หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 3 หน้า 123 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย
กำลังแสดงผล 1 ถึง 10 จากทั้งหมด 29

หัวข้อ: ประวัติ จังหวัดร้อยเอ็ด

  1. #1
    กุลวรินทร์
    Guest

    รอบยิ้มพิมใจ ประวัติ จังหวัดร้อยเอ็ด

    เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานได้ 8 ปีเศษ พระมหากัสสปะพุทธสาวกได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุ(พระธาตุพนม)จากเมืองกุสินารา มาประดิษฐาน ณ ดอยกัปปนคีรี หรือปณคีรี (ภูกำพร้า) ขณะนั้นมีมหานครอยู่ 4 นคร คือเมืองหนองหานหลวง (จ.สกลนคร) เมืองสาเกตนคร (จ.ร้อยเอ็ด) เมืองมรุกนคร (จ.นครพนม) และเมืองอินทรปัฏฐนคร(กรุงพนมเปญ) นครทั้ง 4 ได้จัดเวรผลัดเปลี่ยนดูแลทำนุบำรุงพระอุรังคธาตุคราวละ 3 ปี

    สาเกตนครมีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุดสมัยพญาสุริยวงศา มีเมืองขึ้น 11 เมือง ได้แก่ เมืองฟ้าแดด (อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์) เมืองเปือย (บ้านเมืองเปือย อ.เมืองร้อยเอ็ด) เมืองทอง (บ้านเมืองทอง อ.เมืองร้อยเอ็ด) เมืองหงษ์ (บ้านเมืองหงษ์ อ.จตุรพักตรพิมาน) เมืองบัว (บ้านเมืองบัว อ.เกษตรวิสัย) เมืองคอง (บริเวณบ้านเมืองสรวง อ.เมืองสรวง) เมืองเชียงขวง (บริเวณป่าขัวหลวง บ้านจาน อ.ธวัชบุรี) เมืองเชียงดี (บ้านหัวโนน อ.ธวชับุรี) และเมืองไพ (บ้านเมืองไพร อ.เสลภูมิ) ซึ่งสมัยนั้นคงจะเรียกว่า สาเกตนคร เมืองสิบเอ็ดผักตู สิบแปดป่องเอี้ยม ซาวเก้าแม่คั่นได ตามลักษณะที่มีเมืองขึ้นที่มีเส้นทางติดต่อเข้าออก 11 เมือง หรือ 11 ประตู หรืออีกในความเชื่อหนึ่งก็เห็นว่าคงจะมีวิหารกลางเมืองเป็นวิหารไม้ 3 ชั้น ที่มี 11 ประตู 18 หน้าต่าง 29 ขั้นบันได เป็นวิหารหลวงขนาดใหญ่ (สร้างด้วยไม้) และพังทลายไปตามกาลเวลา จึงหาหลักฐานยืนยันไม่ได้ สาเกตนครเจริญรุ่งเรืองสืบมาจนถึงสมัยผาแดง พระยาขอมธรรมิกราช ผู้ครองนครหนองหานหลวงก็ทำลายสาเกตนครได้สำเร็จ เพราะผู้ครองนครสาเกตไม่ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม สาเกตนครเมืองสิบเอ็ดผักตู ก็กลางเป็นเมืองร้างจนมีต้นกุ่ม (ผักกุ่ม) ขึ้นรอบเมืองจึงเรียกว่า บ้านกุ่มฮ้าง (ร้าง) ต่อมาสมัยอาณาจักรขอม ได้เสื่อมอำนาจลงในบริเวณนี้ อาณาจักรล้านช้าง (เมืองหลวงพระบาง) ได้มีอำนาจเข้ามาแทนที่จนกระทั้งใน สมัยกรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ.2256 (ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช) พระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร กษัตริย์นครจำปาศักดิ์ ทราบว่า ร้อยเอ็ดเป็นเมืองร้าง จึงให้ท้าวแก้วมงคลหรือจารย์แก้ว โอรสเจ้าศรีวิไชย ซึ่งเป็นโอรสของเจ้าองค์ศรีวรมงคลและเจ้าองค์ศรีวรมงคลเป็นโอรสของพระเจ้าศรีสัตนาคนหตุ (เมืองเวียงจันทร์) จารย์แก้วคุมครัวประมาณ 3,000 คน มาตั้งบ้านท่ง ต่อมายกฐานะขึ้นเป็นเมืองท่งหรือ เมืองทุ่ง (อ.สุวรรณภูมิ) พ.ศ.2268 จารย์แก้วถึงแก่กรรม อายุได้ 84 ปี มีบุตรชาย 2 คน คือท้าวมืดซ่ง ตลอดเมื่อวันเกิดสุริยุปราคา และ ท้าวทน (หรือทนต์) บางฉบับว่ามี 3 คน คือ ท้าวองค์หล่อหน่อคำ (หรือท้าวเพ) พระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูรจึงตั้งท้าวมืดเป็นเจ้าเมือง ให้ท้าวทนเป็นอุปราช พ.ศ.2306 ท้าวมืดถึงแก่กรรม กรมการเมืองมีใบบอกไปยังนครจำปาศักดิ์ จึงตั้งท้าวทนครองเมืองอยู่มาได้ประมาณ 4 ปี ท้าวเชียงกับท้าวสูน (บุตรท้าวมืด) บาดหมางกับท้าวทน ซึ่งเป็นอา จึงรวมกับกรมการเมืองไปพึ่งพระบรมโพธิสมภารสมเด็จพระบรมราชาที่ 3(พระที่นั่งสุริยาอมรินทร์) กรุงศรีอยุธยา จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้พระยากรมท่าและพระยาพรม นำกำลังมาพร้อมกับท้าวเชียงและท้าวสูน ท้าวทนได้ข่าวก็อพยพไพร่พลไปอยู่บ้านกุดจอก (บ้านดงเมืองจอก อ.อาจสามารถ) ท้าวเชียงจึงได้เป็นเจ้าเมือง ท้าวสูนเป็นอุปราชเมืองทุ่งก็ขาดจากการปกครองของจำปาศักดิ์ เข้าอยู่ในอำนาจกรุงศรีอยุธยาตั้งแต่นั้นมา ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาพรหม พระยากรมท่ายกทัพมาเพื่อว่ากล่าวให้ท้านทนกับท้าวเชียงและท้าวสูนให้ประนีประนอมกัน

    พ.ศ. 2315 พระยาพรหม พระยากรมท่า ปรึกษากับท้าวเชียงกับท้าวสูน แล้วเห็นว่าที่ตั้งเมืองเป็นเนินสูงอยู่ใกล้ลำน้ำเซ (ปัจจุบันคือลำน้ำเสียว) น้ำไหลแรงเซาะตลิ่งชัยภูมิไม่เหมาะสม จึงมีใบบอกไปยังพระเจ้ากรุงธนบุรีขอย้ายเมืองไปตั้งตำบลดงเท้าสาร ห่างจากเดิม 100 เส้น ซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองเก่าชัยภูมิดี ตั้งชื่อว่าเมืองสุวรรณภูมิ ตั้งท้าวโอ๊ะบุตรท้าวเชียงเป็นพระยารัตนวงศาเป็นเจ้าเมืองสุวรรณภูมิ (หรือศรีภูมิ) สร้างหลักเมืองและวัดพร้อมกัน 2 วัด คือ วันกลางและวัดใต้

    พ.ศ. 2318 ท้าวทนซึ่งไปอยู่ดงเมืองจอกได้เข้าหาพระยาพรหม พระยากรมท่า ซึ่งเห็นว่าท้าวทนมีบ่าวไพร่มากประมาณ 6,000 คน จึงมีใบบอกไปยังกรุงธนบุรีขอตั้งท้าวทนเป็นเจ้าเมือง โดยยกบ้านกุ่มฮ้าง ซึ่งเป็นเมืองร้อยเอ็ดเก่า ยกขึ้นเป็นเมืองร้อยเอ็ดตามเดิม ตั้งท้าวทนเป็นพระขัติยะวงษา (ท้าวทนคือต้นตระกูล ธนสีลังกูรปัจจุบัน)

    พ.ศ.2326 พระขัติยะวงษา (ท้าวทน) ถึงแก่กรรม มีบุตร 3 คน คือ ท้างสีลัง ท้าวภู ท้าวอ่อน โปรดเกล้าฯ ตั้งท้าวสีลังเป็นพระขัติยะวงษา เจ้าเมืองให้ท้าวภูเป็นอุปราชเมือง

    พ.ศ.2330 ท้าวสูนเจ้าเมืองสุวรรณภูมิถูกทิดโคตรฟันถึงแก่กรรม จึงโปรดเกล้าฯ ตั้งท้าวอ่อนเป็นบุตร พระขัติยะวงษา (ท้าวทน) ซึ่งถวายตัวเป็นมหาดเล็กอยู่กรุงเทพฯ ให้เป็นเจ้าเมืองสุวรรณภูมิ

    พ.ศ.2433 มีการจัดการปกครองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ออกเป็น 4 บริเวณ ร้อยเอ็ดเป็นบริเวณหนึ่งขึ้นต่อเมืองอุบลและนครจำปาศักดิ์

    พ.ศ. 2434 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือแบ่งเป็น 2 มณฑล ร้อยเอ็ดขึ้นต่อมณฑล ?ลาวกาว? ซึ่งต่อมาเป็นมณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ และมณฑลอีสานตามลำดับ

    พ.ศ.2451 ได้เปลี่ยนชื่อ ?บริเวณร้อยเอ็ด? เป็นจังหวัดร้อยเอ็ด

    พ.ศ.2455 มณฑลอีสาน แยกเป็น 2 มณฑล ได้แก่ มณฑลอุบล และมณฑลร้อยเอ็ด

    พ.ศ.2495 ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้ยุบมณฑลต่าง ๆ มณฑลร้อยเอ็ดจึงเปลี่ยนเป็นจังหวัดร้อยเอ็ดจนถึงปัจจุบัน

  2. #2
    กุลวรินทร์
    Guest

    รอบยิ้มพิมใจ คำขวัญประจำจังหวัดร้อยเอ็ด

    สิบเอ็ดประตูเมืองงาม เรืองนามพระสูงใหญ่
    ผ้าไหมสาเกต บุญผะเหวดประเพณี
    มหาเจดีย์ชัยมงคล งามน่ายลบึงพลาญชัย
    เขตกว้างไกลทุ่งกุลา โลกลือชาข้าวหอมมะลิ

  3. #3
    กุลวรินทร์
    Guest

    รอบยิ้มพิมใจ

    สถานที่ท่องเที่ยว ในเขตอำเภอเมืองร้อยเอ็ด

    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติร้อยเอ็ด

    จัดตั้งขึ้นตามโครงการการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำเมืองเป็นสถานที่จัดแสดงและรวบรวมเรื่องราวน่ารู้ทุกด้านของ จังหวัด เดิมที่เดียวนั้นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติร้อยเอ็ดจัดตั้งขึ้นตามดำริของท่านศาสตราจารย์ ดร.ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ในอันที่จะเป็นพิพิธภัณฑ์ฯ ศิลปหัตถกรรมอีสาน โดยเฉพาะผ้าไหม และ ผ้าพื้นเมือง ต่อมาเมื่อกรมศิลปกรมีนโยบายในการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำเมือง จึงได้ทำการปรับปรุงเพิ่มเติมเนื้อหาในการจัดแสดงให้ครอบคลุมข้อมูลเรื่องราวของจังหวัดทุกด้าน ทั้งด้านภูมิศาสตร์ทรัพยากรธรณี โบราณคดี ประวัติศาสตร์ บุคคลสำคัญ วิถีชีวิต ประเพณี และศิลปหัตถรรม เริ่มโครงการจัดตั้งมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2536 ซึ่งเป็นปีที่ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารต่อเนื่อง มาจนกระทั่ง ปี 2540 จึงดำเนินการได้แล้วเสร็จสมบูรณ์ ประกอบด้วยงบประมาณด้านการจัด แสดงนิทรรศการถาวร ปรับสภาพภูมิทัศน์ติดตั้งระบบไฟฟ้าและระบบปรับอากาศ จัดทำห้องประชุมและนิทรรศการพิเศษ ปรับปรุงบ้านพักเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้เฉพาะการจัดแสดงได้มีการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่ ได้แก่ ระบบสารสนเทศ การทำหุ่นจำลองและฉากชีวิตต่าง ๆ เข้ามาประกอบการนำเสนอเรื่องราว ทำให้อาจกล่าวได้ว่าเป็น

    สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ร้อยเอ็ด

    เป็นสวนสาธารณะกลางเมือง อยู่หน้าศาลากลางจังหวัด เปิดเมื่อปี พ.ศ.2529 ตกแต่งบริเวณด้วยไม้ดอกไม้ประดับนานาพันธุ์และต้นไม้น้อยใหญ่เพื่อความร่มรื่น จุดเด่นของสวนแห่งนี้อยู่ที่น้ำพุบริเวณใจกลางสวนที่พุ่งฉีดในระดับสูงมีหอนาฬิกากลางเมืองสีขาว สวยเด่นเป็นสง่าแก่เมืองร้อยเอ็ด มีอาคารอ่านหนังสือไว้สำหรับบริการประชาชน สถานที่แห่งนี้ใช้เป็นสถานที่จัดงานเทศกาลและพิธีการต่าง ๆ ของจังหวัด

    วัดกลางมิ่งเมือง


    ตั้งอยู่บนเนินในเมืองเป็นวัดเก่าแก่สันนิษฐานว่าสร้างก่อนตั้งเมืองร้อยเอ็ดส่วนอุโบสถสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย ในอดีตเคยใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาปัจจุบันเป็นสถานที่ศึกษาปริยัติธรรม และสถานที่สอบธรรมสถาน บริเวณผนังรอบอุโบสถมีลวดลายภาพวาดแสดงถึงพุทธประวัติ สวยงามและมีค่าทางศิลปะ

    วัดบูรพาภิราม

    อยู่ในเขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด มีพระพุทธรูปปางประทานพรที่สูงที่สุดในประเทศไทย
    คือพระพุทธรัตนมงคลมหามุนีสร้างด้วยคอน กรีตเสริมเหล็กที่ฐานพระพุทธรูปองค์นี้เป็นห้องพิพิธภัณฑ์จำนวนหลายห้องความสูงขององค์พระวัดจากพระบาทถึงยอดเกศสูงถึง59 เมตร 20เซนติเมตร

    บึงพลาญชัย

    ตั้งอยู่บริเวณกลางเมืองร้อยเอ็ดอยู่ในเขตเทศบาลเมืองร้อยเเอ็ดถือเป็นสัญลักษณ์ของ จังหวัด มีลักษณะเป็นเกาะอยู่กลางบึงน้ำขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 2 แสนตารางเมตร เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ตกแต่งเป็นสวนดอกไม้ขนาดใหญ่ มีพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ร่มรื่น และในบึงน้ำมีปลาชนิดต่างๆ หลายพันธุ์มากมายมีเรือสำหรับให้ประชาชนได้พายเล่นในบึง

    วัดสระทอง

    ตั้งอยู่ภายในตัวเมืองเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระสังกัจจายน์
    ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่ชาวร้อยเอ็ดเคารพสักการะสร้างในสมัยใดไม่ปรากฏ เมื่อปี พ.ศ.
    2325 พระยาขัตติยะ-วงษา (ท้าวธน) ซึ่งเป็นเจ้าเมืองร้อยเอ็ดคนแรกได้พบพระองค์นี้
    เห็นว่ามีความเก่าแก่และศักดิ์สิทธิ์มาก จึงได้นำมาประดิษฐานที่วัดสระทองและยกให้
    เป็นพระคู่บ้านคู่เมือง ในอดีตข้าราชการทุกคนต้องมาสาบานตนต่อหน้าหลวงพ่อว่า
    จะซื่อสัตย์ต่อบ้านเมืองเป็นประจำทุกปี

    สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ

    เป็นอาคารที่รวบรวมพันธุ์สัตว์น้ำจืดท้องถิ่น ที่อาศัยในแหล่งน้ำต่างๆ ของภาคอีสาน แสดงพัฒนาการความเป็นอยู่ของสัตว์น้ำจืด เป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้ ตลอดจนศึกษาวิธีการแพร่พันธุ์ และสร้างจิตสำนึกตระหนักถึงความสำคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำและสิ่งแวดล้อม ตั้งอยู่ในกลางเมืองร้อยเอ็ด ระหว่างบึงพลาญชัยและวัดบึงพระลานชัย

  4. #4
    Membership renewed สัญลักษณ์ของ euro
    วันที่สมัคร
    May 2006
    กระทู้
    163
    ขอบคุณสำหรับข้อมูล นะค่ะ
    Warum kommt meine liebe nicht bei dir an

  5. #5
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ lukhin_inter
    วันที่สมัคร
    Sep 2007
    ที่อยู่
    อิสานใต้ ประเทศไทย
    กระทู้
    1,860
    เคยผ่าน..เคยไปนอนแถวสุวรรณภูมิ พึ่งได้อ่านประวัติจริง ๆ ก็คราวนี้ ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีดีที่นำมาฝากค๊า
    อุปสรรคเป็นได้ทั้งบันไดให้ก้าวขึ้นไป...หรือ
    เป็นภูผาที่ขวางกั้น...ขึ้นอยู่กับว่าจะมองมุมไหน

  6. #6
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ ฅนภูไท
    วันที่สมัคร
    Apr 2007
    กระทู้
    2,115
    บล็อก
    1
    เอาเพลงมาฝากครับ

    [MUSIC]http://www.hotlinkfiles.com/files/416191_pzmrs/sakate2.mp3[/MUSIC]

  7. #7
    s.lawan
    Guest

    ขอบคุณครับ

    ขอขอบคุณอย่างหองครับ ผมเกิดอยู่ร้อยเอ็ด ไหญ่อยู่ร้อยเอ็ด เป็นคนร้อยเอ็ดโดยกำเนิด แต่ว่าบ่อเคยฮู้ละเอียดปานนี่เลย ขอบคุณอีกเทือครับ

  8. #8
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ นิลมณีหยก
    วันที่สมัคร
    Aug 2007
    กระทู้
    496
    ปาดฮู้ละเอียดเนาะขนาดตุ๊กอยู่ร้อยเอ็ดยังบ่ค่อยฮู้อีหยังเลย อิอิๆๆๆๆๆ

  9. #9
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ ttoorrhh
    วันที่สมัคร
    Jan 2007
    ที่อยู่
    ปทุมรัตต์ ร้อยเอ็ดครับ
    กระทู้
    97
    ปทุมรัตต์ครับบบบบ....

    เมืองดอกบัวแดง แหล่งผ้าไหมชั้นดี ประเพณีบุญคูนลาน จักสานลือเลื่อง ฟูเฟื่องวัฒนธรรม

    ถืกบ่บุนิ...

  10. #10
    เมืองร้อยเอ็ด ผุบ่าวมีตะผุหล่อๆเนาะเอื้อยกุลฯเนาะ::)::)
    ชะตาฟ้าลิขิต...แต่ชีวิตเป็นของข้า

หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 3 หน้า 123 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •