรกแซงบ่อนทำลาย


    การใช้สติปัญญาแก้ไขปัญหา ด้วยเหตุผลที่ถูกต้อง และเคารพต่อกันในสิทธิ หน้าที่ นำไปสู่ความร่มเย็นเป็นสุขของชาติบ้านเมือง


    การนำเรื่องราวในอดีต มาเล่ากันฟังในปัจจุบัน เพื่อน้อมนำมาเป็นบทเรียนให้ได้คิดไตร่ตรอง อย่างรอบคอบ และสร้างขวัญกำลังใจว่าสยามชาติไทย มีความยิ่งใหญ่ ด้วยบรรพบุรุษของไทยทุกยุคทุกสมัย ต่างก็รักชาติ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นแม้ใหญ่หลวงเพียงใด ก็กระทำด้วยใจที่รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นที่ตั้ง และยึดเหนี่ยวเป็นศูนย์รวมใจ ชาติไทยจึงเป็นปึกแผ่นมั่นคงสถาพรตลอดมา.






    ที่มาข้อมูล : โครงกระดูกในตู้ ของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช


    สตรีสยามในอดีต ของ น.พ.วิบูล วิจิตรวาทการ


    วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


    http://www.lekpluto.org/history/rebellion/thairebellion_13.htm


    http://special.bangkokbiznews.com/detail.php?id=7521&username=phavihan


    http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2006/03/K4174352/K4174352.html


    เดี๋ยวมาเพิ่มรูปค่ะวันพรุ่งนี้
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สาวชัยภูมิ ลูกพ่อขุน; 21-11-2013 at 08:45. เหตุผล: เพิ่มรูป

  3. #3
    Super Moderator สัญลักษณ์ของ ไก่น้อย
    วันที่สมัคร
    Aug 2006
    ที่อยู่
    นครโคราช
    กระทู้
    4,928
    บล็อก
    8
    ขอบคุณสาระดี ข้อมูลดีๆ ที่หามาสูกันอ่านเด้อจ้า
    กระเบื้องจะฟูลอย น้ำเต้าน้อยจะถอยจม เมฆจะหล่นฟ้าปลาจะกินดาว ลาวจะครองเมือง ::)

  4. #4
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63
    นี่ๆไม่รู้จริงนะว่าไทย - เขมรมีความสัมพันธุ์กันมาก่อนอย่างยาวนานในประวัติศาสตร์

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •