หนองหานเมืองสกลนคร


หนองหานเมืองสกลนคร

หนองหานเมืองสกลนคร

หนองหาร ที่ตั้งและอาณาเขต หนองหาร จังหวัดสกลนคร เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออก
เฉียงเหนือตั้งอยู่ประมาณเส้นรุ้งที่ 107 องศา 6 ลิปดาเหนือ กับเส้นแวงที่ 104 องศา 8 ลิปดาตะวันออก
ถึง 104 องศา 18 ลิปดาตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยปานกลางประมาณ 158 เมตร ความกว้างประมาณ
7 กิโลเมตร ยาว 18 กิโลเมตร พื้นที่รวมทั้งสิ้น 123 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมเขตการปกครองเทศบาลเมือง
สกลนคร กับอีก 10 ตำบล ของอำเภอเมืองสกลนครและอำเภอโพนนาแก้ว ได้แก่ ตำบลธาตุเชิงชุม
ตำบลธาตุนาเวง ตำบลเชียงเครือ ตำบลท่าแร่ ตำบลนาแก้ว ตำบลบ้านแป้น ตำบลนาตงวัฒนา ตำบลม่วงลาย
ตำบลเหล่าปอแดง และตำบลงิ้วด่อน


หนองหานเมืองสกลนคร หนองหานเมืองสกลนคร หนองหานเมืองสกลนคร

หลักฐานทางโบราณคดีบริเวณหนองหาร จังหวัดสกลนคร เป็นจังหวัดที่อยู่ในภาคอีสานตอนบน
ในบริเวณที่เรียกว่า “แอ่งสกลนคร” โดยมีแนวเทือกเขาภูพานเป็นแนวยาวทางทิศเหนือ ทิศตะวันตก
และทิศใต้ มีพื้นที่ราบอยู่ทางทิศตะวันออกลาดเอียงเข้าสู่ชายฝั่งแม่น้ำโขง สกลนครจึงนับว่า
เป็นแหล่งที่มีความอุดมสมบูรณ์ จึงเป็นแหล่งอาศัยของมนุษย์มาหลายยุคหลายสมัย ต่อเนื่องมานับตั้งแต่
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ดังปรากฎหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญ เช่น ภาพสลักผาหินที่ถ้ำผายนต์
หรือ ถ้ำผาลาย ถ้ำพระด่านแร้ง และภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ที่ถ้ำผักหวาน นอกจากนี้ยังปรากฎ
หลักฐานเกี่ยวกับภาชนะเครื่องใช้ เครื่องปั้นดินเผาต่างๆ ตลอดจนเครื่องสำริด และเครื่องโลหะ ซึ่งจากหลักฐาน
เครื่องมือเครื่องใช้ของคนก่อนประวัติศาสตร์ที่พบในจังหวัดสกลนครนี้เชื่อว่ามีอายุร่วมสมัยเดียวกันกับวัฒนธรรม
บ้านเชียง และนอกจากนี้ยังปรากฏหลักฐานทางด้านโบราณคดีจำนวนมากตั้งแต่สมัยทวารวดีโดยมีการพบใบเสมาหิน
พระพุทธรูปสมัยทวารวดีกระจายอยู่ทั่วไปซึ่งอยู่ราวพุทธศตวรรษที่ 15 - 16 ซึ่งได้รับอิทธิพลศิลปะ
จากขอมเช่นปราสาทพระธาตุนารายณ์เจงปราสาทพระธาตุภูเพ็ก ปราสาทบ้านพินนา ศิลาจารึกอักษรขอมที่
วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหารจากประวัติและหลักฐานความเป็นมาของจังหวัดสกลนครดังกล่าว
แสดงให้เห็นว่าชุมชนโบราณในบริเวณพื้นที่นี้มีการทิ้งร้างไม่อยู่ระยะหนึ่งจนกระทั่งในช่วงพุทธศตวรรษที่19
เป็นต้นมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 24 ชุมชนนี้จึงได้รับอิทธิพลพุทธศาสนาและมีการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอีกครั้งหนึ่


หนองหานเมืองสกลนคร

ลักษณะทางกายภาพของหนองหารสกลนครเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่มีน้ำเต็มอยู่ตลอดปีเนื่องจากเป็นแหล่ง
ริมน้ำจากลำน้ำหลายสาย ทำให้เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของชุมชนนี้ จึงเป็นที่สร้างบ้านแปลงเมืองนี้ตั้งแต่อดีต
จนถึงปัจจุบันดังที่ปรากฎหลักฐานทางด้านโบราณคดีตำนานและบันทึกทางประวัติศาสตร์ได้ขนานนามชุมชนนี้ว่า
เมืองหนองหารหลวง ” พื้นที่โดยรอบหนองหารยังปรากฎร่องรอยการตั้งถิ่นฐานย้อนหลังขึ้นไปจนถึงยุค
ก่อนประวัติศาสตร์ ดังรายละเอียด ดังนี้


หนองหานเมืองสกลนคร

เกาะดอนสวรรค์ใหญ่ อำเภอเมืองสกลนคร เป็นดอนใหญ่ที่สุดในหนองหารอยู่ห่างจากฝั่งด้านสถานีประมงจังหวัด
สกลนคร ประมาณ 7 กิโลเมตร ทางด้านทิศใต้ของดอนจะอยู่ใกล้กับบ้านพักของประมงจังหวัดสกลนครมีรากฐาน
ศาสนสถานเก่า ขนาดไม่ใหญ่โตนัก 1 แห่ง ก่อด้วยศิลาแลง ขนาดกว้างประมาณ 39.40 เซ็นติเมตร
ยาว 50 เซ็นติเมตร หนา 12 เซ็นติเมตร รอบ ๆ บริเวณซากศาสนสถานมีศิลาแลง กระจายเกลื่อนอยู่มากมาย
บนซากฐานแลงมีร่องรอยการก่อสร้างเป็นศาสนสถานด้วยอิฐในรุ่นหลังและมีชิ้นส่วนของเสา 8 เหลี่ยมก่อด้วย
อิฐฉาบปูนหักตกอยู่ด้วยอีก 2 ชิ้นถัดจากซากศาสนสถาน ไปทางเหนือเล็กน้อยเป็นศาลาโถง สร้างใหม่ด้วย
ไม้เป็นที่ประดิษฐาน รอยพระพุทธบาท ยาวประมาณ 135 เซ็นติเมตร สลักรอยพระพุทธบาทเป็นมงคล 108
ซึ่งเข้าใจว่านำโบราณวัตถุในสมัยรัตนโกสินทร์ส่วนในสุดของศาลาโถง มีชิ้นส่วนพระพุทธรูปปั้นด้วยปูนขาว
ที่ได้รับการซ่อมแซมใหม่แล้ว 2 องค์


หนองหานเมืองสกลนคร หนองหานเมืองสกลนคร

ดอนสวนหมาก อำเภอเมืองสกลนคร เป็นดอนเล็ก ๆ อยู่ห่างจากดอนสวรรค์ใหญ่ไปทางทิศใต้ประมาณ 3-4 กิโลเมตร
ทอดยาวไปตามแกนแนวเหนือ-ใต้ ผงเศษภาชนะดินเผามีทั้งชนิดลายเชือกทาบ ลายขูดขีดและแบบยังเรียบทาสลับส
ีต่าง ๆ ความหนาต่าง ๆ กัน หลายชิ้นมีลักษณะร่วมสมัยรุ่นเดียวกับบ้านเชียง และบางชิ้นก็น่าจะอยู่ในสมัยทวารวดี
และอื่น ๆด้านทิศใต้ของดอน พบว่ามีซากฐานศาสนสถานก่อด้วยศิลาแลง และหินทรายประกอบกันพอสังเกตเห็นได้ว่า
เป็นส่วนมุมของสิ่งก่อสร้างอย่างค่อนข้างชัดเจนถึง 2 จุดด้วยกัน ด้านเหนือของซากศาสนสถานหลักเสมาหินทราย
โผล่เหนือผิวดินขึ้นมาประมาณ 15 เซ็นติเมตร หนาประมาณ 15 เซ็นติเมตร เห็นรอยสลักเป็นยอดแกนสถูปทั้งสองด้าน


หนองหานเมืองสกลนคร

บ้านคูสนาม ตำบลงิ้วด่อน อำเภอเมืองสกลนคร ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 17 องศา 06 ลิบดา 27 ฟิลิปดาเหนือ และลองติจูด 104 องศา 10 ลิปดา 18 ฟิลิปดาตะวันออก สภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม จากภาพถ่ายทางอากาศแหล่งชุมชนโบราณจะอยู่กึ่งกลางหมู่บ้าน มีคันดินชั้นเดียวล้อมรอบ กว้างประมาณ 300 เมตร ยาวประมาณ 500 เมตร ลักษณะคล้ายเป็นสระเก็บน้ำ ในฤดูแล้งมากกว่าจะเป็นคูเมือง อย่างไรก็ตามเนื่องจากเป็นที่ลุ่มน้ำท่วมถึงและไม่มีเนินดินที่แสดงว่าใช้เป็นที่ฝังศพ จึงไม่พบหลักฐานเครื่องมือเครื่องใช้ ในการดำรงชีวิตและพิธีกรรม หลักฐานที่สำคัญได้แก่ โบสถ์แบบล้านช้างปรากฎอยู่ในบริเวณที่สร้างโบสถ์ใหม่ ในปัจจุบันดินบางส่วนถูกบุกรุกเป็นเขตไร่นาของชาวบ้านที่มีที่ดินใกล้ชิดบริเวณที่ เช่น คูสนาม

บ้านโพธิ์ศรี ตำบลงิ้วด่อน อำเภอเมืองสกลนคร บ้านโพธิ์ศรีอยู่ห่างจากบ้านคูสนามประมาณ 4 กิโลเมตร จากภาพถ่ายทางอากาศ บ้านโพธิ์ศรีมีคันดิน เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ ชาวบ้านเรียกคันดินนี้ว่า “คูขวางคูซอย” พื้นที่กว้างประมาณ 500 เมตร ยาวประมาณ 900 เมตร สูง 1.50 เมตร ความกว้างของสันคูประมาณ 10 เมตร อย่างไรก็ตาม ลักษณะของคันดินดังกล่าวเชื่อว่าอาจใช้กักเก็บน้ำเพื่อการเพาะปลูกในชุมชนแห่งนี้มากกว่าเป็นคูเมือง

ในด้านหลักฐานโบราณคดีอื่นๆชาวบ้านได้ขุดพบไหน้ำอ้อยและไหสีขาวอ่อน พบโครงกระดูกที่มีขนาดใหญ่ในบริเวณทิศตะวันออกเฉียงเหนือของหมู่บ้าน พบไหบรรจุกระดูกซึ่งคาดว่าคงเป็นการฝัง 2 ครั้ง คือนำผู้ตายมาฝั่งในหลุมศพจนเน่าเปื่อยแล้วนำกระดูกบรรจุไหฝังอีกครั้งหนึ่งซึ่งเป็นประเพณีฝังศพของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์


บ้านหนองสระ ตำบลดงชน อำเภอเมืองสกลนคร ตั้งอยู่ริมหนองหารสกลนคร ทางทิศใต้เป็นเนินดินยาวชาวบ้านขุดพบภาชนะลายเชือกทางอย่างหยาบ ๆ โครงกระดูกมนุษย์เครื่องประดับสำริด และเครื่องมือเหล็ก ในระดับ 1.50 เมตร บริเวณนี้ไม่พบภาชนะเขียนสีแบบบ้านเชียง ที่พบที่บ้านม่วงตำบลห้วยยาง อำเภอเมืองสกลนครแต่บรรดาเครื่องปั้นดินเผาและโบราณวัตถุอื่นมีลักษณะเหมือนกันกับที่บ้านม่วง

บ้านนาดอกไม้ ตำบลธาตุนาเวง อำเภอเมืองสกลนคร เป็นเนินดินยาว อยู่ริมหนองหารสกลนคร ทางซีกตะวันตกพบโครงกระดูกภาชนะลายเชือกทาบอย่างหยาบ ๆ เครื่องประดับสำริด ลูกปัดแก้วและเครื่องมือเหล็กในระดับ 1.50 เมตร แต่ไม่พบภาชนะเขียนสีแบบบ้านเชียง จากการพบแหล่งโบราณคดีนี้ บ้านนาดอกไม้ บ้านหนองสระ และบ้านม่วง ซึ่งล้วนแต่กระจายอยู่ริมขอบหนองหารสกลนคร ทำให้ตระหนักว่าแหล่งเหล่านี้น่าจะเป็นแหล่งก่อนประวัติศาสตร์ ที่มีทั้งความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมบ้านเชียงและแตกต่างจากบ้านเชียง

บ้านท่าลาด ตำบลเหล่าปอแดง อำเภอเมืองสกลนคร ตั้งอยู่ริมหนองหารสกลนครด้านทิศใต้ เป็นบริเวณที่พบเศษเครื่องปั้นดินเผาลายเชือกทาบแบบหยาบ ๆแต่ไม่พบโครงกระดูกมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ พบเนินดินที่มีการสร้างศาสนสถาน ในสมัยทราวดีตอนปลาย และลพบุรีเรื่อยมาจนถึงสมัยล้านช้าง โบราณสถานที่สำคัญ ได้แก่ เนินดินที่มีเสมาหินปักล้อม ในเขตวัดท่าวัดเหนือ เป็นเสมาขนาดเล็กที่มีการสลักเป็นพระสถูป หรือลวดลายที่เป็นสัญลักษณ์ทางพุทธศาสนาพบฐานวิหารก่อด้วยศิลาแลงและอิฐ พบพระพุทธรูปแบบทวาราวดี ตอนปลายและแบบลพบุรีและฐานพระพุทธรูปศิลาขนาดใหญ่ในสมัยล้านช้าง มีการสร้างโบสถ์ฐานก่อด้วยอิฐในบริเวณนี้หลายแห่งหลักฐานด้านโบราณคดีที่บ้านท่าวัด เป็นประจักษ์พยานให้เห็นว่าชุมชนในบริเวณรอบ ๆ หนองหารสกลนครนี้ ได้พัฒนาเข้าสู่สมัยที่มีการนับถือพระพุทธศาสนาในสมัยทวาราวดีตอนปลายก่อนที่จะมีการสร้างเมืองหนองหารหลวงขึ้นริมหนองหารสกลนคร และมีการสร้างศาสนสถานแบบขอมในสมัยลพบุรี


หนองหานเมืองสกลนคร หนองหานเมืองสกลนคร

บริเวณรอบๆหนองหาร จัดเป็นสวนสุขภาพขนาดใหญ่ เีรียกว่าสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อสระพังทอง
จัดเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ มีพรรณไม้นานาชนิด สวนหย่อมสวยงาม เหมาะแก่การออกกำลังกายและพักผ่อนหย่อนใจ


หนองหานเมืองสกลนคร หนองหานเมืองสกลนคร หนองหานเมืองสกลนคร

[MUSIC]http://www.hotlinkfiles.com/files/370165_73ujz/rimfangnonghan.wma]rimfangnonghan.wma[/MUSIC]