กำลังแสดงผล 1 ถึง 3 จากทั้งหมด 3

หัวข้อ: ลอดลายเมืองบั่งไฟ

Hybrid View

คำตอบที่แล้วมา คำตอบที่แล้วมา   คำตอบถัดไป คำตอบถัดไป
  1. #1
    บ่าวเมฆินทร์
    Guest

    ดูวีดีโอ YouTube ออนไลน์ ลอดลายเมืองบั่งไฟ

    ยโสธร ดินแดนอันอุดมสมบูรณ์ริมฝั่งแม่น้ำชี ซึ่งได้ชื่อว่า เมืองบั้งไฟ เป็นดินแดนที่มีอดีตอันล้ำค่าและยาวนานกว่า ๒๐๐ ปี ล่วงมาแล้ว
    ยโสธร มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานเกี่ยวพันกับเมืองหนองบัวลุมภู "นครเขื่อนขัณฑ์กาบแก้วบัวบาน" (อดีตอำเภอหนองบัวลำภูในจังหวัดอุดรธานี ปัจจุบันเป็นจังหวัดหนองบัวลำภู) และเกี่ยวพันกับเมืองอุบล กล่าวคือ ประมาณปีพุทธศักราช ๒๓๑๔ พระเจ้าตา เจ้าพระวอ เสนาบดีเก่านครเวียงจันทน์ อพยพครอบครัวและบริวารหนีมาเพื่อตั้งรกรากใหม่ เนื่องจากไม่พอใจเจ้านครคนใหม่ โดยใช้ชื่อเมืองใหม่ว่าเมืองหนองบัวลุมภู ขณะเดียวกัน พระเจ้าศิริบุญสาร ซึ่งเป็นเจ้านครเวียงจันทน์อยู่เกิดหวาดระแวงจึงยกกองทัพจากนครเวียงจันทน์มาปราบปราม พระเจ้าตาถูกข้าศึกยิงด้วยอาวุธปืน และฟันด้วยดาบจนถึงแก่พิราลัยในที่รบ เจ้าพระวอ เจ้าคำผง และเจ้าฝ่ายหน้าผู้เป็นน้องทั้ง ๒ ของเจ้าพระวอ อีกทั้งเจ้าก่ำ เจ้าทิดพรมได้ยกทัพฝ่าหนีออกจากเมืองหนองบัวลุมภูไปพึ่งพาเจ้านครจำปาศักดิ์ ขบวนทัพของเจ้าพระวอได้เดินทางตามลุ่มน้ำชีมาพักกับเจ้าคำสูผู้ปกครองบ้านสิงห์ท่า (ปัจจุบัน คือ จังหวัดยโสธร ) ภายหลังต่อมาเจ้าพระวอดำริว่าหากอยู่กับเจ้าคำสูแล้ว ถ้าเวียงจันทน์ยกทัพมาก็จะเป็นการลำบาก และจะเกิดศึกสงครามกันต่อไป เมื่อประชุมตกลงกันแล้วจึงได้พาไพร่พลอพยพลงไปตามลำน้ำมูล และสร้างเมืองใหม่ที่ดอนวังกองเขตนครจำปาศักดิ์ ตามรับสั่งของพระเจ้าองค์หลวงเจ้านครจำแาศักดิ์ โดยเจ้าพระวอให้ขุดคูสร้างค่ายขึ้นเรียกว่า "ค่ายบ้านดู่บ้านแก" ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๒๑ เมื่อพระเจ้าศิริบุญสารทราบเรื่อง จึงได้ยกทัพมาปราบอีกจนเจ้าพระวอถึงแก่ความตาย เจ้าคำผงน้องเจ้าพระวอและบริวารจึงได้อพยพต่อไปยังเกาะกลางลำน้ำมูลเรียกว่า "ดอนมดแดง" แต่เนื่องจากเป็นที่ต่ำไม่เหมาะสมที่จะสร้างเมืองจึงอพยพขึ้นมาตามลำน้ำมูลถึงห้วยแจระแมแล้วมาสร้างเมืองใหม่ที่ดงอู่ผึ้งเมื่อปีกุน พ.ศ. ๒๓๒๒ แล้วมีหนังสือกราบบังคมทูลขอขึ้นอยู่ในขอบขัณฑสีมาของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรี จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามเมืองที่ตั้งว่า "เมืองอุบล" เพื่อเป็นการรำลึกถึงเมืองเดิมของตน(เจ้าคำผง) คือเมืองหนองบัวลุมภู จากนั้นเจ้าคำผงได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเจ้าเมืองคนแรกของเมืองอุบล และได้รับพระราชทินนามว่า "พระปทุมสุรราช"
    หลังจากนั้นต่อมา เจ้าฝ่ายหน้าน้องพระปทุมสุรราชเจ้าเมืองอุบล พร้อมกับนางอูสา ไพร่พลญาติวงศาอีกส่วนหนึ่งได้ขอแยกตัวไปอยู่ บ้านสิงห์ท่าซึ่งเจ้าคำสูปกครองอยู่ พระปทุมสุรราชไม่ขัดข้องจึงได้แยกย้ายกันไปทำมาหากินที่บ้านสิงห์ท่า ได้ปรับปรุงและสร้างบ้านสิงห์ท่าจนเจริญรุ่งเรือง
    จากเรื่องราวดังกล่าว จังหวัดยโสธรจึงมีความเกี่ยวพันกับจังหวัดหนองบัวลำภูและจังหวัดอุบลราชธานี
    พ.ศ. ๒๓๒๕ หลังจากที่เจ้าฝ่ายหน้าได้ไปช่วยปราบกบฏอ้ายเชียงแก้วเขาโองที่นครจำปาศักดิ์ ตามใบบอกของพระปทุมสุรราช เจ้าฝ่ายหน้าก็ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น "เจ้าพระยาวิชัยราชขัตติยวงศา" ครองนครจำปาศักดิ์ตามบัญชาของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
    พ.ศ. ๒๓๕๔ เจ้าพระยาวิชัยราชขัตติยวงศาถึงแก่พิราลัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดให้เจ้าหนู หลานเจ้านครจำปาศักดิ์ ครองนครจำปาศักดิ์สืบไป ฝ่ายเจ้าราชวงศ์สิงห์ บุตรเจ้าพระยาวิชัยราชขัตติยวงศากลับมาอยู่บ้านเดิมคือบ้านสิงห์ท่า และได้นำเอาอัฐิของเจ้าพระยาวิชัยราชขัตติยวงศากลับมาด้วย แนะนำมาก่อเจดีย์บรรจุไว้ที่วัดมหาธาตุ ใกล้กับพระธาตุพระอานนท์ซึ่งยังปรากฏอยู่จนปัจจุบัน
    พ.ศ. ๒๓๕๗ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านสิงห์ท่าขึ้นเป็นเมืองและพระราชทานนามว่า "เมืองยศสุนทร" (คำว่า "ยศสุนทร" ต่อมากลายเป็น "ยะโสธร" มีความหมายว่า "ทรงไว้ซึ่งยศ" แต่การเขียนหรือการเรียกสั้น ๆ ว่า "ยะโส" ไม่เป็นที่ไพเราะหูและไม่เป็นมงคลนาม ร.ต.ท.พวง ศรีบุญลือ นายอำเภอยะโสธร (พ.ศ. ๒๕๐๐ - ๒๕๑๓) ได้มีหนังสือขอให้เขียนชื่อเสียใหม่เป็น "ยโสธร" และได้รับอนุญาตจากกระทรวงมหาดไทยโดยความเห็นชอบของราชบัณฑิตยสถานให้เปลี่ยนได้ และใช้มาจนบัดนี้) ให้เจ้าราชวงศ์สิงห์เป็นเจ้าครองเมืองมีราชทินนามว่า "พระสุนทรราชวงศา" เป็นเจ้าเมืองคนแรกของเมืองยโสธร
    พ.ศ. ๒๔๓๓ สมัยรัชกาลที่ ๕ ได้มีการจัดรูปการปกครองใหม่ หัวเมืองอีสานชั้นเอก โท ตรีและจัตวา ถูกรวมเข้าด้วยกันเรียกว่า "กอง" สำหรับเมืองยโสธรถูกรวมเข้าอยู่ในหัวเมืองฝ่ายตะวันออกเฉียงเหนือ มีข้าหลวงตั้งกองว่าราชการอยู่ที่เมืองอุบล ประกอบด้วยหัวเมือง ๑๒ หัวเมือง คือ อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ สุวรรณภูมิ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ภูแล่นช้าง กมลาไสย เขมราฐ นองสองคอนดอนดง ยโสธร และศรีสะเกษ ซึ่งขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ
    พ.ศ. ๒๔๔๓ ได้ยุบเลิกมณฑลอีสาน เมืองยโสธรได้รวมเข้ากับเมืองอุบล โดยแยกออกเป็น ๒ อำเภอ คือ อำเภออุทัยยโสธร ภายหลังเป็นอำเภอ คำเขื่อนแก้ว และอำเภอประจิมยโสธร ภายหลังเป็นอำเภอยโสธร
    พ.ศ. ๒๔๙๔ กระทรวงมหาดไทยได้ริเริ่มขอตั้งอำเภอยโสธรขึ้นเป็นจังหวัด จนกระทั่งถึงวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๕ จึงได้มีประกาศ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๗๐ ตั้งอำเภอยโสธรขึ้นเป็นจังหวัดยโสธร โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๑๕ โดยแยกอำเภอยโสธร อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย อำเภอป่าติ้ว อำเภอเลิงนกทา และอำเภอกุดชุม ของจังหวัดอุบลราชธานี รวมกันเป็นจังหวัดยโสธร เป็นจังหวัดที่ ๗๑ ของประเทศไทย

  2. #2
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ ต้นข้าว
    วันที่สมัคร
    Dec 2007
    กระทู้
    588
    (t)

    เมืองสุดยอดข้าวหอมมะลิ
    อุดมสมบูรณ์มากๆ เลยล่ะ สำหรับยโสธร
    ไผว่าอิสานแห่งแล้ง คนยโสขอเถียงว่าบ่ได้แห้งแล้งเลย
    นาข้าวต้นข้าวสูงมาก เดินเข่าไปในทุ่งข้าว มองบ่เห็นคนเลยล่ะ

    คนทางภาคกลางสิเห็นแต่ต้นข้าวต้นเล็กๆ แต่ถ้าไปทางยโสธร
    สิได้เห็นต้นข้าวต้นใหญ่ๆ รวงข้าวรวงใหญ่ๆ เต็มท้องนาเลยล่ะจ้า

  3. #3
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ ขุนสุราพ่าย
    วันที่สมัคร
    Nov 2007
    กระทู้
    170

    เรื่องฮิตน่าอ่าน

    ประวัติ บ้านขุนฯ ตั๋วนิ 8) เฮาก่าสิฮุ้รายละเอียดก็มื้อนิหล่ะอ้าย ขอบคุณหลายๆ เด้อ ::)

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •