ของดีเมืองยโสธรครับพี่น้อง



บุญบั้งไฟ
ประเพณีบุญบั้งไฟ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "บุญเดือนหก" จัดเป็นบุญประจำปีทุกปีช่วงเดือน พฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงที่ก่อนจะลงมือทำนา สำหรับที่จังหวัดยโสธรจะจัดงานบุญบั้งไฟใน สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมในวันศุกร์เป็นวันที่คณะบั้งไฟทั้งหลายจัดขบวนเซิ้งเพื่อ ขอรับเงิน ซื้ออาหาร เครื่องดื่ม และสิ่งของจำเป็นในการร่วมทำบุญ สำหรับวันเสาร์จะเป็น วันแห่ขบวนฟ้อนรำเพื่อการแข่งขันด้านความสวยงาม ของท่าฟ้อนรำในจังหวะต่าง ๆ ตลอดทั้งการตกแต่งบั้งไฟ และจัดขบวนที่สวยงาม ส่วนในวันอาทิตย์ จะเป็นวันจุดบั้งไฟ แข่งขันการขึ้นสูงของบั้งไฟและลอยอยู่ในอากาศได้นาน จะเป็นเครื่องตัดสินการชนะเลิศ ของการแข่งขัน

เมืองแตงโมหวาน
ชาวยโสธรนอกจากทำนาเป็นอาชีพหลักแล้ว หลังจากปักดำนาเสร็จเกษตรกรจะใช้ พื้นที่ดอน ปลูกแตงโมเพื่อเป็นอาชีพเสริม ด้วยความขยัน และยึดความต้องการ ของตลาดเป็นหลัก ทำให้มีรสหวาน และได้ผลตอบแทนที่ค้มค่ากับความเหน็ดเหนื่อย ชาวบ้านจึงปลูกแตงโมมาอย่างต่อเนื่อง มีการลงทุนแม้ราคาเมล็ดพันธุ์แตงโม จะมีราคาสูงมากก็ตาม มีการ ปรับเปลี่ยนพันธุ์พืชให้เหมาะสมกับความนิยมของ ผู้บริโภคทำให้แตงโม จากจังหวัดยโสธร มีชื่อเสียง เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคมา โดยตลอด ช่วงที่ แตงโม มีผลผลิตมากที่สุดอยู่ระหว่างเดือนกันยายน - เดือนตุลาคม พื้นที่ปลูก แตงโมมากที่สุดได้แก่อำเถอเมืองยโสธร อำเภอป่าติ้ว อำเภอคำเขื่อนเแก้ว และอำเภอเลิงนกทา ตามลำดับ แตงโมหวานจึงเป็นความต้องภูมิใจหนึ่งของ ชาวจังหวัดยโสธร

หมอนขวานผ้าขิด บ้านศรีฐาน
บ้านศรีฐาน ตำบลศรีฐาน อำเภอป่าติ้ว เป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่มีชื่อเสียงในด้านหัตถกรรมการ ทำหมอนขิดซึ่งได้รักษาวัฒนธรรมทางหัตถกรรมของภาคอีสานไว้ได้อย่างดีเยี่ยมและยังได้นำมาประยุกต์เข้ากับศิลปะปัจจุบันตลอดจนประโยชน์ใช้สอยได้อย่างกลมกลืนตามสมัยนิยม ผ้าทอลายขิดเป็นผ้าทอพื้นเมืองของภาคอีสานซึ่งมีเทคนิคการทอที่ซับซ้อนยุ่งยากกว่าการทอธรรมดา มากเพราะต้องใช้เวลาและความละเอียดประเณีตในการทอเพื่อสร้างสรรค์ให้ผ้าปรากฎลวดหลายออกมาในรูปแบบต่าง ๆ ตามความต้องการ โดยการทอยกเส้นหลักหรือเส้นเครือด้วยไม้แบบปลายเรียวมน แล้วสอดเส้นสานหรือทอเข้าไปตามร่องไม้ที่ยกเอาไว้แล้ว นั้น ความแตกต่างของสีจากเส้นสานและเส้นหลักที่ขัดประสานกัน ทำให้เกิดรูป ต่าง ๆนี้จะมีลักษณะลายคมชัด จึงเรียกลายที่ปรากฎขึ้นนี้ว่า "ลายขิด" ผ้าขิด หรือผ้าทอลายขิดจึงเป็นชื่อที่ใช้เรียกผ้าที่เป็นลายขิดหนึ่งที่ทดโดยใช้ไม้เขี่ยหรือสะกิดช้อนเส้นด้ายยืนขึ้นแล้วสอดเส้นด้ายพุ้งไปตามแนวเส้นยืนที่ถูกงั้นซ้อนขึ้นนั้น จังหวะของการสอดเส้นพุ้งซึ่งถี่ห่างไม่เท่ากัน ทำให้เกิดลวดลายรูปแบบต่าง ๆ กัน

เมืองข้าวหอมมะลิ
ข้าวหอมมะลิหรือข้าวมะลิ 105 เป็นพันธุ์ข้าวที่ได้รับการพัฒนาเพื่อให้เป็นที่เหมาะสมกับพื้นที่ที่มีปัญหาของดินและสภาพอากาศอากาศโดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ข้าวหอมมะลิเป็นพันธุ์ข้าวที่ทนต่อความแห้งแล้งและดินเค็มได้ดี มัลักษณะพิเศษคือ คุณภาพ เมล็ดดีเมื่อหุงต้ม จะมีกลิ่นหอมคล้ายดอกมะลิ เมล็ดอ่อนนิ่ม ด้วยสภาพภูมิประเทศและอากาศที่เหมาะสม ทำให้ข้าวหอมมะลิของจังหวัดยโสธรได้รับความนิยมจากผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ เคยได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดข้าวหอมมะลิระดับประเทศถึง 3 ครั้ง นับเป็น จังหวัดเดียวที่ได้รับรางวัลข้าวเจ้าหอมมะลิดีเด่นมากที่สุด การเปิดตลาดข้าวในต่างประเทศ ข้าวหอมมะลิจากจังหวัดยโสธรถูกนำไปเป็นข้าวตัวอย่าง จากกลุ่มเกษตรกรทำนา ตำบลนาโส่ อำเภอกุดชุม และเกษตรกรทำนา ตำบลบากเรือ อำเภอมหาชนะชัยซึ่งเป็น ที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นข้าวหอมที่มีคุณภาพดีเยี่ยม
จังหวัดยโสธรมีพื้นที่ทำนาข้าว 1,033,252 ไร่ เป็นพื้นที่ปลูกข้าวเจ้า 571,145 ไร่ ปลูกข้าวเจ้าหอมมะลิ มากที่สุดถึงร้อยละ 55.50 ของพื้นที่ เกษตรส่วนใหญ่ปลูกข้าวหอมมะลิเพื่อขายสู่ตลาด อำเภอที่ปลูกมากที่สุดคือ อำเภอเมืองยโสธร รองลงมาได้แก่ อำเภอเลิงนกทา อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย อำเภอไทยเจริญ อำเภอกุดชุม อำเภอป่าติ้ว และอำเภอค้อวัง ตามลำดับ ตลาดที่สำคัญได้แก่กรุงเทพมหานคร ฉะเชิงเทรา นครปฐม ราชบุรีและสระบุรี เป็นต้น ตลาดต่างประเทศที่สำคัญคือ อินโดนิเชีย จีน และประเทศในแถบตะวันออกกลาง ข้าวหอมมะลิจึงเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีชื่อเสียงและทำรายได้ดีแก่เกษตรกรชาวจังหวัดยโสธรจนกลายเป็น
เอกลักษณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของจังหวัดยโสธร และยังเป็นหนึ่งในคำขวัญของจังหวัดยโสธรด้วย

ยังมีอีกหลายครับแต่เอาไว้ส่ำนี่สาก่อน มื่อหน่าบ่าวสิมาเว่าสู่ฟังอีกเนาะ

มาเด้อมาเบิ่ง"ของดีเมืองยโสธร"มาเด้อมาเบิ่ง"ของดีเมืองยโสธร"