เรียนรู้เรื่อง ธาตุทั้ง ๔ กันนะ


เรียนรู้เรื่อง ธาตุทั้ง ๔ กันนะ ครั้งที่ ๒

๒. โลมา(ขน ) เป็นเส้นที่งอกขึ้นอยู่ทั่วร่างกาย ,เส้นขนที่มีความจำกัด ไม่เจริญเติบโต ขึ้นแทรกตามรูขุมขนทั่วบริเวณของร่างกาย ในบริเวณที่ไม่มีชื่อเรียกเฉพาะ เรียกว่า ขน มีทั้งเส้นหยาบ เช่นขนคิ้ว หนวด เครา และขนอ่อนตามใบหน้า,ตามตัว เป็นต้น

• ทำหน้าที่ปกป้องไม่ให้สิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย ขนจะมีหน้าที่ ดักจับฝุ่น ละออง น้ำสิ่งสกปรก ที่มาติดตาม แขนขาเรานี่หล้ะ ขนจะป้องกันได้ 1 ชั้น ถ้าไม่มีขน ฝุ่นเหล่านั้นก็สามารถไปเกาะที่ผิวหนังได้โดยตรง อาจเกิดผื่นคัน แพ้อากาศ ได้ง่าย

• ป้องกันการเสียดสีในร่างกายเช่น ขนรักแร้,ขนอวัยวะเพศ,ขนตามตัว ขนเป็นส่วนที่ทำให้ร่างกายอบอุ่นและปกป้องผิวหนัง ขนคิ้วป้องการเหงื่อเข้าตา ขนจมูกป้องกันฝุ่นละอองเข้าระบบทางเดินหายใจส่วนต้น ขนหนวด-เคราแสดงถึงความเป็นผู้ชาย เป็นต้น

• ช่วยระบายของเสียที่อยู่ภายในกาย ออกมาสู่ผิวกายภายนอกผ่านรูขุมขน
กำเริบ(ทำงานมากเกินไป) เหงื่อไหลเยิ้ม หย่อน(ทำงานน้อยเกินไป) เหงื่อออกน้อย พิการ(สูญเสียหน้าที่)มีอาการ

1.เจ็บตามผิวหนัง เจ็บรูขุมขน ขนลุก,เจ็บทั่วสรรพางค์กาย(มัตถลุงคัง),ขนร่วงจากดานอุตราพิการ

2.รูขุมขนอักเสบ อุดตันทำให้หนังเหมือนมีหนาม ติดเชื้อแบคทีเรียหรือเกิด ไร โลน ขนร่วง ขนดกผิดปกติ

๓. นขา (เล็บ)
คือเล็บ ที่งอกอยู่ตามปลายนิ้วมือ และปลายนิ้วเท้ามีลักษณะแข็งเพื่อรองเนื้อไม่ให้เราเจ็บเวลาหยิบจับของต่างๆ เล็บคือ ส่วนหนึ่งของผิวหนัง มี ลักษณะเป็นแผ่นเกล็ดใส มีหน้าที่คุ้มกันปลายนิ้วมือและนิ้วเท้า อาการที่แสดงออกของเล็บย่อมบ่งบอกถึงสุขภาพของผู้เป็นเจ้าของเล็บ เล็บที่ปกติสมบูรณ์ต้องแข็งแรง ยืดหยุ่น มีสีชมพูอ่อนๆ ผิวบนจะงามเรียบเกลี้ยงโค้ง ปราศจากจุดด่างดำ ตำหนิใดๆ และเล็บมีหน้าที่ให้ความแข็งแรงและปกป้องปลายนิ้ว รูปร่างที่แตกต่างกันเป็น 4 อย่างคือ
1. เล็บรูปสี่เหลี่ยม
2. เล็บรูปไข่
3. เล็บรูปวงกลม
4. และเล็บรูปปลายแหลม

เล็บของเรานั้นมีประโยชน์อะไรกันบ้าง
1. เล็บช่วยป้องกันอันตรายที่จะเกิดต่อนิ้วส่วนปลาย ปลายนิ้วของคนเรานั้นเป็นศูนย์รวมของปลายประสาทที่ชุกชุมอีกแห่งหนึ่ง ทำให้บริเวณปลายนิ้วเป็นส่วนที่ไวต่อการสัมผัส หากใครไม่เชื่อลองเอาเข็มมาจิ้มที่ปลายนิ้วดู แล้วเปรียบเทียบกับการจิ้มที่ผิวหนังบริเวณอื่นของร่างกาย แต่จิ้มแบบพอให้รู้สึกเจ็บก็พอ

2. รับความรู้สึก ทำให้ระบบการรับรู้ความแตกต่างด้วยการสัมผัสดีขึ้น

3. เล็บช่วยให้นิ้วมือสามารถหยิบจับสิ่งของได้ดี โดยเฉพาะสิ่งของที่มีขนาดเล็ก

4. ช่วยบรรเทาอาการคันตามร่างกาย เพราะปลายเล็บที่แข็งจะช่วยให้การเกาเกิดแรงขีดข่วนมากขึ้น

5. ช่วยในการแกะ แงะ สิ่งของต่างๆ แต่ต้องระวังกันด้วยนะคะ อย่าใช้เล็บกับสิ่งของที่แข็งแรงเกินไป เพราะอาจเกิดอันตรายกับเล็บ หรือทำให้เล็บฉีกขาดได้

4. เป็นอาวุธอย่างหนึ่งของร่างกายตามธรรมชาติ เพื่อต่อสู้กับอันตราย เช่นใช้เล็บในการจิก ข่วน

5. ส่วนเล็บนิ้วเท้ามีส่วนช่วยให้การเคลื่อนไหวของเท้าได้ดียิ่งขึ้น

6. เป็นแหล่งข้อมูลต่างๆ ของร่างกาย เช่น
- การเจ็บป่วยของร่างกาย ถ้าร่างกายเกิดการเจ็บป่วยเล็บก็จะหยุดการเจริญเติบโตทำให้เห็นเป็นร่องของเล็บ เป็นอาการแสดงอย่างหนึ่งที่ตรวจพบได้
- ใช้ตรวจหายาหรือสารพิษที่สะสมในร่างกายได้ เนื่องจากยาหรือสารพิษจะมา สะสมที่เล็บ
- ในโรคบางโรคที่เป็นโรคทางเมตาบอลิก (metabolic disease) หรือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของร่างกายในการเปลี่ยนสารอาหารเป็นพลังงาน การตรวจวิเคราะห์เล็บก็ช่วยในการวินิจฉัย หรือติดตามการรักษาได้
- การตัดแผ่นเล็บไปตรวจหาหมู่เลือด, สกัด DNA จากแผ่นเล็บ, หรือตรวจหาลักษณะทางพันธุกรรมจากแผ่นเล็บ เป็นต้น

เล็บบอกโรคดังนี้
1. ลักษณะเล็บบอกโรค คือบริเวณเล็บที่รูปร่างผิดแปลกไปจากเดิม มีหลายลักษณะ ได้แก่

- เล็บที่มีรอยบุ๋ม มักพบในผู้ป่วยโรคเรื้อนกวาง ผู้ที่ผมร่วงเป็นหย่อม หรือผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ผิวหนัง

- เล็บเป็นร่อง หรือเป็นสันยาว อาจบอกให้ทราบถึงความผิดปกติของไต การเจริญเติบโตที่ชะงักงัน ซึ่งอาจเกิดจากการเจ็บป่วยได้

- เล็บหนา อาจบ่งชี้ว่าระบบหลอดเลือดในร่างกายอ่อนแอ และโลหิตไม่สามารถไหลเวียนได้อย่างปกติ

- เล็บแบน อาจบอกให้ทราบว่ากำลังเป็นโรคมือเย็นเท้าเย็น เพราะการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงส่วนนั้นไม่เพียงพอ

- เล็บบาง อาจเป็นสัญญาณของโรคผิวหนังที่มีอาการคัน

- เล็บกว้างสีเหลี่ยม แสดงว่ามีความผิดปกติของฮอร์โมน

- เล็บเป็นลอนตามขวาง อาจเป็นผลมาจากโรคร้ายแรง การขาดสารอาหารหรือฮอร์โมนผิดปกติ

-เล็บเป็นเส้น หากมีลักษณะเป็นเส้นแดงตามยาวอาจเกิดโรคสะเก็ดเงิน โรคข้ออักเสบรูมาทอยด์ หรือความดันโลหิตสูง และถ้าเกิดเส้นขาวตามขวางอาจเกิดจากโรคโลหิตจางแบบซิกเคิลเซลล์ โรคหัวใจ โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรคฮอดจ์กินส์ หรือไตวาย

- เล็บรูปกลม เล็บที่ขึ้นตรงแล้วม้วนรอบปลายนิ้วเป็นสัญญาณของโรคปอด โรคลำไส้ หรือโรคหัวใจ

- ปลายเล็บงอน ส่อถึงอาการของโรคเกี่ยวกับปอด หัวใจ หรือตับ และแม้กระทั่งมะเร็งบางอย่างได้

2. สีเล็บบอกโรค คือ สีที่มีลักษณะผิดไปจากสีปกติของเล็บ อาจบอกให้ทราบถึงโรคที่กำลังป่วย ได้แก่
- เล็บสีเขียวคล้ำ อาจกำลังป่วยเป็นโรคหืดรุนแรง โรคหัวใจ ถุงลมโป่งพอง หรือโรคหลอดลมอักเสบ

- เล็บเหลือง อาจบอกถึงอาการของโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคปอด โรควัณโรค หรือโรคหืด โรคตับ โรคไต หรือต่อมน้ำเหลือง หรือร่างกายขาดวิตามินอี

- เล็บสีน้ำเงิน หากกดบริเวณเล็บแล้วปล่อย เล็บยังคงเป็นสีน้ำเงินซีด อาจมีโอกาสเป็นโรคโลหิตจาง โรคหัวใจ หรือโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินโลหิต

- เล็บสีเทคนิค หากปลายเล็บเป็นสีน้ำตาลชมพู แต่โคนมีสีขาวอาจบอกอาการของโรคไตเสื่อม

- เล็บสีดำ พบในผู้ป่วยโรคลำไส้ผิดปกติ ซึ่งมีจุดดำๆ ตามเนื้อเยื่อของลำไส้ เยื่อบุปาก ริมฝีปาก

- เล็บสีเทา หรือดำคล้ำ พบในคนที่ได้รับยาบางชนิด Phenolphthalein ในยาระบายและยารักษาโรคมาลาเรีย

- เล็บสีขาว บ่งชี้ถึงความผิดปกติของตับและไตหรือโลหิตจาง และถ้าเป็นสีขาวซีด ควรระวังโรคตับอักเสบเรื้อรัง

3. อาการผิดปกติของเล็บบอกโรค คือลักษณะอาการที่มีความผิดปกติของเล็บ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้หลายอย่างในเวลาเดียวกัน ได้แก่

- เล็บเป็นดอกขาว หากมีขึ้นติดต่อกันเป็นแนวตามขวางอาจส่อถึงอันตรายของโรคตับ ร่างกายขาดธาตุสังกะสี หรืออาการถูกสารพิษ เช่น สารหนู

- เล็บล่อน อาจบอกให้รู้ถึงอาการของโรคต่อมไทรอยด์ โรคเรื้อนกวาง หรือการอักเสบจากเชื้อรา

- เล็บขาวซีด อ่อน แบน และบุ๋มเหมือนช้อน มักพบในคนที่เป็นโรคโลหิตจางซึ่งอาจมาจากการขาดธาตุเหล็ก

- เล็บหนากว้าง โค้งมนตามลักษณะของปลายนิ้วที่โตขึ้น และสีออกม่วงคล้ำ พบในผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคตับ และโรคท้องเสียเรื้อรัง

- เล็บเป็นจุดหรือเส้นสีม่วง เกิดจากเส้นเลือดฝอยแตก พบในผู้ป่วยลิ้นหัวใจอักเสบ โรคลิ้นหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดอักเสบ โรคตับ โรคลักปิดลักเปิด

- โคนเล็บเปลี่ยนสีจากสีขาวเป็นสีแดง อาจชี้ให้ทราบว่ามีปัญหาของหัวใจ ถ้าเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ (pale blue) อาจได้รับพิษจากสารเงิน หรือมีปัญหาที่ปอด

- เล็บที่ขึ้นหลุดจากฐานเล็บ พร้อมกับมีจุดขาวปลายเล็บ บ่งบอกว่ามีความผิดปกติของระบบการหายใจ เช่น ถุงลมโป่งพองหรือหลอดลมอักเสบ

4. เล็บบอกอาการขาดสารอาหาร การขาดสารอาหารอาจแสดงออกมาให้เห็นจากเล็บ ได้แก่
- เล็บมีสีซีด บางลง เปราะ เป็นสัน ทำให้ฉีกขาดและบิ่นง่าย คืออาการของคนที่ขาดธาตุเหล็ก

- เล็บสีซีดขาว อาจขาดโปรตีนอย่างรุนแรง

- เล็บฉีกลอกเป็นสะเก็ด คือ อาการของคนที่ขาดกรดไลโนลิอิก (linoleic acid) ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็น

ตำราแผนไทยว่า กำเริบ(ทำงานมากเกินไป) เป็นเล็บคุด หย่อน(ทำงานน้อยเกินไป) เล็บบางเปราะ เล็บเป็นรูปช้อนในผู้ป่วยโรคหัวใจเรื้อรัง
พิการ(สูญเสียหน้าที่)มีอาการ
1. เจ็บที่โคนเล็บ เล็บหลุด เป็นหนองติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา

2. โคนเล็บฟกบวม เป็นตะมอยหรือ เขียว ดำ ห้อเลือด เจ็บช้ำเลือดช้ำหนองให้เจ็บปวดเป็นกำลัง/ ต้นเล็บช้ำดำเขียว(หทัยวัตถุทำงานไม่ได้สะดวก) เป็นต้นค่ะ