ธงชาติไทย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธงไตรรงค์

มาฮู้จักธงชาติไทยกันครับ

มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 6 ส่วน ยาว 9 ส่วน ด้านกว้างแบ่งเป็น 5 แถบตลอดความยาวของผืนธง ตรงกลางเป็นแถบสีน้ำเงินแก่กว้าง 2 ส่วน ต่อจากแถบสีน้ำเงินแก่ออกไปทั้ง 2 ข้างเป็นแถบสีขาวกว้างข้างละ 1 ส่วน ต่อจากแถบสีขาวออกไปทั้ง 2 ข้างเป็นแถบสีแดงกว้างข้างละ 1 ส่วน[1] เหตุที่เรียกชื่อว่าธงไตรรงค์เพราะสีที่ประกอบเข้าเป็นธงชาติมี 3 สี คือ สีแดง สีขาว และสีน้ำเงิน (สีขาบ)
ความหมายของธง
ในพระราชนิพนธ์เครื่องหมายแห่งไตรรงค์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้นิยามความหมายของธงไว้ว่า

* สีแดง หมายถึง เลือดอันยอมพลีให้แก่ชาติ
* สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์แห่งพระพุทธศาสนา
* สีน้ำเงิน หมายถึง สีส่วนพระองค์ขององค์พระมหากษัตริย์

ต่อมาความหมายได้กลายไปเล็กน้อย โดยสื่อความหมายถึงสถาบันหลักของชาติ 3 สิ่ง ดังนี้

* สีแดง หมายถึง ชาติ
* สีขาว หมายถึง ศาสนา
* สีน้ำเงิน หมายถึง พระมหากษัตริย์

ทั้งสามสิ่งนี้ถือเป็นคติหรือคำขวัญอย่างไม่เป็นทางการของประเทศไทยในปัจจุบัน

มาฮู้จักธงชาติไทยกันครับ

ธงชัยเฉลิมพลของกองทหารอาสาในสงครามโลกครั้งที่ 1 ด้านหน้า

ประวัติศาสตร์การใช้ธงเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทยถือกันว่าเริ่มขึ้นในรัชสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 2199 - พ.ศ. 2231) โดยเป็นธงพื้นสีแดง และไม่มีสัญลักษณ์ใดๆ ในสมัยต่อๆ มา ได้มีการนำสัญลักษณ์ต่างๆ มาประดับบนธงพื้นสีแดงเพิ่มเติมเพื่อใช้เป็นธงสำหรับเรือหลวง ได้แก่ จักรสีขาววงใหญ่ และช้างเผือกในจักรสีขาว ส่วนเรือค้าขายเอกชนยังคงใช้ธงสีแดงเกลี้ยงเหมือนเดิม

ธงชาติอย่างเป็นทางการแบบแรกมีขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมื่อปี พ.ศ. 2398 โดยเป็นธงพื้นสีแดง มีรูปช้างเผือกเปล่าอยู่ตรงกลาง เนื่องจากมีเหตุผลว่า ธงพื้นสีแดงเพียงอย่างเดียวไม่พอที่จะสามารถแยกแยะประเทศได้ในการติดต่อระหว่างประเทศ

ในปี พ.ศ. 2459 มีบันทึกว่า ในขณะนั้นประเทศไทยประสบกับอุทกภัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังเมืองอุทัยธานี และทอดพระเนตรเห็นธงชาติถูกแขวนกลับหัว พระองค์จึงมีพระราชดำริว่า ธงชาติต้องมีรูปแบบที่สมมาตรเพื่อไม่ให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้เปลี่ยนรูปแบบธงชาติอีกครั้ง โดยเปลี่ยนเป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีแถบยาวสีแดง 3 แถบ สลับกับแถวสีขาว 2 แถว ซึ่งเหมือนกับธงชาติไทยในปัจจุบัน แต่มีเพียงสีแดงสีเดียว

พ.ศ. 2460 แถบสีแดงตรงกลางได้เปลี่ยนเป็นสีขาบ (สีน้ำเงินเข้มเจือม่วง) ดังปรากฏอยู่ในปัจจุบัน[4] เหตุที่รัชกาลที่ 6 ทรงเลือกสีนี้เพราะเป็นสีประจำวันเสาร์ ซึ่งเป็นวันพระราชสมภพของพระองค์ ทั้งสีน้ำเงินยังแสดงถึงความเป็นหนึ่งเดียวของฝ่ายสัมพันธมิตร ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งใช้สีแดง ขาว น้ำเงินเป็นสีในธงชาติเป็นส่วนใหญ่ด้วยอีกประการหนึ่ง ธงชาติแบบใหม่นี้ได้รับพระราชทานนามว่า "ธงไตรรงค์" และอวดโฉมต่อสายตาชาวโลกครั้งแรกในสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งกองทหารอาสาของไทยได้ใช้เชิญไปเป็นธงชัยเฉลิมพลประจำหน่วย

พ.ศ. 2470 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำริว่า ธงชาติไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาหลายครั้งแล้ว ควรหาข้อกำหนดเรื่องธงชาติให้เป็นการถาวร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชบันทึกพระราชทานไปยังองคมนตรี เพื่อให้เสนอความเห็นของคนหมู่มากว่า จะคงใช้ธงไตรรงค์ดังที่ใช้อยู่เป็นธงชาติต่อไป หรือจะกลับไปใช้ธงช้างแทน หรือจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงลักษณะธงชาติ กับวิธีใช้ธงไตรรงค์อย่างไร ผลปรากฏว่าความเห็นขององคมนตรีแตกต่างกระจายกันมาก จึงมิได้กราบบังคมทูลข้อชี้ขาด ดังนั้นจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชวินิจฉัยลงวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 ให้คงใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติต่อไป

หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 รัฐบาลต่างๆ ยังคงรับรองให้ใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติอยู่เช่นเดิมจนถึงปัจจุบัน โดยมีการออกพระราชบัญญัติธง ฉบับ พ.ศ. 2479[5] และฉบับ พ.ศ. 2522 เป็นกฎหมายรับรองฐานะของธงไตรรงค์
ธงชาติไทยสมัยต่างๆ

มาฮู้จักธงชาติไทยกันครับ

สมัยอยุธยา - พ.ศ. 2325
(ธงเรือหลวง)
สมัยอยุธยา - พ.ศ. 2398
(ธงเรือเอกชน)

ใช้เป็นธรรมเนียมสืบมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
มาฮู้จักธงชาติไทยกันครับ

พ.ศ. 2325 - 2360
พระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

มาฮู้จักธงชาติไทยกันครับ
พ.ศ. 2360 - 2398
พระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

มาฮู้จักธงชาติไทยกันครับ
พ.ศ. 2398 - 2459
พระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างธงสยาม ร.ศ. 110
พระราชบัญญัติธง ร.ศ. 116
พระราชบัญญัติธง ร.ศ. 118
พระราชบัญญัติธง ร.ศ. 129

มาฮู้จักธงชาติไทยกันครับ
พ.ศ. 2459 - 2460
พระราชบัญญัติธง ร.ศ. 129 (ธงราชการ)
พระบรมราชโองการ ประกาศเพิ่มเติมและแก้ไขพระราชบัญญัติธง ร.ศ. 129 พ.ศ. 2459

มาฮู้จักธงชาติไทยกันครับ
พ.ศ. 2459 - 2460
พระบรมราชโองการ ประกาศเพิ่มเติมและแก้ไขพระราชบัญญัติธง ร.ศ. 129 พ.ศ. 2459 (ในชื่อ "ธงค้าขาย")

มาฮู้จักธงชาติไทยกันครับ
พ.ศ. 2460 - ปัจจุบัน
พระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติธง พระพุทธศักราช 2460
พระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2479
พระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2522