อธิบายพอเป็นสังเขปดังนี้
๑. ใบลานเปล่า
โดยปกติใช้ใบลานอ่อนส่วนยอดที่บ่อทันกางใบ หรือกางใบแล้วอย่างหลายบ่อให้เกิน ๑ ปี ตัดทั้งก้านทั้งใบนำมาตากแดดผึ่งลมคาก้านให้แห้งดี จึงมาแจกออกเป็นใบๆ
นำมาบีบแหนบใส่กันตามจำนวนที่ต้องการ จึงตัดเจียน หาไม้แบบตามกว้างยาวที่เฮาสิเอา มาประกบสองด้านของใบลานที่แหนบกันไว้ แล้วไสให้เท่ากันเสมอตามไม้แบบนั้น แล้วแต่
ว่าสิเอาหนังสือก้อม หรือหนังสือยาว ถ้าให้ดี คันเป็นหนังสือสำคัญใช้ลานหลาย ต้องการความคงทน ก็เอาไปต้มหรือนึ่งก่อนจึงนำมาใช้ ก่อนจารต้องตีเส้น เว้นย่อหน้า และเว้นท้าย
ห่างจากขอบลานประมาณ ๑ ? ๑.๕ นิ้ว เว้นฮูใส่สายสนอง(สายใส่เชือกร้อย) ช่วงกลาง ทั้งนี้เพื่อ กันขาด กันสึกกร่อน สิเอาจักบรรทัดแล้วแต่ความเหมาะสมของหนังสือ
หรือความกว้างของลาน ถ้า ๔บรรทัด ก็ให้เว้นฮูสายสนอง สองบรรทัดกลาง ส่วนบรรทัดบน และล่าง จารยาวไปเลย
๒. หมอนจาร
ใช้ใบลานเปล่า ประมาณ ๕ ? ๑๐ แผ่นตัดเจียนเท่ากันขนาดเท่ากับ ใบลานที่สิจารหรือใหญ่กว่าเล็กน้อย ลานที่สิเฮ็ดหมอนรองจารนั้น ความยาวตั้งแต่ ประมาณ ๑ คืบ
ขึ้นไป ตามเหมาะสมแก่งาน นำมาหยิบซ้อนกัน แล้วหยิบ(เย็บ)ผ้าห่อทับให้ดี เพื่อเวลาจารหนังสือ สิได้นุ่ม และยืดหยุ่นมือ ใช้ด้ายฝั่นเชือกมาพันรอบ หมอนจารพร้อมกับมัดให้ตึงพอสอดใบลานเข้าได้ประมาณ ๔ ? ๕ แล้วเย็บยึดด้ายเชือกนั้นไว้ตรงขอบหมอนสองด้าน แผ่นและทำสองข้างซ้ายขวา เพื่อไว้บังคับใบลาน เมื่อสอดใบลานเข้าไป เวลาจารสิบ่อได้ขยับไปมา
๓. เหล็กจาร
เฮ็ดจากไม้กลม ความใหญ่ประมาณนิ้วมือ ตามที่ถนัดจับ ปลายไม้ด้านที่สิใช้จาร ฝังเข็มลงตงกลางเนื้อไม้ให้ลึกประมาณข้อนิ้วมือหนึ่ง แล้วตัดให้เสมอปลายไม้ นำมา
ปาดเจ้ย (ปากฉลาม) เป็นสี่ด้านแบบปิรามิดไปทางปลายเหล็กที่โผล่ นำไปฝนให้แหลมคมทั้ง ๔ด้าน ถ้าเอาเข็มขนาดน้อย ประมาณเข็มสอย เวลาจารกะสิได้ตัวหนังสือเส้นน้อยคมดี
ถ้าเข็มหรือเหล็กจารใหญ่ ตัวหนังสือกะสิแตก แต่หากชัดดำดี แต่เวลาจารต้องระวัง มันซอด(ทะลุ)ลงล่าง
๔. ผงเขม่าผสมชันห่อผ้าชุบน้ำมันยาง
ใช้ขี้นิลหม้อ(ดินหม้อ/ผงถ่าน)ตำผสมกับขี้ซี(ชัน) แห้ง ห่อผ้าขาวบาง ชุบน้ำมันยาง เพื่อใช้ถูใบลานที่จารแล้ว ให้เกิดสีดำของตัวหนังสือขึ้นมา
๕. น้ำมันยาง หรือบ่อมีกะใช้น้ำมันก๊าด เคี่ยวใส่ยางกุง ยางสะแบงจักหน่อย กะได้ สำหรับชุบห่อผงเขม่า
๖. น้ำมันงา หรือน้ำมันหมากพร้าว สำหรับทาใบลานให้น้ำมันยางชุบเขม่าแล่นซึมดี
๗. ทรายละเอียด