กำลังแสดงผล 1 ถึง 3 จากทั้งหมด 3

หัวข้อ: นายเนลสัน แมนเดลา

  1. #1
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63

    นายเนลสัน แมนเดลา

    นายเนลสัน แมนเดลา



    ...." นายเนลสัน แมนเดลา "อดีตประธานาธิบดีของแอฟริกาใต้ ผู้เป็น" รัฐบุรุษของโลก ถึงแก่อสัญกรรม
    "
    หลังจากมีข่าวอาการป่วยของเนลสัน แมนเดลา ในช่วงที่ผ่านมานี้ พลอยทำให้ประชาชน โดยเฉพาะในแอฟริกาใต้ต่างเศร้าโศก ศิริอายุ 95 ปี

    นายแมนเดลลา ถือเป็นนักสู้ผู้ยิ่งใหญ่ ในทศวรรษนี้ ผู้อุทิศตนต่อสู้เพื่อล้มล้างลัทธิเหยียดผิว และผลักดันให้เกิดสันติภาพทั่วโลก

    ประวัตินายเนลสัน แมนเดลา
    นายเนลสัน แมนเดลา เกิดวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2461 ในครอบครัวชาวเทมบู ซึ่งพูดภาษาโซซา ในหมู่บ้านเล็ก ๆ ทางฟากตะวันออก ของแหลมเคปของแอฟริกาใต้ เดิมมีชื่อว่า มาดิบา ต่อมาครูในโรงเรียน ได้ตั้งชื่อภาษาอังกฤษให้เขาว่า แมนเดลา

    ต่อมาพ่อของเขา ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของตระกูล ผู้ปกครองชาวเทมบู ได้เสียชีวิตขณะที่เขามีอายุได้ 9 ขวบ เขาจึงได้รับการชุบเลี้ยง จากรักษาการผู้สำเร็จราชการ เมืองเทมบู จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2484 เมื่อมีอายุ 23 ปี เนลสัน แมนเดลา ได้หนีจากการถูกจัดให้แต่งงาน แบบคลุมถุงชน หลบไปอยู่ที่ เมืองโจฮันเนสเบิร์ก ก่อนจะเข้าเรียนกฎหมาย ที่มหาวิทยาลัย วิทส์วอเทอแรนด์ ซึ่งนักศึกษาส่วนใหญ่ เป็นชาวแอฟริกัน และที่นี่ทำให้ ได้พบเจอผู้คน จากทุกเชื้อชาติ ได้รับความคิดแบบเสรีนิยม และความคิดต่อสู้ เพื่อชาวแอฟริกัน ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ การเหยียดผิว การถูกกระทำแบบ สองมาตรฐาน ซึ่งผลักดันให้ กลายเป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมือง


    ปี พ.ศ. 2486 ได้เข้าเป็นสมาชิกพรรค สภาแห่งชาติแอฟริกัน หรือเอเอ็นซี และต่อมาได้ร่วมก่อตั้ง สันนิบาตยุวชนเอเอ็นซี อีกทั้ง ได้ร่วมกับเพื่อน โอลิเวอร์ แทมโบ ก่อตั้งสำนักงานกฎหมาย ในเมืองโจฮันเนสเบิร์กในปีพ.ศ. 2495 รณรงค์ต่อต้านระบอบปกครอง ที่เหยียดผิวของพรรคคนผิวขาว ที่กดขี่ชาวผิวดำ ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ จนทำให้ในปีพ.ศ. 2499 แมนเดลาถูกแจ้ง ข้อหากบฏพร้อม กับนักเคลื่อนไหวอีก 155 คน แต่อัยการสั่งไม่ฟ้อง หลังสอบสวนอยู่นาน 4 ปี

    ต่อมาได้มีการออกกฎหมาย Pass Laws ฉบับใหม่ ซึ่งจำกัดเขตอยู่อาศัยและทำมาหากิน ของคนผิวดำ ทำให้กระแสต่อต้าน การเหยียดผิวได้ขยายตัวไปทั่ว แอฟริกาใต้ ขณะที่พรรคเอเอ็นซี ก็ถูกประกาศให้เป็นกลุ่มเถื่อน ในปีพ.ศ. 2503 ทำให้ เนลสัน แมนเดลา ต้องหลบลงใต้ดิน กระแสการต่อต้านลัทธิเหยียดผิว ได้รุนแรงขึ้นจนถึงที่สุด เมื่อตำรวจได้...หารหมู่ชาวผิวดำ 69 คน ในเมืองชาร์ปวิลล์ในปีเดียวกัน

    เนลสัน แมนเดลา ขณะนั้น เป็นรองประธานเอเอ็นซี ได้เปิดปฏิบัติการ วินาศกรรมทางเศรษฐกิจ จนกระทั่งถูกจับในที่สุด และถูกแจ้งข้อหาก่อวินาศกรรม และพยายามโค่นล้มรัฐบาล ด้วยวิธีการรุนแรง โดยระหว่างการพิจารณาคดี ที่เมืองริโวเนีย แมนเดลาได้ประกาศ ความเชื่อในเรื่องประชาธิปไตย เสรีภาพ และความเท่าเทียมว่า

    "ผมเชิดชูอุดมคติ เรื่องสังคมที่เป็นประชาธิปไตย และมีเสรีภาพ ที่ซึ่งคนทุกคนสามารถอยู่ร่วมกัน ได้อย่างสมานฉันท์ และได้รับโอกาส อย่างเท่าเทียมกัน นี่คือสังคมอุดมคติ ที่ผมปรารถนาจะไปให้ถึง เป็นอุดมคติที่ ผมพร้อมจะอุทิศชีวิตให้"

    ปี พ.ศ. 2507 ถูกพิพากษาจำคุกตลอดชีวิต บนเกาะร็อบเบนเป็นเวลา 18 ปี ก่อนถูกย้ายมายังเรือนจำ โพลส์มัวร์บนแผ่นดินใหญ่ในปี พ.ศ. 2525 ซึ่งขณะที่ ถูกจองจำอยู่นั้น พวกเยาวชนตามเมืองต่าง ๆ ของชนผิวดำ ยังคงต่อสู้กับการปกครอง โดยคนผิวขาวส่วนน้อยต่อไป จนทำให้มีผู้บาดเจ็บ และล้มตายเป็นจำนวนมาก

    ขณะที่ทางฝั่งของ โอลิเวอร์ แทมโบ สหายของแมนเดลา ผู้ลี้ภัยในต่างประเทศ ได้เริ่มรณรงค์ ในระดับสากล เรียกร้องให้ปล่อยตัว มิตรร่วมอุดมการณ์ในปีพ.ศ. 2523 โดยมีการจัดคอนเสิร์ต ที่สนามกีฬาเวมบลีย์ ในกรุงลอนดอน ปี 2531 ซึ่งมีผู้เข้าร่วม 72,000 คน อีกหลายล้านทั่วโลก รับชมทางโทรทัศน์ และร่วมร้องเพลง เพื่อให้ปลดปล่อยเนลสัน แมนเดลา

    กระแสเรียกร้องนี้ ทำให้บรรดาผู้นำโลก เพิ่มมาตรการคว่ำบาตร ต่อระบอบเหยียด ผิวของแอฟริกาใต้ ซึ่งได้เริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 แล้ว จนในที่สุด ประธานาธิบดี เอฟ ดับเบิลยู เดอ เคลิร์ก ก็ไม่สามารถทน ต่อแรงกดดันจากทั่วโลกได้ และเลิกสั่งแบนพรรคเอเอ็นซี ปีพ.ศ. 2533 พร้อมกับปล่อยตัว เนลสัน แมนเดลา

    ปี พ.ศ. 2536 เนลสัน แมนเดลา ได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ และต่อมาชาวแอฟริกาใต้ ทุกผิวสีได้ออกเสียงเลือกตั้ง อย่างเป็นประชาธิปไตยเป็นครั้งแรก ทำให้ เนลสัน แมนเดลาได้รับเสียงโหวตท่วมท้น ให้เป็นประธานาธิบดี วันที่ 10 พฤษภาคม 2537 ได้ปลี่ยนแปลงกฎหมาย เกี่ยวกับการเหยียดสีผิว หรือชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ และได้รับความยกย่อง จากนานาชาติสำหรับ การอุทิศตนเพื่อการประสานไมตรี ทั้งในระดับชาติ และระดับนานาชาติ จนถึง เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2542 ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่ง และได้เป็นรัฐบุรุษอาวุโส ยังคงอุทิศเวลาส่วนใหญ่ ให้กับเรื่องสิทธิมนุษยชน และให้ความรู้เรื่องการติดต่อ ของโรคเอดส์จนกระทั่งอายุ 85 ปี ก่อนจะขอเกษียณ เนื่องจากปัญหาสุขภาพ

    ณ วันนี้ เนลสัน แมนเดลา จะถึงแก่อสัญกรรม แต่ก็ยังเป็นรัฐบุรุษของโลก และนักสู้ผู้ยิ่งใหญ่ ที่อยู่ในหัวใจของคนทั่วโลก



    เครดิต http://www.facebook.com/photo.php?fbid=394888580645383&set=a.117227755078135.19760.100003727339052&type=1&theater

  2. #2
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63

    ร่วมไว้อาลัยการจากไปของมหาบุรุษ

    ร่วมไว้อาลัยการจากไปของมหาบุรุษ


    ร่วมไว้อาลัยการจากไปของมหาบุรุษ เนลสัน แมนเดลา (18 กรกฎาคม 1918 – 5 ธันวาคม 2013)

    “งาน ขนมปัง น้ำ และเกลือ สำหรับทุกคน” คือสุนทรพจน์ในพิธีรับตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อปี 1994 ของเนลสัน แมนเดลา ที่กล่าวถึงสิ่งจำเป็นพื้นฐานของชีวิตที่ขาดแคลนอย่างกว้างขวางในยุคเหยียดผิว (Apartheid Era) ในตอนนั้น คนผิวดำซึ่งปัจจุบันคิดเป็นร้อยละ 79 ของประชากร 49 ล้านคนของแอฟริกาใต้ถูกลิดรอนสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวาง ตลอดระยะเวลากว่า 15 ปีหลังการล่มสลายของระบอบเหยียดผิว แอฟริกาใต้มีประธานาธิบดีผิวดำมาแล้วสามคน ได้แก่ เนลสัน แมนเดลา, เทโบ เอ็มเบกี และเจค็อบ ซูมา ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน ประเทศนี้ต้องต่อสู้ฝ่าฟันกับมรดกแห่งความเกลียดชังและการกดขี่ทางเชื้อชาติมาตลอด เช่น มีการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อความจริงและความสมานฉันท์หรือทีอาร์ซี (Truth and Reconciliation Commission: TRC) ซึ่งเป็นองค์กรคล้ายศาลที่ไม่เพียงทำหน้าที่รับฟังและไต่สวนคดีความและข้อพิพาทต่างๆ อันสืบเนื่อง
    มาจากนโยบายเหยียดผิว แต่ยังทำหน้าที่ให้คำแนะนำเพื่อการเยียวยาเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายอีกด้วย... (อ่านเพิ่มเติมจากเรื่อง "ลูกหลานแห่งแมนเดลา" ใน NG Thai ฉบับเดือนมิถุนายน 2553 เรื่องโดยเอล็กซานดรา ฟุลเลอร์ ภาพถ่ายโดย เจมส์ แนชต์เวย์ )


    เครดิต National Geographic Thailand

  3. #3
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63

    นายเนลสัน แมนเดลา

    พระราชสาส์นแสดงความเสียพระราชหฤทัยไปยังประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ในการที่นายเนลสัน แมนเดลา (Mr. Nelson Mandela) ถึงแก่อสัญกรรม

    นายเนลสัน แมนเดลา



    ที่มา : Information Division of OHM

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •