หน้าที่ 3 จากทั้งหมด 3 หน้า หน้าแรกหน้าแรก 123
กำลังแสดงผล 21 ถึง 28 จากทั้งหมด 28

หัวข้อ: เตาชีวมวลเอนกประสงค์ ปิ้งย่างต้มแกงอบนึ่ง Multi-Biofuel Multipurpose Stove

  1. #21
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ หนุ่มลาวสาวขะแมร์
    วันที่สมัคร
    Aug 2012
    ที่อยู่
    รังสิต
    กระทู้
    558

    รูปแบบเบื้องต้นของเตา


    ขอบคุณครับพี่ ขอบพระคุณล่วงหน้าที่ให้ความสนใจ ขอบคุณสำหรับคำขอบคุณจากทุกท่าน
    ไม่มีลิขสิทธิ์ไม่มี know-how อะไรครับ อ่านแล้วเห็นแล้วถ้ามั่นใจว่าใช้ได้ก็เอาไปทำกันได้เลย ผมก็ลอกแบบคนอื่นเขาแล้วมาเช่นกัน
    ผมเน้นนอกจากต้มแกงแล้วให้ใช้ปิ้งย่างได้เท่านั้น แล้วก็ทำจากวัสดุที่พอหาได้ ทำเท่าที่พอคิดประยุกต์ได้ได้รูปแบบจึงออกมาแบบนี้
    ผมยังไม่กล้าทำขายครับ ต้องทดสอบหรือมั่นใจว่าผ่านเรื่องความปลอดภัยรวมถึงความแข็งแรงทนทานคุ้มค่าด้วย


    รูปแบบเบื้องต้นของเตา

    แบบที่ผมทดลองนี้ ทำไม่ยาก มีกระบอกสามชิ้นอย่างที่กล่าวแต่ต้น ระยะต่างๆ กะเอาตามความเหมาะสม
    ตามวัสดุที่มี ถ้าจะออกมาเป็นสูตรเฉพาะตัวผมต้องศึกษามากกว่านี้ครับจึงจะกล้าเขียน

    อธิบายคร่าวๆ ตามรูป
    A มีกระบอกชั้นนอกเป็นตัว frame ของเตา ด้านบนเปิดหมด ด้านล่างปิดหมด
    B กระบอกชั้นกลางทำหน้าที่เป็นอุโมงลม ด้านล่างปิดหรือเปิดก็ได้ ด้านบนต้องมีรูสำหรับเสียบกระบอก C ลงไป
    C กระบอกชั้นในทำหน้าที่เป็น combustion room หรือห้องเผาไหม้ ส่วนล่างเจาะรูไว้สองด้านให้อากาศไหลผ่าน
    ไปยังกระบอกชั้นกลางหรืออุโมงลมได้ ส่วนบนเจาะรูเล็กๆ รอบกระบอกเพื่อเป็นทางลมจากอุโมงลมไหลเข้า(ออก)ได้

    เอากระบอกสามชิ้นวางซ้อนกัน

    D Heat Insulation ระหว่างถังเฟรมหรือกระบอกชั้นนอก A กับกระบอกชั้นกลาง B ใส่ฉนวนกันความร้อนไว้
    ฉนวนที่ราคาถูกน้ำหนักเบาไม่ถือว่าหายากคือแกลบดำครับ

    E ฝาปิดทับบนจากขอบปากกระบอกตัวนอก A ทับผ่านกระบอกตัวกลาง B เลยถึงปากกระบอกตัวใน C
    F ระหว่างกลางของกระบอกชั้นใน C หรือห้องเผาไหม้ ให้ทำบ่าหรือเจาะรูเอาเหล็กตะปูเสียบหรืออะไรก็ได้
    แล้วเอาแผ่นตะแกรง F วางทับลงไปเพื่อรองรับฟืนขนาดสั้นหรือถ่าน
    G แผ่นตะแกรง G วางไว้รับกรณีใช้ฟืนท่อนยาวใส่ช่องด้านล่าง หรือไม่ใช้ตะแกรงก็ได้ วางฟืนทับขี้เถ้าไปเลย
    H แผ่นฝาปิด air shutter ใช้เปิดปิดปรับลมที่จะไหลเข้าไปช่วยในการเผาไหม้
    J ช่องทางเข้าของลมที่จะช่วยในการเผาไหม้และทำหน้าที่เป็นช่องสำหรับใส่ฟืนท่อนยาวด้วย
    K ลมที่ไหลผ่านเข้าไปในอุโมงลมและจะไหลออกที่รูของกระบอกชั้นในที่เจาะไว้
    ไหลด้วยหลักของอากาศร้อนความหนาแน่นต่ำจะไหลขึ้นบน

    N อากาศจะไหลเมื่ออุณภูมิในเตาสูงขึ้น อากาศร้อนไหลขึ้นอากาศเย็นไหลเข้าไปแทนที่(เขาว่าไว้อย่างนั้นนะครับ)
    Q เมื่อมีการเผาไหม้ในห้องเผาไหม้ การเผาไหม้จะยังไม่สมบูรณ์ดีนักเพราะถูกจำกัดด้วยปริมาณอากาศและขนาดของห้องเผาไหม้
    เชื้อเพลิงยังหลงเหลืออยู่ในรูปของแก๊ส เมื่อแก๊สไปเจออากาศที่ไหลจากอุโมงลมที่ไหลวกเข้ามาในกระบอกห้องเผาไหม้
    ประกอบกับอุณหภูมิสูงอยู่แล้วก็จะเกิดการเผาไหม้ขึ้นอีกครั้ง หรือแก๊สจากการเผาไหม้ไหลลงไปเข้าอุโมงลมแล้วไหลย้อนตามลมขึ้นมา
    แต่ถ้าเชื้อเพลิงเป็นถ่านก็จะไม่มีเปลวหรือเกิดการเผาไหม้ขึ้นอีกเพราะแก๊สจากเนื้อไม้ได้ระเหยไปในขบวนการเผาถ่านหมดแล้ว

    M เนื่องจากถังที่หาได้ค่อนข้างสูง จึงเหลือส่วนบนไว้ให้ทำหน้าที่เป็นกำบังลมซึ่งถือว่าเป็นข้อดี
    S คือขี้เถ้าจากการเผาไหม้ เมื่อเห็นว่าขี้เถ้าเต็มก่อนจุดเตาก็ใช้มือหรือทับพีเก่าตักออก

    ห้องเผาไหม้ C กรณีใช้กระป๋องสีขนาดสั้น ก็ไม่ต้องมีตะแกรง(F) เจาะรูข้างถังก้นถังแทนตะแกรงไปเลย
    ก็มีเพียงเท่านี้ครับ มีขาตั้งหม้อก็ซื้อมาวางได้เลย ส่วนตะแกรงปิ้งย่างก็อย่างในรูปทำเสริมเอาตามชอบ
    ตัวต่อไปผมตั้งใจจะเอากะละมังเลสก้นลึกใบร้อยสองร้อย ใบล่างเจาะก้นวางบนเตาวางตะแกรง อีกใบทำหูจับคว่ำทับไปเลย

    หลักการของการเผาไหม้ผมก็อ่านเจอเดาเอาบ้าง อธิบายผิดหรือผิดหลักการก็ต้องขออภัย
    ที่เป็นวิชาการเปิดหาตามหน้าเพจมีคนเขียนไว้เยอะครับทั้งไทยและเทศ
    ผมหาดูแล้วเยอะมากไม่รู้จะเอาแบบไหน สรุปลอกเขาบ้างใส่ของตัวเองลงไปบ้าง ทำตามความจำเป็นในการใช้งานและวัสดุที่หาได้


    รูปแบบเบื้องต้นของเตา

    ตัวที่สามที่จะลอง เนื่องจากปัญหาจากตัวที่ผ่านมา ผิวเปลือกเตาชั้นนอกค่อนข้างร้อนเวลามือสัมผัส
    ผมจะเจาะช่องอากาศให้อากาศไหลเข้าด้านหลังของอุโมงลม แบบเดิมที่อากาศไหลเข้าทางช่อง J
    แล้วทะลุไปฝั่งตรงข้าม อากาศจะรับไอร้อนจากใต้ตะแกรง F มาด้วย ทำให้ไอร้อนแผ่ถึงผนังเตา A ด้านนอก
    อากาศจากช่อง T ช่วยเผาในการไหม้ขณะเดียวกันก็เป็น heating air seal หรือเป็นฉนวนไปในตัว ลอกเขามาเช่นกัน
    ได้ผลหรือไม่ต้องรอทดสอบ


    เลือกใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษบ้างเพื่อให้ข้อความสั้นลง อาศัยเปิด dict ไทย-อังกฤษครับ


    ที่ตอบได้ตอนนี้ก็เท่านี้ครับ ขอบคุณครับ



  2. #22
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ ชัย หมอแคน
    วันที่สมัคร
    Jan 2010
    ที่อยู่
    มณฑลอานสี
    กระทู้
    407
    บล็อก
    3
    เจ๋งฝุดฝุด.........สุดยอดครับ

  3. #23
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ หนุ่มลาวสาวขะแมร์
    วันที่สมัคร
    Aug 2012
    ที่อยู่
    รังสิต
    กระทู้
    558

    อุณหภูมิในเตา 1000 องศาเซ็นซียส

    ยังสรุปไม่ได้ลองเรียนรู้ไปเรื่อยๆ ถือเป็นการศึกษาหาความรู้ใส่ตัว อย่าว่ากันนะครับ
    คราวนี้ได้คำตอบมาอีกหนึ่งคำตอบคือ วัสดุที่จะนำมาทำห้องเผาไหม้นั้นต้อง"ทน"อุณหภูมิได้ถึงหนึ่งพันองศา


    อุณหภูมิในเตา 1000 องศาเซ็นซียส

    การจุดเตาที่ว่ายากพอแก้ได้ วิธีการคือไล่อากาศเย็นออกจากห้องเตา ทำให้เตาอุ่นส่งผลให้อากาศไหล
    โดยจุดกระดาษใส่ลงไปแล้วจึงใช้ฟืนเล็กๆ วางทับเบาๆ
    หรือจะเอาฟืนเล็กๆ วางสางไว้บนตะแกรงเตาแล้วขยำกระดาษจุดลงไปสองสามแผ่น ถ้าฟืนไม่เปียกก็ติดง่ายครับ
    พอเห็นฟืนเล็กติดไฟดีแล้วก็ใส่ฟืนใหญ่ลงไป ขั้นตอนนี้ใช้เวลาสองสามนาที
    ถ้าจุดฟืนใส่ลงในเตาทันทีจะติดยากหรือควันมากในช่วงแรก ถ้ามีไม้เล็กๆ ไว้จุดล่อไฟก็พอได้
    เป็นวิธีที่ป้องกันการเกิดควันโขมงรบกวนเพื่อนบ้านได้ดีครับ



    อุณหภูมิในเตา 1000 องศาเซ็นซียส

    ทดลองหลายๆ วิธีและก็นำมาเล่าสู่กันฟัง
    เศษไม้จากงานก่อสร้างทั่วไป ไม้เนื้อแข็งน้ำหนักเบา ยังให้อุณหภูมิการเผาไหม้เกิน 800 องศาซี



    อุณหภูมิในเตา 1000 องศาเซ็นซียส

    ใส่ถ่านเหมือนครั้งก่อน อุณหภูมิที่เปลวเหนือก้อนถ่านขึ้นเกือบถึงหนึ่งพันองศาซี
    พึ่งรู้เหมือนกันครับว่าเตาถ่านไม้ธรรมดาร้อนได้เป็นพันองศา ตัววัด error ไม่เกิน 1% ถือว่าเชื่อได้ครับ
    ที่ผนังเตาด้านนอกจับแล้วร้อนมือเนื่องจากอุณหภูมิในเตาร้อนจัด ฉนวนหนาเพียงห้าเซนต์ยังแก้ไม่ได้
    เป็นปัญหาให้คิดต่อ
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย หนุ่มลาวสาวขะแมร์; 09-09-2014 at 20:56.

  4. #24
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ หนุ่มลาวสาวขะแมร์
    วันที่สมัคร
    Aug 2012
    ที่อยู่
    รังสิต
    กระทู้
    558

    อยากรู้อุณภูมิมของเตาแก๊ส



    อยากรู้อุณภูมิมของเตาแก๊ส

    สงสัยมานานว่าอุณภูมิของเตาแก๊สที่เราใช้ต้มแกงอยู่ทุกวันมันร้อนถึงเท่าไหร่กัน
    ลองวัดดู แก๊สเต็มถังพึ่งเปลี่ยน เปิดวาล์วที่ถังเต็มที่ หมุนลูกบิดปรับไฟที่หัวเตาจน(ซ้าย)สุด
    ตัววัดตัวเดียวกัน อุณภูมิที่เปลวขึ้นไปสูงสุดที่ 850 องศาซี พอๆ กัน แต่แก๊สดีกว่าตรงที่ทันใจไม่มีควัน



  5. #25
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ หนุ่มลาวสาวขะแมร์
    วันที่สมัคร
    Aug 2012
    ที่อยู่
    รังสิต
    กระทู้
    558

    บ้านมหาโพสต์ แก้ปัญหาผนังเตาร้อน

    แบบที่สามที่กำลังลองนี้ได้เจาะช่องลมเข้าอุโมงด้านหลังเตา เพื่อหวังลดอุณภูมิผนังเตาตามที่คิดไว้
    พอลองแล้ว อุณภูมิในเตาพันองศา ฉนวนใยแก้วหนาห้าเซ็นติเมตรเอาไม่อยู่ เวลาผ่านไปจับที่ผนังเตาร้อนมาก
    กลับมาคิดต่อ ทำอย่างไรจึงจะเก็บแต้มนี้ได้


    แก้ปัญหาผนังเตาร้อน

    เปลี่ยนฉนวนให้ทนอุณภูมิสูงขึ้น เช่นอิฐทนไฟ Firebrick, Rockwool, Insulation cloth , Calcium Silicate ฯลฯ
    หรือวัสดุอื่นๆ ที่มีคุณสมบัติทนไฟได้ดีเป็นพันองศาที่ใช้ในอุตสาหกรรม
    ก็ได้แต่ไม่ดีเพราะไม่ตอบโจทย์ โจทย์ตั้งไว้ว่าน้ำหนักรวมของเตาต้องเบา วัสดุหาง่ายราคาถูก
    ฉนวนที่จะทำจริงและยังไม่ได้ลองคือแกลบดำจะดีไม่ดีก็ต้องเลือกแกลบดำไว้ก่อนเพราะไม่ต้องซื้อ

  6. #26
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ หนุ่มลาวสาวขะแมร์
    วันที่สมัคร
    Aug 2012
    ที่อยู่
    รังสิต
    กระทู้
    558



    กลับมาดูแบบเตา หรือว่าห้องอุโมงลมแคบไปทำให้รังสีความร้อนแผ่ผ่านชั้นฉนวนไปยังผิวผนังเตาด้านนอกได้
    หรือว่าลม(K)อั้น หรือไหลช้า ทำให้รังสีความร้อนแผ่ผ่านอากาศ(ลม)ในอุโมงออกไปผนังเตา(A)ได้เช่นกัน
    ใช่แล้วอัตราการไหลของลมในอุโมงลมน้อยไปทำให้ลมเย็นจากช่อง(T)พาความร้อนออกไปทางปากเตา(Q) ได้ช้า
    สาเหตุคือรู(K)ที่เจาะไว้เล็กไป ไม่เหมาะกับอัตราไหลของลมที่จะเพิ่มขึ้นเมื่ออุณภูมิสูงขึ้น แต่ดีตรงที่เปลวสวยเป็นก้นหอย





    ว่าแล้วก็หาโอกาสทะลวงรูที่ว่านั้นจากขนาด 5 มิลลิเมตร เป็น 6 มิลลิเมตร ผลกลับได้ 8 มิลลิเมตร เพราะดอกสว่านส่าย
    ผลการทดลอง ถ้าใช้ถ่านฟืนต้มปิ้งย่างทั่วไป ผ่านไปครึ่งชั่วโมงผนังเตาจากขอบที่เห็นลงไปข้างล่างยังเย็นถึงอุ่นนิดๆ
    ถ้าใส่ฟืนมากเปลวแรงตลอดเวลา เกินครึ่งชั่วโมงร้อนแต่ก็ไม่ถึงไหม้มือครับ ส่วนที่เลยสันขอบขึ้นไปร้อนมากแตะไม่ได้
    เพราะยังไม่มีฉนวน ต้องคิดหาวิธีต่อไป
    รูสีเหลี่ยมภาพล่างซ้าย คือรูลมเข้า(T) อยู่ตรงข้ามกับช่องใส่ฟืน


    จากหลักการลดการอั้นหรือชลอตัวของลมในอุโมงลมโดยเพิ่มอัตราการไหล เบื้องต้นใช้ได้ครับ
    จากที่ผนังเตาร้อนไวก็กลายเป็นร้อนช้า ทำกับข้าวใช้เวลาไม่เกินครึ่งชั่วโมง เปลือกเตายังไม่ร้อน ไม่อันตรายเมื่อเผลอจับ
    ปกติก็ไม่มีใครจับเตาไฟเล่น กรณีนี้เพื่อป้องกันเหตุเช่นพ่อแม่ทำบาบีคิวกับข้าวลูกตัวน้อยวิ่งมาคลอเคลียเผลอจับเตาเข้า
    กันได้ก็กันไว้ก่อนครับ

    เป็นไปตามสมมติฐานหรือไม่ยังไม่มีเครื่องวัด แค่รู้สึกจากประสาท(มือ) ที่สัมผัส ผลที่ได้เป็นที่พอใจครับ

  7. #27
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ หนุ่มลาวสาวขะแมร์
    วันที่สมัคร
    Aug 2012
    ที่อยู่
    รังสิต
    กระทู้
    558

    เตาตากฝนได้


    ตอบโจทย์ไปอีกสองข้อ ห้องเผาไหม้ต้องใช้วัสดุที่ทนอุณภูมิสูงเกิน 1000 องศาเซ็นเซียสได้ดี
    และแก้ปัญหาเรืองผนังเตาร้อนมากให้ร้อนน้อยลง

    และก็มาอีกข้อ เตาตากแดดตากฝน


    เตาตากฝนได้

    ครับจะว่าไปก็เหมือนคำพูดของคนบ้า อาบน้ำให้เตา
    แต่มันเป็นจริงครับ จะเมาหรือไม่เมาพออิ่มแล้วก็ง่วงขี้เกียจกันเป็นส่วนใหญ่
    ความสำคัญของเตาหมดไป ถูกปล่อยให้ตั้งตากแดดตากฝนเหมือนว่าไว้ตอนไตเติ้ลไม่มีผิด
    แต่เตาใบนี้ผ่านไปได้เหมือนโชคช่วย เนื่องจากถังสูงมากพอ ทุกชิ้นส่วนของเตาจึงหลบอยู่ภายใน
    พอเลิกใช้ก็ปิด shutter ทุกช่อง เอาฝาปิดปากเตา ไฟจะดับเองเพราะขาดอากาศ เถ้าถ่านไม่พัดปลิวป้องกันการเกิดเพลิง
    ฝนตกฟ้าร้องตากแดดตากลมหายห่วง ถ้าลมแรงก็เอาก้นอิฐก้อนหินวางทับอีกที

    ได้โบนัสเพิ่มอีกแต้ม


    ขออภัยครับขาดๆ เกินๆ ไม่รู้จากคนหรือเครื่อง ดูแล้วน่าจะเป็นเครื่อง ขอบคุณครับ



  8. #28
    ฝ่ายเทคนิคและโปรแกรม สัญลักษณ์ของ เต็มใจให้เธอ
    วันที่สมัคร
    Jul 2007
    ที่อยู่
    ดอกคูณ เสียงแคน ขอนแก่น
    กระทู้
    1,157
    บล็อก
    6
    ผ่านมาหนึ่งเดือนผมกลับมาอ่านอีกรอบ เรียกได้ว่าสมบูรณ์แบบแล้วเนาะครับ
    ผมอยากใช้อยู่ครับเตาแบบนี้ ที่สำคัญเป็นเตาคุณภาพสูง และรู้จักผู้คิดค้นนำ ที่ผ่านมาเตาทั่วๆไปที่ผมเคยซื้อมาใช้ผมบ่รู้จักเลยครับ

    ขอบคุณหนุ่มลาวสาวขะแมร์ หลายๆเด้อครับสำหรับความรู้ในครั้งนี้ครับ

หน้าที่ 3 จากทั้งหมด 3 หน้า หน้าแรกหน้าแรก 123

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •