ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=kJQuYKYxdVI

ชนเผ่า Sentinelese ที่ปฏิเสธโลกภายนอก
North Sentinel Island: A Glimpse Into Prehistory

ชนเผ่า Sentinelese ที่ปฏิเสธโลกภายนอก
ที่มาของภาพ http://goo.gl/zwiFxG

เรื่องที่น่าเหลือเชื่อคือ ยังมีผู้คนในโลกนี้
ที่ไม่มีความรู้อะไรเลยเกี่ยวกับเรื่องอินเตอร์แนต หรือโทรศัพท์มือถือ
ผู้คนพวกนี้คือ ชนเผ่า ที่ตัดขาดจากโลกาภิวัฒน์อย่างสมบูรณ์
และไม่ยินดีต้อนรับบุคคลภายนอกที่จะเข้ามาในพื้นที่เกาะของพวกเขา

เกาะเซนติเนลเหนือ North Sentinel Island
เป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะเกาะอันดามันและเกาะนิโคบาร์
(Andaman and Nicobar Islands)
ในอ่าวเบงกอล ที่ตั้งอยู่ระหว่างพม่ากับอินโดนีเซีย
เกาะแห่งนี้คือ ที่อยู่ของชนเผ่าเซนตินนีเลส Sentinelese
ที่เป็นปรปักษ์กับคนภายนอกและการติดต่อกับโลกภายนอก
และเกาะนี้ได้รับการขนานนามว่า
สถานที่จะแวะเข้าไปเยี่ยมได้ยากที่สุดในโลก



ชนเผ่า Sentinelese ที่ปฏิเสธโลกภายนอก
ที่มาของภาพ http://goo.gl/zwiFxG

ในปี 1771(2314) มีการสำรวจรอบ ๆ เกาะนี้
ครั้งแรกโดยบริษัท East India Company
เพราะสังเกตเห็นกองไฟบนชายหาด
เกาะแห่งนี้ก็ยังไม่มีคนสนใจอีก
จนกระทั่งปี 1867(2410) เรือเดินทะเลอินเดียชื่อ Ninevah
ได้อับปางลงใกล้ชายหาดเกาะแห่งนี้
มีผู้รอดชีวิต 106 คนได้สร้างค่ายพักแรมชั่วคราว
แต่ถูกชาวเกาะโจมตีอย่างเลวร้ายในอีกไม่กี่วันต่อมา
แม้ว่าผู้รอดชีวิตพยายามจะป้องกันการโจมตีจากชาวเกาะ
แต่ก็ไม่ค่อยได้ผล จนกระทั่งเรือรบเครื่องจักรไอน้ำราชนาวีอังกฤษ
ได้เดินทางมาถึงเกาะแห่งนี้ แล้วช่วยเหลือคนทั้งหมดออกไปได้

ชนเผ่านี้รู้จักกันอีกครั้งในปี 1880(2423)
พนักงานรัฐ Maurice Vidal Portman ได้ขึ้นบนเกาะ
เพื่อทำหน้าที่ตามคำสั่งที่ได้รับมอบหมาย
มีเส้นทางเข้าไปหลายเส้นทางพอ ๆ กับหมู่บ้านที่ทิ้งรกร้างไว้
แต่ในที่สุดเขาสามารถจับคนพื้นเมืองจำนวน 6 คนได้
แล้วนำไปสู่ Port Blair เมืองหลวงของ Andaman Islands
แต่ต่อมาคนพื้นเมือง 2 คนเสียชีวิต
ส่วนคนที่เหลือถูกปล่อยกลับเกาะในภายหลัง

คาดว่าชนเผ่าเซนตินนีเลส The Sentinelese
น่าจะเป็นบรรพชนของมนุษย์ชุดแรกที่อพยพมาจากอัฟริกา
และเข้ามาพักอาศัยในเกาะเล็ก ๆ แห่งนี้ยาวนานกว่า 60,000 ปี
จำนวนประชากรไม่แน่ชัดคาดว่าน้อยที่สุดราว 40 คนหรือมากที่สุดราว 500 คน

ชนเผ่านี้ไม่สนใจว่า ใครจะเป็นมิตรหรือเป็นศัตรู
ใครก็ตามที่มาเยีอนแล้วเหยียบชายฝั่งเกาะ
ไม่ว่าโดยอุบัติเหตุทางเรือหรือตั้งใจจะไปก็ตาม
ชนเผ่านี้จะต้อนรับผู้มาเยือนด้วยหอกและธนู
ของขวัญหรือเสื้อผ้าไม่มีความสำคัญกับชนเผ่าเลย
ทั้งยังเคยปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือ
จากโลกภายนอกในช่วงซึมามิ ในปี 2004(2547)


ชนเผ่า Sentinelese ที่ปฏิเสธโลกภายนอก
ที่มาของภาพ http://goo.gl/zwiFxG

ชนเผ่า Sentinelese ที่ปฏิเสธโลกภายนอก
ที่มาของภาพ http://goo.gl/AgW4qD

เหตุการณ์การให้ความช่วยเหลือหลังเกิดเหตุซีมานิ
ในมหาสมุทรอินเดียในช่วงเดือนธันวาคม 2004(2547)
(เกาะแห่งนี้ถูกคลื่นยักษ์ซีนามิถล่มด้วย)
กลุ่มผู้ให้ความช่วยเหลือได้เดินทางมายังเกาะแห่งนี้
โดยเฮลิคอปเตอร์ของรัฏฐนาวีอินเดีย
เพื่อค้นหาและให้ความช่วยเหลือชนเผ่าบนเกาะในการยังชีพ
แม้ว่าจะมีโอกาสค่อนข้างน้อยมากในการพบชนเผ่านี้
แต่แล้วก็พบชนเผ่านี้ที่ยืนรออยู่บนพื้นดิน แต่มีท่าทางเป็นศัตรู
นักรบชนเผ่าเซนตินนีเลส ได้พุ่งหอกและยิงธนูเข้าใส่เฮลิคอปเตอร์


ไม่มีใครรู้เรื่องเกี่ยวกับตำนานของชนเผ่านี้
ภาษาที่พูดกันรวมทั้งพฤติกรรม/วัฒนธรรมของชนเผ่านี้
เพราะชนเผ่านี้มักจะหลบซ่อนตัวอยู่ในป่า
รวมทั้งไม่มีใครรู้เกี่ยวกับการใช้ชีวิตของชนเผ่านี้
ที่พอจะรู้บ้างก็คือ ชนเผ่าเซนตินนีเลส
เป็นนักล่าสัตว์ ไม่มีการทำเกษตร ยังชีพด้วย
พวกพืช ปลา หัวของพืชที่อยู่ใต้ดิน(มัน บุก กลอย ฯลฯ )
หมูป่า สัตว์เลื้อยคลานประเภทต่าง ๆ และน้ำผึ้ง



ชนเผ่า Sentinelese ที่ปฏิเสธโลกภายนอก
ที่มาของภาพ http://goo.gl/19hZ68

อินเดียประกาศว่ามีอำนาจอธิปไตยเหนือเกาะเซนติเนลเหนือ
แต่มั่นใจได้เลยว่า ชาวเกาะแห่งนี้ไม่รู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้
เพราะตั้งแต่ที่อินเดียพยายามจะผูกมิตรกับชนเผ่านี้
หลายต่อหลายครั้งแล้วตั้งแต่ปี 1964(2507)
สุดท้ายอินเดียต้องสั่งยกเลิกปฏิบัติการทั้งหมด
รัฏฐนาวีอินเดียประกาศเขตหวงห้ามระยะทาง 3 ไมล์ทะเลจากเกาะแห่งนี้
ห้ามบรรดานักท่องเที่ยว นักสำรวจ หรือ พวกอยากรู้อยากเห็น
เข้าไปใกล้เกาะหรือขึ้นบนเกาะนี้โดยเด็ดขาด (ไม่รับรองความปลอดภัย)
เพราะอุบัติเหตุหลายครั้งที่เกิดขึ้น ไม่มีใครตายดีสักคน

มีเรื่องราวบอกเล่าหลายเรื่องที่น่ากลัวเกี่ยวกับชนเผ่าเซนตินนีเลส
คนที่รอดชีวิตกลับมาได้ไม่บาดเจ็บสาหัส
ก็ต่างหวาดกลัวอย่างถึงที่สุด หรือไม่ก็ตายไปเลย
ในปี 1896(2439) นักโทษที่ลงเรือหลบหนีจากคุกอังกฤษในหมู่เกาะอันดามัน
เรือนักโทษรายนี้ได้แวะบนชายฝั่งเกาะเซนติเนลเหนือ
อีกไม่กี่วันต่อมา บรรดาผู้คุม/ผู้ติตตามที่ตามล่าหานักโทษ
พบ..พนักโทษบนชายหาดมีร่องรอยถูกเชือดคอและถูกยิงด้วยธนู


ชนเผ่า Sentinelese ที่ปฏิเสธโลกภายนอก
ที่มาของภาพ http://goo.gl/ANxj80

ในปี 1974(2517) มีกลุ่มนักถ่ายทำสารคดี
National Geographic พร้อมกองกำลังตำรวจติดอาวุธ
ได้เดินทางไปยังเกาะแห่งนี้เพื่อถ่ายทำสารคดีชนเผ่านี้
มีการผูกมิตรก่อนด้วยการมอบหม้อ กะทะ ตุ๊กตา มะพร้าว หมูตัวเป็น ๆ
แต่ถูกต่อต้านโดยชาวเกาะต่างปาหอกและยิงธนูเข้าใส่ตลอดเวลา
ไม่นานผู้อำนวยการสร้างหนังสารคดีเรื่องนี้ในระหว่างการถ่ายทำสารคดี
ถูกยิงด้วยธนูยาว 8 ฟุตปักบนท่อนขาข้างซ้าย
แม้ว่าไม่ตายแต่ต้องยุติการถ่ายทำสารคดีทั้งหมด

เมื่อเรือบรรทุกนักถ่ายทำสารคดีวิ่งออกจากเกาะ
ทุกคนต่างหันไปมองข้างหลังจะพบเห็นว่า
ชาวเกาะต่างได้ฉีกตุ๊กตาออกเป็นชิ้น ๆ รวมทั้งหมูตัวเป็น ๆ
แล้วฝังของขวัญทั้งหมดลงบนพื้นดิน
พร้อมกับชูหอก ชูธนู โห่ร้องด้วยความยินดี
ที่ได้ขับไล่คนภายนอกออกจากเกาะแห่งนี้ได้
โชคดีที่ได้ถ่ายทำเรื่องราวสารคดีบางส่วนไว้ได้
ในเรื่อง คนค้นคน Man in Search of Man

(ถ้าลูกธนูปักบนหัวเข่า ต้องพูดเหมือนเกมส์ The Elder Scrolls: Skyrim
ข้าเคยเป็นนักผจญภัยเหมือนเจ้า จนกระทั่งโดนธนูปักที่หัวเข่า
I used to be an adventurer like you, then I took an arrow in the knee.)


ชนเผ่า Sentinelese ที่ปฏิเสธโลกภายนอก
ที่มาของภาพ http://goo.gl/rlXoTz

ชนเผ่า Sentinelese ที่ปฏิเสธโลกภายนอก
ที่มาของภาพ http://goo.gl/FMJFq4

นักมนุษยวิทยาชาวอินเดีย ที.เอ็น. บัณฑิต T.N. Pandit
ได้เสนอรัฐบาลอินเดียหลายต่อหลายครั้งแล้วให้ช่วยสนับสนุน
โครงการเดินทางไปยังเกาะแห่งนี้ในช่วงปลายปี 1980(2523) ถึงต้นปี 1990(2533)
" บางครั้ง ถ้าพวกชนเผ่านี้หันหลังให้ แล้วหย่อนตะโพกลงเหมือนนั่งขึ้
นั่นแสดงว่าพวกเขาไม่ยินดีต้อนรับพวกเรา ” บัณฑิตกล่าว

มีเรื่องที่น่าประหลาดใจ คือ มีเพียงครั้งแรกและครั้งเดียว
ที่กลุ่มนักวิจัยที่เป็นคนภายนอกได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี
จากชนเผ่านี้โดยไม่มีอาการเกรี้ยวกราด/ไม่พอใจ
ในวันที่ 4 มกราคม 1991(2534) มีผู้ชาย ผู้หญิงและเด็กรวม 28 คน
ได้เผชิญหน้ากับบัณฑิตและสมาชิกโครงการวิจัย
" พวกเขาเดินมาพบพวกเราอย่างเป็นธรรมชาติ มันเป็นเรื่องที่เหลือเชื่อ
หรือพวกเขาตัดสินใจแล้วว่า ถึงเวลาแล้ว(ที่จะพบปะคนอื่นบ้าง) "

หมายเหตุ
เรื่องเล่าค่อนข้างไร้สาระ(แก้เครียด)
เคยพบเห็นแม่ค้าในตลาดสด ห.ใ. เวลาทะเลาะด่าทอกัน
มักจะด่าว่า วานแด่ หรือ วานกูเด่
ถ้าใครถลกผ้าถุงแล้วโชว์วานให้ฝ่ายตรงข้ามที่ทะเลาะด้วยเห็น
(อาจจะนุ่งกางเกงใน หรือเห็นวานกระดำกระด่าง)
คนถกวานก่อนถือว่าได้รับชัยชนะเชิงสัญลักษณ์แล้ว
แม้ว่าจะเถียงข้าง ๆ คู ๆ หรือไม่มีเหตุผลชนะก็ตาม
ทั้งนี้กองเชียร์จะมอบชัยชนะให้กับคนถกวานก่อน
แล้วส่วนมากคนที่โต้เถียงด้วยมักจะหยุดพูด/เงิบไปเลย
แต่ตอนนี้ไม่ค่อยเห็นพฤติกรรมแบบนี้แล้ว


ชนเผ่า Sentinelese ที่ปฏิเสธโลกภายนอก
เรือชาวประมงที่ถูกยึดโดยชนเผ่าเซนตินนีเลส
ที่มาของภาพ http://goo.gl/2Sye7nl


แต่โชคร้าย การพบปะในครั้งสุดท้ายของคนภายนอกกับชาวเกาะในปี 2006(2549)
กลายเป็นเรื่องคอขาดบาดตาย ชาวประมง 2 คนถูกฆ่าตาย
ในขณะที่แอบไปทำการประมงภายในเขตหวงห้ามของเกาะแห่งนี้ (ตามประกาศรัฏฐนาวีอินเดีย)
สันนิษฐานว่า กินเหล้าเมามายแล้วหลับในเรือที่แวะจอดที่ชายฝั่งเกาะแห่งนี้


ชนเผ่า Sentinelese ที่ปฏิเสธโลกภายนอก
ที่มาของภาพ http://goo.gl/zwiFxG

ชนเผ่า Sentinelese ที่ปฏิเสธโลกภายนอก
พื้นที่เกาะประมาณ 72 ตร.กิโลเมตร หรือ 45,000 ไร่
ที่มาของภาพ http://goo.gl/Ym8Xb1


ชาวเซนตินนีเลส
น่าจะเป็นชนเผ่าที่ไร้การติดต่อกับโลกภายนอก
ที่ยังหลงเหลืออยู่ในโลกใบนี้ที่ไม่สนใจกับโลกาภิวัฒน์
แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ดีที่ชนเผ่านี้ควรอยู่ตามลำพัง
แต่ก็มีรื่องที่ไม่ดีเช่นกัน
เพราะการไม่ติดต่อกับโลกภายนอก
อาจจะไม่มีภูมิคุ้มกันโรคหลายชนิด
รวมทั้งการปรับตัวให้เข้ากับโลกสมัยใหม่
จะกลายเป็นเรื่องที่ยากลำบากมากเช่นกัน

เรื่องราวชนเผ่านี้เป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจ
แม้ว่าชนเผ่านี้จะมีวัตถุประสงค์ที่แปลกแยกกับโลกภายนอก
ชนเผ่าเซนตินนีเลสไม่ต้องการความช่วยเหลือใด ๆ
มีพฤติกรรมที่ทำให้หลายคนอยากรู้อยากเห็น
ชนเผ่านี้มีมุมมองคนภายนอกและโลกภายนอกอย่างไร
ชนเผ่าเรียกตนเองว่าอย่างไร
ชนเผ่านี้พอใจหรือไม่
ที่เรียกพวกเขาว่า เซนตินนีเลส Sentinelese

หมายเหตุ
นักประวัติศาสตร์ชาตินิยมชาวละตินอเมริกา
เชื่อตามตำนานชาวอินเดียแดง/ชนเผ่าอินคา
ที่เล่ากันว่า พวกผิวขาวมอบหรือโยนทิ้งผ้าห่ม
ที่ปนเปื้อนเชื้อหวัดหรือไข้ทรพิษ
ให้กับชาวอินเดียแดง/ชนเผ่าอินคา
ทำให้ล้มหายตายจากไปเป็นจำนวนมาก
เพราะไม่มีภูมิคุ้มกันโรคพวกนี้เลย
น่าจะเป็นต้นแบบอาวุธชีวภาพครั้งแรก



ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=ExdEHU02Zk0
Sentinelese Contact with Indians
การมอบมะพร้าวให้กับชนเผ่าบนเกาะนี้





เครดิต : http://www.oknation.net/blog/ravio/2014/03/30/entry-1