ในคืนวันที่ 3 ธันวาคม 2560 ดวงจันทร์เต็มดวงจะปรากฏในตำแหน่งใกล้โลกที่ระยะห่างประมาณ 357,973
กิโลเมตร คืนดังกล่าวจะสังเกตเห็นดวงจันทร์เต็มดวงมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย นอกจากนี้ยังมีขนาด
ปรากฏใหญ่กว่าขณะอยู่ไกลโลกมากที่สุดประมาณ 14% และมีความสว่างมากกว่าประมาณ 30% หรือเรียกว่า
“ซุปเปอร์ฟูลมูน” (Super Full Moon) สังเกตได้ด้วยตาเปล่าทางทิศตะวันออก หลังดวงอาทิตย์ตก ตั้งแต่เวลาประมาณ 18.00 น. เป็นต้นไป

ซุปเปอร์ฟูลมูน คืนที่ 3 ธ.ค. 2560 แคลิฟอร์เนีย

ซุปเปอร์ฟูลมูน คืนที่ 3 ธ.ค. 2560 แคลิฟอร์เนีย

ทั้งนี้ ตามปกติดวงจันทร์โคจรรอบโลกเป็นรูปวงรี 1 รอบ ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ดังนั้นในแต่ละเดือนจะมีตำแหน่งที่
ดวงจันทร์ใกล้โลกที่สุดเรียกว่า เปริจี (Perigee) มีระยะทางเฉลี่ย 356,400 กิโลเมตร และตำแหน่งที่ไกลโลกที่สุด
เรียกว่า อะโปจี (Apogee) มีระยะทางเฉลี่ยประมาณ 406,700 กิโลเมตร การที่ผู้คนบนโลกสามารถมองเห็นดวง
จันทร์เต็มดวงที่โตกว่าปกติเล็กน้อยในคืนที่ดวงจันทร์โคจรเข้ามาใกล้โลก นับเป็นเหตุการณ์ปกติที่สามารถอธิบาย
ได้ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ และแม้ว่าดวงจันทร์จะมีตำแหน่งโคจรเข้าใกล้โลกทุกเดือน แต่ดวงจันทร์ไม่ได้ปรากฏเต็มดวงทุกครั้ง

ซุปเปอร์ฟูลมูน คืนที่ 3 ธ.ค. 2560 แคลิฟอร์เนีย


ข้อมูลข่าว นสพ.ไทยรัฐ