ลม ๖ แบบโบราณกับการเกิดโรค

เรื่องของลม 6 กอง

....เรื่องของลมในกองธาตุที่สัมพันธ์กับระบบหายใจและระบบไหลเวียนโลหิต....

ในระบบหายใจ และระบบการไหลเวียนโลหิต เทียบได้กับการทำงานของลมในร่างกาย ก็คือ การทำงานร่วมกันของลมอุทธังคมาวาตา กับลมอโธคมาวาตา ซึ่งลมในกองธาตุทั้ง 2 นี้ก็จะทำงานร่วมกับลมอัสสาสะปัสสาสะวาตาด้วย

ซึ่งการทำงานร่วมกันของลมที่เกี่ยวข้่องกับระบบการหายใจและระบบการไหลเวียนเลือด เป็นดังนี้

- การหายใจเข้า เป็นการทำงานร่วมกันของลมอโธคมาวาตาและอัสสาสะวาตา

- การหายใจออก เป็นการทำงานร่วมกันของลมอุทธังคมาวาตาและปัสสาสะวาตา

อธิบายเรื่องของลม 6 กอง ดังนี้คือ
1. ลมอุทธังคมาวาตา คือลมพัดขึ้นเบื้องบน จากเหนือสะดือ ถึง ศีรษะ

2. ลมอโธคมาวาตา คือลมพัดลงเบื้องล่าง ตั้งแต่ใต้สะดือ ถึงปลายเท้า

ลมทั้งสองนี้เมื่อระคนกัน คือ ลมอโธคมาวาตา พัดย้อนขึ้นไประคนกับลมอุทธังคมาวาตา หรือลมอุทธังคมาวาตากลับพัดลงมาหาอโธคมาวาตา จึงเป็นเหตุให้โลหิตถูกพัดเป็นฟองและร้อนดังไฟ กำลังที่โลหิตแปรไปก็เกิดแต่อาการ ๓๒ ของร่างกาย

ส่วนลมในทิศเบื้องต่ำ คือลมอัมพฤกษ์และลมอัมพาต เกิดแต่ปลายเท้าถึงเบื้องบน ลมทั้งสองนี้ เป็นที่ตั้งแห่งฐานลมทั้งหลาย เมื่อระคนกันก็ให้หวาดหวั่นไปทั่ว เพราะไปกระทบกับ ลมหทัยวาตะ คือน้ำเลี้ยงหัวใจ ให้บุคคลถึงแก่ชีวิต

เมื่อลมระคนกันให้กำลังโลหิตแปรไป อาการที่ปรากฎจึงเป็นอาการทางระบบประสาท ให้จุกแน่น ชักมือกำ เท้างอ ดิ้นไป ให้ลิ้นกระด้างคางแข็ง ขากรรไกรแข็ง เจรจาไม่ได้ บ้างสิ้นสติ หรือลมนั้นมีกำลังขับโลหิต ให้คั่งเป็นวงเป็นสีตามร่างกาย

3. กุจฉิสยาวาตา คือ ลมพัดในท้อง นอกลำไส้
4. โกฏฐาสยาวาตา คือ ลมพัดในลำไส้ ลมในกระเพาะ
5. อังคมังคานุสารีวาตา คือ ลมพัดทั่วร่างกาย
6. อัสสาสะปัสสาสะวาตา คือ ลมหายใจเข้าออก

ซึ่งลมดังกล่าวมีตัวควบคุม 3 อย่าง คือ

1. หทัยวาตะ หมายถึง ลมเกี่ยวกับหัวใจ จิตใจหรือลมที่ทำให้หัวใจเต้น

2. สัตถกวาตะ หมายถึง ลมที่คมเหมือนอาวุธลักษณะรวดเร็วฉับพลัน เล็ก แหลม เจ็บแปลบ เกิดจากปลายประสาท และเส้นเลือดฝอยผิดปกติ

3. สุมนาวาตะ เส้นสุมนา คือเส้นกลางลำตัว น่าจะหมายถึง ระบบไหลเวียนของเลือดและประสาท หรืออื่น ๆ ที่มีผลต่อการเคลื่อนไหว ระบบนี้น่าจะอยู่บริเวณกลางลำตัว

ซึ่งลมทั้ง 3 นี้ จะเป็นสาเหตุหลักให้ลมทั้ง 6 ชนิดดังกล่าวผิดปกติไป เกิดเจ็บป่วยด้วย โรคลมต่าง ๆ ดังนั้น อาการของโรคลมที่เกิดจากลม กองละเอียด มักจะมีอาการหน้ามืด ตาลาย เวียนศีรษะ ใจสั่น สวิงสวาย อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ตกใจ เสียใจ แพ้ท้อง และทำงานกลางแดด จัดนาน ๆ เป็นต้นนอกจากนี้หมอพื้นบ้านยังได้กล่าวถึง โรคลมที่เกิดจากลมกองหยาบ คือ ลมหายใจเข้าออก ลม ในท้อง และลำไส้ มักจะมีอาการจุกแน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียน เรอ และขับผายลม เป็นต้น

แพทย์แผนปัจจุบันโดยนายแพทย์จักรพงศ์ ไพบูลย์ ที่ปรึกษาสถาบันการแพทย์แผนไทย ได้สรุปดังนี้

กลุ่มอาการดังกล่าวได้แก่

1. Vertigo ( อาการบ้านหมุน )
2. Papitation ( อาการใจสั่น )
3. Emotional Stress ( อารมณ์เครียด )
4. Headache ( ปวดศีรษะ )

หรือจากการแบ่งสาเหตุได้เป็นกลุ่มใหญ่ ๆ คือ

1. สาเหตุจากสมอง ได้แก่ เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ทำให้เกิดอาการ Vertigo, Cerebral insufficency, Syncope
2. สาเหตุจากจิตใจและอารมณ์ ได้แก่ Anxity, Depression
3. สาเหตุจากหัวใจ ได้แก่ Papitation, Angina, Arrythmia
4. สาเหตุจากระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ Nausia, Vomilting, Morning Sickness
5. สิ่งอื่น ๆ ภายในและภายนอก ได้แก่ ปวดเกินไป , แน่นเกินไป , ยืนนาน ๆ , ร้อนเกินไป (Heatstroke)

(ที่มา ยาหอมไทย แพทย์หญิงเพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ รองอธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก)
ขอขยายความเรื่องลมเพื่อความเข้าใจและเห็นภาพชัดขึ้น ลม (วาโยธาตุ)

วาโยธาตุหย่อน ให้โทษ 13 ประการ คือให้เกิดลมไปต่าง ๆ มักให้ถอนใจ หาว เรอ ผายลม ลมในท้องมาก สะบัดร้อนสะบัดหนาว ร้อนในอก ตัวและมือเท้าสั่น ลมพัดทั่วกาย มือเท้าตาย ลมทำพิษให้คลั่งไคล้

วาโยธาตุกำเริบ ให้โทษ 12 ประการ คือ ให้ลิ้นแข็ง คอแห้งเป็นผง กระหายน้ำ เขม่นตา ขนพองสยองเกล้า ฟันคลอน คัดจมูก เบื่ออาหาร มือเท้าเย็น ฟันแห้ง ปากแห้ง

วาโยธาตุพิการ เมื่อท้องว่างให้อาเจียน บางทีอิ่มให้คลื่นเหียนอาเจียนก็มี ให้ท้องคลอนเพราะมีลม

(ที่มา คู่มือเวชกรรมแผนโบราณ ฝ่ายธรรมชาติบำบัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรี ศูนย์ประสานงานการแพทย์แผนไทยภาคกลาง จังหวัดปราจีนบุรี สนับสนุนโดยสถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข)

เพิ่มเติม.... ระบบทางเดินหายใจและระบบไหลเวียนโลหิต

ระบบทางเดินหายใจ

ระบบทางเดินหายใจเริ่มจากจมูก ต่อจากนั้นจะเป็นโพรงที่ติดต่อระหว่างจมูก (Nasal) กับคอหอย (Pharynx) ที่เรียกว่า Nasopharynx ตำแหน่งคอหอยจะมีกระดูก อ่่อนด้านบน เรียกว่า Thyroid Cartilage ด้านล่างเรียกว่า Cricoid Cartilage ต่อจากคอหอยก็จะเป็นส่วนของหลอดลม (Trachea) จากนั้นหลอดลมจะแบ่งเป็น แขนงหลอดลมหลัก (ฺMain Bronchi) ข้างซ้ายและขวา โดยจะมีมีการแตกแขนง ออกไปเรื่อยๆในเนื้อปอด เรียกว่า Bronchial Tree ซึ่งที่ย่อยที่สุดจะเรียกว่า Bronchioli ก่อนทีจะไปต่อกับถุงลมมากมายที่เรียกว่า Alveoli บริเวณ Alveoli จะเป็นบริเวณที่มีการแลกเปลียนอากาศ

เมื่อมองเนื้อปอดจากภายนอก จะเห็นเนื้อปอดมีลักษณะเหมือนฟองน้ำ ซึ่่งภายในจะมีอากาศจากลมหายใจเข้าผ่านจากจมูก ไปยังโพรงระหว่างจมูกและคอหอย ต่อไปยังคอหอย หลอดลม แขนงหลอดลม และไปเก็บในถุงลม จากรูปด้านซ้่าย เป็นภาพขยายของบริเวณถุงลม (Alveolus) ซึ่งจะอยู่ใกล้เส้นเลือดฝอยที่อยู่ในปอด จุดดังกล่าวจะเป็นจุดที่มีการแลกเปลี่ยนอากาศ โดยเลือดที่ผ่านเข้ามาที่ปอดนั้น เป็นเลือดที่มาจากอวัยวะต่างๆ ซึ่งได้ใช้ออกซิเจนไปจึงเหลือออกซิเจนน้อย แต่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูง เม็ดเลือดแดงจะมีสีน้ำเงินหรือที่เรียกว่าเลือดดำ เมื่อเส้นเลือดฝอยผ่านมาที่บริเวณถุงลม จะเกิดการแลกเปลี่ยนก๊าซโดยวิธีออสโมซีส คือเคลื่อนจากที่ที่มีความแข็งข้นสูงไปสู่บริเวณที่มีความเข้มข้นต่ำ โดยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเส้นเลือดฝอยที่มีความเข้มข้นมาก จะเคลื่อนทีมายังถุงลม และก๊าซออกซิเจนที่มีความเข้มข้นมากในถุงลม จะเคลื่อนที่ไปยังเส้นเลือดฝอย เลือดที่ผ่านออกจากปอดจึงเป็นเลือดที่มีก๊าซออกซิเจนมาก และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อย หรือที่เรียกว่าเลือดแดง เพื่อที่จะส่งไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆในรอบต่อไป ส่วนก๊าซที่มีคาร์บอนไดออกไซด์มากในถุงลม ก็จะถูกขับออกในช่วงของการหายใจออก

ระบบไหลเวียนโลหิต จำเป็นต้องใช้ 2 ระบบทำงานสัมพันธ์กัน คือ ระบบหัวใจและหลอดเลือด และระบบทางเดินหายใจ หัวใจและปอดอยู่ติดกันในทรวงอก แต่ภาพนี้เขียนแยกออกจากกันเพื่อให้ง่ายต่อการอธิบาย เนื่องจากเซลต้องการอาหารเพื่อเป็นแหล่งพลังงาน ซึ่งอาหารหลักของเซลคือกลูโคส และต้องการออกซิเจนเพื่อช่วยในกระบวนการสันดาปให้เกิดพลังงาน หลักการของระบบไหลเวียนโลหิต นอกจากจะส่งกลูโคสให้เซลแล้ว จะทำหน้าที่ 2 ประการคือ

ส่งเลือดที่มีออกซิเจนสูง คาร์บอนไดออกไซด์ต่ำไปให้กับเซลต่างๆทั่วร่างกาย (เลือดแดง)
นำเลือดที่มีออกซิเจนต่ำ คาร์บอนไดออกไซด์สูง (เลือดดำ) ไปฟอกที่ปอด เพื่อให้เป็นเลือดแดงที่จะส่งไปให้เซลในรอบใหม่
จากรูปจะเห็นว่า ได้แบ่งเป็น 2 ส่วนคือส่วนสีแดง กับส่วนสีน้ำเงิน ขอเริ่มจากส่วนสีน้ำเงินก่อนคือ เส้นเลือดเมื่่อไหลผ่านอวัยวะต่างๆ อวัยวะต่างๆก็จะนำออกซิเจน(O2) และกลูโคส (C6H12O6)ไปใช้ และปล่อยของเสียได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และแอมโมเนีย (NH3) ในรูปของ ยูเรียเข้าในในกระแสเลือด ยูเรียจะถูกขับออกที่ไต ส่วนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะไปฟอกที่ปอด จากรูปจะเห็นเส้นเลือดดำทั้งหมดจะไหลเข้าไปในเส้นเลือดดำใหญ่ Venacava เข้าไปยังหัวใจห้องบนขวา ที่เรียกว่า Right Atrium (RA) จากนั้นจะผ่านลิ้นหัวใจเข้าไปในหัวใจห้องล่างซ้ายที่เรียกว่า Right Ventricle (RV) หัวใจห้องล่างซ้ายก็จะบีบตัวเพื่อส่งเลือดไปที่ปอดผ่านเส้นเลือดแดงชื่อ Pulmonary Artery ซึ่งถือเป็นเส้นเลือดแดงที่มีออกซิเจนต่ำที่สุด และคาร์บอนไดออกไซด์สูงที่สุดในร่างกาย โดยเส้นเลือดที่ไปยังปอดก็จะแยกเป็นเส้นเลือดที่ขนาดเล็กลง จนเป็นเส้นเลือดฝอยที่ปอด และไปทำการแลกเปลี่ยนอากาศกับถุงลมดังรูปที่แสดงก่อนหน้า เลือดที่ออกจากปอดที่ผ่านการฟอกแล้วจะมีีออกซิเจนสูง และก๊ีาซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำ จะไหลเข้ามารวมกันเป็นเส้นเลือดดำชื่อ Pulmonary Vein แล้วเทเข้าหัวใจทางด้านห้องบนซ้ายที่เรียกว่า Left Atrium (LA) จากนั้นไหลผ่่านลิ้นเข้าในหัวใจห้องล่างซ้ายที่เรียกว่า Left Ventricle (LV) ซึ่งเมื่อหัวใจห้องล่างซ้าย บีบตัวก็จะส่งเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกาย การเต้นของหัวใจขึงมี 2 จังหวะ คือ ช่วงบีบตัวก็จะบีบเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย แลไปสู่ปอด ส่วนช่วงคลายตัวคือช่วงที่รับเลือดกลับเข้าสู่หัวใจ การทำงานของหัวใจและปอดจะเชื่อมโยงกัน ระบบใดมีปัญหาก็จะทำให้อีกระบบหนึ่งมีัปัญหาไปด้วย



โดย... บ้านต้นยาแพทย์แผนไทย