กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: ภาพถ่ายธรณีวิทยา ที่ได้รับรางวัล

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    ภาพถ่ายธรณีวิทยา ที่ได้รับรางวัล


    ********************
    ภาพถ่ายธรณีวิทยา ที่ได้รับรางวัล
    ********************




    ภาพถ่ายที่ได้รับรางวัล ประเภท DSLR ภาพถ่ายธรณีวิทยา


    ภาพชนะรางวัล การประกวดภาพถ่ายธรณีวิทยา จัดโดย สมาคมธรณีวิทยาแห่งประเทศไทย


    รางวัลชนะเลิศ


    ภาพ อลังการถ้ำจอมพล ของ นายพิชญวัฒน์ ปรุงศักดิ์

    คำอธิบาย

    ถ้ำจอมพลเป็นถ้ำที่มีความงดงามของหินงอหหินย้อยเป็นอย่างมาก และไฮไลท์สำคัญของถ้ำจอมพลก็คือเมื่อถึงเวลาที่แสงแดดสาดทะลุปล่องถ้ำด้านบนลงมาจะเป็นลำแสงทอดยาวสวยงามมากในถ้ำแห่งนี้

    สถานที่ ถ้ำจอมพล อ.เมือง จ.ราชบุรี



    [ภาพถ่ายธรณีวิทยา ที่ได้รับรางวัล


    ++++++++++++++++++++++++++++++



    รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1


    ภาพ ลวดลายจากการกัดกร่อน ของ นายรัฐ จิตต์รัตนะ


    คำอธิบาย


    น้ำตกถ้ำพระเป็นน้ำตก 2 ชั้นขนาดใหญ่ ชั้นที่ 1 กว้างประมาณ 80 เมตร สูงประมาณ 15 เมตร ชั้นที่ 2 กว้างประมาณ 80 เมตร สูงประมาณ 20 เมตรบริเวณน้ำตกถ้ำพระเป็นหินทรายสีแดงเนื้อหยาบปานกลางถึงละเอียด ชั้นหนา แสดงชั้นเฉียงระดับ บ่งบอกถึงการสะสมตัวและตกตะกอนจากแม่น้ำที่พัดพาตะกอนมาสะสมตัวเป็นครั้งคราวสลับกับการพัดพาของลมในภูมิอากาศแบบกึ่งแห้งแล้งถึงแห้งแล้ง จากการลำดับชั้นหินพบว่าอยู่ในหมวดหินภูทอก อายุครีเทเชียสตอนบน (ประมาณ 97-65 ล้านปีก่อน) ลักษณะโดดเด่น หินทรายบริเวณลานด้านหน้าผาน้ำตกถูกกัดเซาะโดยสายน้ำและเม็ดกรวดทรายในฤดูน้ำหลากไปตามรอยแตกผ่านโครงสร้างชั้นเฉียงระดับในเนื้อหินทราย ของชุดหินภูทอก จนทำให้ปรากฎเป็นลวดลายที่ถูกรังสรรค์โดยธรรมชาติ เป็นลักษณะคดโค้งสวยงามแปลกตาอยู่บนลานหิน

    สถานที่ น้ำตกถ้ำพระอยู่ในพื้นที่ บ้านถ้ำพระ ตำบลโสกก่าม อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ พิกัดที่ 0393340ตะวันออก 2006069 เหนือ ระวางแผนที่อำเภอศรีวิไล (5745 II)



    ภาพถ่ายธรณีวิทยา ที่ได้รับรางวัล


    ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


    รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2


    ภาพ ซุ้มรักนิรันด์ ของ นางสาว นภัค ศีติสาร


    คำอธิบาย


    สะพานหินธรรมชาติอันเกิดจากการกัดเซาะทางธรรมชาติเป็นเวลานาน

    สถานที่ เกาะใข่ จ.สตูล เดินทางโดยเรือโดยสารจากท่าเรือปากบารา ใช้เวลาราวๆ 40 นาที



    ภาพถ่ายธรณีวิทยา ที่ได้รับรางวัล



    ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


    รางวัลชมเชย




    รางวัลชมเชย

    ภาพ หินรูปเรด้า อช.ป่าหินงาม ของ นายรัฐ จิตต์รัตนะ



    คำอธิบาย

    ป่าหินงามมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 200 ไร่ หินที่มีรูปร่างต่างๆส่วนใหญ่ที่พบในบริเวณนี้เป็น หินชั้นในหมวดหินพระวิหาร มีลักษณะเป็นหน้าผาสูงชัน วางตัวต่อเนื่องอยู่บนหมวดหินภูกระดึง มีความลาดเอียงไปทางทิศตะวันออก ด้วยมุมเอียงเทประมาณ 10 องศา ประกอบด้วย ชั้นหินทรายเนื้อควอรตซ์ (Quartzitic sandstone) หินทราย และหินทรายปนกรวด(Conglomeratic sandstone) สลับกับหินทรายแป้ง การเกิด ปฏิมากรรมที่ป่าหินงาม เป็นกระบวนการผุพังตามธรรมชาติของชั้นหินทราย ที่เกิดจากการกัดเซาะของน้ำ ลม และแสงแดด มีผลทำให้เนื้อหินผุกร่อน แตกหลุด และถูกนำพาออกไปจากชั้นหิน ทำให้หินส่วนที่เหลือ ซึ่งมีความคงทนกว่า มีรูปร่างแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของความคงทนต่อการกัดกร่อนที่ไม่เหมือนกัน นอกจากนี้ ลักษณะของโครงสร้าง รอยแตก รอยแยก รากพืชที่ชอนไชเข้าไปตามรอยแตกรอยแยกของหิน รวมทั้งซากพืชที่เน่าเปื่อย ก็เป็นตัวเร่งให้เกิดการผุพังของหินมากขึ้น และมีรูปร่างต่าง ๆ กันออกไปมากยิ่งขึ้น

    สถานที่ พื้นที่ทำได้โดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 201 (ชัยภูมิ - บ้านหนองบัวโคก) เลี้ยวขวาที่ทางแยกบ้านหนองบัวโคก เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 205 (หนองบัวโคก - ชัยบาดาล) ถึงอำเภอเทพสถิต ระยะทางประมาณ 112 กิโลเมตร ก่อนถึงตัวอำเภอเทพสถิต ให้เลี้ยวขวาเข้าเส้นทางสาย 2354 แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางไปป่าหินงามที่ประมาณกิโลเมตรที่ 17 ไปอีกประมาณ 15 กิโลเมตร จะถึงแหล่งท่องเที่ยวป่าหินงาม หรือจะมาจากทางอำเภอบ้านเขว้าก็ได้โดยใช้เส้นทางสาย 225 (ชัยภูมิ-บึงสามพัน) ไปเลี้ยวซ้ายเส้นทางสาย 2354 ซึ่งไปผ่านบ้านซับใหญ่แล้วไปเลี้ยวขวาที่ประมาณกิโลเมตรที่ 17 ไปป่าหินงาม



    ภาพถ่ายธรณีวิทยา ที่ได้รับรางวัล




    รางวัลชมเชย

    ภาพ แหล่งรอยเท้าไดโนเสาร์ท่าอุเทน ของ นายรัฐ จิตต์รัตนะ



    คำอธิบาย

    ประกอบด้วยหินทรายสีน้ำตาลแกมแดงสลับชั้นกับหินทรายแป้งและหินโคลนสีเดียวกันพบรอยริ้วคลื่นและระแหงโคลนจำนวนมากบนผิวหน้าของชั้นหินแสดงถึงสภาวะแวดล้อมโบราณระหว่างการสะสมตะกอนแบบที่ราบริมฝั่งแม่น้ำชั้นหินในบริเวณนี้ทั้งหมดจัดอยู่ในหมวดหินโคกกรวด มีอายุประมาณ 100 ล้านปี

    สถานที่ อยู่ที่ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212 (ระหว่าง อ.ท่าอุเทน-อ.บ้านแพง) ประมาณกิโลเมตรที่ 257 บ้านพนอมทุ่ง ตำบลพนอม อำเภอท่าอุเทน บริเวณพิกัด 0434330 ตะวันออก 1958852 เหนือ ระวาง 5844 II อำเภอศรีสงคราม



    ภาพถ่ายธรณีวิทยา ที่ได้รับรางวัล



    รางวัลชมเชย

    ภาพ เสาหินบะซอลต์ยักษ์ เขาพระอังคาร ของ นายรัฐ จิตต์รัตนะ



    คำอธิบาย


    ลักษณะธรณีวิทยาแหล่งแร่ของแหล่งหินบะซอลต์เขาพระอังคาร พบใต้พื้นดินจากการขุดทำเหมืองหิน แบ่งได้ 6 ชั้นจากบนลงล่างประกอบด้วย ชั้นบนสุดเป็นตะกอนดิน ทราย อายุควอเทอร์นารี ชั้นที่สองเป็นหินบะซอลต์เนื้อโพรงข่าย เนื้อหินผุ สีน้ำตาลแดงถึงเทาแดง หนาประมาณ 6 เมตร ชั้นที่สามเป็นหินบะซอลต์สีเทาดำ รูพรุนน้อย รอยแตกน้อย หนาประมาณ 3 เมตร ชั้นที่สี่ เป็นหินบะซอลต์สีเทาดำถึงดำ เนื้อดอก (porphyritic texture) แน่น รอยแตกน้อย หนาประมาณ 9 เมตร ชั้นที่ห้า พบดินปนทรายหนาประมาณ 6 เมตร และชั้นล่าง สุดเป็นดินดานสีเทา ความหนารวมโดยประมาณของหินบะซอลต์แหล่งนี้ระหว่าง 18-21 เมตร หินมักแสดงการแตกคล้ายเสาเหลี่ยม (columnar joints) อย่างชัดเจน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เมตร

    สถานที่ อยู่ในพื้นที่แหล่งหินบะซอลต์เขาพระอังคารอยู่บริเวณด้านทิศตะวันออกของอำเภอนางรอง และด้านตะวันตกของอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขารูปฝาชีคว่ำฐานกว้างและที่ลาดเชิงเขา ความสูงของพื้นที่ประมาณ 200-220 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ครอบคลุมพื้นที่ 103.3 ตารางกิโลเมตร อยู่ในแผนที่ภูมิประเทศของกรมแผนที่ทหาร มาตราส่วน 1:50,000ลำดับชุด L7018 ระวางนางรอง (5538II)



    ภาพถ่ายธรณีวิทยา ที่ได้รับรางวัล




    รางวัลชมเชย

    ภาพ ละลุ มหัศจรรย์แห่งธรรมชาติ 2 ของ นายวีระยุทธ พิริยะพรประภา



    คำอธิบาย

    ละลุ เกิดจากน้ำฝนที่กัดเซาะและการพังทลายของดินและยุบตัวส่วนดินที่แข็งจะยังคงอยู่ เมื่อถูกลมกัดกร่อนจะมีลักษณะเป็นรูปต่างๆดูคล้ายกับกำแพง เมืองหน้าผาโดยใช้เวลาตั้งแต่ 20,000-50,000 ปีการสะสมของตะกอนดินใช้เวลาถึง 150 ล้านปี ละลุตั้งอยู่บนเนื้อที่ 2,000 ไร่คำว่า "*ละลุ*" เป็นภาษาเขมร แปลว่า "*ทะลุ*

    สถานที่ ละลุ จังหวัดสระแก้ว



    ภาพถ่ายธรณีวิทยา ที่ได้รับรางวัล




    รางวัลชมเชย

    ภาพ มอหินขาว สโตนเฮนจ์เมืองไทย ของ นางสาว ปิยะดา สุทธิปัญโญ



    คำอธิบาย


    เป็นหินทรายสีขาว(หินตะกอน)วางเรียงราย อยู่ในช่วงยุคจูแรสสิค-ครีเทเซียส (อายุ 195-65 ล้านปี)จัดอยู่ในกลุ่มหินโคราช ประกอบด้วยหมวดหินภูกระดึงและหมวดหินพระวิหาร มอหินขาวเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเปลือโลก ทำให้เกิดการคดโค้งและแตกหักของชั้นหิน รวมทั้งการผุพังกัดเซาะจากน้ำฝนและน้ำไหลล้นตามผิวดิน เกิดเป็นหินรูปร่างแตกต่างกันไปตามที่เห็นในปัจจุบัน


    สถานที่ เส้นทางหลวงหมายเลข 2051 ถนนสายชัยภูมิ-ตาดโตน อุทยานแห่งชาติภูแลนคา บ้านวังคำแคน หมู่9 ต.ท่าหินโงม อ.เมือง จ.ชัยภูมิ



    ภาพถ่ายธรณีวิทยา ที่ได้รับรางวัล



    รางวัลชมเชย

    ภาพ ลานหินปุ่ม ของ นายไพบูลย์ พรบัญชา



    คำอธิบาย


    เป็นลานหินตะปุ่มตะป่ำสีขาวอมเทา เป็นหินในหมวดหินภูพาน กลุ่มหินโคราช ยุคครีเทเชียส ซึ่งประกอบด้วยหินตะกอนประเภทหินทรายเป็นส่วนใหญ่ มีธรณีสัณฐานที่เกิดจากการผุพัง (weathering) และการกร่อน (erosion) ได้หินรูปร่างแปลกตามากมาย เป็นการกร่อนและผุพังตามแนวรอยแตกบนพื้นผิวของชั้นหินทราย

    สถานที่ อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ตำบลเนินเพิ่ม อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก



    ภาพถ่ายธรณีวิทยา ที่ได้รับรางวัล



    ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


    หมายเหตุ


    DSLR คือ

    กล้อง DSLR มาจากคำว่า digital single lens reflex
    เป็นกล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยวด้วยระบบดิจิตอล
    มีลักษณะเหมือนกล้องที่ใช้ฟิล์ม
    เพียงแต่ใช้เซ็นเซอร์ในการรับภาพแทนฟิล์ม


    ซึ่งก็คือ กล้องชนิดหนึ่งในกล้องดิจิตอล
    ที่สารถถ่ายภาพต่างๆได้สวยงาม
    มีเลนส์ต่างๆมากมาย เพื่อให้ได้ภาพที่ชัด
    บางรุ่นมีขนาดใหญ่โต เนื่องมาจากเลนส์ที่มีขนาดใหญ่ และหนัก

    แต่ก็ทำให้ภาพที่ออกมานั้นสวยมากกว่ากล้องดิจิตอลธรรมดา
    แต่ก็มีราคาที่สูงขึ้นไปตามลำดับ

    กล้อง DSLR จะสามารถปรับรูปภาพได้
    มีลูกเล่นตามแต่ต้องการมากขึ้นไปมากกว่ากล้องดิจิตอลโดยทั่วไป เช่น
    ถ่ายภาพสัตว์ขนาดเล็ก ถ่ายภาพระยะไกล

    ปรับโฟกัสได้ตามที่เราต้องการ สามารถตั้งค่าได้ในระบบอัตโนมัติและระบบแมนนวล ตามความต้องการ

    มีเซ็นเซอร์ปรับระดับได้ นิยมใช้ในหมู่นักเล่นกล้อง
    หรือว่า นักเริ่มเล่นกล้องก็สามารถทำได้
    เพราะสำหรับกล้องดิจิตอล DSLR นั้น
    ไม่ได้มีเอาไว้สำหรับบันทึกภาพอย่างเดียวเท่านั้น
    แต่ยังสามารถใช้ได้ในการถ่ายภาพเพื่อความสวยงามอย่างจริงจังได้ด้วย
    ได้ภาพที่เสมือนจริงมากกว่า กล้องดิจิตอลโดยทั่วไปนั่นเอง






    ขอบคุณ

    GeoThai.net
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  2. #2
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ เปี๊ยกครับ
    วันที่สมัคร
    Apr 2012
    กระทู้
    156
    ขอบคุณครับที่นำสิ่งดีๆมาแบ่งปันให้ศึกษา เมืองไทยยังมีสิ่งที่สวยงามอีกมากมาย

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •