*********************
สู่... "ประตูนรก" ในเติร์กเมนิสถาน
*********************





ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=aDJ8XUghYXw



สู่... "ประตูนรก" ในเติร์กเมนิสถาน


สู่... "ประตูนรก" ในเติร์กเมนิสถาน


สู่... "ประตูนรก" ในเติร์กเมนิสถาน



บ่อไฟที่ยังดำรงนิรันดร์
เหมือนดับฝันจากนรก
ร่างร้ายเวียนบรรจบ
ประตูนรกบนดิน


มนุษย์ผู้ทำลาย
คลั่งไคล้เวียนถวิล
ตั้งหน้าล้างธรรมชาติพังพิน
ทรัพย์สินแห่งธรรมต้องทำลาย


ประตูนรกเปิดแง้ม
ใจเต้นแรงระสำสลาย
ดีชั่วตัวตนกาย
จะทำลายหรือเมตตารู้กัน...วันสิ้นลม




สู่... "ประตูนรก" ในเติร์กเมนิสถาน



สถานที่อันน่าสะพรึงกลัวนี้อยู่ใกล้เมืองเล็ก ๆ ที่ชื่อ ดาร์วาส (Derweze) ของประเทศประเทศเติร์กเมนิสถาน ซึ่งค้นพบโดยบังเอิญจากการขุดแก๊สเมื่อ 40 ปีก่อน

"ประตูสู่นรก" (Door to Hell) หลุมขนาดใหญ่มีไฟลุกโชติช่วงมานานถึง 43 ปีแล้ว โดยหลุดดังกล่าวอยู่กลางทะเลทรายคาราคุม ประเทศเติร์กเมนิสถาน แห่งภูมิภาคเอเชียกลาง



โดยคณะนักธรณีวิืทยาของโซเวียต ขณะทำการขุดได้ไปเจอโพรงที่เต็มไปด้วยก๊าซธรรมชาติและแท่นเจาะได้ถล่มลงไปทำให้เกิดเป็นรูขนาดใหญ่ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 70 เมตร

ซึ่งทางคณะนักธรณีวิทยากลัวว่าจะมีก๊าซพิษลอยออกมาเป็นอันตรายต่อผู้คนจึงตัดสินใจที่จะเผาก๊าชธรรมชาติในหลุมนี้ให้หมดสิ้นไป

โดยคิดว่าจะใช้เวลาสี่ถึงห้าวันก็คงจะดับเรียบร้อย แต่ปรากฎว่าไฟในหลุมยังคงลุกไหม้มาจนถึงทุกวันนี้ หลุมประตูนรกนี้เป็นหลุมขนาดใหญ่ซึ่งไปด้วยแก๊สพิษมากมาย


คนท้องถิ่นจะเรียกว่า "The Door to Hell" หรือประตูสู่นรก ประกอบไปด้วยพลังการเผาไหม้เป็นระยะเวลาต่อเนื่องยาวนานมากถึง 40 ปีโดยไม่เคยดับเลยแม้แต่วินาทีเดียว

ทั้งนี้ ในเดือนเมษายน ปี 2010 ประธานาธิปดี Gurbanguly Berdimuhamedow ของ ประเทศเติร์กเมนิสถาน ได้ไปเยือนที่ ประตูนรก แห่งนี้และได้ตัดสินใจจะทำการดับเพลิงและพัฒนาพื้นที่บริเวณนี้เพื่อเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติ

การพังทลายของหลุมขนาด 70 เมตรนี้ ได้เป็นช่องทางให้ก๊าซแทรกขึ้นมายังผิวโลก อันตรายจากก๊าซจึงต้องจุดไฟเพื่อทำการสลายก๊าซเหล่านี้ โดยคาดว่าคงจะดับได้ในไม่นาน แต่จนถึงปัจจุบันหลุมยักษ์นี้ก็ยังคงปล่อยก๊าซออกมาอย่างต่อเนื่องกว่า 42 ปีแล้ว



สู่... "ประตูนรก" ในเติร์กเมนิสถาน



ข้อมูลทางธรณีวิทยา
พื้นที่ส่วนนี้ของประเทศเติร์กเมนิสถาน เป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ เรียกชื่อตามโครงสร้างหินใต้ดินว่า Central Kara Kum Arch

หรือนึกภาพว่าถ้าเราลองผ่าเปลือกโลกตรงนี้ เราจะเห็นชั้นหินซ้อนกันเป็นรูปโดมใต้ดินขนาดใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่กว่า 250 x 150 ตารางกิโลเมตร โดยตรงยอดโดมจะเต็มไปด้วยรอยเลื่อน และรอยแตกเป็นจำนวนมาก

ชั้นหินที่เป็นเป้าหมายของการสำรวจก๊าซคือชุดหินปูนยุคจูแรสซิก และหินทรายยุคครีเทเชียส โดยก๊าซจะพยายามเคลื่อนที่ขึ้นมาที่ยอดโครงสร้างโดม และถูกปิดกั้นไม่ให้ผ่านไปโดยชั้นหินดินดานที่แทรกสลับอยู่



+++++++++++++++++++++++




ขอบคุณ

thairath.co.th
www.manager.co.th
youtube.com
geothai.net