"ตำนานยักษ์วัดโพธิ์”
"ตำนานยักษ์วัดโพธิ์”
"ตำนานยักษ์วัดโพธิ์”
"ตำนานยักษ์วัดโพธิ์”



"ตำนานยักษ์วัดโพธิ์”

ไหว้พระ ชมวัดประจำรัชกาล กษัตริย์ในแผ่นดินไทย แต่ละพระองค์ต่างก็ทรงมีความเลื่อมใส และให้การสนับสนุน พระพุทธศาสนามา อย่างต่อเนื่อง มีการสร้างวัดต่างๆ ซึ่งถือเป็นศูนย์กลาง และศูนย์รวมจิตใจชาวพุทธ ขึ้นมากมาย

"วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร" มีมหัศจรรย์ "ตำนานยักษ์วัดโพธิ์”
ในส่วนของยักษ์ประจำวัดโพธิ์ หลายคนคงเคย ได้ยิน ตำนานกำเนิดท่าเตียน ว่าบริเวณท่าเตียน อันเป็นพื้นที่โล่งเตียนนั้น เป็นผลจากการต่อสู้ของ “ยักษ์วัดแจ้ง” กับ “ยักษ์วัดโพธิ์” โดยมี “ยักษ์วัดพระแก้ว” เป็นผู้ห้ามทัพ มาแล้ว

ตำนานกำเนิดท่าเตียนมีว่า ยักษ์วัดโพธิ์ ซึ่งทำหน้าที่ดูแลวัดโพธิ์ และยักษ์วัดแจ้งซึ่งทำหน้าที่ดูแลวัดแจ้ง หรือวัดอรุณฯ ฝั่งตรงข้ามนั้น ทั้ง ๒ ตนเป็นเพื่อนรักกัน วันหนึ่งทางฝ่ายยักษ์วัดโพธิ์ไม่มีเงิน จึงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ไปขอยืมเงิน จากยักษ์วัดแจ้ง
พร้อมทั้งนัดวัน ที่จะนำเงินไปส่งคืน เมื่อถึงกำหนดส่งเงินคืน ยักษ์วัดโพธิ์กลับไม่ยอมจ่าย เบี้ยวเอาเสียดื้อๆ ยักษ์วัดแจ้งเมื่อรอแล้ว รอเล่าจนทนไม่ไหว จึงตัดสินใจข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา มาทวงเงินคืน แต่ยักษ์วัดโพธิ์ไม่ยอมให้

ในที่สุดยักษ์ทั้ง ๒ ตนจึงเกิดการทะเลาะ ถึงขั้นต่อสู้กัน แต่เพราะรูปร่างที่ใหญ่โตมหึมา และมีกำลังมหาศาลของยักษ์ทั้ง ๒ ตน เมื่อต่อสู้กัน จึงทำให้ต้นไม้ในบริเวณนั้น ถูกยักษ์ทั้งสองเหยียบย่ำ จนล้มตายลงหมด หลังจากที่เลิกต่อสู้กันแล้ว บริเวณที่ ทั้งสองประลองกำลังกันนั้น จึงราบเรียบกลายเป็นสถานที่ ที่โล่งเตียนไปหมด ไม่มีอะไรเหลือเลย

ครั้นเมื่อพระอิศวร ได้ทราบเรื่องราวการต่อสู้กัน ทำให้บรรดามนุษย์ และสัตว์ทั้งหลาย ในบริเวณนั้นเดือดร้อน จึงได้ลงโทษโดยการสาป ให้ยักษ์ทั้ง ๒ กลายเป็นหิน
แล้วให้ยักษ์วัดโพธิ์ ทำหน้าที่ยืนเฝ้าหน้าพระอุโบสถ และให้ยักษ์วัดแจ้ง ทำหน้าที่ยืนเฝ้าพระวิหารวัดแจ้ง เรื่อยมา ส่วนฤทธิ์จากการสู้รบของยักษ์ ทั้งคู่ที่ทำชุมชนละแวกนี้ ราบเรียบเป็นหน้ากลอง ทำให้ชาวบ้านพากันเรียกว่า “ท่าเตียน” เรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้

ยักษ์วัดโพธิ์ เป็นประติมากรรม อยู่ที่ซุ้มประตูทางเข้า พระมณฑป หรือหอไตรจัตุรมุข ของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) มีลักษณะเป็นรูปยักษ์ ในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ การสร้างรูป "ยักษ์" รักษาประตู วัดพระเชตุพนนั้นมีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ ซึ่งต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๓ ยักษ์ปูนปั้น ที่เฝ้าประจำประตูทั้ง ๔ ประตูชำรุด จึงโปรดให้รื้อ แล้วนำลั่นถันหรือรูปตุ๊กตาศิลาจีนมาตั้งแทน. และโปรดเกล้าฯ ให้หล่อรูปยักษ์ ขนาดเล็กสูงประมาณ ๑๗๕ เซนติเมตร จำนวน ๘ ตน ตั้งไว้ที่ซุ้มประตูทางเข้าพระมณฑป ทั้ง ๔ ด้าน ด้านละ ๑ คู่ เพื่อให้ทำหน้าที่ พิทักษ์รักษาหอพระไตรปิฎก ปัจจุบันรูปยักษ์วัดโพธิ์ ที่ซุ้มพระมณฑป ๒ คู่แรก เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ส่วน ๒ คู่หลังอยู่ที่ ประตูทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และทิศตะวันตกเฉียงใต้

ยักษ์วัดโพธิ์มี ๔ ตน รูปร่างเป็นยักษ์ไทย ตัวใหญ่เขี้ยวแหลมโง้ง แต่ตัวมีขนาดเล็กกว่า ยักษ์วัดแจ้ง ตนหนึ่งมีหน้าสีแดงชื่อ “พญาแสงอาทิตย์” ตนที่สองมีหน้าสีเขียวชื่อ “พญาไมยราพณ์” อีกตนหนึ่งมีหน้าสีเทาชื่อ “พญาขร”ตนสุดท้ายมีหน้าสีเนื้อชื่อ “พญาสัทธาสูร”

เมื่อคาดคะเนจาก ตำนานการต่อสู้ ยักษ์ทั้งสาม น่าจะมีขนาดใกล้เคียงกัน บางคนเลยเข้าใจผิดคิดว่า “ลั่นถัน นายทวารบาล” หรือตุ๊กตาสลักหิน รูปทหารนักรบจีนขนาดใหญ่ ที่ยืนถือศาสตราวุธ เฝ้าซุ้มประตูเข้า-ออกในเขตพุทธาวาส ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด ๓๒ ตัวนั้น คือ “ยักษ์วัดโพธิ์” แต่โดยแท้จริงแล้ว “ยักษ์วัดโพธิ์” มีเพียง ๒ ตัวเท่านั้น
คือ ยักษ์กายสีแดง และ ยักษ์กายสีเขียว ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับยักษ์ ในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ เช่นเดียวกับ “ยักษ์วัดพระแก้ว” หากแต่มีขนาดเล็กกว่ามาก
เล็ก จนสามารถตั้งเก็บไว้ ในตู้หน้าซุ้มประตูทางเข้าพระมณฑป (หอไตรจตุรมุข) ได้

คนโบราณเชื่อว่ายักษ์ที่เฝ้าซุ้มประตูมีอิทธิฤทธิ์ในการขับไล่ภูติ ผี ปีศาจ จึงมีหน้าที่ปกปักษ์รักษาสิ่งศักดิ์สิทธิ์มีค่าที่อยู่ด้านใน






เครดิต : https://www.facebook.com/siriwanna.jill/posts/408266689307572