เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficency Economy)

นิยามของความพอเพียง

1. พอเพียงสำหรับทุกคน - ทุกครอบครัว ไม่ใช่เศรษฐกิจแบบทอดทิ้งกัน

2. จิตใจพอเพียง - รัก + เอื้อาทรผู้อื่น

3. สิ่งแวดล้อมพอเพียง - อนุรักษ์ และ เพิ่มพูนสิ่งแวดล้อมที่เป็นพื้นฐานในการประกอบ

อาชีพ

4. ชุมชนเข้มแข็งพอเพียง - มีการรวมตัวกันแก้ไขปัญหาต่าง ๆ

5. ปัญญาพอเพียง - เรยนรู้ร่วมกัน เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก

6. มีความมั่นคงพอเพียง - ไม่ผันผวนรวดเร็วจนกระทั่งมนุษย์ไม่อาจรับได้

7. ตั้งอยู่บนพื้นฐานวัฒนธรรมพอเพียง - มีการรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมของตน

ที่หนุ่มอุดรได้กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็นสิ่งที่เรียกว่า นิยามของความพอเพียงโดยรวม

ซึ่งแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficency Economy) ดังกล่าวนี้

มีที่มาของแหล่งปรัชญา / แนวคิดที่มาจาก

กระแสพระราขดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เป็นหลัก

นอกจากนั้นแล้วแนวคิดดังกล่าวนี้ยังเกี่ยวโยงกับ แนวคิดของพุทธศาสนา ที่ยึดหลัก

มัชฌิมาปฏิปาทา ( การเดินทางสายกลาง ) และ ความเอื้อาทร ความสะอาด สงบ สว่าง

นอกจากนั้นยังเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกับ วิถีไทย ที่เน้นความอาทร การมีวิถีชีวิต - วิถี

วัฒนธรรมร่วมกัน เฉกเช่นชุมชนบ้านมหาที่ผมอาศัยอยู่แห่งนี้ด้วยเช่นกัน

ความพอเพียงตามแนวพระราชดำรัสมีองค์ประกอบคือ

1. ความพอประมาณ - ความพอดี ไม่น้อยเกินไป ไม่มากเกินไป และไม่เบียดเบียน

ตนเองและผู้อื่น

2. ความมีเหตุผล - ทุกการตัดสินใจ การกระทำ การลงทุน ต้องเป็นไปอย่างมีเหตุมีผล

กล่าวคือ ต้องคำนึงถึงเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง

และต้องคำนึงถึงผลที่จะเกิดตามมาในภายหลังนั้นอย่างรอบคอบ และมีสติ

3. การมีภูมิคุ้มกัน - คือการเตรียมตัวให้พร้อมที่จะเผชิญผลกระทบและการเปลี่ยนแปลง

ด้านต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ทั้งจากภายใน และ จากภายนอก

และนอกจากการที่เราจะยึดหลักการ เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficency Economy)

มาใช้ในการดำรงชีวิตในด้านต่าง ๆ แล้ว เราควรที่จะมีองค์ประกอบ หรือ เงื่อนไขของ

การดำเนินการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficency Economy) กล่าวคือ

การที่จะนำแนวคิดดังกล่าวมาปรับใช้ต้องวางอยู่บนพื้นฐานของ

1. การมีความรู้ / มีความรอบรู้ / รอบคอบ ทั้งระมัดระวังในการนำความรู้ วิทยาการ

และเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ในการดำรงชีวิตอย่างพอควร ไม่ทำลายธรรมชาติ

2. มีคุณธรรม - มีความตระหนัก มีความอดทน มีความเพียร และใช้สติ + ปัญญา

เท่านั้นผลที่จะเกิดจากการนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง มาปรับใช้ที่คาดว่าจะได้รับก็คือ

การมี "ชีวิตอยู่เย็น สังคมเป็นสุข"

ชุมชนมีการพัฒนาที่เข้มแข็งจากรากหญ้า

สังคมมีความเอื้อาทร

****************************************************

ที่กล่าวมานั้นเป็นเพียงการเสนอแนวคิดเกี่ยวกับ เศรษฐกิจพอเพียง ที่หนุ่มอุดร

เพิ่งนำไปตอบในข้อสอบวิชาเอกของหนุ่มอุดรเองเมื่อการสอบปลายภาคที่ผ่านมา

แต่หนุ่มอุดรเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับชุมชนบ้านมหาของเรา

เลยนำมาเผยแพร่เป็นวิทยาทานแก่กัน

****************************************************