กำลังแสดงผล 1 ถึง 3 จากทั้งหมด 3

หัวข้อ: วิธีการปลูกผักในกระถาง

Hybrid View

คำตอบที่แล้วมา คำตอบที่แล้วมา   คำตอบถัดไป คำตอบถัดไป
  1. #1
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63

    Facebook Video วิธีการปลูกผักในกระถาง



    วิธีการปลูกผักในกระถาง

    วิธีการปลูกผักในกระถาง



    สำหรับผู้ที่ไม่มีเนื้อที่ในการทำสวนครัวค่ะ เหตุเป็นเพราะคนส่วนใหญ่จะอยู่กันในเมืองและทำงานบริษัทกันเยอะค่ะ บางคนก็ต้องเช่าบ้าน เช่าคอนโด ห้องแถว แล้วแต่วิถีชีวิตต่างคนต่างมุมค่ะ คนที่ต้องการจะปักหลักตั้งฐานก็ซื้อบ้าน ซื้อคอนโด เพราะคิดว่าดีกว่าเช่าเขาอยู่ยังไงสักวันก็ต้องเป็นของเรา..ค่ะ และถึงแม้จะมีเวลาอันน้อยนิด เราก็จะแสวงหาความสุขส่วนตัวกัน อย่างน้อยก็หลังเลิกงาน และก่อนไปทำงานก็ยังดี ตอนเย็นได้ทำกับข้าว หาอาหาร ซื้อเค้าทุกวันก็ไม่ไหวเหมือนกัน มาลองหาวิธีประหยัดรายจ่ายโดยตัวของเราเองดีไหมค่ะ...น่าจะเห็นด้วยนะค่ะ งั้นเรามาดูวิธีการประหยัดของเรากันเลยค่ะ...นั่นก็คือ การลดรายจ่ายโดยการปลูกผักสวนครัวง่ายๆ กินเอง....และสามารถทำเป็นสวนประดับหน้าบ้านได้ด้วยนะค่ะ..

    ข้อดีในการปลูกผักในกระถางมีดังนี้
    - ประหยัดพื้นที่ในการปลูก
    - สามารถ เคลื่อนย้าย จัดวาง ปรับเปลี่ยนตำแหน่งกระถางผักได้
    - สะดวกต่อการดูแลรักษา และเก็บเกี่ยวผลผลิต
    - สามารถนำผักที่ปลูกในกระถางไปวางตกแต่งในสวนหย่อม หรือจัดเป็นสวนประดับได้

    ขั้นตอนการปลูกผักในกระถางการเตรียมอุปกรณ์ สามารถใช้วัสดุเหลือใช้ในครัวเรือน เช่น กะละมัง, กระถาง, ยางรถยนต์, ถังน้ำ ฯลฯ หากกระถางหรือภาชนะใดมีสารปนเปื้อน พวกน้ำมัน หรือพวกสารเคมีต่างๆ ให้ทำความสะอาดก่อนที่จะนำมาใช้ และให้จัดตกแต่งกระถาง หรือภาชนะที่จะนำมาใช้ปลูกผัก เช่น ตัดปาก ตัดกัน หรือทำขอบเพื่อให้กระถางคงทน และสวยงาม การเลือกกระถางปลูก ต้องเลือกให้เหมาะสมต่อผักที่จะปลูก กล่าวคือผักที่มีระบบรากลึก ควรปลูกในกระถางที่มีความลึก ผักที่มีระบบรากตื้นเหมาะกับกระถางที่มีความตื้นไม่มาก

    การเลือกผักที่จะปลูก การเลือกผักที่จะปลูก่มีความสำคัญมาก นอกจากจะเลือกผักที่ปลูกให้เหมาะสมกับกระถางปลูกแล้ว ควรเลือกปลูกผักที่มีการใช้บริโภคภายในครอบครัวเป็นประจำทุกวันก่อน เพราะจะทำให้ผักที่ปลูกนั้นได้รับความสนใจ และมีการนำไปใช้ประโยชน์ได้มาก และนอกจากผักที่นิยมบริโภคภายในครอบครัวแล้วควรเลือกปลูกผักที่สมาชิกในครอบครัวชอบรับประทานด้วย เพราะจะทำให้ผักนั้นได้รับความสนใจจากสมาชิกในครอบครัวตามไปด้วย ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการเลือกผักมีความสำคัญ ไม่ควรปลูกผักที่ไม่มีผู้บริโภคเพราะจะทำให้ผักที่ปลูกนั้นไม่คุ้มค่า
    การเตรียมดิน ดินที่ใช้ปลูกผักในกระถางต้องเตรียมให้ดี และเหมาะสมกับผักแต่ละชนิด การเตรียมดินสำหรับปลูกผักในกระถางสามารถทำได้เองโดยมีส่วนผสม ดังนี้
    - ดินร่วน 1 ส่วน
    - ทราย 1 ส่วน
    - ปุ๋ยหมัก หรือปุ่ยคอก 1 ส่วน
    - ขึ้เก้าแกลบ, ขุยมะพร้าว 1 ส่วน

    นำทั้ง 4 ส่วน ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันให้ดี ก่อนนำลงปลูก หากกระถางมีรูใหญ่จะดินรั่วออกได้ ให้นำหินหรือเศษกระเบื้องวางทับก่อน ถ้าส่วนผสมดังกล่าวไม่สามารถหาได้ อาจใช้ปุ๋ยคอกผสมใบพืชผุ ใบไผ่ผุ ผสมกับดินก็ได้ และหากไม่สะดวกที่จะผสมดินใช้เอง สามารถหาซื้อดินผสมเสร็จ ที่มีขายอยู่ทั่วไปมาใช้ก็ได้ แต่ควรดูส่วนผสมของดินให้ดี ถ้าหากมีส่วนผสมของใบก้ามปู หรือเปลือกถั่วจะเหมาะสมกว่าดิน ที่มีส่วนผสมของแกลบ หรือกาบมะพร้าว ดินที่ผสมเสร็จแล้วนำไปบรรจุในกระถางที่เตรียมปลูกผัก การบรรจุไม่ควรให้เต็มกระถาง หรือเสมอขอบ ควรเติมหลังจากปลูกผักไปแล้ว จึงจะเพิ่มดินให้อยู่ในระดับที่ต้องการ
    การปลูกผักลงกระถาง ขึ้นอยู่กับชนิดของผักที่จะปลูก คือ สามารถทำได้ทั้งปลูกแบบใช้เมล็ดพันธุ์หว่าน หรือหยอดลงกระถางเลย หรือ เพราะต้นกล้าก่อนแล้วจึงนำลงปลูกในกระถาง หรือผักบางชนิดสามารถใช้วิธีปักชำลงในกระถางได้เลย
    วิธีหว่านหรือหยอดเมล็ด โดยหว่างเมล็ดลงให้กระถางโดยกะระยะห่างของเมล็ด หรือหลุมที่หยอดให้เหมาะสมกับชนิดของผัก
    ผักที่นิยมปลูก โดยใช้เมล็ดได้แก่ ผักชี, ผักบุ้งจีน, ตั้งโอ๋, ขึ้นฉ่าย เป็นต้น

    วิธีเพาะต้นกล้าผักก่อนปลูก นำต้นกล้าผักที่เพาะเมล็ดได้ระยะเวลาที่พอเหมาะ โดยสังเกตจากลักษณะของลำต้น และระบบรากฝอย ถ้าสมบูรณ์ก็สามารถย้ายต้นกล้าผักลงปลูกได้เลย ผักที่นิยมปลูกวิธีนี้ได้แก่ ผักคะน้า, ผักกาดขาว, ผักกาดเขียว, ผักกาดหอม, กะหล่ำปลี, ปูเล่, กะเพรา, โหระพา เป็นต้น
    วิธีนำส่วนของผักมาปักชำ ผักที่สามารถนำมาลงปลูกแบบปักชำในกระถางได้เลย เช่น สะระแหน่, ชะพลู, หอมแบ่ง, ตะไคร้ ฯลฯ
    การปักชำต้องดูว่าผักแต่ละชนิดใช้ส่วนใดในการปักชำได้ ผักบางชนิดมีรากลึกกระถางที่ใช้ปักชำควรมีความลึกที่เหมาะสมต่อผักด้วย หรือผักบางชนิดต้องใช้ไม้ปัก เพื่อพยุงลำต้นผักให้ตั้งตรงและป้องกันการกระทบกระเทือนเวลารดน้ำ ในช่วงแรกๆของการปักชำด้วย

    การดูแลรักษาผักในกระถาง ผักที่ปลูกในกระถางสามารถทำการดูแลรักษาได้ง่าย โดยคอยรดน้ำให้ดินในกระถางในมีความชุ่มชื้นสม่ำเสมอ กำจัดวัชพืช พรวนดิน และใส่ปุ๋ยหากผักมีเจริญเติบโตไม่ดี และควรเปลี่ยนดินเมื่อมีการปลูกผักในครั้งต่อไป หรือปลูกผักชนิดใหม่ในกระถางเดิม ถ้าหากที่ที่วางกระถางอยู่ผักที่ปลูกได้รับแสงไม่เพียงพอ สามารถย้ายกระถางไปวางไว้ในที่มีแสงเพียงพอได้
    การเก็บเกี่ยว สำหรับผักที่ปลูกในกระถาง หากเป็นผักที่บริโภคในส่วนของใบ ให้เก็บใบล่างไปก่อน เหลือยอดบนไว้ให้เจริญต่อไป เช่น ผักกาด คะน้า ปูเล่ ถ้าเป็นผักที่ใช้ส่วนยอดอ่อนบริโภค ควรเลือกเก็บเฉพาะยอดเท่านั้น จะทำให้ผักมีการแตกยอดอ่อนเจริญเติบโตให้เราได้ใช้บริโภคอีก เช่น สะระแหน่, กะเพรา, โหระพา ฯลฯ


