กำลังแสดงผล 1 ถึง 4 จากทั้งหมด 4

หัวข้อ: สรรพคุณของถั่วดำ

  1. #1
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63

    สรรพคุณของถั่วดำ

    สรรพคุณของถั่วดำ

    สรรพคุณของถั่วดำ


    สรรพคุณของถั่วดำ

    ถั่วดำมีรสหวาน สรรพคุณช่วยบำรุงโลหิตลักษณะของถั่วดำ
    ช่วยบำรุงสายตา
    สรรพคุณถั่วดํา ช่วยขจัดพิษในร่างกาย
    ช่วยขับเหงื่อ
    ถั่วดำ สรรพคุณช่วยแก้อาการร้อนใน
    ช่วยรักษาดีซ่าน
    ถั่วดำ มีสารที่ช่วยบรรเทาอาการปวดลำไส้เล็ก
    สรรพคุณของถั่วดํา ช่วยขับลมในกระเพาะ
    ช่วยขับของเหลวในร่างกาย
    ช่วยบำรุงไต ป้องกันไตเสื่อม
    ช่วยแก้อาการบวมน้ำ
    ช่วยแก้อาการเหน็บชา
    ช่วยแก้อาการปวดเอว

    ประโยชน์ของถั่วดำ

    ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย
    ช่วยบำรุงหัวใจ
    ถั่วดำอุดมไปด้วยแคลเซียม ซึ่งช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ทำให้กระดูและฟันแข็งแรง[8]
    นอกจากถั่วดำจะให้โปรตีนแล้ว แล้วยังอุดมไปด้วยไฟเบอร์หรือเส้นใย ซึ่งช่วยในการขับถ่าย และป้องกันอาการท้องผูก
    ถั่วดำ มีคุณสมบัติในการช่วยลดความอ้วนได้ เนื่องจากในถั่วดำมีสัดส่วนของโปรตีนถึง 40% และมีกรดไขมันไม่อิ่มตัว 20% โดยอุดมไปด้วยสารลดความอ้วน และสารที่ช่วยกำจัดสารพิษ
    ช่วยควบคุมน้ำหนัก เนื่องจากเส้นใยที่มีมากในถั่วจะช่วยทำให้รู้สึกอิ่มท้องได้นานขึ้น และทำให้ร่างกายมีพลังงานสม่ำเสมอ
    ในถั่วดำมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่สามารถช่วยป้องกันโรคมะเร็ง รวมไปถึงโรคในผู้ใหญ่ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ที่เห็นได้ชัดเจนก็คือบทบาทการช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ถึงร้อยละ 40 และมะเร็งลำไส้ตรงได้ถึงร้อยละ 80 นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันมะเร็งในกระเพาะอาหารได้ด้วย ซึ่งจากงานวิจัยระบุว่าผู้ที่รับประทานบ่อยๆ จะมีความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารน้อยกว่าผู้ที่ได้รับประทานถึงร้อยละ 30 รวมไปถึงฤทธิ์ในการป้องกันมะเร็งปอดได้ถึงร้อยละ 50
    ถั่วดำมีสารไอโซฟลาโวนส์ ซึ่งเป็นสารที่ช่วยป้องกันเซลล์เจริญเติบโตผิดปกติ จากปัญหาการหลั่งฮอร์โมนผิดปกติจนกลายเป็นโรคอ้วน และยังช่วยป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก อันมีสาเหตุมาจากการหลั่งฮอร์โมนแอนโดรเจน หรือฮอร์โมนเพศชาย มากเกินไปได้
    ถั่วดำมีสารที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์โปรติเอส ซึ่งช่วยป้องกันและลดการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งได้ ช่วยป้องกันมะเร็งเต้านม และยังส่งผลดีต่อฮอร์โมนเพศหญิงอีกด้วย
    ช่วยยับยั้งโรคเบาหวาน เนื่องจากเส้นใยในถั่วดำเป็นเส้นใยชนิดละลายน้ำ จึงช่วยลดความเร็วของการดูดซึมกลูโคสให้ดูดซึมในร่างกายช้าลง จึงสามารถยับยั้งโรคเบาหวานได้
    ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้สมดุล
    ช่วยป้องกันและรักษาโรคโลหิตจาง เนื่องจากถั่วดำอุดมไปด้วยวิตามินบี12 วิตามินบี9 หรือกรดโฟลิก และเบต้าแคโรทีน แถมยังมีธาตุเหล็กที่สูงกว่าเนื้อสัตว์ถึง 4 เท่า มันจึงมีประโยชน์โดยตรงต้อผู้เป็นโรคโลหิตจางอย่างมาก
    ถั่วดำอุดมไปด้วยธาตุเหล็ก ที่ช่วยบำรุงโลหิต และเป็นส่วนหนึ่งของสารในเม็ดเลือดแดงที่นำออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกาย จึงช่วยป้องกันภาวะขาดธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการอ่อนเพลีย ไม่ค่อยมีเรี่ยวแรง สมองไม่ดี หรือคิดอะไรไม่ค่อยออก ฯลฯ
    ช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและช่วยลดคอเลสเตอรอล เนื่องจากถั่วดำอุดมไปด้วยวิตามินอีและโพแทสเซียมที่ช่วยลดความดันโลหิต ด้วยการขยายเส้นโลหิตให้กว้างมากขึ้น ทั้งยังมีแคลเซียมที่ช่วยทำให้กล้ามเนื้อของเส้นเลือดเกิดความยืดหยุ่นมากขึ้นอีกด้วย
    ช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ซึ่งจากผลการวิจัยระบุว่าผู้ที่รับประทานถั่วดำในปริมาณมากกว่าจะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจน้อยกว่าผู้ที่รับประทานถั่วดำน้อยกว่าหรือไม่รับประทานเลย
    ล้างพิษด้วยถั่วดำ ถั่วดําช่วยล้างพิษในร่างกาย เนื่องจากถั่วดำมีสารฟลาโวนอยด์ ซึ่งเป็นถั่วที่มีสารล้างพิษที่มีปริมาณสูงสุด และยังมีสารสำคัญอย่างแอนโทไซยานินที่เป็นสารล้างพิษที่ดี โดยเมื่อเทียบกับผลไม้อย่างส้มแล้ว พบว่าถั่วดำจะมีปริมาณของสารล้างพิษมากกว่าส้มถึง 10 เท่า ! แต่การทำให้ถั่วดำสุกจะสูญเสียสารล้างพิษไปบ้าง แต่ก็ยังสามารถช่วยล้างพิษในร่างกายได้อย่างประสิทธิภาพ
    การรับประทานถั่วดำเป็นประจำ ช่วยส่งผลดีต่อสุขภาพผิว ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิว ช่วยทำให้ผิวหน้ากระจ่างใส ช่วยเพิ่มความกระชับ ทำให้ผิวหน้าดูมีชีวิตชีวา อีกทั้งยังช่วยลดเลือนรอยแดงจากสิว ป้องกันการเกิดกระบนผิว เพราะอุดมไปด้วยวิตามินอี และสารแอนโทไซนานินที่ช่วยเพิ่มการทำงานของคอลลาเจน
    มีคำกล่าวว่าการรับประทานถั่วจะช่วยทำให้ฉลาดขึ้น ซึ่งก็ใกล้เคียงกับความจริง เนื่องจากมีสารเลซิตินที่ช่วยบำรุงสมอง ช่วยในการทำงานของสมอง จึงมีผลดีต่อผู้ที่ต้องใช้ความจำ และสำหรับคนชราก็สามารรถช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้ด้วย
    ถั่วดำยังเป็นแหล่งสำคัญของธาตุโบรอน (Boron) ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการส่งกระแสประสาทของสมอง ทำให้ช่วยสมองทำงานได้ฉับไวขึ้น
    ช่วยแก้ปัญหาอาการนอนไม่หลับ ด้วยการนึ่งถั่วแล้วไส้ไว้ในหมอน ขณะที่ยังอุ่นๆ ก็จะช่วยแก้อาการนอนไม่หลับได้
    ถั่วดำเป็นแหล่งอาหารจากธรรมชาติที่มีโฟเลทสูง มีความสำคัญอย่างมากสำหรับหญิงตั้งครรภ์ เพราะช่วยป้องกันการพิการแต่กำเนิดของทารกได้ นอกจากนี้ยังมีธาตุเหล็กที่ช่วยลดอาการอ่อนเพลียของสตรีขณะตั้งครรภ์ได้อีกด้วย
    เมล็ดถั่วดำมีคุณค่าทางอาหารที่สูงใกล้เคียงพอๆ กับเมล็ดถั่วเขียว
    ถั่วดำสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย แต่น้อยกว่าถั่วเขียว เช่น ในญี่ปุ่นจะนำไปใช้เพื่อเพาะถั่วงอกเป็นหลัก ส่วนอินเดียนิยมนำไปทำถั่วซีก ตลอดจนใช้บริโภคทั้งเมล็ด ด้วยการใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารจำพวกซุปหรือแกงต่างๆ หรือใช้ในอาหารประเภทหมัก ส่วนในบ้านเราจะใช้ทำงอกเป็นหลักและทำแป้ง เป็นต้น
    ถั่วดำอุดมไปด้วยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต แคโรทีน วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
    เปลือกหุ้มเมล็ดมีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งสามารถนำมาใช้แต่งสีขนมต่างๆ ได้ เช่น ขนมถั่วแปป แป้งจี้ เป็นต้น ด้วยการนำเมล็ดถั่วดำมาล้างให้สะอาด แล้วนำไปต้มเคี่ยวกับน้ำแล้วจะได้น้ำที่มีสีม่วง
    เมล็ดถั่วดำเมื่อนำมาบดกับแป้งใช้ทำเป็นขนมได้ เช่น ขนมลูกชุบ ขนมเปี๊ยะ เป็นต้น[3]
    ถั่วดำเป็นพืชทนแล้ง สามารถปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด มักนิยมใช้ปลูกเป็นพืชรองในปลายฤดูฝน ตามหลังพืชหลัก เช่น ถั่วเหลือง หรือข้าวโพดโดยเป็นพืชที่มีบทบาทในด้านเศรษฐกิจของประเทศเช่นเดียวกับถั่วเขียว

    ลักษณะถั่วดำ

    ข้อควรรู้ ! : ถั่วดำมีสารพิวรีน (Purine) ระดับปานกลาง ผู้ป่วยโรคเกาต์ควรรับประทานในปริมาณที่จำกัด เนื่องจากสารดังกล่าวอาจเป็นตัวกระตุ้นทำให้อาการข้ออักเสบกำเริบขึ้นได้ และการรับประทานถั่วที่ดี ควรรับประทานสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง[8]
    แหล่งอ้างอิง

    วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: en.wikipedia.org/wiki/Vigna_mungo. [23 ต.ค. 2013].
    ชีวจิต. อ้างอิงใน: นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 208 (1 มิ.ย. 2550). ”มหัศจรรย์พลังของถั่ว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.cheewajit.com. [23 ต.ค. 2013].
    ไทยเกษตรศาสตร์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaikasetsart.com. [23 ต.ค. 2013].
    คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. ”บทปฏิบัติการเรื่องถั่วเขียว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.natres.psu.ac.th. [23 ต.ค. 2013].
    หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. อ้างอิงใน: สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร. ”ถั่วเขียวผิวมันและถั่วเขียวผิวดำ”. นางนันทวรรณ สโรบล (นักวิชาการเกษตร). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: ag-ebook.lib.ku.ac.th. [23 ต.ค. 2013].
    กรุงเทพธุรกิจ. ”ถั่วดำ…หุ่นดีฉบับเกาหลี”. (วันที่ 5 พฤษภาคม 2555). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.bangkokbiznews.com. [20 ต.ค. 2013].
    ASTV ผู้จัดการออนไลน์. ”ล้างพิษด้วยถั่วดำ”. (11 มีนาคม 2551). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.manager.co.th. [20 ต.ค. 2013].
    สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaihealth.or.th. [20 ต.ค. 2013].

    ภาพประกอบ : เว็บไซต์ flickr.com (by madlyinlovewithlife,dinesh_valke, hardworkinghippy, Bhupendra Nirajan, Parivartan Foundation)

    บทความนี้ถูกรวบรวมและเรียบเรียงขึ้นโดยเว็บไซต์ กรีนเนอรัลด์ ดอทคอม

  2. #2
    ฝ่ายบริหารระดับสูง สัญลักษณ์ของ พล พระยาแล
    วันที่สมัคร
    Mar 2008
    กระทู้
    6,430
    ป๊าด แหล่งอ้างอิงคือหลายแถะพ่อใหญ่ นึกว่าเขียนเองแมะ อิอิ

    มีประโยชน์แท้บ้อครับถั่วดำ สิได้ลองเบิ่งจักเทือซั่นดอกครับ

  3. #3
    ท่องเวบ สัญลักษณ์ของ pui.lab
    วันที่สมัคร
    Jul 2006
    ที่อยู่
    โสดไม่มีใครเอา หรือว่าเราไม่เอาใคร
    กระทู้
    8,954
    บล็อก
    9
    กินถั่วทุกชนิด สุขภาพดีคะ ลุงฉันต้มกินแทนข้าว โรยใส่สลัด
    แต่ฉันเอาไปอุ่นต่อในไมโครเวบ เติมน้ำตาล นม (แทนมะพร้าว) สุดยอดคะ
    บ้านมหาดอทคอม เว็บไซต์ส่งเสริม ศิลปะ วัฒนธรรมไทย ศิลปิน ความรู้ออนไลน์
    st1: มิตรภาพและรอยยิ้ม กับดีเจคนไกลบ้าน st1:

  4. #4
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ อ้ายพจน์
    วันที่สมัคร
    Mar 2012
    กระทู้
    263
    ประโยชน์หลายอิหลีเนาะถั่วดำแหมลุงใหญ่ซะพอคนบางกลุ่มชอบ.....ถั่วดำกัน

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •