ประเพณีอิสาน "แห่นางแมว" ประเพณีแห่นางแมวไทยมีมาช้านาน เป็นพิธีแห่ของชาวไทยชนบททั่ว ๆ ไป ซึ่งเชื่อว่าถ้าแห่นางแมวแล้วฝนจะตกไม่เกินภายใน 3 วันหรือ 7 วัน การแห่นี้ถือว่าเป็นการสร้างความสัมพันธ์ในหมู่บ้านให้แน่นแฟ้นขึ้น สำหรับประเพณีแห่นางแมวจะต้องใช้คนประมาณ 15 ?20 คน โดยมากเป็นผู้เฒ่าที่รู้ประเพณี และการหานางแมวตัวสวย ๆ งาม ๆ สักตัวหรือ 2-3 ตัว เอานางแมวนี้ใส่กระบุง ตะกร้า หรือเข่งก่อนที่จะนำแมวเข้ากระบุง มีผู้อาวุโสที่สุด จะพูดกับนางแมวว่า ? นางแมวเอย ?ขอฟ้าขอฝน ให้ตกลงมาด้วยนะ ? พอหย่อนนางแมวลงกระบุงแล้ว ก็ยกกระบุงนั้นสอดคานหามหัวท้าย จะปิดหรือเปิดฝากระบุงก็ได้ แต่ถ้าปิดต้องให้ นางแมวถึงน้ำกระเซ็น ตอนที่สาดน้ำด้วยจะต้องถูกต้องตามหลักประเพณี ผู้หญิงที่เข้าร่วมแห่ จะผัดหน้าเช้ง ทัดดอกไม้สด ดอกโต ๆ ขบวนแห่จะร้องรำทำเพลงแบบชนบท สนุกสนานเฮฮาพร้อมกับดื่มเหล้ายาอาหาร เมื่อขบวนถึงบ้านไหนแต่ละบ้านก็จะออกมาต้อนรับอย่างเต็มที่ เพราะเกรงว่าแมวจะโกรธ และจะบันดาลไม่ให้ฝนตกลงมา

การที่ใช้นางแมว และจะต้องเป็นนางแมวตัวเมียนั้น เพื่อให้ถูกต้องตามประเพณี เพราะผู้เฒ่าผู้แก่บอกว่า แมวเป็นสัตว์ที่เกลียดฝนอย่างยิ่ง ถ้ามันเห็นฝนตกหรือฝนตกมันจะร้องทันที ดังนั้นจึงหามเพื่อให้มันร้องให้ฝนตก คนโบราณมีความเชื่อว่า แมวเป็นสัตว์ที่มีอำนาจลึกลับศักดิ์สิทธิ์ สามารถเรียกฝนให้ตกลงมาได้อย่างแท้จริงได้ และประเพณีนี้ก็สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน /// คำเซิ้งในพิธีแห่นางแมว ///



"เต้าอีแม่นางแมว แมวมาขอไข่ ขอบ่ได้ขอฟ้าขอฝน

ขอน้ำมนต์อดหัวแมวบ้าง บ่ได้ค่าจ้างเอาแมวข้อยมา

บ่ได้ปลาเอาหนูกับข้าว บ่ได้ข้าว เหล้าเด็ดก็เอา

เหล้าโทก็เอา แม่เม่าเอย อย่าฟ้าวขายลูก ข้าวเพิ่นปลูก

ลูกน้อยเพิ่นแพง ตาเวนแดง ฝนแทงลงมา ตาเวนต่ำ

ฝนหน่ำลงมา ตาเวนตก ฝนตกลงมา

ดังเค็งๆข้ามดงมานี้แบ้นบักเลิกแบ้นพ่ออีเถิง

ฮ่งเบิงๆฝนเทลงมา ฝนบ่ตกข้าวไฮ่ตายเหมิดแล้ว

ฝนบ่ตกข้าวนาตายแล้งเหมิดแล้ว

ฝนบ่ตกกล้าแห้งตายพรายเหมิดแล้ว
ตกลงมาฝนตกลงมา เท่งลงมาฝนเท่งลงมา

กุ๊กกู๊ กุ๊กกู๊ กุ๊กกู๊ กุ๊กกู๊ กุ๊กกู๊?

[wma]http://wcs.hopto.org/_wma/06%20-%20%C5%D2%C2%E1%A4%B9%C5%E8%CD%A7%B9%E9%CD%C2-%C5%E8%CD%A7%E3%CB%AD%E8.wma[/wma]