    พืชผักสวนครัวในกระถางชนิดต่างๆ

    สะระแหน่ในกระถาง
    วิธีการปลูกผักในกระถาง

    กวางตุ้งในกระถาง 1
    วิธีการปลูกผักในกระถาง

    กวางตุ้งในกระถาง 2

    กวางตุ้งในกระถาง 3
    วิธีการปลูกผักในกระถาง

    ผักบุ้งจีนในกระถาง

    ตั้งโอ๋ในกระถาง

    คะน้าในกระถาง

    กุ้ยช่ายขาวในกระถาง


    ผักรวมในกระถาง

    แครอทในกระถาง

    มะเขือในกระถาง

    มะนาวในกระถาง

    ผักสลัดในกระถาง
    วิธีการปลูกผักในกระถาง

    พริกแฟนซีในกระถาง
    วิธีการปลูกผักในกระถาง

    มะเขือเทศในกระถาง

    ส้มในกระถาง

    แก้วมังกรในกระถาง

    เมล่อนในกระถาง

    ผักในราวกระบอกไม้ไผ่1

    ผักในราวกระบอกไม้ไผ่2

    ผักในกระบอกไม้ไผ่

    ผักในท่อ PVC

    ผักในวงล้อยางรถยนต์เก่า


    เป็นไงบ้างค่ะ สำหรับการปลูกผักในกระถางสามารถทำได้เลยค่ะ และควรที่จะต้องเลือกผักที่ครอบครัวจำเป็นต้องใช้บริโภค เลือกวัสดุเหลือใช้มาใช้เป็นวัสดุปลูกผัก เรื่องของชนิดของผักกับกระถางปลูก ควรจะพิจารณาถึง การหยั่งรากตื้น ของพืชผัก พืชผักที่หยั่งรากตื้น และสามารถ ปลูกลงภาชนะ แค่นี้ก็สามารถนำมาใช้บริโภคได้ง่ายๆแล้วล่ะค่ะ



    ขอขอบคุณ: http://poonitafarm.blogspot.com/2012...g-post_26.html
    ฟาร์มดี (ฟาร์มไส้เดือนของคนพิการ)

  2. #2
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63

    ปลูกผักในกระถาง



    การปลูกผักในกระถาง

    ข้อดีของการปลูกผักในกระถาง คือ
    1.ประหยัดพื้นที่ในการปลูก

    2.สามารถเคลื่อนย้าย จัดวาง ปรับเปลี่ยนตำแหน่งกระถางผักได้

    3.สะดวกต่อการดูแลรักษา และเก็บเกี่ยวผลผลิต

    4.สารถนำผักที่ปลูกในกระถางไปวางตกแต่งในสวนหย่อมหรือจัดเป็นสวนประดับได้

    ขั้นตอนการปลูกพืชในกระถาง

    1.การเตรียมอุปกรณ์ สามารถใช้วัสดุเหลือใช้ในครัวเรือน เช่น กะละมัง, กระถาง,ยางรถยนต์,ถังน้ำ ฯลฯหากกระถางหรือถาชนะใดมีสารปนเปื้อนหรือพวกน้ำมัน พวกสารเคมีต่างๆให้ทำความสะอาดก่อนที่จะนำมาใช้ และให้จัดตกแต่งกระถางหรือภาชนะที่จะนำมาใช้ปลูก เช่น ตัดปาก ตัดก้น หรือทำขอบเพื่อให้กระถางคงทน และสวยงาม การเลือกกระถางปลูกต้องเลือกให้เหมาะสมต่อผักที่จะปลูกกล่าวคือผักที่มีระบบรากลึก ผักที่มีระบบรากตื้นเหมาะกับกระถางที่มีความตื้นไม่มาก

    2.การเลือกผักที่จะปลูก การเลือกผักที่จะปลูกมีความสำคัญมาก นอกจากจะเลือกผักที่ปลูกให้เหมาะสมกับกระถางปลูกแล้ว ควรเลือกปลูกผักที่มีการใช้บริโภคภายในครอบครัวเป็นประจำทุกวันก่อน เพราะจะทำให้ผักที่ปลูกนั้นได้รับความสนใจ และมีการนำไปใช้ประโยชน์ได้มาก และนอกจากผักที่นิยมบริโภคภายในครอบครัวแล้วควรเลือกปลูกผักที่สมาชิกในครอบครัวชอบรับประทานด้วย เพราะจะทำให้ผักนั้นได้รับความสนใจจากสมาชิกในครอบครัวไปด้วย ดั้งนั้น จะเห็นได้ว่าการเลือกผักมีความสำคัญ ไม่ควรปลูกผักที่ไม่มีผู้บริโภคเพราะจะทำให้ผักที่ปลูกนั้นไม่คุ้มค่า

    3. การเตรียมดิน ดินที่ใช้ปลูกผักในกระถางต้องเตรียมให้ดีและเหมาะสมกับผักแต่ละชนิด การเตรียมดินสำหรับปลูกผักในกระถางสามารถทำได้เองโดยมีส่วนผสม ดั้งนี้

    -ดินร่วน 1 ส่วน

    -ทราย 1 ส่วน

    -ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 1 ส่วน

    -ขี้เก้าแกลบ,ขุยมะพร้าว 1 ส่วน

    นำทั้ง 4 ส่วนผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันให้ดีก่อนนำลงปลูก หากกระถางมีรูใหญ่จะดินรั่วออกได้ให้นำหินหรือเศษกระเบื้องวางทับก่อน ถ้าส่วนผสมดังกล่าวไม่สามารถหาได้ไม่สามารถหาได้ อาจใช้ปุ๋ยคอกผสมใบพืชผุ ใบไผ่ผุ ผสมกับดินก็ได้ และหากไม่สะดวกที่จะผสมดินใช้เองสามารถหาซื้อดินผสมเสร็จที่มีขายอยู่ทั่วไปมาใช้ก็ได้ แต่ควรดูส่านผสมของดินให้ดี ถ้าหากมีส่วนผสมของใบก้ามปูหรือเปลือกถั่วจะเหมาะสมกว่าดินที่มีส่วนผสมของแกลบหรือกาบมะพร้าว ดินที่ผสมเสร็จแล้วนำไปบรรจุในกระถางที่เตรียมปลูกผัก การบรรจุไม่ควรให้เต็มกระถางหรือเสมอขอบ ควรเติมหลังจากปลูกผักไปแล้ว จึงจะเพิ่มดินให้อยู่ในระดับที่ต้องการ

    การปลูกผักลงกระถาง ขึ้นอยู่กับชนิดของผักที่จะปลูก คือ สามารถทำได้ทั้งปลูกแบบใช้เมล็ดพันธุ์หว่านหรือหยอดลงกระถางเลยหรือเพาะต้นกล้าอ่อนแล้วจึงนำปลูกลงในกระถางหรือผักบางชนิดสามารถใช้วิธีปักชำลงในกระถางได้เลย

    วิธีหว่านหรือหยอดเมล็ด โดยหว่านเมล็ดลงให้กระถางโดยกะระยะห่างของเมล็ดหรือหลุมที่หยอดให้เหมาะสมกับชนิดของผัก ผักที่นิยมปลูกโดยใช้เมล็ดได้แก่ ผักชี,ผักบุ้งจีน,ตั้งโอ๋,ขึ้นฉ่าย,เป็นต้น

    วิธีเพาะต้นกล้าต้นอ่อนก่อนปลูก นำต้นกล้าผักที่เพาะเมล็ดได้ระยะเวลาที่พอเหมาะโดยสังเกตจากลักษณะของลำต้นและระบบรากฝอย ถ้าสมบูรณ์ก็สามารถย้ายต้นกล้าผักลงปลูกได้เลยผักที่นิยมปลูกวิธีนี้ได้แก่

    ผักคะน้า,ผักกาดขาว,ผักกาดหอม,กะหล่ำปลี,ปูเล่,กะเพรา,โหรพา เป็นต้น

    วิธีนำส่วนของผักมาปักชำ ผักที่สามารถนำมาปลุกลงแบบปักชำในกระถางได้เลย เช่น สะระแหน่,ชะพลู,หอมแบ่ง,ตะไคร้ ฯลฯการปักชำต้องดูว่าผักแต่ละชนิดใช้ส่วนใดในการปักชำได้ ผักบางชนิดมีรากลึกกระถางที่ใช้ปักชำควรมีความลึกที่เหมาะสมต่อผักด้วย หรือผักบางชนิดต้องใช้ไม้ปักเพื่อพยุงลำต้นผักให้ตั้งตรงและป้องกันการกระทบกระเทือนเวลารดน้ำในช่วงแรกๆของการปักชำด้วย

    การดูแลรักษาผักในกระถาง ผักที่ปลูกในกระถางสามารถดูแลรักษาได้ง่ายโดยคอยรดน้ำให้ดินในกระถางมีความชุ่มชื้นสม่ำเสมอ กำจัดวัชพืช พรวนดิน และใส่ปุ๋ยหากผักมีการเจริญเติบโตไม่ดีควรเปลี่ยนดินเมื่อมีการปลูกผักในครั้งต่อไปหรือปลูกผักชนิดใหม่ในกระถางเดิม ถ้าหากที่ที่วางกระถางอยู่ผักที่ปลูกได้รับแสงไม่เพียงพอสามารถย้ายกระถางไปวางไว้ในที่มีแสงเพียงพอได้


    การปลูกผักในกระถางหรือในภาชนะต่างๆ
    การปลูกผักในกระถาง วิธีการปลูกผักในกระถางนี้ เหมาะกับครอบครัวที่มีบริเวณพื้นบ้านจำกัด หรือบ้านที่นิยมปลูกผักในแบบกึ่งไม้ประดับ

    ข้อดีของการปลูกผักในกระถาง คือ

    ประหยัดพื้นที่ในการปลูก
    สามารถ เคลื่อนย้าย จัดวาง ปรับเปลี่ยนตำแหน่งกระถางผักได้
    สะดวกต่อการดูแลรักษา และเก็บเกี่ยวผลผลิต
    สามารถนำผักที่ปลูกในกระถางไปวางตกแต่งในสวนหย่อม หรือจัดเป็นสวนประดับได้


    ขั้นตอนการปลูกผักในกระถาง

    1. การเตรียมอุปกรณ์ สามารถใช้วัสดุเหลือใช้ในครัวเรือน เช่น กะละมัง, กระถาง, ยางรถยนต์, ถังน้ำ ฯลฯ หากกระถางหรือภาชนะใดมีสารปนเปื้อน พวกน้ำมัน หรือพวกสารเคมีต่างๆ ให้ทำความสะอาดก่อนที่จะนำมาใช้ และให้จัดตกแต่งกระถาง หรือภาชนะที่ จะนำมาใช้ปลูกผัก เช่น ตัดปาก ตัดกัน หรือทำขอบเพื่อให้กระถางคงทน และสวยงาม การเลือกกระถางปลูก ต้องเลือกให้เหมาะสมต่อผักที่จะปลูก กล่าวคือผักที่มีระบบรากลึก ควรปลูกในกระถางที่มีความลึก ผักที่มีระบบรากตื้นเหมาะกับกระถางที่มีความตื้นไม่มาก

    2. การเลือกผักที่จะปลูก การเลือกผักที่จะปลูกมีความสำคัญมาก นอกจากจะเลือกผักที่ปลูกให้เหมาะสมกับกระถางปลูกแล้ว ควรเลือกปลูกผักที่มีการใช้บริโภคภายในครอบครัวเป็นประจำทุกวันก่อน เพราะจะทำให้ผักที่ปลูกนั้นได้รับความสนใจ และมีการนำไปใช้ประโยชน์ได้มาก และนอกจากผักที่นิยมบริโภคภายในครอบครัวแล้วควรเลือกปลูกผักที่สมาชิกในครอบครัวชอบรับประทานด้วย เพราะจะทำให้ผักนั้นได้รับความสนใจจากสมาชิกในครอบครัวตามไปด้วย ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการเลือกผักมีความสำคัญ ไม่ควรปลูกผักที่ไม่มีผู้บริโภคเพราะจะทำให้ผักที่ปลูกนั้นไม่คุ้มค่า

    3. การเตรียมดิน ดินที่ใช้ปลูกผักในกระถางต้องเตรียมให้ดี และเหมาะสมกับผักแต่ละชนิด การเตรียมดินสำหรับปลูกผักในกระถางสามารถทำได้เองโดยมีส่วนผสม ดังนี้
    - ดินร่วน 1 ส่วน
    - ทราย 1 ส่วน
    - ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก 1 ส่วน
    - ขี้เถ้าแกลบ, ขยะมะพร้าว 1 ส่วน
    นำทั้ง 4 ส่วน ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันให้ดี ก่อนนำลงปลูก หากกระถางมีรูใหญ่จะดินรั่วออกได้ ให้นำหินหรือเศษกระเบื้องวางทับก่อน ถ้าส่วนผสมดังกล่าวไม่สามารถหาได้ อาจใช้ปุ๋ยคอกผสมใบพืชผุ ใบไผ่ผุ ผสมกับดินก็ได้ และหากไม่สะดวกที่จะผสมดินใช้เอง สามารถหาซื้อดินผสมเสร็จ ที่มีขายอยู่ทั่วไปมาใช้ก็ได้ แต่ควรดูส่วนผสมของดินให้ดี ถ้าหากมีส่วนผสมของใบก้ามปู หรือเปลือกถั่วจะเหมาะสมกว่าดิน ที่มีส่วนผสมของแกลบ หรือกาบมะพร้าว ดินที่ผสมเสร็จแล้วนำไปบรรจุในกระถางที่เตรียมปลูกผัก การบรรจุไม่ควรให้เต็มกระถาง หรือเสมอขอบ ควรเติมหลังจากปลูกผักไปแล้ว จึงจะเพิ่มดินให้อยู่ในระดับที่ต้องการ

    4. การปลูกผักลงกระถาง ขึ้นอยู่กับชนิดของผักที่จะปลูก คือ สามารถทำได้ทั้งปลูกแบบใช้เมล็ดพันธุ์หว่าน หรือหยอดลงกระถางเลย หรือ เพราะต้นกล้าก่อนแล้วจึงนำลงปลูกในกระถาง หรือผักบางชนิดสามารถใช้วิธีปักชำลงในกระถางได้เลย
    วิธีหว่านหรือหยอดเมล็ด โดยหว่านเมล็ดลงให้กระถางโดยกะระยะห่างของเมล็ด หรือหลุมที่หยอดให้เหมาะสมกับชนิดของผัก ผักที่นิยมปลูกโดยใช้เมล็ดได้แก่ ผักชี, ผักบุ้งจีน, ตั้งโอ๋, ขึ้นฉ่าย เป็นต้น
    วิธีเพาะต้นกล้าผักก่อนปลูก นำต้นกล้าผักที่เพาะเมล็ดได้ระยะเวลาที่พอเหมาะ โดยสังเกตจากลักษณะของลำต้น และระบบรากฝอย ถ้าสมบูรณ์ก็สามารถย้ายต้นกล้าผักลงปลูกได้เลย ผักที่นิยมปลูกวิธีนี้ได้แก่ ผักคะน้า, ผักกาดขาว, ผักกาดเขียว, ผักกาดหอม, กะหล่ำปลี, ปูเล่, กะเพรา, โหระพา เป็นต้น
    วิธีนำส่วนของผักมาปักชำ ผักที่สามารถนำมาลงปลูกแบบปักชำในกระถางได้เลย เช่น สะระแหน่, ชะพลู, หอมแบ่ง, ตะไคร้ ฯลฯ
    การปักชำต้องดูว่าผักแต่ละชนิดใช้ส่วนใดในการปักชำได้ ผักบางชนิดมีรากลึกกระถางที่ใช้ปักชำควรมีความลึกที่เหมาะสมต่อผักด้วย หรือผักบางชนิดต้องใช้ไม้ปัก เพื่อพยุงลำต้นผักให้ตั้งตรงและป้องกันการกระทบกระเทือนเวลารดน้ำ ในช่วงแรกๆของการปักชำด้วย

    5. การดูแลรักษาผักในกระถาง ผักที่ปลูกในกระถางสามารถทำการดูแลรักษาได้ง่าย โดยคอยรดน้ำให้ดินในกระถางในมีความชุ่มชื้นสม่ำเสมอ กำจัดวัชพืช พรวนดิน และใส่ปุ๋ยหากผักมีเจริญเติบโตไม่ดี และควรเปลี่ยนดินเมื่อมีการปลูกผักในครั้งต่อไป หรือปลูกผักชนิดใหม่ในกระถางเดิม ถ้าหากที่ที่วางกระถางอยู่ผักที่ปลูกได้รับแสงไม่เพียงพอ สามารถย้ายกระถางไปวางไว้ในที่มีแสงเพียงพอได้

    6. การเก็บเกี่ยว สำหรับผักที่ปลูกในกระถาง หากเป็นผักที่บริโภคในส่วนของใบ ให้เก็บใบล่างไปก่อน เหลือยอดบนไว้ให้เจริญต่อไป เช่น ผักกาด คะน้า ปูเล่ ถ้าเป็นผักที่ใช้ส่วนยอดอ่อนบริโภค ควรเลือกเก็บเฉพาะยอดเท่านั้น จะทำให้ผักมีการแตกยอดอ่อนเจริญเติบโตให้เราได้ใช้บริโภคอีก เช่น สะระแหน่, กะเพรา, โหระพา ฯลฯ

    ข้อควรคำนึง ในการปลูกผักในกระถาง ต้องเลือกผักที่ครอบครัวจำเป็นต้องใช้บริโภค เลือกวัสดุเหลือใช้มาใช้เป็นวัสดุปลูกผัก เรื่องของชนิดของผักกับกระถางปลูก ควรจะพิจารณาถึง การหยั่งรากตื้น ของพืชผัก พืชผักที่หยั่งรากตื้น และสามารถ ปลูกลงภาชนะ ปลูกชนิดต่าง ๆ และชนิดห้อยแขวนได้ดี และมีความลึกไม่เกิน 10 เซนติเมตร ดังต่อไปนี้คือ

    ผักบุ้งจีน คะน้าจีน ผักกาดกวางตุ้ง (เขียวและขาว) ผักกาดฮ่องแต้ ผักกาดหอม ผักกาดขาวชนิดไม่ห่อ (ขาวเล็ก ขาวใหญ่) ตั้งโอ๋ ปวยเล้ง หอมแบ่ง (ต้นหอม) ผักชี ขึ้นฉ่าย ผักโขมจีน กระเทียมใบ (Leek) กุยช่าย กระเทียมหัว ผักชีฝรั่ง บัวบก สะระแหน่ แมงลัก โหระพา (เพาะเมล็ด) กะเพรา (เพาะเมล็ด) พริกขี้หนู ตะไคร้ ชะพลู หอมแดง หอมหัวใหญ่ หัวผักกาดแดง (แรดิช)
    วัสดุที่สามารถนำมาทำเป็นภาชนะปลูกอาจดัดแปลงจากสิ่งที่ใช้แล้ว เช่น ยางรถยนต์เก่า กะละมัง ปลอกซีเมนต์ เป็นต้น สำหรับภาชนะแขวน อาจใช้กาบมะพร้าว กระถาง หรือเปลือกไม้


    การปลูกผักในกระถาง หรือในภาชนะ

    วิธีการปลูกผักในภาชนะแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี คือ

    1. เพาะเมล็ดด้วยการหว่านแล้วถอนแยกหรือหยอดเป็นแถวแล้วถอนแยก
    ผักบุ้งจีน, คะน้าจีน, ผักกาดขาวกวางตุ้ง, ผักกาดเขียวกวางตุ้ง, ผักฮ่องเต้ (กวางตุ้งไต้หวัน), ตั้งโอ๋, ปวยเล้ง, ผักกาดหอม, ผักโขมจีน, ผักชี, ขึ้นฉ่าย, โหระพา, กระเทียมใบ, กุยฉ่าย, หัวผักกาดแดง, กะเพรา, แมงลัก, ผักชีฝรั่ง, หอมหัวใหญ่

    2. ปักชำด้วยต้น และด้วยหัว
    หอมแบ่ง (หัว), ผักชีฝรั่ง, กระเทียมหัว (ใช้หัวปลูก), หอมแดง (หัว), บัวบก (ไหล), ตะไคร้ (ต้น), สะระแหน่ (ยอด), ชะพลู (ต้น), โหระพา (กิ่งอ่อน), กุยช่าย (หัว), กะเพรา (กิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อน), แมงลัก (กิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อน) ** มีบางพืชที่ปลูกด้วยหัว หรือส่วนของต้นก็ได้หรือปลูกด้วยเมล็ดก็ได้ ดังนั้นจึงมีชื่อผักที่ซ้ำกันทั้งข้อ 1 และ 2

    การปฏิบัติดูแลรักษาผักในกระถาง หรือในภาชนะ

    การดูแลรักษาด้วยความเอาใจใส่จะช่วยให้ผักเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์จนถึงระยะเก็บเกี่ยว การดูแลรักษาดังกล่าว ได้แก่

    1. การให้น้ำ
    การปลูกผักจำเป็นต้องให้น้ำอย่างเพียงพอ การให้น้ำผักควรรดน้ำในช่วง เช้า – เย็น ไม่ควรรดตอนแดดจัด และรดน้ำแต่พอชุ่มอย่าให้โชก

    2. การให้ปุ๋ย มี 2 ระยะ คือ
    2.1 ใส่รองพื้นคือการใส่เมื่อเวลาเตรียมดิน หรือรองก้นหลุมก่อนปลูกปุ๋ยที่ใส่รองพื้นควรเป็นปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก คลุกในดินให้ทั่ว ก่อน ปลูกเพื่อ ปรับโครงสร้างดินให้โปร่งร่วนซุย นอกจากนั้นยังช่วยในการ อุ้มน้ำและรักษาความชื้น ของดินให้เหมาะสม กับการ เจริญเติบโตของพืชด้วย
    2.2 การใส่ปุ๋ยบำรุง ควรจะใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อย้ายกล้าไปปลูกจนกล้าตั้งตัวได้แล้ว และใส่ครั้งที่ 2 หลังจากใส่ครั้งแรกประมาณ 2 – 3 สัปดาห์ การใส่ให้โรยบาง ๆ ระหว่างแถว ระวังอย่าให้ปุ๋ยอยู่ชิดต้น เพราะจะทำให้ ผักตาย ได้ เมื่อใส่ปุ๋ยแล้วให้พรวนดินและรดน้ำทันที สูตรปุ๋ยที่ใช้กับพืชผัก ได้แก่ ยูเรีย แอมโมเนียซัลเฟต สำหรับบำรุงต้น และใบ และปุ๋ยสูตร 15-15-15 และ 12-24-12 สำหรับเร่งการออกดอกและผล

    3. การป้องกันกำจัดศัตรูพืช
    ควรบำรุงรักษาต้นพืชให้แข็งแรง โดยการกำจัดวัชพืช การให้น้ำอย่างเพียงพอและใส่ปุ๋ยตามจำนวนที่กำหนดเพื่อให้ผักเจริญเติบโต แข็งแรง ทนต่อโรคและแมลง หากมีโรคและ แมลง ระบาด มากควรใช้สารธรรมชาติ หรือใช้วิธีกลต่าง ๆ ในการป้องกันกำจัด เช่น หนอนต่าง ๆ ใช้มือจับออก ใช้พริกไทยป่นผสม น้ำฉีดพ่น ใช้น้ำคั้นจากใบหรือเมล็ดสะเดาถ้าเป็นพวกเพลี้ย เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย และเพลี้ยจักจั่น ให้ใช้น้ำยา ล้างจาน 15 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นใต้ใบเวลาเย็น ถ้าเป็นพวกมด หอย และทากให้ใช้ปูนขาวโรยบาง ๆ ลงบริเวณพื้นดิน

    4. การเก็บเกี่ยว
    การเก็บเกี่ยวผักควรเก็บในเวลาเช้าจะทำให้ได้ผักสดรสดี และหากยังไม่ได้ใช้ให้ล้างให้สะอาด และนำเก็บไว้ในตู้เย็น สำหรับผัก ประเภทผลควรเก็บในขณะที่ผลไม่แก่จัดจะได้ผลที่มีรสดี และจะทำให้ผลดก หากปล่อยให้ผลแก่คาต้น ต่อไปจะออกผลน้อยลง
    สำหรับในผักใบหลายชนิด เช่น หอมแบ่ง ผักบุ้งจีน คะน้า กะหล่ำปลี การแบ่งเก็บผักที่สดอ่อน หรือโตได้ขนาดแล้ว โดยยังคง เหลือ ลำต้นและรากไว้ไม่ถอนออกทั้งต้น รากหรือต้นที่เหลืออยู่จะสามารถงอกงามให้ผล ได้อีกหลายครั้งทั้งนี้จะต้อง มีการดูแล รักษา ให้น้ำและปุ๋ยอยู่ การปลูกพื้นหมุนเวียนสลับชนิดหรือปลูกผัก หลายชนิดในแปลงเดียวกันและปลูกผัก ที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้นบ้าง ยาวบ้างคละกันในแปลงเดียวกัน หรือปลูกผักชนิดเดียวกันแต่ทยอยปลูกครั้งละ 3-5 ต้น หรือประมาณว่าพอรับประทาน ได้ใน ครอบครัว ในแต่ละครั้งที่เก็บเกี่ยว ก็จะทำให้ผู้ปลูกมีผักสดเก็บรับประทานได้ทุกวันตลอดปี


    พรรณไม้ที่นิยมปลูกในกระถาง

    พรรณไม้ที่ใช้เป็นไม้กระถางได้ดีส่วนใหญ่เป็นพรรณไม้ที่ไม่มีรากแก้ว นอกจากจะนำมาตัดรากแก้วออกทำเป็นไม้แคระ การแบ่งกลุ่มของไม้กระถางอย่างกว้างๆ ตามลักษณะความต้องการแสงของต้นไม้ ได้ดังนี้

    พรรณไม้กระถางในร่ม (Indoor Plants)
    เป็นพันธุ์ไม้ที่นิยมปลูกประดับในสถานที่ร่ม หรือในอาคาร เช่น ว่านต่างๆ บอน เฟิร์น สาวน้อยประแป้ง โกสน พลูด่าง เดหลี วาสนา กำมะหยี่ หมากผู้หมากเมีย กล็อกซีเนีย อาฟริกันไวโอเลท ฯลฯ พรรณไม้เหล่านี้ต้องการแสงแดดเพียง 20–40% ชอบอากาศเย็น เป็นไม้ใบที่บอบบาง บางชนิดเปราะ บางชนิดเหนียว ใบเป็นมัน หรือสีต่างๆ ส่วนใหญ่จะมีสีเขียวมีลายใบ

    พรรณไม้กระถางกลางแจ้ง (Outdoor Plants)
    เป็นพรรณไม้ที่นิยมปลูกประดับสวน ริมรั้ว ริมอาคาร ระเบียง ที่นิยมปลูกเลี้ยงกันมาก เช่น โป๊ยเซียน เบญจมาศ กุหลาบ ชวนชม เฟื่องฟ้า ว่านสี่ทิศ คริสต์มาส ดาวเรือง เป็นต้น เป็นกลุ่มไม้ที่ชอบแสงแดด ปลูกกลางแจ้งหรือร่มก็ได้ แต่จะต้องได้รับแสงแดดมากกว่า 50% ขึ้นไป สามารถปรับตัวได้ระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ถ้านำไปประดับในที่ร่มนานเกินไปจะไม่เจริญเติบโตต่อ

    ความหมายของไม้กระถาง
    ไม้กระถาง หมายถึง การนำพรรณไม้บางชนิดมาปลูกลงในกระถาง หรือภาชนะสวยงาม จุดประสงค์เพื่อใช้เป็นไม้ประดับ ตกแต่งอาคารสถานที่ที่มีพื้นที่จำกัด และสามารถเคลื่อนย้ายไปประดับในสถานที่ต่างๆ ได้ง่าย สะดวกในการดูแลรักษา และโยกย้ายสับเปลี่ยนพรรณไม้ได้ตามความพอใจ ในปัจจุบันไม้ประดับกระถางเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ที่มีพื้นที่ราคาแพง จำเป็นต้องใช้ประโยชน์จากพื้นที่ให้คุ้มค่าที่สุด จึงต้องสร้างสภาพแวดล้อมให้มีชีวิตชีวาด้วยการใช้ไม้ประดับกระถางแทนสภาพอื่นที่ขาดหายไป

    ประโยชน์ของไม้กระถาง

    1. ประหยัดพื้นที่ในการปลูก สามารถตั้งหรือแขวนไว้ในพื้นที่ที่จำกัดได้

    2. สะดวกในการโยกย้าย และสับเปลี่ยนพรรณไม้เพื่อประดับตกแต่งก็ทำได้ง่าย

    3. ภาชนะปลูกสามารถดัดแปลงมาจากวัสดุเหลือใช้ได้ เช่น กระป๋องพลาสติก และขวดแก้วรูปทรงต่างๆ

    4. ไม้กระถางสะดวกในการขยายพันธุ์ ไม่เปลืองวัสดุปลูก และเวลา

    5. ไม่แพร่กระจายโรคเร็วเหมือนปลูกในแปลงบนพื้นดิน หากมีอาการผิดปกติเนื่องจากโรคและแมลงก็แก้ไขได้ง่าย

    6. คงสภาพและจัดรูปทรงของต้นไม้ได้ดี สามารถนำไปใช้ประดับตกแต่งได้ทุกที่ และสามารถเปลี่ยนแปลงความสวยงามได้ตามต้องการ

    7. การดูแลบำรุงรักษาทำได้ง่ายไม่สิ้นเปลืองเวลามาก


    เทคนิคการปลูกไม้กระถางให้สวยงาม

    ความหมายของไม้กระถาง

    ไม้กระถาง หมายถึง การนำพรรณไม้บางชนิดมาปลูกลงในกระถาง หรือภาชนะสวยงาม จุดประสงค์เพื่อใช้เป็นไม้ประดับ ตกแต่งอาคารสถานที่ที่มีพื้นที่จำกัด และสามารถเคลื่อนย้ายไปประดับในสถานที่ต่างๆ ได้ง่าย สะดวกในการดูแลรักษา และโยกย้ายสับเปลี่ยนพรรณไม้ได้ตามความพอใจ ในปัจจุบันไม้ประดับกระถางเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ที่มีพื้นที่ราคาแพง จำเป็นต้องใช้ประโยชน์จากพื้นที่ให้คุ้มค่าที่สุด จึงต้องสร้างสภาพแวดล้อมให้มีชีวิตชีวาด้วยการใช้ไม้ประดับกระถางแทนสภาพอื่นที่ขาดหายไป

    ประโยชน์ของไม้กระถาง

    -ประหยัดพื้นที่ในการปลูก สามารถตั้งหรือแขวนไว้ในพื้นที่ที่จำกัดได้
    -สะดวกในการโยกย้าย และสับเปลี่ยนพรรณไม้เพื่อประดับตกแต่งก็ทำได้ง่าย
    -ภาชนะปลูกสามารถดัดแปลงมาจากวัสดุเหลือใช้ได้ เช่น กระป๋องพลาสติก และขวดแก้วรูปทรงต่างๆ
    -ไม้กระถางสะดวกในการขยายพันธุ์ ไม่เปลืองวัสดุปลูก และเวลา
    -ไม่แพร่กระจายโรคเร็วเหมือนปลูกในแปลงบนพื้นดิน หากมีอาการผิดปกติเนื่องจากโรคและแมลงก็แก้ไขได้ง่าย
    -คงสภาพและจัดรูปทรงของต้นไม้ได้ดี สามารถนำไปใช้ประดับตกแต่งได้ทุกที่ และสามารถเปลี่ยนแปลงความสวยงามได้ตามต้องการ
    -การดูแลบำรุงรักษาทำได้ง่ายไม่สิ้นเปลืองเวลามาก

    พรรณไม้ที่นิยมปลูกในกระถาง

    พรรณไม้ที่ใช้เป็นไม้กระถางได้ดีส่วนใหญ่เป็นพรรณไม้ที่ไม่มีรากแก้ว นอกจากจะนำมาตัดรากแก้วออกทำเป็นไม้แคระ การแบ่งกลุ่มของไม้กระถางอย่างกว้างๆ ตามลักษณะความต้องการแสงของต้นไม้ ได้ดังนี้

    พรรณไม้กระถางในร่ม (Indoor Plants)

    เป็นพันธุ์ไม้ที่นิยมปลูกประดับในสถานที่ร่ม หรือในอาคาร เช่น ว่านต่างๆ บอน เฟิร์น สาวน้อยประแป้ง โกสน พลูด่าง เดหลี วาสนา กำมะหยี่ หมากผู้หมากเมีย กล็อกซีเนีย อาฟริกันไวโอเลท ฯลฯ พรรณไม้เหล่านี้ต้องการแสงแดดเพียง 20 – 40% ชอบอากาศเย็น เป็นไม้ใบที่บอบบาง บางชนิดเปราะ บางชนิดเหนียว ใบเป็นมัน หรือสีต่างๆ ส่วนใหญ่จะมีสีเขียวมีลายใบ

    พรรณไม้กระถางกลางแจ้ง (Outdoor Plants)
    เป็นพรรณไม้ที่นิยมปลูกประดับสวน ริมรั้ว ริมอาคาร ระเบียง ที่นิยมปลูกเลี้ยงกันมาก เช่น โป๊ยเซียน เบญจมาศ กุหลาบ ชวนชม เฟื่องฟ้า ว่านสี่ทิศ คริสต์มาส ดาวเรือง เป็นต้น เป็นกลุ่มไม้ที่ชอบแสงแดด ปลูกกลางแจ้งหรือร่มก็ได้ แต่จะต้องได้รับแสงแดดมากกว่า 50% ขึ้นไป สามารถปรับตัวได้ระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ถ้านำไปประดับในที่ร่มนานเกินไปจะไม่เจริญเติบโตต่อ


    กระถางหรือภาชนะปลูก

    ชนิดของกระถาง ประกอบไปด้วยชนิดต่างๆ เช่น กระถางดินเผา กระเคลือบ กระถางลายคราม กระถางพลาสติก กระถางเซรามิค รวมถึงภาชนะอื่นๆกระถางดินเผา
    ข้อดี คือ หาง่าย ราคาไม่แพงมาก ลักษณะของกระถางมีรูพรุนซึ่งช่วยระบายอากาศถ่ายเทความชื้นของดินและเครื่องปลูกได้ดี ทำให้รากพืชได้รับออกซิเจนเพียงพอ และเจริญเติบโตได้ดีทำให้อุณหภูมิของเครื่องปลูกไม่สูงเกินไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูร้อน สามารถทำลายและกำจัดศัตรูพืชได้ง่ายโดยการต้ม อบไอน้ำ หรือรมด้วยสารเคมีโดยไม่เสียรูปทรง
    ข้อเสีย คือ มีน้ำหนักมากและราคาแพงเมื่อเทียบกับกระถางพลาสติก แตกง่าย เมื่อใช้ไปนานๆ แล้วจะมีตะไคร่น้ำขึ้นรอบกระถาง ทำให้ดูสกปรก และล้างทำความสะอาดยากกว่ากระถางพลาสติก


    กระถางพลาสติก

    ข้อดี คือ ราคาถูก น้ำหนักเบา ทำความสะอาดง่าย ไม่มีปัญหาเรื่องตะไคร่น้ำ เก็บความชื้นได้ดีกว่ากระถางดินเผา ทำให้เครื่องปลูกแห้งช้า ทำให้ไม่ต้องรดน้ำบ่อยนัก
    ข้อเสีย คือ เนื่องจากลักษณะของกระถางทึบไม่มีรูพรุนทำให้อากาศถ่ายเทไม่สะดวกถ้ารดน้ำมากจะทำให้น้ำขังแฉะ อาจจะทำให้รากพืชเน่าตายได้ อุณหภูมิของเครื่องปลูกสูงมากในฤดูร้อนโดยเฉพาะกระถางพลาสติกสีดำ
    กระถางที่ทำจากวัสดุอื่น
    ซึ่งได้แก่ กระถางไม้ กระถางเคลือบ กระถางลายคราม กระถางดังกล่าวมีลักษณะต่างกัน จุดประสงค์เพื่อให้เกิดความสวยงามเวลานำไปตั้งหรือแขวนประดับตามสถานที่ต่างๆ
    กระถางประดับที่ไม่ใช้ปลูกต้นไม้โดยตรง คือ กระถางประดับที่มีความสวยงาม หรือภาชนะที่สามารถใช้รองรับหรือเอากระถางปลูกต้นไม้ใส่ลงไปเพื่อให้ดูสวยงามยิ่งขึ้น เช่น กระบุง ตะกร้าไม้ไผ่สาน หวาย อลูมิเนียม กระเบื้องเคลือบ หรืออื่นๆ กระถางชนิดนี้เน้นความสวยงามเป็นหลัก เพราะส่วนใหญ่นำไปใช้ตกแต่งภายในอาคาร บ้านเรือน โรงแรม สำนักงาน หรือสถานที่อื่นๆ ส่วนมากจะมีราคาแพง การใช้งานต้องถนุถนอมหลีกเลี่ยงการโดนน้ำโดยเฉพาะกระถางประเภทที่ทำด้วยไม้ไผ่สาน หวาย จะทำให้ใช้งานได้นานขึ้น

    ขนาดและรูปทรงของกระถาง
    ขนาดของกระถางโดยทั่วไปจะใช้ตั้งแต่ขนาด 6นิ้ว 8นิ้ว 10นิ้ว จนถึงขนาด 12นิ้ว ถ้าเป็นกระถางดินเผาขนาดไม่ควรจะเกิน 12 นิ้ว เพราะเกินขนาดที่ดินเผาจะยึดเกาะได้แข็งแรงพอ และมักจะแตก

    วิธีการปลูกพืชสวนครัว


    1. วิธีการปลูกพืชผัก พืชผักมีหลายชนิด วิธีการปลูกจึงต้องเลือกให้เหมาะสม พืชผักแต่ละชนิดมีส่วนซึ่งนำไปขยายพันธุ์เมื่อปลูกได้แตกต่างกัน ซึ่งพอจะแบ่งวิธีปลูกได้เป็น 3 วิธี คือ
    1.1 การปลูกด้วยเมล็ดโดยตรง
    1.2 การปลูกโดยวิธีการย้ายกล้า
    1.3 การปลูกโดยอาศัยส่วนต่างๆของต้นพืช

    2. การปลูกพืชผักสวนครัวด้วยเมล็ดโดยตรง
    เป็นวิธีที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในที่ที่ไม่มีปัญหาเรื่องน้ำและศัตรูพืชมากนัก วิธีนี้มีข้อดี สามารถทำให้พืชผักเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมธรรมชาติตั้งแต่เริ่มงอก ทำให้การเจริญเติบโตไม่ต้องหยุดชะงักเหมือนการย้ายปลูกและเปลืองแรงงานน้อยกว่า การปลูกด้วยเมล็ดมีด้วยกัน 3 วิธี คือ
    2.1 การหว่านเมล็ด นิยมใช้กับพืชผักกินใบที่มีอายุสั้น โตเร็ว มีระยะปลูกถี่ หาเมล็ดได้ง่าย ราคาถูก เช่น ผักบุ้ง ผักกาดกวางตุ้ง ผักชี โดยจะนำเมล็ดห่อผ้าและแช่น้ำไว้หนึ่งคืน ก่อนที่จะทำการหว่าน
    2.2 การหว่านเมล็ดแล้วถอนแยก เป็นวิธีการที่นิยมมากในภาคกลาง พืชผักที่นิยมปลูกโดยวิธีนี้ได้แก่ คะน้า ผักกาดขาว ผักกาดเขียวปลี ผักกาดหอม ผักกาดหัว หลังจากหว่านเมล็ดแล้วประมาณ 2 สัปดาห์ จึงจะทำการถอนแยกต้นกล้าเพื่อจัด ระยะปลูกให้เหมาะสม
    2.3 การปลูกโดยการหยอดเป็นหลุม นิยมใช้กับพืชผักที่มีเมล็ดขนาดใหญ่ซึ่งต้นกล้าแข็งแรงและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ได้แก่ ข้าวโพดหวาน ถั่วต่างๆ แตงต่างๆ บวบ มะระ โดยเตรียมหลุมให้มีระยะปลูกที่เหมาะสม หลังจากงอกแล้วก็จะมีการ ถอนแยกให้เหลือจำนวนต้นตามที่ต้องการ
    3. การปลูกพืชผักสวนครัวโดยวิธีการย้ายกล้า
    กล้าผัก คือพืชต้นอ่อนที่มีใบจริง 2 – 3 ใบ หรือสูง 5 – 10 เซนติเมตร หรือมีอายุประมาณ 21–30 วัน ทั้งนี้แล้วแต่ชนิดของพืชผัก ซึ่งบางชนิดมีอายุมากกว่านี้ เช่น พริก มะเขือ หอมหัวใหญ่มีอายุ 45 วัน หน่อไม้ฝรั่งมีอายุ 4 – 6 เดือน ผักที่ควรเพาะกล้าย้ายปลูก คือผักที่มีเมล็ดขนาดเล็ก และทนต่อการกระทบกระเทือนจากการย้ายได้ดี เช่น กะหล่ำปลี ผักกาดขาวปลี มะเขือ มะเขือเทศ พริก หอมหัวใหญ่ หน่อไม้ฝรั่ง
    3.1 แบบของการย้ายกล้า
    3.1.1 แบบรากเปลือย เป็นการย้ายปลูกโดยถอนกล้าออกจากแปลงเพาะหรือกระบะเพาะโดยไม่มีดินติดรากเลย หรือมีก็น้อยมาก ส่วนมากจะทำได้เฉพาะพืชผักตระกูลมะเขือ พริก ตระกูลกะหล่ำ และผักกาดต่างๆ เพราะพืชทั้ง 2 ตระกูลนี้ มีอัตราการเจริญของรากใหม่ค่อนข้างเร็ว ทำให้อัตราการตายน้อย
    3.1.2 แบบมีรากติดดิน ย้ายปลูกโดยถอนขุดจากแปลงเพาะหรือกระบะ ถุงพลาสติก กระถางขนาดเล็ก ให้ต้นกล้ามีดินติดรากมากที่สุด ส่วนกระทงกระดาษ ถ้วยกระดาษ แท่งเพาะชำ นั้นสามารถย้ายลง ในดินได้พร้อมกับกล้าเลย เพราะสามารถย่อยสลายในดินได้
    3.2 การย้ายกล้าผักไปปลูก
    กล้าที่ถอนแล้วเมื่อนำไปปลูกระยะใกล้ๆ ควรใส่ภาชนะที่เหมาะสม เช่น บุ้งกี๋ กระบะไม้ หรือพลาสติก ไม่ควรจะหอบหรือหิ้วจะทำให้ดินร่วงและกล้าช้ำ หากนำไปปลูกต่างถิ่นควรห่อโคนต้นกล้าด้วยใบตองหรือพลาสติกให้ใบโผล่ ห่อจำนวนน้อยๆเพื่อไม่ให้กล้าในห่อเน่าเพราะเบียดแน่นและมัดหลวมๆ (สมภพ ฐิตะวสันต์. 2537 :168)
    3.3 การปฏิบัติต่อกล้าหลังจากย้ายปลูกในแปลง หลังจากย้ายกล้าลงในแปลงแล้ว สิ่งที่ควรปฏิบัติทันทีได้แก่
    3.3.1 การให้น้ำ ควรให้สม่ำเสมอทั่วถึงและอย่างนุ่มนวล เพราะแรงน้ำสามารถกระแทกต้นกล้าให้หักพับและทำให้ดินกระเด็นมากลบทับต้นได้ น้ำจะช่วยให้รากกระชับติดกับดินทันที เพิ่มเปอร์เซ็นต์การรอดของต้นกล้า
    3.3.2 การให้ปุ๋ยละลายน้ำฉีดพ่น จะช่วยให้ต้นกล้าฟื้นตัวและกระตุ้น การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ถ้าให้ปุ๋ยรองพื้นแล้วไม่ควรให้ปุ๋ยละลายน้ำฉีดพ่นอีก
    3.3.3 การพรางแสงแดดให้ต้นกล้า ในบางครั้งถ้าย้ายกล้าในช่วงเวลา แดดจัดและร้อนมาก การพรางแสงแดดโดยใช้กระทงกระดาษครอบ หรือใช้ใบไม้ใหญ่หรือแผงฟางข้าวปิดบังด้านตะวันตกสำหรับป้องกันแดดตอนบ่ายจะช่วยให้เปอร์เซ็นต์การรอดของต้นกล้าสูงขึ้น ปกติควรพรางแสงเพียงระยะสั้นๆ เท่าที่จำเป็น ถ้าต้นกล้าเริ่มแข็งแรงดี ควรนำสิ่งพรางออก เพื่อให้ต้นผักได้รับแสงเต็มที่ต่อไป
    3.3.4 การคลุมดิน การคลุมดินด้วยฟางทันทีรอบๆต้นกล้าผัก จะช่วยรักษาความชื้นในดินและอุณหภูมิรอบๆกล้าผักให้สม่ำเสมอ อีกทั้งยังช่วยป้องกันลมและลดอัตราการคายน้ำของต้นกล้า ทำให้เปอร์เซ็นต์การรอดตายของต้นกล้าสูงขึ้น
    4. การปลูกพืชผักสวนครัวโดยอาศัยส่วนต่างๆของต้นพืช ต้นพืชประกอบด้วยส่วนต่างๆคือ ราก ลำต้น ใบ ซึ่งสามารถนำไปใช้ปลูกได้โดยอาศัยการขยายพันธุ์แบบต่างๆ เช่น การปักชำ การตอน การทาบกิ่ง การแบ่ง การแยกหน่อหรือการแยกกอ
    สำหรับการปลูกพืชผักสวนครัวโดยอาศัยส่วนต่างๆของพืชนั้น สามารถปลูกโดยอาศัยส่วนต่างๆได้หลายวิธี ดังนี้
    การปลูกพืชผักสวนครัวโดยวิธีการแยก หมายถึง การแยกส่วนของพืชออกตามรอยธรรมชาติแล้วนำไปปลูก เช่น หน่อกล้วย ตะไคร้ สับปะรด หอม กระเทียม
    การปลูกพืชผักสวนครัวโดยวิธีการแบ่ง หมายถึง การตัดส่วนของพืชซึ่งไม่มีรอยแบ่งตามธรรมชาติออกเป็นส่วนๆโดยให้มีตาติด แล้วนำไปปลูก เช่น มันฝรั่ง เมื่อนำไปชำจะเกิดเป็นต้นใหม่ แล้วจึงนำไปปลูก
    การปลูกพืชผักสวนครัวโดยวิธีการปักชำ หมายถึง การตัดกิ่ง ราก หรือใบ มาจากต้นแม่ แล้วนำมาชำไว้ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อให้ออกรากหรือต้น เป็นการเพิ่มจำนวนต้นใหม่โดยที่ต้นใหม่เหล่านี้มีลักษณะเหมือนต้นแม่ทุกอย่าง การปักชำสามารถทำได้กับพืชผักสวนครัวหลายชนิด เช่น สะระแหน่ กะเพรา โหระพา ชะอม สลิด ฯลฯ





    เครดิต : น้าอ้วนบ้านเกษตรพอเพียง.คอม

  3. #3
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63

    การปลูผ้กในกระถาง (ต่อ)

    การปลูผ้กในกระถาง (ต่อ)

    การปลูกข้าวในกระถาง

    วิธีการปลูกผักสวนครัว

    1. การปลูกผักในแปลงปลูก มีขั้นตอน คือ
    1.1 การพรวนดิน ใช้จอบขุดดินลึกประมาณ 6 นิ้ว เพื่อพรวนดินให้มีโครงสร้างดีขึ้น กำจัดวัชพืชในดินกำจัดไข่แมลงหรือโรคพืชที่อยู่ในดิน โดยการพรวนดินและตากทิ้งไว้ประมาณ 7-15 วัน
    1.2 การยกแปลง ใช้จอบพรวนยกแปลงสูงประมาณ 4-5 นิ้ว จากผิวดิน โดยมีความกว้างประมาณ 1-1.20 เมตร ส่วนความยาวควรเป็นตามลักษณะของพื้นที่หรืออาจแบ่งเป็นแปลงย่อยๆ ตามความเหมาะสม ความยาวของแปลงนั้นควรอยู่ในแนวทิศเหนือ - ใต้ ทั้งนี้เพื่อให้ผักได้รับแสงแดดทั่วทั้งแปลง
    1.3การปรับปรุงเนื้อดินเนื้อดินที่ปลูกผักควรเป็นดินร่วนแต่สภาพ ดินเดิมนั้นอาจจะเป็นดิน ทรายหรือดินเหนียว จำเป็นต้องปรับปรุงให้เนื้อดินดีขึ้นโดยการใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก อัตราประมาณ 2-3 กิโลกรัม ต่อเนื้อที่ 1 ตารางเมตร คลุกเคล้าให้เข้ากัน
    1.4การกำหนดหลุมปลูกจะกำหนดภายหลังจากเลือกชนิด ผักต่างๆ แล้วเพราะว่าผักแต่ละชนิดจะใช้ระยะปลูกที่ต่างกัน เช่น พริก ควรใช้ระยะ 75*100 เซนติเมตร ผักบุ้งจะเป็น 5*5 เซนติเมตร เป็นต้น
    2.การปลูกผักในภาชนะ การปลูกผักในภาชนะควรจะ พิจารณาถึงการหยั่งรากของพืชผักชนิดนั้นๆ พืชผักที่หยั่งรากตื้นสามารถปลูกได้ดีในภาชนะปลูกชนิดต่างๆ และภาชนะชนิดห้อยแขวนที่มีความลึก ไม่เกิน 10 เซนติเมตร คือ ผักบุ้งจีน คะน้าจีน ผักกาดกวางตุ้ง (เขียวและขาว) ผักกาดฮ่องเต้ ผักกาดหอม ผักกาดขาวชนิดไม่ห่อ (ขาวเล็ก ขาวใหญ่) ตั้งโอ๋ ปวยเล้ง หอมแบ่ง (ต้นหอม) ผักชี ขึ้นฉ่าย ผักโขมจีน กระเทียมใบ (Leek) กุยช่าย กระเทียมหัว ผักชีฝรั่ง บัวบก สะระแหน่ แมงลัก โหระพา (เพาะเมล็ด) กะเพรา (เพาะเมล็ด) พริกขี้หนู ตะไคร้ ชะพลู หอมแดง หอมหัวใหญ่ หัวผักกาดแดง (แรดิช)
    วัสดุที่สามารถนำมาทำเป็นภาชนะปลูกอาจดัดแปลงจากสิ่งที่ใช้แล้ว เช่น ยางรถยนต์เก่า กะละมัง ปลอกซีเมนต์ เป็นต้น สำหรับภาชนะแขวนอาจใช้ กาบมะพร้าว กระถาง หรือเปลือกไม้

    วิธีการปลูกผักในภาชนะแย่งออกได้เป็น 2 วิธี
    2.1 เพาะเมล็ดด้วยการหว่านแล้วถอนแยกหรือหยอดเป็นแถวแล้วถอนแยก ซึ่งพืชที่ควรปลูกด้วยวิธีนี้ ได้แก่
    - ผักบุ้งจีน - คะน้าจีน - ผักกาดขาวกวางตุ้ง
    - ผักกาดเขียวกวางตุ้ง - ผักฮ่องเต้(กวางตุ้งไต้หวัน)
    - ตั้งโอ๋ - ปวยเล้ง - ผักกาดหอม
    - ผักโขมจีน - ผักชี - ขึ้นฉ่าย
    - โหระพา - กระเทียมใบ - กุยฉ่าย
    - หัวผักกาดแดง - กระเพรา - แมงลัก
    - ผักชีฝรั่ง - หอมหัวใหญ่
    2.2 ปักชำด้วยต้น และหัว ได้แก่
    - หอมแบ่ง (หัว) - ผักชีฝรั่ง - กระเทียมหัว (ใช้หัวปลูก)
    - หอมแดง (หัว) - บัวบก (ไหล) - ตะไคร้ (ต้น)
    - สะระแหน่ (ยอด) - ชะพลู (ต้น) - โหระพา กิ่งอ่อน)
    - แมงลัก (กิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อน)
    หมายเหตุ มีบางพืชที่ปลูกด้วยหัว หรือส่วนของต้นก็ได้ปลูกด้วยเมล็ดก็ได้ ดังนั้นจึงมีชื่อผักที่ซ้ำกันทั้งข้อ1และ 2

    ผักในภาชนะ
    การปฏิบัติดูแลรักษา
    การดูแลรักษาด้วยความเอาใจใส่ จะช่วยให้ผักเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์จนถึงระยะเก็บเกี่ยว การดูแลรักษาดังกล่าว ได้แก่
    1. การให้น้ำ การปลูกผักจำเป็นต้องให้น้ำเพียงพอ การให้น้ำผักควรรดน้ำในช่วง เช้า- เย็น ไม่ควรรดตอนแดดจัด และรดน้ำแต่พอชุ่มอย่าให้โชก
    2. การให้ปุ๋ย มี 2 ระยะคือ
    2.1 ใส่รองพื้นคือการใส่เมื่อเวลาเตรียมดิน หรือรองก้นหลุมก่อนปลูก ปุ๋ยที่ใส่ควรเป็นปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก คลุกในดินให้ทั่วก่อนปลูกเพื่อปรับโครงสร้างดินให้โปร่งร่วนซุย นอกจากนั้นยังช่วยในการอุ้มน้ำและรักษาความชื้นของดินให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืชด้วย
    2.2 การใส่ปุ๋ยบำรุง ควรใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อย้ายกล้าไปปลูกจนกล้าตั้งตัวได้แล้ว และใส่ครั้งที่ 2 หลังจากใส่ครั้งแรกประมาณ 2-3 สัปดาห์ การใส่ให้โรยบางๆ ระหว่างแถว ระวังอย่าให้ปุ๋ยอยู่ชิดต้น เพราะจะทำให้ผักตายได้ เมื่อใส่ปุ๋ยแล้วให้พรวนดินและรดน้ำทันที สูตรปุ๋ยที่ใช้กับพืชผัก ได้แก่ ยูเรีย หรือ แอมโมเนียซัลเฟต สำหรับบำรุงต้นและใบ และปุ๋ยสูตร 15-15-15 และ 12-24-12 สำหรับเร่งการออกดอกและผล
    3. การป้องกันกำจัดศัตรูพืช ควรบำรุงรักษาต้นพืชให้แข็งแรงโดยการกำจัดวัชพืช ให้น้ำอย่างเพียงพอและใส่ปุ๋ยตามจำนวนที่กำหนดเพื่อให้ผักเจริญเติบโต แข็งแรง ทนต่อโรคและแมลง หากมีโรคและแมลงระบาดมากควรใช้สารธรรมชาติ หรือใช้วิธีกลต่างๆ ในการป้องกันกำจัด เช่น หนอนต่างๆ ใช้มือจับออก ใช้พริกไทยป่นผสมน้ำฉีดพ่น ใช้น้ำคั้นจากใบหรือเมล็ดสะเดา ถ้าเป็นพวกเพลี้ย เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย และเพลี้ยจั๊กจั่น ให้ใช้น้ำยาล้างจาน 15 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นใต้ใบเวลาเย็น ถ้าเป็นพวกมด หอย และทาก ให้ใช้ปูนขาวโรยบางๆ ลงบริเวณพื้นดิน

    การเก็บเกี่ยว
    การเก็บเกี่ยวผักควรเก็บในเวลาเช้าจะทำให้ได้ผักสดรสดี และหากยังไม่ได้ใช้ให้ล้างให้สะอาด และนำเก็บไว้ในตู้เย็น สำหรับผักประเภทผลควรเก็บในขณะที่ผลไม่แก่จัด จะได้ผลที่มีรสดีและจะทำให้ผลดก หากปล่อยให้ผลแก่คาต้น ต่อไปจะออกผลน้อยลง
    สำหรับในผักใบหลายชนิด เช่นหอมแบ่ง ผักบุ้งจีน คะน้า กะหล่ำปลี การแบ่งเก็บผักที่สดอ่อนหรือโตได้ขนาดแล้ว โดยยังคงเหลือลำต้นและรากไว้ไม่ถอนออกทั้งต้น รากหรือต้นที่เหลืออยู่จะสามารถงอกงามให้ผลได้อีกหลายครั้ง ทั้งนี้จะต้องมีการดูแลรักษาให้น้ำและปุ๋ยอยู่ การปลูกพืชหมุนเวียนสลับชนิดหรือปลูกผักหลายชนิดในแปลงเดียวกัน และปลูกผักที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นบ้างยาวบ้างคละกันในแปลงเดียวกัน หรือปลูกผักชนิดเดียวกันแต่ทยอยปลูกครั้งละ 3-5 ต้น หรือประมาณว่าพอรับประทานได้ในครอบครัวในแต่ละครั้งที่เก็บเกี่ยว ก็จะทำให้ผู้ปลูกมีผักสดเก็บรับประทานได้ทุกวันตลอดปี

    การบริโภคผักให้ปลอดภัยจากสารพิษ
    การปลูกผักไว้รับประทานเอง เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้ได้บริโภคผักที่ปลอดภัยจากสารพิษ แต่ทุกครอบครัวคงไม่สามารถปลูกผักทุกชนิดไว้รับประทานเองได้ ดังนั้นการต้องซื้อหาผักจากตลาดจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอยู่ ทั้งนี้ผักต่าง ๆ เหล่านี้อาจจะปลอดภัยหรือไม่ปลอดภัยจากสารพิษตกค้างก็ได้ ดังนั้นควรมีการล้างผักให้ถูกวิธีและให้ปลอดภัยจากสารพิษมากที่สุด วิธีการล้างผักให้สะอาดเพื่อลดปริมาณสารพิษ สามารถเลือกใช้ได้ตามความสะดวกดังนี้
    1. ลอกหรือปอกเปลือกแล้วแช่ในน้ำสะอาด นาน 5-10 นาที หลังจากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง จะช่วยลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 27-72
    2. แช่น้ำปูนใสนาน 10 นาที และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 34-52
    3. แช่โฮโดรเจนเพอร์ออกไซน์นาน 10 นาที (โฮโดรเจนเพอร์ออกไซน์ 1 ช้อนชา ผสมน้ำ 4 ลิตร) และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 35-50
    4. แช่น้ำด่างทับทิมนาน 10 นาที (ด่างทับทิม 20-30 เกล็ด ผสมน้ำ 4 ลิตร ) และล้างออกด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 35-43
    5. ล้างด้วยน้ำไหลจากก๊อกนาน 2 นาที ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 25-39
    6. แช่น้ำซาวข้าวนาน 10 นาที และล้างด้วยน้ะสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 29-38
    7. แช่น้ำเกลือนาน 10 นาที (เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 4 ลิตร) และล้างด้วยน้ำะสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 29-38
    8. แช่น้ำส้มสายชูนาน 10 นาที (น้ำส้มสายชู 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 4 ลิตร) และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 27-36
    9. แช่น้ำยาล้างผักนาน 10 นาที และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 22-36


    เทคนิคการปลูกพืชสวนครัวชนิดต่างๆ

    การปลูกผักแต่ละชนิดนั้น ผู้ปลูกจำเป็นต้องเข้าใจถึงลักษณะ การเจริญเติบโตของผัก ชนิดต่างๆ ก่อนเพื่อให้การปลูก และการดูแลรักษา พืชผักให้เหมาะสม กับชนิดของผัก เทคนิคการปลูกผักสวนครัว จึงควรทราบ ดังนี้

    1. ตระกูลแตงและตระกูลถั่ว ได้แก่ แตงกวา แตงโม แตงโม ฟักทอง บวบ น้ำเต้า มะระ ถั่วฝักยาว ถั่วแขก และถั่วอื่น ๆ

    - ผักต่าง ๆ เหล่านี้มีเมล็ดค่อนข้างใหญ่ งอกเร็ว เช่นผักประเภทเลื้อยถ้าจะปลูกให้ได้ผลดีและดูแลรักษาง่ายควรทำค้าง

    - วิธีการปลูก หยอดเมล็ดโดยหยอดในแปลงปลูก หรือภาชนะปลูกหลุมละ 3 – 5 เมล็ด

    - เมื่อเมล็ดงอกมีใบจริง 3 – 5 ใบ หลังจากนั้นถอนแยกให้เหลือเฉพาะต้นที่แข็งแรง หลุมละ 2 ต้น

    - ใส่ปุ๋ยยูเรียหลังเมล็ดงอก 2 อาทิตย์ เมื่อเริ่มออกดอกใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 12-24-12

    - ให้นำสม่ำเสมอ คอยดูแลกำจัดวัชพืช และแมลงต่าง ๆ

    - เริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุประมาณ 40 – 60 วัน หลังหยอดเมล็ด

    2. ตระกูลกะหล่ำและผักกาด ได้แก่ คะน้า กวางตุ้ง ผักกาดขาว ผักกาดหัว กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี และบร๊อกโคลี

    - ผักตระกูลนี้มีเมล็ดค่อนข้างเล็ก บางชนิดมีราคาแพงมาก เพราะส่วนใหญ่ต้องสั่งเมล็ดมาจากต่างประเทศ

    - วิธีปลูก หยอดเมล็ดเป็นหลุม ๆ ละ 3-5 เมล็ด ห่างกันหลุมละ 20 เซนติเมตร หรือโรยเมล็ดบาง ๆ เป็นแถวห่างกันแถวละ 20 เซนติเมตร หลังหยอดเมล็ดหรือโรยเมล็ด 10 วัน หรือเมื่อมีใบจริง 2-3 ใบ ถอนแยกให้เหลือหลุมละ 2 ตัน หรือหากโรยเมล็ดเป็นแถวให้ถอนอีก ระวังระยะต้นไม่ให้ชิดกันเกินไป

    - ใส่ปุ๋ยยูเรียหลังจากถอนแยกหรือทำระยะปลูกแล้ว

    - หลังใส่ปุ๋ยครั้งแรก 10 วัน ใส่ปุ๋ยยูเรียครั้งที่สอง

    - อายุเก็บเกี่ยวผักแต่ละชนิดแตกต่างกันเล็กน้อย เช่น คะน้า กวางตุ้งเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ 30-45 วัน ผักกาดหัว 45-55 วัน ผักกาดขาวปลี เขียวปลี กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 50-60 วัน หลังหยอดเมล็ด

    - เมื่อเก็บเกี่ยวไม่ควรถอนผักทั้งต้นเก็บผักให้เหลือใบทิ้งไว้กับต้น 2-3 ใบ ต้นและใบที่เหลือจะสามารถเจริญเติบโตให้ผลผลิตเก็บเกี่ยวได้อีก 2-3 ครั้ง

    - ข้อควรระยัง ต้องให้น้ำสม่ำเสมอ ผักตระกูลนี้มักมีปัญหาโรคและแมลงค่อนข้างมาก ต้องคอยดูแลเอาใจใส่ใกล้ชิด

    3. ตระกูลพริก-มะเขือ ได้แก่ พริกขี้หนู พริกชี้ฟ้า มะเขือเปราะ มะเขือยาว มะเขือพวง มะเขือเทศ

    - ผักตระกูลนี้ควรมีการเพาะกล้าก่อนย้ายปลูกในแปลง

    - การเพาะกล้า เตรียมดินในกะบะเพราะหรือในถุงพลาสติก

    - หยอดเมล็ดในถุงเพาะ ถุงละ 3 – 5 เมล็ด ถ้าเพาะในกะบะเพาะ ควรเว้นระยะระหว่างต้น 5 เซนติเมตร ระหว่างแถว 10 เซนติเมตร

    - เมื่อเมล็ดงอกแล้วมีใบจริง 2-3 ใบ ถอนแยกเหลือต้นกล้าแข็งแรงสมบูรณ์ไว้ 2 ต้น

    - เมื่อกล้ามีใบจริง 5-6 ใบ หรือหลังเพาะกล้าประมาณ 30 วัน ย้ายกล้าลงแปลงปลูก

    - เมื่อต้นกล้าตั้งตัวได้ หรือเริ่มเจริญเติบโต ใส่ปุ๋ยยูเรีย 1 ครั้ง

    - เมื่อต้นเริ่มออกดอกใช้ปุ๋ย 15-15-15 หรือ 12-24-12

    -อายุเก็บเกี่ยว มะเขือเทศประมาณ 50-60 วัน หลังย้ายกล้า และพริก มะเขือ ประมาณ 60-75 วัน หลังย้ายกล้า

    4. ตระกูลผักชีและตระกูลผักบุ้ง ได้แก่ ผักชี ขึ้นฉ่าย ผักบุ้ง

    - ควรนำเมล็ดแช่น้ำก่อนปลูก ถ้าเมล็ดลอยให้ทิ้งไปและนำเมล็ดที่จมน้ำมาเพาะ

    - หว่านเมล็ดในแปลง โดยจัดแถวให้ระยะห่างกัน 15-20 เวนติเมตร กลบดินทับบาง ๆ ประมาณ 1 เซนติเมตร สำหรับขึ้นฉ่าย

    - ผักบุ้งจะงอกใน 3 วัน ผักชีประมาณ 4-8 วัน และขึ้นฉ่าย 4-7 วัน

    - เมื่อกล้างอกมีใบจริง ถอนแยกและพรวนดินให้โปร่งเสมอจนเก็บเกี่ยว

    - ผักบุ้งจีนเก็บเกี่ยวได้ภายใน 15-20 วัน ผักชี 45-60 วัน และขึ้นฉ่าย 60-70 วัน

    - สำหรับผักชีและขึ้นฉ่าย ไม่ชอบแสงแดดจัด อาจปลูกในที่ ๆ มีร่มเงาได้ แต่สำหรับผักบุ้งจีน ต้องการแสงแดดตลอดวัน

    5. ตระกูลโหระพา กะเพรา แมงลัก และตระกูลผักชีฝรั่ง ได้แก่ โหระพา กะเพรา แมงลักและผักชีฝรั่ง

    - เตรียมดินให้ละเอียด หว่านเมล็ดให้ทั่วแปลง ใช้ฟางกลบ หรือ ปุ๋ยคอกที่ย่อยสลายดี แล้วโรยทับบาง ๆ รดน้ำตามทันทีด้วยบัวรดน้ำตาถี่

    - เมล็ดจะงอกเป็นต้นกล้าภายใน 7 วัน

    - เมื่อกล้าอายุ 1 เดือน ถอนแยกจัดระยะต้นให้โปร่ง หรือใช้ระยะระหว่างต้น ประมาณ 20-30 เซนติเมตร- โหระพา กะเพรา แมงลัก เก็บเกี่ยวได้หลังหยอดเมล็ด 45-50 วัน ผักชีฝรั่ง เก็บเกี่ยวได้หลังหยอดเมล็ด 60 วัน

    - สำหรับโหระพา กะเพรา และแมงลัก ในระหว่างการเจริญเติบโตให้หมั่นเด็ดดอกทิ้งเพื่อให้ลำต้นและใบเจริญเติบโตได้เต็มที่

    - ผักชีฝรั่ง ตัดใบไปรับประทาน เหลือลำต้นทิ้งไว้จะสามารถเจริญเติบโตได้อีก




    เครดิต : น้าอ้วนบ้านเกษตรพอเพียง.คอม

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •