ส้มป่อย

ส้มป่อย

ชื่อพื้นบ้านอีสาน ส้มป่อย
ชื่อทั่วไป ส้มป่อย หรือ ส้มขอน ภาคกลาง : ส้มป่อย ภาคเหนือ : ส้มใบ ส้มป่อย ภาคใต้ : ส้มใบ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia concinna (Willd.) DC.
วงศ์ Leguminosae-Mimosoideae
ประเภท ไม้เถา
ลักษณะวิสัย ส้มป่อยเป็นไม้พุมรอเลื้อยขนนาดใหญ่ ตามลำต้นกิ่งก้าน มีหนาม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองวชั้น ใบย่อยรูปขอบขนาน ปลายและโคนใบมน ดอกมีขนาดเล็กเป็นช่อกลม เป็นพู่เหมือนดอกกระถิน ออกตามปลายกิ่ง ฝักแบนยาว คล้ายถั่วลันเตา สีน้ำตาลดำ ขอบเป็นคลื่น ผิวย่น มีสารกลุ่มซาโปนินสูงถึง 20 % ตีกับน้ำจะเกิดฟองคงทนมาก ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
ประโยชน์ ส้มป่อยมีความสัมพนธ์กับวิถีชีวิตคนอีสานอย่างมาก ยอดอ่อนใช้กินเป็นอาหาร และประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น เผ่าใส่ในน้ำนมต์ เป็นการรักษาและป้องกันโรคต่าง ๆ หรือใช้เป็นอุปกรณ์พรมน้ำมนต์ ในส่วนของฝักมีสารออกฤทธิ์ในกลุ่ม (saponin) ได้แก่ acacinin A, B, C, D และ E จากการสัมภาษณ์คนลาวที่นำฝักส้มป่อยมาขายตามแนวชายแดนไทย-ลาว ทราบว่ามีการนำส้มป่อยไปใช้ในอุตสากรรมการทำเครื่องสำอางค์ (ยาสระผม น้ำหอม เป็นต้น) สรรพคุณทางสมุนไพรใช้ใบต้มอาบแก้โรคผิวหนัง และเป็นยาขับเสมหะ

ลักษณะทั่วไป
ส้มป่อยเป็นไม้เลื้อย มีเถาเป็นเนื้อไม้และมีหนามที่เปลือกของลำต้น ลำต้นเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่นได้ บริเวณยอดอ่อนเถาจะเป็นสีแดงคล้ำมีหนามอ่อน ใบ เป็นใบประกอบ ก้านใบประกอบยาว 6?16 ซม. ก้านใบยาว 1.5?5.2 ซม. ประกอบด้วยใบ 5?10 คู่ มีใบย่อย 10?35 คู่ ในแต่ละก้าน ใบย่อยสีเขียวขนาดเล็ก ดอก จะแตกออกจากง่ามใบลักษณะเป็นทรงกลมคล้ายดอกกระถิน และมีเกสรเป็นขนอ่อนๆ รอบดอก เมื่อดอกแก่จะกลายเป็นฝักยาว ผล เป็นฝัก ผิวของฝักมีคลื่นขรุขระ ฝักยาว 10?15 ซม. เปลือกของฝักอ่อนเป็นสีเขียวอมแดง พอแก่เป็นสีน้ำตาลเข้ม เมล็ดเรียงอยู่ภายใน
สรรพคุณทางยา
ใบ รสเปรี้ยว ฝาดร้อนเล็กน้อย สรรพคุณช่วยขับเสมหะ ขับระดูขาว แก้บิด ฟอกโลหิต แก้โรคตา
ดอก รสเปรี้ยว ฝาด มัน แก้เส้นเอ็นพิการให้สมบูรณ์
ฝัก รสเปรี้ยว เป็นยาขับเสมหะ แก้ไอ ทำให้อาเจียน แก้น้ำลายเหนียว แก้โรคผิวหนัง ช่วยขจัดรังแคและบำรุงเส้นผม
เปลือก รสขมเปรี้ยว เผ็ดปร่า เจริญอาหารกัดเสมหะ แก้ไอ แก้ซางเด็ก
ต้น รสเปรี้ยวฝาดแก้ตาพิการ
ราก รสขม แก้ไข้ แก้ท้องร่วง
ประโยชน์ทางอาหาร
ยอดอ่อนและใบอ่อนใช้รับประทานเป็นผัก และเครื่องปรุงรสช่วยให้อาหารมีรสเปรี้ยว และช่วยดับกลิ่นคาวปลาได้ ยอดส้มป่อยมักนำมาแกงกับปลา แกงส้ม หรือจอ (อาหารเหนือ) ก็ได้ เวลาแกง อาจจะใส่ยอดส้มป่อยอย่างเดียวหรือแกงรวมกับยอดมะขามอ่อนก็ได้
ประโยชน์อื่นๆ
น้ำของฝักส้มป่อยใช้ขัดล้างเครื่องเงิน เครื่องทอง นอกจากนี้เปลือกต้นให้สีน้ำตาลและสีเขียวซึ่งใช้ประโยชน์ในการย้อมผ้า ย้อมแห และอวนได้

สารที่มีประโยชน์ในส้มป่อย
- ในฝักมีสารชาโปนิน ซึ่งทำเป็นฟองคล้ายสบู่
- มีสารจำพวก กรดอินทรีย์ ที่ทำให้รสเปรี้ยว นำไปประกอบอาหารได้
วิธีทำยาสระผม
๑. นำเอาฝักแห้งของส้มป่อยมา ๑ ส่วน
๒. หักออกเป็นท่อน ๆ
๓. น้ำสะอาด ๔ ส่วน
๔. นำฝักส้มป่อยที่หักเป็นท่อน ๆ ผสมกับน้ำที่เตรียม
๕. คนแรง ๆ ให้ทั่วถึง แล้วตีน้ำจนเกิดเป็นฟอง
๖. ใบเป็นยาสระผมได้เลย
สรรพคุณของยาสระผมจากน้ำส้มป่อย- ทำให้ผมสะอาด ลื่นหวีง่าย
- ช่วยให้ผมดกดำเป็นเงางาม
- ขจัดรังแค แก้คันศีรษะ
- รักษาหนังศีรษะ
วิธีทำน้ำส้มป่อยเป็นน้ำอาบบำรุงผิว
๑. นำเอาใบสดและฝัก (จะสดหรือแห้งก็ได้) มา ๑ กำมือ
๒. ใบหนาด ๒-๓ ใบ
๓. นำสมุนไพรทั้ง ๒ ชนิด ใส่ลงหม้อเติมน้ำลงไป
๔. นำขึ้นตั้งเตา ต้มจนน้ำเดือด แล้วยกลง พออุ่น ๆ ใช้อาบ (ภาคอีสานมักต้มอาบหลังคลอดบุตรใหม่ ๆ) จะช่วยให้ผิวพรรณดี ไร้ผดผื่นคันและช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้
วิธีทำครีมทาผมจากส้มป่อย
๑. นำฝักส้มป่อยมาพอประมาณ
๒. น้ำประสานทอง
๓. นำมารวมกันทั้ง ๒ ตัว แล้วใส่ลงในภาชนะ สุมไฟให้ไหม้ จากนั้นก็นำมาบดให้เป็นผงเก็บเอาไว้ ใช้ สำหรับ
- ทาปากหรือลิ้นเปื่อยเป็นแผล ใช้ระยะเวลาไม่ถึง ๓ วันก็จะหายเป็นปกติ
- ช่วยลบรอยของแผลเป็นที่เพิ่งจะเกิดใหม่ ๆ ได้