หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 12 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย
กำลังแสดงผล 1 ถึง 10 จากทั้งหมด 13

หัวข้อ: ฮู้เรื่อง เมืองอีสาน "นายฮ้อย"

  1. #1
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ บ่าวเต็งคนโก้
    วันที่สมัคร
    Oct 2010
    ที่อยู่
    กาฬสินธุ์
    กระทู้
    94

    ฮู้เรื่อง เมืองอีสาน "นายฮ้อย"

    ฮู้เรื่อง เมืองอีสาน "นายฮ้อย"

    ภาพนี้ คณะผู้จัดทำวารสารเมืองโบราณบันทึกภาพไว้ได้ขณะเดินทางไปสำรวจแหล่งโบราณคดี วัฒนธรรมในเขตอีสานใต้ แถบจังหวัดอุบลราชธานี - ศรีสะเกษ

    เราพบชายผู้ควบขับม้าด้วยท่าทางผึ่งผาย ทรนงองอาจผู้นี้ระหว่างทางสายเล็กๆ ในชนบท เขาและม้ารูปร่างกำยำสีน้ำตาลเข้มตัวนั้นย่างเหยาะวนเวียนไปรอบๆ รถตู้ของเรา ด้วยใบหน้าอันยิ้มแย้ม
    ผู้ที่ตื่นเต้นกว่าใครๆ คืออาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ท่านรีบบอกให้ช่างภาพถ่ายไว้ทันที พลางบอกว่า "ถ่ายไว้ๆ..นี่แหละ 'นายฮ้อย' ละ.."

    คำพูดของอาจารย์ศรีศักรทำให้เรานึกถึงเค้าลางของบุคลิกลักษณะ "นายฮ้อย" กลุ่มบุรุษผู้มีฝีมือและเวทย์มนตร์โบราณของอีสาน ผู้ซึ่งควบขับม้านำขบวนวัวควายนับร้อยๆ ตัวเคลื่อนผ่านแดนแห่งขุนเขาฝ่าดงลงมายังพื้นราบภาคกลาง..มีบทบาทและสีสันอันเพริศแพร้วในระบบเศรษฐกิจการค้าระหว่างภูมิภาคของสยามเมื่อร้อยกว่าปีก่อน อย่างที่นักประวัติศาสตร์มิอาจลืมเลือน

    หรือในวันนั้น ชายที่เราพบคือนายฮ้อยรุ่นสุดท้ายที่ยังมีชีวิตอยู่ ?

    ภาพ: ศูนย์ข้อมูล เมืองโบราณ, กันยายน ๒๕๓๒ (ปองลิขิต ยวดยง ถ่ายภาพ)


  2. #2
    ศิลปิน นักร้อง นักแสดง
    มิสบ้านมหา 2011
    สัญลักษณ์ของ ผู้ก่อการรัก
    วันที่สมัคร
    Feb 2006
    ที่อยู่
    HappyLand ดินแดนแห่งความสุข, Thailand
    กระทู้
    3,161

    Re: ฮู้เรื่อง เมืองอีสาน "นายฮ้อย"

    เคยเห็นแต่ในหนังเนาะ นายฮ้อยเนี่ย ...
    ล้มแล้วฟื้นยืนสู้ชูช่อใหม่ เพราะต้นยังสดใสผลิใบเขียว
    ลุกขึ้นต้านลมฝนต้นเป็นเกลียว รากยึดเหนี่ยวซับซ้อนกับพื้นดิน



  3. #3
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม
    วันที่สมัคร
    Mar 2007
    กระทู้
    1,212
    สิว่าไปแล้ว มันกะยังมีอยุ่ครับ แต่ว่าสมัยนี้ นายฮ็อยมีรถ บ่ต้องไล่ต้อนควายงัวไปขายเอง เพียงแต่ใส่รถไปขายเลย

    ตะเป็นเด็กน้อย เมื่อ สิบกว่าปีที่แล้ว บ้านผมยังมีนายฮ้อยไล่งัว ไล่ควายผ่านมาอยู่ คนที่สิเป็นนายฮ้อยได้ ต้องรู้เส้นทาง ต้องรุจักหนองน้ำทุกหนอง เพราะว่า ช่วงเวลาที่ไล่ต้อนงัวควายไปขายจะเป้นหน้าแล้ง เพราะหน้าฝนสิไปเหียบเข้าในนา ดังนั้นหน้าแล้งสิหาน้ำกินยาก น้ำให้ควายกิน นอนกะหายาก นายฮ้อยต้องฮู้จักหนองน้ำทุกหนอง เพื่อกะระยะทางว่า แต่ละมื้อสิไล่ควายไปถึงไหน สิไปพักหนองน้ำไหน และถ้าหนองที่หมายตาไว้แต่แรกน้ำแห้ง จะต้องไปหนองไหนต่อ ไม่งั้นควายจะตายได้ เพราะควายไม่ทนเหมือนงัว เพราะฉะนั้น แถวบ้านผมจะมีคำกล่าวว่า ถ้าผู้ชายใด๋ ไล่ควายไปขายฮอดไทยได้(ไทย หมายถึงภาคกลาง) แล้วกลับมาอย่างปลอดภัย ถ้าผู้ชายคนนั้นมาขอลูกสาวให้รีบยกให้ เพราะเป็นคนมีความสามารถมากๆ

    ประสบการณืของผมเองกะมีสว่นเกี่ยวข้องกับนายฮ็อยควาย และม้านายฮ้อยอยุ๋บ่อยๆ กล่วาคือ เมื่อนายฮ้อยพาฝูงควายมาพักที่แถวบ้าน ตอนกลางคืนควายจะขี้ออกมาเยอะมาก เมื่อผ่านไปหลายวันจะมีไฟไหม้ป่ามา จะไหม้ขี้ควายพ่อค้าไม่หมด จะเป็นควันโขมงอยุ่ (คงพอจะนึกออกเนาะครับเวลาไฟไหม้ขี้ควายแห้งมันจะไหม้ช้าๆ) นั่นแหละ ถ้าเจอเหตุการณ์แบบนี้ พอถึงตอนเย็น แม่ผมจะใช้ให้ไปเก็บขี้ควายพ่อค้ามาดังไฟ เนื่องจากเป้นการประหยัดไม้ขีดไฟ(กับไฟจ๊วด)
    และอีกครั้งนึง ผมไปตึกแหกับพ่อ กับปู่ มีนายฮ้อยไล่ควายผ่านมาพอดี
    นายฮ้อยมาถามปู่ผมว่า "พ่อใหญ่มีมีดอีโต้บ่"
    ปู่ ตอบว่า "มีสองดวง" (บ้านเฮาเอิ้นมีดเป็นดวงเนาะ)
    นายฮ้อยบอกว่า "ลูกขอจักดวงได้บ่ มีดลูกหาย"
    ปู่ ตอบว่า "ขอซือๆเลยติ บ่มีเงินบ้อ"
    นายฮ้อยตอบว่า "บ่มีแหล่วพ่อใหญ่ มีแต่ควายกับม้า ที่ขี่อยู่นี่แหล่ว หือพ่อใหญ่สิแลกมีดอีโต้กับม้าบ่"
    ปู่ตอบว่า "เอา"

    กะเลยได้มีดอีโต้ดวงนึง แลกม้าโตนึง เป็นม้าโตแม่ ปู่ผมเลยตั้งชื่อว่า ม้า "อีผ่าน" และเป็นม้าตัวแรกของครอบครัวผม และได้ออกลูกมาหลายโต เลี้ยงมาจนผมใหญ่ ปู่ตายแล้ว ผมกะเข้าไปเรียนหนังสือในเมือง พ่อเลยขายทิ้งหมด

    นี่กะเป็นเรื่องราวเล้กๆน้อยๆ ที่เล่าสู่กันฟังครับ

  4. #4
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ แหลวแดง
    วันที่สมัคร
    Mar 2008
    กระทู้
    1,912
    ขออ้างถึงแหน่คับผม เป็นเรื่องราวที่ประทับใจผู้ได้ฟังเช่นผมหลายๆคับ เคยได้ยินแต่ซื่อนายฮ้อยๆ เกิดบ่ทัน แต่ว่ามีช่วงหนึ่งช่องเจ็ดเฮ็ดละครเรื่องนายฮ้อยทมิฬ เป็นละครเรื่องแรกที่ผมติดกะยังว่า มื้อได๋บ่ได้เบิ่งมันบ่เป็นตาอยู่ มักหลายคับ ขอบคุณที่นำเสนอเรื่องราวดีๆคับ

  5. #5
    ร่วมกิจกรรมนำความรู้ สัญลักษณ์ของ เซียนเมา
    วันที่สมัคร
    Jun 2009
    ที่อยู่
    Suratthani
    กระทู้
    1,450
    ซุมื้อนี่ วัว ควาย หน่อยลงเวลาขายกะใส่รถ นายฮ้อยกะเลย หายไปตามกาลเวลา...

  6. #6
    มิสบ้านมหา 2010
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ เขมราฐ
    วันที่สมัคร
    Sep 2008
    ที่อยู่
    กลางท่งเมืองเขมฯ
    กระทู้
    1,946
    พ่อใหญ่น้องเขมกะเป็นนายฮ้อยค่ะ แต่ตอนน้องเขมจำความได้เพิ่นเซาขี่ม้า

    แล้วค่ะ เพิ่นนั่งรถกับลุงไปซื้องัว ซื้อควาย อยู่บอนแทน

    (คนอีสานเอิ้นตลาดนัดงัวควายว่าบอน)

    แต่จำได้ว่าเพิ่นสิมีงัวเทียมเกวียนอยู่ 2 คู่ ยามเช้า ๆ เพิ่นกะสิแอบงัวใส่เกวียน งัวเกวียน

    พ่อใหญ่น้องเขม งามกว่าหมู่เลยค่ะ โตใหญ่ แข็งแรง ใส่กระดิ่งทองเหลืองเสียงนุ่มหู แต่

    ดังไกล เกวียนบ่รู้ว่าไปใส แต่กี้มีอยู่ 2 คัน

    แล้วกะมีคนสืบทอดอาชีพนายฮ้อยของเพิ่นอยู่ผู้เดียวคือลูกชายใหญ่เพิ่น แต่ตอนนี้กะเริ่ม

    วางมือ ย่อนมาเล่นการเมืองแล้วค่ะ

  7. #7
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ แหลวแดง
    วันที่สมัคร
    Mar 2008
    กระทู้
    1,912
    จะมีใครรู้บ้างว่า ภาพคาวบอยหนุ่มมาดองอาจบนหลังม้า ควบม้าไล่ต้อนฝูงวัวอย่างชำนิชำนาญท่ามกลางแสงแดดครั้งหนึ่งคือวิถีชีวิตของนายฮ้อยแห่งอีสาน ซึ่งปัจจุบันไม่มีให้เห็นอีกแล้ว

    ทุกปีราวเดือนสองเดือนสาม (มกราคม-กุมภาพันธ์) หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว นายฮ้อยจาก "เมืองบน" หรือดินแดนที่ราบสูงโคราชแถบขอนแก่น โคราช ชัยภูมิ จะเริ่มออกหาซื้อวัวควายจากหมู่บ้านต่าง ๆ หมู่บ้านละประมาณ ๓๐-๔๐ ตัว

    เมื่อรวบรวมได้ราว ๔๐๐-๕๐๐ ตัว หรือบางคราวอาจมากถึง ๑,๐๐๐ ตัว ก็จะเริ่มเดินทางพร้อมกองคาราวานเกวียนบรรทุกสัมภาระ ข้าวปลาอาหาร และลูกน้องไม่น้อยกว่า ๑๐ คน ถ้าเป็นฝูงใหญ่อาจต้องใช้คนนับร้อยไล่ต้อนลงมาขายที่ "เมืองล่าง" หรือดินแดนที่ราบลุ่มภาคกลางแถบลพบุรี สระบุรี อยุธยา มาถึงราวเดือนสี่เดือนห้า (มีนาคม-เมษายน) ซึ่งกำลังเริ่มฤดูกาลไถหว่านทำนาพอดี

    ระหว่างการเดินทางรอนแรมกลางป่าเปลี่ยวเสี่ยงอันตราย เผชิญกับอุปสรรคนานัปการ นายฮ้อยต้องรับผิดชอบดูแลทุกชีวิตทั้งคนและฝูงวัวควายที่เสี่ยงต่อการถูกปล้นสะดมระหว่างทาง ต้องปกครองคนได้ เป็นผู้นำที่ได้รับการยอมรับนับถือจากทุกคน กล้าหาญ เข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว สามารถจัดการฝูงวัวควายนับร้อยนับพันตัวได้ โดยจะแบ่งออกเป็นฝูงย่อย ฝูงละ ๘๐-๑๐๐ ตัว มีคนคุมต้อน ๙-๑๒ คน มีหัวหน้าหนึ่งคน แต่ละกลุ่มย่อยเรียกว่า "หนึ่งพาข้าว"

    เส้นทางไล่ต้อนเริ่มต้นจากขอนแก่น นครราชสีมา ผ่านช่องเขาต่าง ๆ ในแนวเทือกเขาพังเหยจังหวัดชัยภูมิ เช่น ช่องสำราญ ช่องตานุด ช่องลำพญากลางหรือช่องตะพานหิน เป็นต้น ผ่านเข้าสู่ประตูภาคกลางที่อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี หยุดแวะขายที่บ้านโคกสลุง อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี เป็นแห่งแรก

    นายฮ้อยจะเข้าไปแจ้งข่าวให้คนในหมู่บ้านแวะมาดูมาซื้อวัวควาย จากนั้นจะตระเวนขายไปจนสิ้นสุดเส้นทางที่อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี กว่าจะหมดบางครั้งใช้เวลาร่วมเดือนหรือ ๒ เดือน

    รวมเวลาเดินทางกลับแล้วกว่าครึ่งปี ที่พวกเขาต้องจากบ้านมาใช้ชีวิตรอนแรมห่างไกลจากครอบครัว ทว่าสิ่งที่พวกเขานำมาพามาด้วยพร้อม ๆ กับกองคาราวานวัวควาย คือวัฒนธรรมจากอีสาน โดยมีนายฮ้อยเป็นสื่อเชื่อมกับอารยธรรมในภาคกลาง ซึ่งยังปรากฏร่องรอยให้เห็นผ่านขนบธรรมเนียม ประเพณี การแต่งกาย อาหารการกิน ภาษาพูด ของกลุ่มคนที่หลากหลายแถบลพบุรี สระบุรี

    เกือบ ๓๐ ปีแล้วที่ภาพกองคาราวานนายฮ้อยไล่ต้อนฝูงวัวควายหายไปจากความทรงจำ ภายหลังที่มีเส้นทางรถยนต์เข้ามาแทนที่ ฝูงวัวควายที่ต้อนมาขายยังตลาดนัดวัวควายทุกวันนี้จึงมาพร้อมกับรถบรรทุก



    ที่มา: สารคดี / sarakadee.com / นายฮ้อย คาวบอยแบบไทยๆ

  8. #8
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ ไผ่หวาน
    วันที่สมัคร
    Jun 2009
    ที่อยู่
    PATTAYA CITY
    กระทู้
    729
    บล็อก
    14
    เคยเห็นตะเป็นเด็กน้อย นายฮ้อยเซาพักนอน นาทงได๋ กะถือว่าโชคดีเพราะสิได้ขี้งัว-ควาย
    เป็นปุ๋ยใส่นา

  9. #9
    ฝ่ายบริหารระดับสูง สัญลักษณ์ของ พล พระยาแล
    วันที่สมัคร
    Mar 2008
    กระทู้
    6,430
    พ่อของพล พระยาแล กะเป็นนายฮ้อยครับ ต้อนควายใส่รถบรรทุกมาขายตลาดกล้วยน้ำไท

    แต่ก่อนควายหลายครับ ตอนนี้มีแต่ควายเหล็ก

  10. #10
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม
    วันที่สมัคร
    Mar 2007
    กระทู้
    1,212
    น้องเขมครับ มาเด้อ มาเบิ้งเกวียน อยุ่เฮียนผม ยังอยู่สองเล่ม (ภาษาบ้านเฮาเอิ้นเกียนเป็นเล่ม ออกเสียงภาษาอีสานว่า "เหล่ม" ครับ"

    เกียนสองเล่มนี่เป็นเกียนงัว เล่มนึง
    เกียนควายเล่มหนึ่ง
    บางคนสิสงสัยเนาะว่าเกียนกะสิใส่ได้เทิงงัว เทิงควายเป็นหยังต้องแยก
    จั่งซี้ตั๊วะครับ สมัยก่อนเพิ่นแยกตั๊วะ
    คือเกียนงัวสิเล่มน้อยกั่ว ลักษณะสิบอบบางกั่ว งามกั่ว และสิใส่พวง เอิ้นว่า "เกียนพวง" หรือ "พวงดำ" (พวงหมายถึงประทุน ในภาษากลาง) มักใช้เดินทางไกล หรือไปค้าขาย เอิ้นว่าหมู่เกียน คาราวานเกียน กองเกียน กะแล่วแต่ผู้สิเอิ้น แล้วกะเกียนงัวกะเปรียบกับรถเบนซ์ สมัยนี่ เพิ่นสิตกแต่งอย่างดี มีการสลักเสลาลวดลายงดงาม แล้วกะเอกลักษณ์ของเกียนงัวกะคือ “บักหิ่งอ้อง” คือกระพวนที่เอามาผูกเป้นพวงยาวๆใส่สายอ้อง(สายอ้องคือสายที่คล้องคองัวไว้กับแอกเกียน มีไม้สลักคล้องปลายอ้องบ่ให้หลุดเอิ้นว่า “ ไม้ลูกแซะ”) เวลาเดินกะสิมีสียงไพเราะหู”ซวดๆ” แล้วกะเพลาของเกียนงัวกะสิเป็นเพลาไม้อันน้อยๆสอดไว้ใน”ดุมเกียน”ยึดกับแม่เพลาส่วนด้านนอกกะสิมีไม้ยาวๆเอิ้น “แพด” หรือ แพดเกียน” เป็นตัวยืดบ่ให้เพลาหลุด จากเบ้าแม่เพลา และรูที่สอดเพลาสิเรียกว่า “ฮูอั่ว” ถ้าช่างเก่งๆเพิ่นสิแต่งฮูอั่วเก่ง เวลาเดินทาง สิมีเสียง อ๊อด แอ๊ด ๆๆ ไพเราะหู สรุปกะคือเกียนงัวสิใช้งานเบาๆ หรือเดินทาง หรือ ขนของที่บ่หนัก
    ส่วนว่าเกียนควายนั่นสิมีขนาดใหญ่กั่ว เพราะใช้สำหรับงานหนัก บ่ใช้เดินทางไกลเพราะว่าควายบ่ทนแดด อาจสิตายแดดได้ แต่งัวสิทนแดดกั่ว งานของเกียนควายเช่นขนข้าว ขึ้นลาน ขนไม้แทนซ้าง ในที่นี้หมายถึงขนไม้ออกจากป่าเอามาโรงเรื่อย บางคนสิสงสัยว่าคือบ่ใช้ช้างขน คือจั่งซี้คับ ช้างจะขนไม้ที่ตัดแล้วออกมาจากป่ามาลงน้ำ หรือมาที่ท่ารถ ท่าเกียน เพื่อสิขนไปโรงเรื่อยต่อ บ่แม่นใช้ช้างขนจากป่ามาถึงโรงเรื่อยเด้อ มันสิตายช้าง เอิ้กๆๆๆ แล้วเพิ่นขนจั่งใด๋วะติ
    จั่งซี้ครับ เมื่อช้างขนไม้ออกมาจากป่าแล้ว เพิ่นสิกะขนาดของไม้แล้วตัดเป้นท่อนเพื่อให้มีขนาดพอเหมาะ ในการใช้เกียนควายขน เพราะว่าถ้าขนาดใหญ่เกินไป กะตายควายข่อยเบิ๊ด อิอิอิ เพลาของเกียนควายสิบ่แม่นเพลาไม้คือเกียนงัวเด้อ แต่เป้นเพลาเหล็กมีหลายขนาด เช่น เพลาเก้า เพลาสิบ (น่าสิหมายถึงเก้าหุน สิบหุน ตามขนาดเหล็ก) เวลาสิขนเพิ่นกะสิถามว่าเกียนเล่มนี่เพลาใด๋ เพื่อสิจัดไม้ตามขนาดเพลาบ่ให้หนักเกินไป เวลาสิเอาไม้ใส่เกียนกะบ่แม่นยกใส่เด้อ มันใหญ่สิยกได้ติ เพิ่นกะสิเอาช้างมาจับไม้ตั้งขึ้นแล้วเอาเกียนถอยหลังไปจนชนไม้ แล้วจึงตั้งเกียนขึ้นจนตั้งตรงเหมือนไม้ที่ตั้งอยุ่ (นึกออกบ่น้อ)แล้วก็จัดการมัดไม้เข้ากับเกียนแล้วจึงค่อยๆล้มไม้และเกียนลงมาตั้งไว้กับ”ไม้ค้ำเกียน”แล้วจึงเอาควายเข้าเทียมขนไปโรงไม้
    ตะเป็นเด็กน้อยผมเคยไปรับจ้างขนไม้กับพ่อ เพราะว่าบ้านผมติดกับ”ดงกะทอ” ริมฝั่งแม่น้ำมูล แถวอำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสิรุนทร์ ได้ควายสองคู่ โตบักใหญ่ ชื่อ บักทรพี-ทรพา คู่หนึ่ง กับ บักองคต-พาลี คู่หนึ่ง
    หลังจากนั้นมาผมกะได้ช่วยพ่อแอบควายใส่เกียน แอบงัวใส่เกียนขายมาอีกหลายคู่ ทั้งแอบใส่ไถ แอบใส่เกียน ทำมาหมด (แอบหมายถึงฝึก หรือ หัด “
    แต่ช่วงหลังมา การใช้เกียนกะหน่อยลง ลดบทบาทลง เกียนงัว เกียนควายกะเลยใช้ปนกัน และเลือนหายไปในที่สุด
    ครอบครัวผมเป็นครอบครัวสุดท้ายในอำเภอกะว่าได้ที่ใช้เกียนอยุ่ จนกระทั้งผมเข้าไปเรียนหนังสือ ในเมือง และพ่อซื้อรถไถนา กะเลยขายควายเกียน งัวเกียนเบิ๊ด เก็บไว้เพียงเกียนสองเล่ม กับความทรงจำดีๆของผม ที่ไม่สามารถหาจากที่ไหนได้

    และผมภูมิใจที่ได้เป็นลูกพ่อ พ่อผมสอนมาทุกอย่างที่ ลูกผู้ชายสมัยก่อนต้องทำเป็น แอบเกียน ไถนา สานข้องสานต่า สานก่องข้าว อ่านหนังสือธรรม หนังสือไทยน้อย และจนบัดนี้ผมเรียนจบ ได้เป็น นายสัตวแพทย์ อย่างเต็มภาคภูมิ ผมกะยังบ่ลืมทุกอย่างที่พ่อสอน

    (นั่งพิมพ์ไปกะไห้ไปน้ำพะนะ น้ำตาย่อย คึดฮอดบ้านครับ)

    สำหรับม้า “อีผ่าน” กะได้ออกลูกมาหลายโต แต่ที่เด่นที่สุดคือ “บักเขียว” เพราะว่าเป็นม้าตัวสุดท้ายก่อนสิขายเหมิด ม้าบักเขียวไปแข่งสนามใด๋กะชนะ พ่อผมขี่เอง ฝึกเองจนปู่ผมตั้งฉายาให้มันว่า
    “ เขียวหางแห่มคอกลม บักเหียนหล่อ พอแต่ห่างขึ้นแล้ว เส็งได้ฮอดเครื่องบิน “ (หมายถึงวิ่งเร็วจนแข่งเครื่องบินกะได้ ความจริงกะบ่เร็วปานนั้น แต่เพิ่นเปรียบเปรยเนาะครับ”


    ขอบคุณทุกท่านที่อ่านจนจบครับ
    ยาวไปหน่อยแต่เป็นสิ่งที่ผมอยากเล่าสู่ฟัง ถ้าเบื่อกะบอกเด้อครับ

หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 12 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •