ผักเพื่อสุขภาพ 2

ถั่วฟักยาว

ชื่อวิทยาศาสตร์ Vigna unguiculata Hc

วงศ์ LEGUMINOSAE

ชื่อสามัญ Yard long Bean


ลักษณะ :

ถั่วฝักยาว จัดเป็นพืชผักในตระกูลถั่ว ปลูกได้ตลอดปี แต่ปลูกได้ผลที่สุดคือ ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤศจิกายน เป็นผักชนิดหนึ่งที่ชาวเอเซียนิยมบริโภคมาก โดยเฉพาะชาวฮ่องกงและสิงคโปร์ นอกจากตลาดเอเซียแล้ว ตลาดต่างประเทศทางยุโรป ซึ่งมีคนเอเซียอพยพเข้าไปอยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก เช่น ฝรั่งเศส อังกฤษ และเยอรมันตะวันตก ตลอดจนประเทศทางแถบตะวันออกกลางก็นับว่าเป็นตลาดที่ค่อนข้างจะมีความต้องการสูง จึงนับได้ว่า
ถั่วฝักยาวเป็นพืชผักชนิดหนึ่งที่นิยมบริโภคทั้งภายในและนอกประเทศ ถั่วฝักยาว เป็นพืชตระกูลถั่วที่มีความสำคัญชนิดหนึ่งของประเทศไทย นอกจากจะใช้ปรุงอาหาร บางชนิดใช้บริโภคสดในชีวิตประจำวันแล้ว ยังใช้เป็นวัตถุดิบในด้านอุตสาหกรรมบรรจุกระป๋องและแช่แข็งด้วย
ถั่วฝักยาวมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีนและอินเดีย เป็นพืชตระกูลถั่งที่มีลำต้นเป็นเถาเลื้อย การเลื้อยของเถา มีทิศทางการพันทวนเข็มนาฬิกา การปลูกโดยการทำค้างจะทำให้ผลผลิตสูงขึ้น
ถั่วฝักยาวนอกจากจะเป็นพืชผักที่มีคุณค่าทางอาหารแล้ว การปลูกถั่วฝักยาวจะช่วยปรับปรุงบำรุงดินด้วย เพราะโดยธรรมชาติแล้ว ระบบรากของพืชตระกูลถั่วจะมีการตรึงไนโตรเจนจากอากาศมาไว้ในดิน นับว่าเป็นพืชที่มีประโยชน์หลายอย่างเป็นเถาเลื้อย เถาแข็งและเหนี่ยว คล้ายกับถั่วพู แต่มีอายุเพียงปีเดียว หรือฤดูเดียว เถาสีเขียวอ่อน ลำต้นม้วนพันสิ่งยึดเกาะได้ดี ไม่มีมือเกาะ ใบประกอบแบบฝ่ามือ มี 3 ใบย่อย รูปสามเหลี่ยมยาว 6-10 เซนติเมตร ดอกช่อออกตามซอกใบ กลีบดอกสีขาว หรือน้ำเงินอ่อน ผลเป็นฝักกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5-1 เซนติเมตร ยาว 20-80 เซนติเมตร มีหลายเมล็ด

ประโยชน์ :

ใบ ใช้สด 60-100 กรัม ต้มกับน้ำ เป็นยารักษาโรคหนองในและปัสสาวะเป็นหนอง
เปลือกฝัก ใช้สด 100-150 กรัม ต้มกิน ใช้ภายนอกโดยการพอกตำ จะเป็นยารักษาอาการปวดบวม ปวดตามเอว และแผลที่เต้านม
เมล็ด ใช้แห้งหรือสดต้มกินกับน้ำหรือคั้นสด จะมีรสชุ่มชื่น เป็นยาบำรุงม้ามและไต แก้กระหายน้ำ อาเจียน ปัสสาวะกระปริบปรอย และตกขาว
ราก ใช้สดต้มกับน้ำหรือตุ๋นกินเนื้อ ใช้รักษาภายนอกโดยการพอก หรือนำมาเผาแล้วบดให้เป็นผงละเอียดผสมกับน้ำทา ใช้เป็นยารักษาโรคหนองในที่มีหนองไหล บำรุงม้าม ส่วนการใช้ภายนอกนั้น ใช้รักษาฝีเนื้อร้ายและช่วยให้เนื้อเจริญเร็วขึ้น

สรรพคุณทางยา:

ใบ : ใช้สดประมาณ 60-100 กรัม ใช้ต้มน้ำกิน เป็นยารักษาโรคหนองใน และปัสสาวะเป็นหนอง

เปลือกฝัก : ใช้สดประมาณ 100-150 กรัม นำมาต้มกินใช้รักษาภายนอก โดยการตำพอก และเป็นยาระงับอาการปวดบวม ปวดตามเอว และแผลที่เต้านม

เมล็ด : ใช้แห้งหรือใช้สดประมาณ 30-60 กรัม นำมาต้มน้ำกินหรือกินสด จะมีรสชุ่ม เป็นยาบำรุงม้าม และไต กระหายน้ำ อาเจียน ปัสสาวะกะปริบกะปรอย และตกขาว

ราก : ใช้สดประมาณ 60-100 กรัม นำมาต้มกับน้ำ หรือตุ๋นกับเนื้อกิน ใช้รักษาภายนอกโดยการตำพอก หรือจะนำมาเผาให้เป็นเถ้า แล้วบดให้เป็นผงละเอียดผสมทา หรือใช้กินเป็นยารักษาโรคหนองในที่มีหนองไหลบำรุงม้าม รักษาบิด บำรุงม้าม ส่วนการใช้รักษาภายนอกโดยการตำพอกนั้นใช้รักษาฝีเนื้อร้าย และช่วยให้เนื้อเจริญเร็วขึ้น


Tips
1. ใช้ฝักสดเคี้ยวกิน หรือตำแล้วคั้นเอาแต่น้ำกิน ใช้รักษาอาการท้องอืดและแน่น เพราะกินมากเกินไป เรอเปรี้ยว
2. ใช้รากสดนำมาผสมกับรากเถาตดหมาตดหมู นำมาตุ๋นกับเนื้อวัวกิน สำหรับเด็กที่เบื่ออาหาร เนื่องจากกระเพาะอาหาร ทำงานไม่ดี
3. ใช้เมล็ด และผักบุ้ง นำมาตุ๋นกับเนื้อไก่กิน รักษาอาการตกขาวของสตรี
4. ใช้เมล็ดหรือฝักสด นำมาต้มน้ำผสมกับเกลือใช้กินทุกวัน เพื่อเป็นยาบำรุงไต

ข้อห้ามใช้ : สำหรับผู้ที่มีอาการท้องผูกนั้น ไม่ควรจะนำเมล็ดมากิน

แหล่งที่มา http://www.the-than.com