กำลังแสดงผล 1 ถึง 3 จากทั้งหมด 3

หัวข้อ: "วันรักนกเงือก"

  1. #1
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63

    "วันรักนกเงือก"

    "วันรักนกเงือก"


    วันที่ 13 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น "วันรักนกเงือก" ..... นกเงือก หรือ Hornbill รักเดียวใจเดียว สัตว์สัญลักษณ์ของ "รักแท้"

    นกเงือก นกป่าขนาดใหญ่ ที่มีจุดเด่น คือ จะงอยปากหนา ที่ใหญ่และมีโหนก ทางด้านบน เป็นโพรง ภายในโพรง มีเนื้อเยื่อคล้ายฟองน้ำ ส่วนใหญ่ลำตัว มีสีขาวดำหางยาว ปีกกว้างใหญ่ บินได้แข็งแรง เวลาบินจะโบกปีกช้า ๆ กินผลไม้เป็นอาหารหลัก และสัตว์เลื้อยคลานเล็ก ๆ เป็นอาหารเสริม ทำรังในโพรงไม้ ตัวเมียจะเข้าไปกกไข่ในโพรง โดยใช้โคลนและมูลปิดปากโพรงไว้ เหลือเพียงช่องพอให้ตัวผู้ยื่นส่งอาหารเข้าไปได้ เมื่อลูกนกโตพอแล้ว จึงเจาะโพรงออกมา

    สาเหตุที่นกเงือก ถูกกล่าวขานว่า เป็นสัตว์แห่งรักแท้นั้น เนื่องจากพฤติกรรมของนกเงือก จะใช้ชีวิตคู่แบบ "ผัวเดียวเมียเดียว" จนแก่เฒ่า หรือกว่าจะตายจากกัน และตัวผู้ยังมีลักษณะ ของหัวหน้าครอบครัวที่ดี คอยหาอาหารให้ และคอยดูแลปกป้อง ลูกนกและแม่นกให้ปลอดภัย

    นกเงือกนั้น เมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว มันจะเที่ยวบินตามหารักแท้ โดยตัวผู้ จะเป็นฝ่ายเที่ยวบินตามหาตัวเมีย ที่เป็นที่รัก หลังจากบินอยู่นาน นกเงือกตัวผู้ ก็ได้พบกับนกเงือกตัวเมียที่หวังว่า คงจะเป็นรักแท้ มันบินหาอาหารต่าง ๆ หลายชนิด มาให้ตัวเมีย เพื่อหวังจะได้ครองใจ จากตัวเมีย บินไปครั้งแล้วครั้งเล่า และแล้วนกเงือกตัวเมีย ก็รับอาหารที่ตัวผู้เสนอให้ นั่นหมายความว่า ตัวเมียตกลงปลงใจ ที่จะเป็นรักแท้ของตัวผู้แล้ว

    "วันรักนกเงือก"

    สิ่งต่อไปก็คือการหารัง ที่จะเป็นเหมือนบ้าน น่าอยู่สักแห่ง ที่จะเป็นเรือนหอ ใช้ชีวิตร่วมกัน อย่างมีความสุข นกเงือกแม้จะมีปาก ที่กว้างใหญ่ แต่ปากของมัน ไม่ได้แข็งแรง เหมือนนกหัวขวาน ที่จะสามารถเจาะต้นไม้ สร้างรังได้เอง จึงต้องเที่ยวบินหาโพรงไม้ต่าง ๆ ที่สัตว์อื่น ๆ ได้ทำทิ้งไว้อยู่แล้ว นกเงือกตัวผู้ต้องบิน หาโพรงไม้เหล่านี้มานำเสนอ ต่อตัวเมียจนกว่าตัวเมีย จะเป็นที่พอใจ จากนั้น คู่ผัวเมียนกเงือก ก็จะได้ร่วมกัน ให้กำเนิดลูกน้อย ๆ ขึ้นมา ที่น่าสนใจก็คือ ทั้งสองจะร่วมกันนำเศษไม้ เศษดินต่าง ๆ มาปิดปากทางเข้าบ้าน ของทั้งสอง ให้เหลือเพียงรูเล็ก ๆ พอที่จะให้ตัวผู้ ซึ่งเป็นผู้หาอาหาร อยู่นอกบ้าน ทั้งนี้ก็เพื่อความอบอุ่น และเพื่อความปลอดภัยต่าง ๆ ของตัวเมีย และลูกน้อย ที่กำลังจะเติบโต ตัวเมียก็จะคอยเลี้ยงดู ลูกน้อยให้เติบโตอยู่ภายในรัง ตัวผู้เป็นผู้บินหาอาหาร อยู่ภายนอกให้ตัวเมียกับลูกน้อย เป็นเช่นนี้ทุก ๆ วัน

    นกเงือก เป็นนกขนาดใหญ่ ส่วนมาก มักจะมีขนสีดำสลับขาว ทั่วโลกมี 55 ชนิด มีการแพร่กระจาย อยู่ในแถบเขตร้อน ของทวีปอัฟริกา และเอเชีย

    ปัจจุบันนกเงือกในประเทศไทย มีทั้งหมด 13 สายพันธุ์ จากทั้งหมด 50 กว่าสายพันธุ์ที่มีอยู่ทั่วโลก ส่วนใหญ่กระจายตัว อยู่ในผืนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์อย่างมาก โดยเฉพาะผืนป่าตะวันตก อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี ซึ่งรวมแล้วมีนกเงือกประมาณ 3,000 ตัว นกเงือกจึงเป็นดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของป่าที่สำคัญอีกตัวหนึ่ง

    มูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และบริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด จึงได้กำหนดให้วันที่ 13 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็น "วันรักนกเงือก" โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมาเพื่อให้คนไทย เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของ การอนุรักษ์นกเงือกให้คงอยู่คู่ กับป่าที่อุดมสมบูรณ์ตลอดไป

    วันนี้ 1530 น.ที่สวนนกเงือก คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล มีกิจกรรมระดมทุนสำหรับศึกษา วิจัย และอนุรักษ์นกเงือก ในประเทศไทย



    เครดิต : https://www.facebook.com/photo.php?f...type=1&theater

  2. #2
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63

    "วันรักนกเงือก"

    "วันรักนกเงือก"




    ทุกวันที่ 13 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็น "วันรักนกเงือก"

    นกเงือก เป็นนกขนาดใหญ่ ส่วนมากมักจะมีขนสีดำสลับขาว ทั่วโลกมี 55 ชนิด มีการแพร่กระจายอยู่ในแถบเขตร้อน ของทวีปอัฟริกา และเอเชีย นกเงือกเป็นนกผัวเดียวเมียเดียว มีลักษณะการทำรังที่แปลกจากนกอื่น คือ เมื่อถึงฤดูกาลทำรัง นกคู่ผัวเมียจะพากันหารัง ซึ่งได้แก่ โพรงไม้ตามต้นไม้ใหญ่ เช่น ต้นยาง ที่อยู่ในที่ลับตา เมื่อตัวเมียเข้าไปอยู่ในโพรง จะทำความสะอาดแล้วเริ่มปิดปากโพรง ด้วยวัสดุต่าง ๆ เช่น ดิน เปลือกไม้ ตัวเมียจะขังตัวอยู่ภายในเพื่อออกไข่เลี้ยงลูก


    ปัจจุบันนกเงือกในประเทศไทยมีทั้งหมด 13 สายพันธุ์ จากทั้งหมด 50 กว่าสายพันธุ์ที่มีอยู่ทั่วโลก ส่วนใหญ่กระจายตัวอยู่ในผืนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์อย่างมาก โดยเฉพาะผืนป่าตะวันตก อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี ซึ่งรวมแล้วมีนกเงือกประมาณ 3,000 ตัว

    รายชื่อนกเงือกที่พบในประเทศไทย
    นกกก หรือ นกกะวะ หรือ นกกาฮัง Great Hornbill, Buceros bicornis
    นกเงือกหัวแรด Rhinoceros Hornbill, Buceros rhinoceros
    นกเงือกหัวหงอก White-crowned Hornbill, Berenicornis comatus
    นกชนหิน Helmeted Hornbill, Rhinoplax vigil
    นกแก๊ก หรือ นกแกง Oriental Pied Hornbill, Anthracoceros albirostris
    นกเงือกดำ Black Hornbill, Anthracoceros malayanus
    นกเงือกคอแดง Rufous-necked Hornbill, Aceros nipalensis
    นกเงือกสีน้ำตาลคอขาว Austen's Brown Hornbill, Anorrhinus austeni
    นกเงือกสีน้ำตาล Tickell's Brown Hornbill, Anorrhinus tickelli
    นกเงือกปากดำ Bushy-crested Hornbill Anorrhinus galeritus
    นกเงือกปากย่น Wrinkled Hornbill, Aceros corrugatus
    นกเงือกกรามช้าง หรือนกกู่กี๋ Wreathed Hornbill, Rhyticeros undulatus
    นกเงือกกรามช้างปากเรียบ Plain-pouched Hornbill, Rhyticeros subruficollis


    นกเงือกที่พบในป่าตะวันตก
    นกเงือกกรามช้างปากเรียบ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name): Aceros subruficollis ชื่อสามัญ (Common name): Plain-pouched Hornbill (Rhyticeros)
    รูปร่างหน้าตานิสัยเหมือนนกกู๋กี๋ หรือ นกเงือกกรามช้าง มีขนาดย่อมกว่า และต่างกันตรงที่ปากด้านข้างเรียบ ถุงใต้คอไม่มีขีดดำทั้งตัวผู้และตัวเมีย เป็นนกเงือกที่ใกล้สูญพันธุ์ พบบริเวณ ผืนป่าตะวันตกติดกับประเท..พม่า (Myanmar) เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง

    นกเงือกคอแดง ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name): Aceros nipalensis ชื่อสามัญ (Common name): Rufous-necked Hornbill
    มีขนาดใกล้เคียงกับนกเงือกปากย่น ตัวผู้มีสีสรรสวยงามแต่ไม่มีโหนก ปากสีเหลืองอ่อน อมเขียว ปากบนมีรอยขีดสีดำ ถุงใต้คอสีแสดทั้งสองเพศ ตัวเมียสีดำปลอด เป็นนกเงือกที่พบอยู่ป่าสูง และอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ พบนกเงือกชนิดนี้ได้ทางตะวันตกและ ตะวันตกเฉียงเหนือ เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง


    นกเงือกสีน้ำตาล (Tickell's) ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name): Anorrhinus tickelli ชื่อสามัญ (Common name): Tickell's Brown Hornbill
    ขนาดเล็กกว่า นกเงือกปากดำ และมีนิสัยคล้ายคลึงกัน แตกต่างจากนกเงือกสีน้ำตาล (Austen's) ตรงที่คอมีสีน้ำตาลแดง ทำรังแบบมีผู้ช่วยแต่ผู้ช่วยจะเป็นตัวผู้ทั้งหมด และไปกันเป็นฝูง กินอาหารจำพวกแมลง สัตว์เล็ก ๆ และผลไม้ เลี้ยงลูกได้มากที่สุดถึง 3 ตัว เป็นนกที่ อยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ พบนกเงือกชนิดนี้ ได้ทางภาคเหนือ ตะวันตกและภาคกลาง เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง, อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เป็นต้น


    นกเงือกมีบทบาทเด่นในการช่วยกระจายพันธุ์ไม้ในป่า เนื่องจากนกเงือกกินผลไม้สุกเป็นอาหารมากกว่า 300 ชนิด ทั้งผลไม้ขนาดเล็กและขนาดใหญ่ และด้วยพฤติกรรมของนกเงือกบินหาอาหารไปทั่ว และกินผลไม้เข้าไปทั้งผลแล้วขย้อนเมล็ดออกมา จึงสามารถนำพาเมล็ดพันธุ์พืชไปทิ้งไว้ยังที่ต่างๆ และเจริญขึ้นเป็นต้นกล้าได้ทั่วป่า นกเงือกจึงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการแพร่พันธุ์ของพืช ช่วยรักษาความหลากหลายทางชีวภาพในป่า และทำให้เกิดความสมดุลในธรรมชาติ

    ด้วยความที่เป็นสัตว์รักเดียวใจเดียว ใช้ชีวิตคู่แบบ "ผัวเดียวเมียเดียว" จนแก่เฒ่าหรือกว่าจะตายจากกัน และตัวผู้ยังมีลักษณะของหัวหน้าครอบครัวที่ดี คอยหาอาหารให้และคอยดูแลปกป้องลูกนกและแม่นกให้ปลอดภัย นกเงือกจึงได้รับการยกย่องให้เป็นสัญลักษณ์ของ "รักแท้"

    ความรักของนกเงือก รักแท้ในป่าทึบ
    นกเงือก เป็นนกที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นนกที่มีความรักเดียวใจเดียว และซื่อสัตย์กับคู่ของมันไปจนตาย เนื่องจากนกเงือกจะจับคู่แบบผัวเดียว – เมียเดียว นกตัวผู้จะเป็นผู้บินไปหานกตัวเมียที่ถูกใจ และเข้าไปเกี๊ยวพาราสีด้วยการนำอาหารหลากหลายชนิดมาให้กับตัวเมีย จนเมื่อนกตัวเมียยอมรับอาหารจึงเป็นการแสดงได้ว่าตัวเมียนั้นได้ยอมตกลงปลงใจเรียบร้อย


    แต่ความรักไม่ได้สร้างกันง่ายๆ นกเงือกทั้งคู่จะต้องเลือกสถานที่ทำรังที่เหมาะสม ซึ่งตัวผู้จะทำหน้าที่หาโพรงที่สัตว์ต่างๆ ได้ทำทิ้งไว้ หรือที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติตามต้นไม้สูง เมื่อตัวเมียพอใจกับรังตัวผู้นำเสนอตัวเมียจึงยอมให้ผสมพันธุ์ แล้วนกทั้งคู่ก็จะช่วยกันหาเศษใบไม้ใบหญ้ามาสร้างรังเพื่อรอต้อนรับลูกน้อยที่กำลังจะลืมตาดูโลก แล้วหลังจากนั้นก็จะหาเศษดินมาปิดปากรังเพื่อเป็นการป้องกันอันตรายจากสัตว์นักล่าต่างๆ รวมทั้งสร้างความอบอุ่นให้กับแม่ลูก

    แม่นกเงือกจะคอยกกไข่และให้ความอบอุ่นกับลูกที่ฟักมาอยู่ภายในรังโดยไม่ได้ออกไปไหน ตัวผู้จึงมีหน้าที่ในการออกหาอาการเพื่อนำมาเลี้ยงชีวิตทั้งลูกน้อยและคู่รัก จนกว่าลูกนกจะโตพอบินได้จึงกะเทาะปากโพรงที่สร้างด้วยเศษดินนั้นออกมา ความรักของนกเงือกจึงเปรียบเสมือนรักแท้ในป่าทึบ เพราะหากวันใดวันหนึ่งที่นกตัวผู้เกิดไม่ออกหาอาหาร หรือตายไป คู่รักของมันที่รออยู่ที่โพรงก็จะยังคงรออยู่อย่างนั้น ไม่มีวันออกไปไหน รอจนหมดเรี่ยวแรงและตายลงไป พร้อมกับลูกนกเคราะห์ร้ายที่ไม่มีโอกาสได้ออกมาพบกับโลกภายนอก

    นอกจากความรัก และความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่ของนกเงือกแล้ว นกเงือกยังเป็นสัตว์สำคัญที่เป็นตัวแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของป่าที่มันอาศัยอยู่ เพราะมันจำเป็นจะต้องสร้างรังในโพรงต้นไม้สูง แข็งแรง ในป่าทึบ และด้วยความหลากหลายของการกินอาหาร นกเงือกจึงเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงดุลยภาพต่างๆ ในสังคมป่าเขตร้อนให้คงอยู่ ไม่เปลี่ยนแปลง นกเงือกอาจมีอายุยืนยาวได้ถึง 30 ปี แต่ละตัวสามารถช่วยกระจายเมล็ดพันธุ์ไม้มากกว่า 100 ต้น/สัปดาห์ หากไม้เหล่านี้สามารถเจริญเป็นไม้ใหญ่ได้เพียง 5 เปอร์เซ็นต์ หนึ่งชีวิตของนกเงือกจะสามารถปลูกไม้สำคัญของป่าได้ถึง 500,000 ต้น

    ดังนั้นความรักของนกเงือก จึงไม่ใช่เพียงเพื่อขยายพันธุ์เพิ่มจำนวนให้กับสายพันธุ์ของมันเองเท่านั้น มันกลับเผื่อแผ่ความรักของมันให้กับป่า ให้กับสิ่งแวดล้อมรอบตัวของมัน ซึ่งมนุษย์เราก็ได้รับประโยชน์จากความรักนั้นในทางอ้อมจากความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ


    ...
    ความรักของนกเงือก รักแท้ในป่าทึบ อ้างอิงเนื้อหาจาก seub.or.th
    แหล่งพบนกเงือกในประเทศไทย อ้างอิงจาก http://kularbly.igetweb.com/
    เครดิตภาพจาก คุณกุลพัฒน์ ศรลัมภ์

  3. #3
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ nuzing
    วันที่สมัคร
    May 2007
    ที่อยู่
    ตกฟากอยู่อุบล เป็นคนชราบางแคแล้ว
    กระทู้
    2,260
    บล็อก
    5


    ประสานกกะยังมัฮักแท้+ผัวเดียวเมียเดียวน้อ บาดคนนั่นน๊า
    ปล.เห็นรูปนกเงือกปลอมงามเลยขอเอามาแจมนำเด้อจ้าลุงใหญ่จ๋า
    "ใจประสงค์สร้างกลางดงกะหว่าถ่ง ใจขี้คร้านกลางบ้านกะหว่าดง"

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •