หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 12 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย
กำลังแสดงผล 1 ถึง 10 จากทั้งหมด 20

หัวข้อ: ข้าวฮาง.. ภูมิปัญญาชาวภูไท

  1. #1
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ ฅนภูไท
    วันที่สมัคร
    Apr 2007
    กระทู้
    2,115
    บล็อก
    1

    ความเยือกเย็น ข้าวฮาง.. ภูมิปัญญาชาวภูไท

    ข้าวฮาง.. ภูมิปัญญาชาวภูไท

    ข้าวฮางเป็นข้าวที่ทำมาจากข้าวที่ยังไม่แก่จัดนำมานึ่งและนำไปตากแดดให้แห้งแล้วจึงนำไปสี

    ข้าวฮาง.. ภูมิปัญญาชาวภูไท

    หากจะพูดถึง 'ข้าวฮาง' บางคนอาจจะส่ายหัวไม่รู้จัก หากพูดว่า'ข้าวหอมทอง' หลายคนพอได้ยินคงนึกหิวขึ้นมาทันใด ข้าวฮางเขามีกรรมวิธีการผลิตที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย น่าสนใจเพียงไร อรการ กาคำ ลงพื้นที่บ้านนาบ่อ ทำความรู้จักกับข้าวฮางภูมิปัญญาชาวภูไทกระป๋อง กลิ่นหอมตลบอบอวลของข้าวหอมทอง หรือข้าวฮางของชาวภูไทกระป๋อง ฟุ้งกระจายทั่วบริเวณศูนย์ทำการของกลุ่มแม่บ้าน บ้านนาบ่อ ทั้งที่ยังไม่ทันได้ก้าวเดินผ่านธรณีประตูด้วยซ้ำ นับว่าเป็นครั้งแรกในชีวิตที่มีโอกาสได้สัมผัสกับข้าวหอมทองใกล้ๆ หลังจากได้ยินชื่อมานาน ภาพที่เห็นเบื้องหน้า กลุ่มแม่บ้านขะมักเขม้นกับการหุงข้าวเปลือก จากเตาที่มีแกลบเป็นเชื้อเพลิง ควันโขมง บ้างก็กำลังคัดเมล็ดข้าวเพื่อกรองครั้งสุดท้ายก่อนนำไปบรรจุถุง หรือขวดเพื่อเตรียมจำหน่าย แม่เฒ่าคนหนึ่งนั่งจี่ข้าวฮาง หอมฉุยจนเราต้องขอมาหม่ำสักก้อนสองก้อน ก่อนจะเข้าไปเปิบแกงหวายที่ชาวภูไทบ้านนาบ่อ เตรียมไว้รอผู้มาเยือนอย่างเรา พร้อมทั้งหุงข้าวฮางเม็ดอ้วนๆ เต็มกระติ๊บใบยักษ์ เปิบไปสัมภาษณ์กันไปได้บรรยากาศเป็นยิ่งนัก ตำนานเก่าแก่ตำรับภูไทเล่าขานกันมาว่า 200 ปีที่แล้ว ท้าวผาอิน จะอพยพมาอยู่บ้านนาบ่อ ท่านมีลูกหลายคน ก็มาเลี้ยงวัวเลี้ยงควายทำไร่ทำนา ข้าวไม่พอกิน เหลือเวลาอีกตั้งหนึ่งเดือนก่อนถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยว ก็เลยเกี่ยวข้าวที่ใกล้จะสุกมาหมักแล้วกลายเป็นต้นตำรับของ 'ข้าวฮาง'นับแต่นั้น ท้าวผาอินมีข้าวนึ่งให้ลูกกิน วิธีนี้ทำให้ข้าวสาร 12 กิโล สีแล้วได้ข้าว 8 กิโลกรัม หุงขึ้นหม้อ ได้ปริมาณเยอะขึ้นอีกต่างหาก ปกติแล้วข้าว 12 กิโลกรัม เมื่อสีแล้วจะเหลือ 7 กิโลกรัม เท่านั้น หุงขึ้นหม้อแต่ไม่เท่ากับข้าวฮางขึ้นหม้อและนุ่มอร่อยลิ้นกว่า กรรมวิธีการทำข้าวฮาง ก็คือเขาจะนำข้าวหอมทองมะลิ 105 ที่ใกล้จะเก็บเกี่ยวได้ แต่ยังมีน้ำนมอยู่ นำมานวดจนเป็นข้าวเปลือกแล้วนำมาหุงทั้งเปลือก จนเมล็ดข้าวแตก ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง จากนั้นนำข้าวที่สุกมาผึ่งลมหรือตากแดดจนแห้งเหมือนเป็นข้าวเปลือกอีกครั้ง ค่อยนำไปสี ดังนั้นรำข้าว และเส้นใยอาหารอยู่ในเมล็ดข้าวอย่างครบครัน เมื่อกะเทาะเปลือกออกคุณค่าทางอาหารจึงไม่สูญเสียไป เนื่องจากการนึ่งสุกมาแล้ว ไม่มีเมล็ดแตกร้าวเลย สีเหลืองธรรมชาติสวยงามดุจดังทองคำ กลายเป็นข้าวหอมทองที่ลือชื่อมีคุณภาพ จนกระทั่งติดอันดับสินค้าโอท็อปของจังหวัดสกลนคร สุพรรณี ร่มเกษ ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านนาบ่อ วัย 43 ปีเล่าว่า ชาวภูไท กับชาวอีสานทั่วไปมีวิถีชีวิตที่ไม่ต่างกัน อนุรักษ์ธรรมชาติเหมือนกัน ทว่าชาวภูไทนั้นหากมีแขกมาเยี่ยมเยือนก็จะต้อนรับขับสู้ด้วย แกงหวาย หรือ อ่อมหวาย ใส่ปลาร้าแสนอร่อยไว้ต้อนรับ แล้วทำพิธีบายศรีสู่ขวัญ ให้กับแขกผู้มาเยือน

    ข้าวฮาง.. ภูมิปัญญาชาวภูไท ข้าวฮาง.. ภูมิปัญญาชาวภูไท ข้าวฮาง.. ภูมิปัญญาชาวภูไท

    "ความจริงเป็นคนจังหวัดนครพนม มาแต่งงานอยู่ที่นี่ คิดว่าวิถีชีวิตคนภูไทที่นี่กับคนภูไทนครพนมต่างกันนิดหน่อย เช่น การกินไม่เหมือนกัน อย่างแกงหวายที่โน่นเขาจะตำหวายให้ละเอียด แต่ที่นี่เขาจะแกงเป็นต้นๆ เลย อร่อยดี เพราะภูไทกระป๋องนี้ จะอพยพจากลาวมาอยู่แถว นครพนมกับสกลนคร วิถีชีวิตการกินอยู่ก็ยังเป็นแบบประเทศลาวเลยค่ะ"
    สมาชิกกลุ่มที่เข้ามาทำข้าวฮางกันนี้ทำด้วยใจรัก สุพรรณียืนยัน "ไม่ใช่ว่าจะได้กำไรอะไรกันนักหนา ทำตั้งแต่ปี 2542-2546 ช่วงนั้นยังไม่ดัง เพิ่งมาเป็นประธานกลุ่มเมื่อตอนปี 2547 รวบรวมสมาชิก ระดมหุ้น ขอทุนกับผู้ว่า ก็เลยได้สร้างอาคารหลังนั้น

    พวกเราเองก็ระดมหุ้นกันซื้อข้าวเปลือกที่หมู่บ้านของเรา จะไม่ซื้อข้าวจากที่อื่นเอาเฉพาะข้าวนาบ่อเท่านั้น เพราะนาบ่อดินกร่อยข้าวหอมนุ่ม เป็นข้าวพันธุ์มะลิ 105 ถ้าเป็นข้าวเหนียวก็ กข.6 ข้าวที่อื่นจะไม่อร่อย ครั้งแรกขายข้าวฮางได้ เดือนละ 3 หมื่นบาท ก็ดีใจกันมาก สมาชิก 32 คนมาร่วมกิจกรรมด้วยกัน ค่าแรงตกวันละ 17 บาท เราก็ภูมิใจ ทำงานตั้งแต่สองโมงถึงห้าโมง (08.00-17.00 น.) พวกเราทำด้วยใจรัก ไม่หวังรวย อยากอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของเรา เพราะเรามีของมีค่าอยู่ในหมู่บ้านเรา ตอนนี้มีคนสั่งข้าวฮางเยอะจนแทบทุกครัวเรือนในหมู่บ้านมาเป็นสมาชิกหมดแล้ว จากเมื่อก่อนมีบางครอบครัวเขาไม่ได้เข้ามาเป็นสมาชิก" 'ประธานกลุ่มแม่บ้าน'เล่าว่าเธอได้ยื่นของบประมาณจังหวัด จากผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อสร้างอาคาร ซื้อเครื่องแพ็คสุญญากาศ เครื่องวัดความชื้น โรงสี ปัจจุบันรายได้ที่เข้ามานั้น เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หน่วยงานราชการเริ่มให้ความสำคัญ ทว่าพวกเขาต้องเริ่มต้นเองก่อนที่หน่วยงานราชการจะเห็นความสำคัญ
    "ทีแรกเราใช้เตาฟืน แบบบรรพบุรุษดั้งเดิม พอผู้ว่าฯ เขามาเยี่ยม แล้วก็บอกว่า พวกคุณใช้เตาฟืน ทำลายสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ให้ใช้เตาเศรษฐกิจ ก็เลยมานั่งคุยกับแฟน ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้าน ไปดูโรงฆ่าสัตว์ เขาใช้กระทะใหญ่ๆ กลมๆ เราก็คิดว่าเราจะเขียนเป็นสี่เหลี่ยมดีไหม เตาหนึ่งนึ่งข้าวได้ 10 หวด เรามี 3 เตา นึ่งได้ครั้งละ 30 หวด"

    ปัจจุบันจึงหันมาใช้แกลบนึ่งข้าว เนื่องจากประหยัดพลังงาน ข้อดีของเตาแกลบนี้ก็คือข้าวจะสุกพร้อมกัน เพราะไอน้ำจากระดับไฟเท่ากัน สมัยโบราณใช้ฟืน ข้าวจะสุกไม่เท่ากัน เม็ดจะไม่เท่ากัน เพราะคุมไฟไม่ได้
    เดิม...วิถีแห่งข้าวฮาง บ้านนาบ่อ ชาวภูไท ทำกินกันภายในครอบครัว หรือไม่ก็ทำเป็นของฝากไม่ได้ขาย เช่นลูกหลานบ้านไหนไปเรียนหนังสือในกรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัด ทางครอบครัวก็จะทำข้าวฮางส่งไปเป็นของฝากครั้งหนึ่งประมาณ 4-5 กิโลกรัม จนคนที่อื่นเริ่มรู้จักข้าวฮาง หรือข้าวหอมทองนี้ ทว่าก็ยังไม่แพร่หลายเท่าที่ควร
    "เราอยากจะเผยแพร่ภูมิปัญญาของคนภูไท ให้คนได้รู้จักข้าวฮาง ก็เลยไปเมืองทองธานี ทดลองไปขาย ทั้งหุง ทั้งนึ่งให้ชิมกันในงานเลย ขายดีมากสองวันหมดเกลี้ยงเลย สมัยที่เรายังไม่ทำข้าวฮางขาย คนแถวนี้เขาก็ขายขายหอมมะลิปกติ ปลูกข้าวแล้วก็ขายจะมีพ่อค้าคนกลางมารับ หมื่นละเท่าไหร่เราจะต้องขายให้เขา ตอนนี้เราต้องซื้อข้าวเปลือกมาทำต้นทุนกิโลละ 10 บาท"



    ที่มา : แหล่งข่าว กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2548


  2. #2
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ ฅนภูไท
    วันที่สมัคร
    Apr 2007
    กระทู้
    2,115
    บล็อก
    1
    วิธีทำข้าวฮาง ต้องอาศัยแดดตามธรรมชาติ วันไหนฝนตกนึ่งข้าวฮางตากไม่ได้ แม่บ้านก็ตกงาน เหงาหงอยอยู่กับบ้าน คิดจะทำเตาอบแบบโบราณ เลียนแบบเตาอบที่นครพนมใช้อบยา คิดว่าน่าจะพอช่วยได้ นางจันทวี เจริญชัย ประชาสัมพันธ์กลุ่มแม่บ้านวัย 48 ปี เล่าว่า แกงหวายของชาวภูไทอร่อยที่สุด เปิบกับข้าวฮางนึ่งร้อนๆ สูตรพิเศษของบ้านนาบ่อก็คือ แกงหวายต้องใช้หวายสดๆ เก็บมาใหม่ๆ ใส่ใบย่านาง ข้าวเบือโขลกกับพริก แกงใส่หมูหรือไก่ก็ได้ ใส่เห็ดหูหนูตัดเป็นชิ้นพอประมาณ ปรุงรสด้วย ปลาร้ากรองเอาแต่น้ำ ปรุงรสด้วยน้ำปลา เติมชูรสนิดหน่อย ใส่บวบนิดหน่อยก็อร่อยดี นอกจากแกงหวายแล้วยังมี อ่อมเนื้อ ภูไทจะเน้นใส่ข้าวเบือ ก็คือข้าวขาวแช่น้ำ แล้วโขลกให้ละเอียดกลายเป็นแป้ง ใส่ปนลงไปกับเนื้อ เพื่อให้มีรสชาติอร่อยขึ้น น้ำจะข้นนัวน่ารับประทาน
    "เป็นคนที่นี่เกิดที่นี่ ก็ได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของหมู่บ้านตั้งแต่สมัยคนเฒ่าคนแก่สมัยก่อน ก็ไม่เหมือนคนเฒ่าคนแก่สมัยนี้ เขาก็แต่งตัวทันสมัยขึ้น ลูกหลานชาวภูไท เรียนจบก็ไปทำงานกรุงเทพฯหมด หรือไม่ก็ทำงานราชการ เป็นครู ทำงานอบต.

    มีลูก 3 คนก็อยู่กรุงเทพฯ ทำงานโรงงานกันหมด อยากให้ลูกกลับมาอยู่บ้านเหมือนกัน แต่เด็กสมัยนี้เขาไม่ชอบกลับมาอยู่บ้าน เขาชอบอยู่ในเมืองมากกว่าบ้านนอก แต่คนไหนที่เป็นราชการก็อยู่แถวๆ นี้แหละไม่ไกล"
    ถามถึงคนที่จะมาสานเจตนารมณ์ให้ภูมิปัญญาชาวภูไท โดยเฉพาะวิถีข้าวฮางนั้นมีอยู่สืบไป ทางกลุ่มแม่บ้านบอกว่าไม่น่าเป็นห่วง เพราะมีแม่บ้านอยู่หลายรุ่น ตอนนี้มีตั้งแต่อายุ 63 ไปจนถึง 35 ปี ก็พยายามมาช่วยกัน
    "เราทำข้าวเก็บไว้กินให้ครบปี เหลือเราก็เอาไปขาย อย่างจะถึงปีใหม่แล้ว ข้าวใหม่จะออก เราก็ทยอยเอาข้าวที่มีอยู่ออกไปขาย เราก็เอาข้าวใหม่เข้ามา แถวบ้านนี้ข้าวเก่าเขาไม่กินแล้วจะกินข้าวใหม่ ออกมาจะหอม เวลาเราหุงหรือนึ่ง ข้าวเราจะมีขาประจำมาซื้อ โรงแรมทุกโรงแรมในสกลก็สั่งข้าวเรา 4-5 โรงแรม ส่วนใหญ่เขาจะสั่งข้าวเจ้า ก็เลยทำข้าวเจ้าเยอะกว่าข้าวเหนียว คนกรุงเทพฯ ก็ทานข้าวเจ้า ข้าวเหนียวจะทำแค่พอกินเท่านั้นเอง"

    ข้าวฮางจี่ หอมฟุ้งยั่วน้ำลาย เป็นภูมิปัญญาของชาวภูไทด้วยเช่นกัน นำข้าวฮางที่เป็นข้าวเหนียวไปนึ่ง พอสุกก็มูนใส่กะทิ ใส่เกลือนิดหน่อย แล้วเอามาปั้นเป็นก้อน ย่างพอเหลือง นำไปชุบไข่ไก่ แล้วนำมาย่างต่อจนหอมเหลืองกรอบน่ารับประทานเปล่าๆ ก็อร่อย ชาวภูไท เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดรองลงมาจากกลุ่มไทลาว ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีแม่น้ำโขงแยกกลุ่มนี้ออกจากภูไทในภาคเหนือของลาว และญวน กลุ่มภูไทกลุ่มใหญ่ที่สุดอาจจะอยู่แถบลุ่มน้ำโขง และแถบเทือกเขาภูพาน เช่น จังหวัดนครพนม ได้แก่อำเภอคำชะอี ธาตุพนม เรณูนคร นาแก จังหวัดสกลนคร ได้แก่ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้แก่ อำเภอกุฉินารายณ์ เขาวง สหัสขันธ์ ส่วนภูไทผู้เข้าสู่ภาคกลางในจังหวัดราชบุรี และเพชรบุรี ในย่านนั้นเรียกว่า 'ลาวโซ่ง' เผ่าภูไท เป็นคนเผ่าไทยกลุ่มหนึ่งที่มีอยู่ในแคว้นสิบสองจุไทย และอาณาจักรล้านช้าง การเคลื่อนย้ายของชาวภูไท เข้าสู่ภาคอีสานมีหลายครั้ง และมาจากที่ต่างๆ จึงทำให้กลุ่มภูไทที่เข้ามาอยู่ในจังหวัดสกลนคร เรียกชื่อตัวเองตามแหล่งเมืองเดิมของตนเช่น ผู้ไทวัง คือ ผู้ไทที่อพยพมาจากเวงวัง มาตั้งบ้านเรือนอยู่แถบอำเภอพรรณานิคม

    ผู้ไทกระป๋อง คือภูไทที่อพยพมาจากเมืองกะปอง มาตั้งบ้านเรือนในเขตอำเภอวาริชภูมิ ผู้ไทกะตาก คือผู้ไทที่อพมาจากเมืองกะตาก มาตั้งบ้านเรือนอยู่แถบตำบลโนนหอม และแถบริมหนองหาร ทางทิศใต้
    ชาวภูไทมีลักษณะความเป็นอยู่แบบครอบครัวใหญ่ในบ้านเดียวกัน เป็นกลุ่มคนทำงานที่มีความขยันขันแข็ง มัธยัสถ์ ทำงานได้หลายอาชีพเช่น ทำนา ทำไร่ ค้าวัว ค้าควาย นำกองเกวียนบรรทุกสินค้าไปขายต่างถิ่นเรียกว่า 'นายฮ้อย' เผ่าภูไทเป็นกลุ่มที่พัฒนาได้เร็วกว่าเผ่าอื่น มีความรู้ความเข้าใจและมีความเข้มแข็งในการปกครอง มีหน้าตาที่สวย ผิวพรรณดี กริยามารยาทแช่มช้อย มีอัธยาศัยไมตรีในการต้อนรับแขกแปลกถิ่นจนเป็นที่กล่าวขวัญถึง
    เผ่าภูไทนิยมนุ่งผ้าซิ่นหมี่ตีนต่อ เป็นผืนเดียวกันกับผ้าผืนกว้างประมาณ 4-5 นิ้ว ย้อมครมเกือบสีดำ เรียกว่าผ้าดำหรือซิ่นดำ สวมเสื้อแขนกระบอกสามส่วน สำดำขลิบแดง ติดกระดุมเงิน หรือเหรียญสตางค์ หรือกระดุมขาวมาติดเรียงสองแถวห่มด้วยผ้าขิดพื้นเมือง เปลือยไหล่ด้านขวา ห่มด้านซ้ายและมัดชายผ้าสีข้างด้านขวา นิยมสวมสร้อยคอ สร้อยข้อมือ ข้อเท้า ด้วยโลหะเงิน เกล้าผมเป็นมวยสูงตั้งตรง ใช้ผ้ามนหรือแพรมนทำเป็นผ้าสี่เหลี่ยมเล็กๆ ม้วนผูกมวยผม
    วัฒนธรรมประเพณี เผ่าภูไท มีเอกลักษณ์เป็นจุดเด่นหลายประเภท เช่น การแต่งทำนองดนตรี เรียกว่า 'ลายเป็นเพลงของภูไท' มีบ้านแบบภูไทคือ มีป่องเอี้ยม เป็นช่องลม มีประตูป่อง หน้าต่างยาวจรดพื้น มีห้องภายในเรือนเป็นห้องๆ ที่เรียกว่า 'ห้องส่วม'

    นอกจากนั้นยังมีวัฒนธรรมการทอผ้าห่มผืนเล็กๆ ใช้สำหรับห่มแทนเสื้อกันหนาวใช้คลุมไหล่ เรียกว่า ผ้าจ่อง นอกจากนี้แล้วยังมีผ้าแพรวา ใช้ห่มเป็นสไบ ซึ่งมีแหล่งใหญ่ที่บ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ และมีผ้าลาย ใช้เป็นผ้ากั้นห้องหรือห่มแทนเสื้อกันหนาวได้ ซึ่งมีแหล่งใหญ่อยู่บ้านนางอย อำเภอเตางอย จังหวัดสกลนคร ประเพณีที่สำคัญของเผ่าภูไทซึ่งถือกันแต่โบราณ ได้แก่ การลงข่วง พิธีแต่งงาน การทำมาหากิน การถือผี และการเลี้ยงผี
    ชาวไทยเราประกอบด้วยชาวไทยหลายเชื้อชาติ ไม่ว่าจะเป็น ภูไท ชาวไทยเชื้อสายจีน ไทยเชื้อสายเวียดนาม ฯลฯ ต่างมีสมบัติจากบรรพบุรุษที่พึงรักษาเอาไว้ หากพวกเราช่วยกันบำรุงรักษา สมบัติเหล่านี้ก็จะอยู่สืบไปจนถึงลูกหลาน เช่น'ข้าวฮาง'ภูมิปัญญาชาวไทกระป๋อง อาจจะเรียกลูกหลานชาวภูไทกระป๋องกลับบ้านเกิด มาพัฒนาสินค้า แพ็คเกจ วิธีการผลิต สร้างเงิน สร้างรายได้ให้แก่คนชุมชน

  3. #3
    นักปราชญ์เมืองอีสาน
    ศิลปินนักแต่ง ผญา
    สัญลักษณ์ของ ศรีสะท้าน
    วันที่สมัคร
    Aug 2006
    กระทู้
    4,179
    เป็นตาภูมิใจ น่ายอย้องซร้องเสริญนำภูมิปัญญาท้องถิ่นและการนำเสนอนอคะรับ ผู้ข้าเองกะบ่อเคยกินจักเทื่อดอก ได้เมือยามบ้านยามได๋พู้นหล่ะ จั่งสิออกหากินลองเบิ่ง คือสิแซบ
    วรรณคดีล้ำลำนำเอื้อนเอ่ย เขยภาษาพากษ์เว้าลาวพื้นกล่าวไกล

  4. #4
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ lukhin_inter
    วันที่สมัคร
    Sep 2007
    ที่อยู่
    อิสานใต้ ประเทศไทย
    กระทู้
    1,860
    น่าภาคภมิใจ อีหลี ลูกหินพึ่งได้มีเวลามาอ่านเห็นหลายวันอยู่ ตอนแรกเห็นแต่หัวข้อก็สนใจ..ลองจินตนาการว่าน่าจะเป็นข้าวแบบไหนหน๋อ..ก็ยังไม่ถูก...ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีดี ถ้ามีโอกาสจะหาลองทาน น่าจะอร่อย แต่ลูกหินไปแถววานรฯไม่เห็นมีนะคะ หรือว่าลูกหินไม่ได้ถามหา
    อุปสรรคเป็นได้ทั้งบันไดให้ก้าวขึ้นไป...หรือ
    เป็นภูผาที่ขวางกั้น...ขึ้นอยู่กับว่าจะมองมุมไหน

  5. #5
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ บ่าวพรรณานิคม
    วันที่สมัคร
    Apr 2007
    กระทู้
    1,622
    เป๋นคนภูไทแท้ๆก่ะยังหมิเคยกิ๋นจั๊กเท้อ ผุข้ากะด๋าย
    [*] สื่อบันเทิงที่นำมาให้รับชม รับฟังเป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น หากท่านชื่นชอบ สื่อใด โปรดซื้อสินค้าลิขสิทธิ์
    [*] เกี่ยวกับลิขสิทธิ์
    [*] ทำเนียบกองทุนเว็บไซต์ บ้านมหา

  6. #6
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ ฅนภูไท
    วันที่สมัคร
    Apr 2007
    กระทู้
    2,115
    บล็อก
    1
    เฒ่าเอ้ยข้อยอยู่มาสามสิบกว่าปี เฒ่าแม่กะเพิ่งเฮ็ดให้กิน กะเลยนึกขึ้นได้เลยเอามาเผยแพร่ให้พี่น้องเฮารู้จัก::)

  7. #7
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ บ่าวพรรณานิคม
    วันที่สมัคร
    Apr 2007
    กระทู้
    1,622
    ป้าดๆๆๆ...อีแม้เจ้าคือจบแท้..เฒ่า ผุสาวบ้านมหาหมิได้เพอเย่อะเป๋นลุเภ้อแนบ้อ...
    [*] สื่อบันเทิงที่นำมาให้รับชม รับฟังเป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น หากท่านชื่นชอบ สื่อใด โปรดซื้อสินค้าลิขสิทธิ์
    [*] เกี่ยวกับลิขสิทธิ์
    [*] ทำเนียบกองทุนเว็บไซต์ บ้านมหา

  8. #8
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ ฅนภูไท
    วันที่สมัคร
    Apr 2007
    กระทู้
    2,115
    บล็อก
    1
    เมนูข้าวฮางต้านมะเร็ง



    (เมนูคุณค่าทางอาหาร)

    ข้าวฮางเป็นข้าวที่เอาเปลือกหรือแกลบออกโดยที่จมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดไม่แตกหักไปไหนเพราะจมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดนี้ คือส่วนที่สะสมโปรตีนที่มีคุณค่าทางอาหาร

    ส่วนข้าวที่สีเอาเปลือกออกแล้ว แต่ยังไม่ได้ขัดให้ขาว เรียกว่า ข้าวซ้อมมือ ซึ่งจมูกข้าวจะแตกหักไปบ้าง ขณะที่ข้าวสารนั้น ทั้งเอาเปลือกออกและขัดสีหลายครั้ง จนเยื่อหุ้มเมล็ดและจมูกข้าวหลุดออกไปเหลือแต่เนื้อในของข้าว ซึ่งเป็นแป้งล้วนๆ

    ข้าวฮางมีโปรตีนประมาณร้อยละ 6-12 และยังมีวิตามินและเกลือแร่ ได้แก่ วิตามินบี 1 บี 2 ไนอะซิน (ช่วยรักษาระบบผิวหนังและระบบประสาทไว) ฟอสฟอรัส แคลเซียม ธาตุเหล็ก ส่วนข้าวสารนั้นโปรตีนหลุดหายไปแล้วกว่าร้อยละ .30

    เปรียบเทียบให้เห็นง่ายๆ ถ้ากินข้าวฮางสุก 1 กรัม จะได้โปรตีน 7.60 ส่วนข้าวสวยธรรมดามีโปรตีน 6.40 คิดแล้วข้าวฮางมีโปรตีนมากกว่าร้อยละ 19 เป็นต้น

    ข้าวฮางคลุกน้ำพริกเผา


    เครื่องปรุง ข้าวฮางหุงสุกแล้ว 1 ทัพพีพูน น้ำพริกเผา 1 ช้อนโต๊ะ เนื้อปลาดุกย่าง 1/2 ตัว ไข่เค็ม 1/2 ลูก กุ้งแห้งปั่น 1 ช้อนโต๊ะ ผักบุ้ง ผักสะเดา เอาไว้แกล้ม

    วิธีทำ คลุกข้าวฮางกับน้ำพริก จัดเครื่องเคียงทุกอย่างลงจาน กินแกล้มกับผักอย่างผักบุ้ง สะเดาผ่านไฟเป็นต้น

    คุณค่า ข้าวฮางมีสารเส้นใยสูงกว่าข้าวขาวอย่างน้อย 3 เท่า การหันมากินข้าวฮางเพื่อป้องกันลำไส้ใหญ่จึงสอดคล้องกับรสนิยมการกินของคนไทย เพียงแต่เปลี่ยนจากกินข้าวขาวมาเป็นข้าวฮางเท่านั้น ลำไส้ใหญ่ของเราก็จะสะอาดเอี่ยม และปลอดจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ สะเดาก็เป็นผักพื้นบ้านไทยที่มีสารเส้นใยสูงมาก สูงกว่าผักตลาดทั่ว ๆ ไปถึง 5 เท่า คนไทยโบราณนิยมกินสะเดาเป็นยา จึงไม่ค่อยเป็นโรคนี้

    ข้าวฮางอบสมุนไพรจีน

    เครื่องปรุง :
    ข้าวฮางดิบ 1 ถ้วย
    แป๊ะก๋วย พอประมาณ
    ดอกไม้จีน พอประมาณ
    เก๋ากี้ พอประมาณ
    เอี่ยเซียม(โสมขาว) 2 - 3 แผ่น
    น้ำซุปผัก เกลือ ซีอิ้วขาว ซอสถั่วเหลือง น้ำตาล

    วิธีทำ :
    1) นำข้าวฮางมาแช่น้ำประมาณ 1 ชม. ก่อนจึงนำมาผัดกับเครื่องปรุงทุกอย่างให้เข้า แล้วจึงนำไปหุงในหม้อหุงข้าวไฟฟ้า
    2) เวลาหุงให้ใช้น้ำซุปผักในการหุงจะทำให้รสชาติของข้าวฮางมีกลิ่นหอมเพิ่มขึ้น แล้วจึงตักใส่จานรับประทาน



    โจ๊กข้าวฮางกับกระเพาะปลาและเนื้อหมู

    เครื่องปรุง :
    ข้าวฮาง 100 กรัม
    เนื้อหมูไม่ติดมัน 100 กรัม
    กระเพาะปลา 50 กรัม
    เกลือ , น้ำเย็น และพริกไทยป่น
    วิธีการทำ :
    1. นำกระเพาะปลาที่ผ่านการแช่น้ำแล้ว 1 วัน และเนื้อหมูที่ล้างสะอาดแล้วหั่นเป็นชิ้น
    2. นำส่วนผสมทั้ง 2 อย่างใส่หม้อพร้อมกับข้าวเหนียว เติมน้ำเย็น ต้มจนเป็นโจ๊ก ปรุงรสด้วยเกลือ โรยหน้าด้วยพริกไทยป่น ก็รับประทานได้
    สรรพคุณ : เสริมกำลังวังชา บำรุงเลือด เหมาะสำหรับผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ ในการช่วยขจัดอาการอ่อนเพลียและเบื่ออาหาร


    บัวลอยข้าวฮางฟักทอง
    ส่วนประกอบ :
    แป้งข้าวกล้อง 100 ซีซี
    ข้าวฮางหุงแล้ว 100 กรัม
    น้ำ 100 ซีซี เกลือป่นเล็กน้อย
    ฟักทอง 50 กรัม น้ำอ้อยคั้นสด 200 ซีซี
    หัวกะทิไว้หยอดหน้าขนม
    วิธีทำ :
    1.เอาข้าวฮางหุงแล้วปั่นกับน้ำในเบลนเดอร์จนละเอียด นำมานวดกับแป้งข้าวกล้อง แล้วปั้นเป็นบัวลอยต้มในน้ำเดือดจนสุก พักไว้
    2.เอาน้ำอ้อยตั้งไฟให้เดือด เอาฟักทองหั่นเป็นชิ้นๆลงต้ม แล้วเติมบัวลอยลงไป ต้มจนสุก และเติมเกลือป่นเล็กน้อย ชิมรสให้พอดี
    3.เสริฟในถ้วยขนมหวานพร้อมหยอดหน้าด้วยหัวกะทิ

    เข้าไปดูเมนูเพิ่มเติมได้ที่ http://www.geocities.com/sakon_nakhon/menuhang.html


    ข้าวฮางหอมมะลิหรือข้าวหอมทอง
    ข้าวฮาง คือข้าวที่นำไปนึ่งก่อนแล้วจึงขัดสีเพียงครั้งเดียว จึงสามารถใช้
    ข้าวพันธุ์ใดก็ได้มาทำเป็นข้าวฮาง ซึ่งข้าวฮางที่ดีจะมีลักษณะที่ควรสังเกต ดังนี้

    1.ไม่ควรมีรอยแหว่งตรงปลายเมล็ดข้าว หากมีรอยแหว่ง แสดงว่าจมูกข้าวเป็นสิ่งสำคัญ
    ซึ่งเป็นส่วนที่มีประโยชน์มาก หลุดไป

    2 .สีของเมล็ดข้าวเป็นสีเหลืองทองขุ่น อาจมีสีน้ำตาลปนอยู่บ้าง มากหรือน้อย
    ขึ้นกับพันธุ์ข้าว บางครั้งอาจมีสีเขียวอ่อนๆ ติดอยู่ แสดงว่าเป็นข้าวที่เก็บเกี่ยว
    มาใหม่ๆ เป็นส่วนของเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวที่เป็นเส้นใยอาหารที่ยังมิได้ถูกขัดสีทิ้งไป

    3. เป็นข้าวที่อบ หรือตากจนแห้งสนิท ไม่มีกลิ่นอับชื้นขึ้นราหรือมีมอด
    4. บรรจุในขวดพลาสติกใสหรือบรรจุในถุงสะอาดปิดสนิท ระบุสถานที่ผลิตและราคาขาย

    5. การซื้อมาบริโภค ควรซื้อในปริมาณที่สามารถบริโภคได้หมดภายใน 2-3 สัปดาห์
    เมื่อเปิดขวดหรือถุงใช้แล้ว ควรเก็บในที่สะอาด มีฝาปิดมิดชิด

    การบริโภคข้าวฮางในรูปของข้าวสวย หรือข้าวเหนียวนึ่งรับประทานกับข้าวแล้ว
    ยังสามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์จากข้าวในรูปแป้ง ซึ่งนำมาประกอบอาหาร คาว หวาน
    หรือของว่าง ได้อีกมากมายหลายชนิด แป้งที่ทำจากข้าวฮางจะมีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่า
    ดังนั้น จึงควรเลือกรับประทานข้าวและผลิตภัณฑ์ ที่ทำจากข้าวฮาง เป็นประจำทุกวัน
    เพื่อส่งเสริมสุขภาพอนามัยให้แข็งแรง

    ความวิเศษของข้าวฮาง

    มะเร็งสำไส้ใหญ่ เกิดจากการกินอาหารไม่มีเส้นใย เช่น กินนม เนย
    เนื้อสัตว์ อาหารที่มีไขมันมาก และแป้งขัดขาว แต่ไม่กิน ผัก ผลไม้ ข้าวฮาง ฯลฯ

    อาหารประเภทเนื้อสัตว์ และไขมัน เมื่อถูกกับน้ำย่อยแล้ว จะเหนียวหนึบ
    เป็นยางมะตอยติดอยู่กับผนังลำไส้ใหญ่ มิหนำซ้ำยังมีกรดน้ำดีอยู่ด้วย
    พอมันติดหนึบเป็นตะกรันอยู่ในตัวเราไม่ถูกถ่ายทิ้ง แบคทีเรียในลำไส้ใหญ่
    ก็กินกรดน้ำดีต่อ ทำให้เกิดสารก่อมะเร็ง เกิดเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ในที่สุด

    ตรงกันข้าม หากเรากินอาหารที่มีสารเส้นใยเช่นผัก- ผลไม้ ข้าวฮาง ฯลฯ
    เส้นใยเหล่านี้จะไปทำให้กรดน้ำดีในอุจจาระเจือจางลง ป้องกันการเกิดตะกรัน
    ที่ติดหนึบเป็นหมากฝรั่ง และเกิดการถ่ายทิ้งออกนอกร่างกายทุกวัน แบคทีเรีย
    จึงไม่ทันย่อยกรดน้ำดี และไม่เกิดสารก่อมะเร็ง
    จะเห็นว่ามะเร็งลำไส้ใหญ่ป้องกันได้ เพียงกินผัก ผลไม้ และข้าวฮาง
    หันมากิน ข้าวฮาง แทนข้าวขาว ปัญหาท้องผูกก็จะหมดไปด้วย

    ข้าวฮาง มี เส้นใยสูงกว่าข้าวขาว ถึง 8 เท่า เส้นใยมีประโยขน์ คือ
    ช่วยในการขับถ่าย ทั้งของเสียและของมีพิษ จากกระบวนการย่อยของลำไส้
    ให้ขับถ่ายออกมาจึงช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้

    มีโปรตีนสูงกว่า 2 เท่า วิตามินบี 1, บี 2, อี ก็สูงกว่าหลายเท่า ยังมีแคลเซียม
    ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เซเลเนียม แมกนีเซียม พวกนี้ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน
    ธาตุเหล็กสร้างเม็ดเลือดแดงป้องกันโรคโลหิตจาง แร่ธาตุเหล่านี้ข้าวฮางมีมากกว่า
    ข้าวขาว เพราะกระบวนการสีข้าว ที่ขัดเอารำและจมูกข้าวไป ก็ขัดเอาแร่ธาตุสำคัญ
    ออกไปด้วย อาทิ ไนอะซีน ที่มีคุณสมบัติที่คุณสาวๆ ชอบใจคือช่วยให้ผิวหนังยืดหยุ่น
    ไม่ต้องไปซื้อคอลลาเจนมาทาหน้าให้เปลืองเงิน

    วิตามินบี ในข้าวฮาง จะช่วยเผาผลาญพลังงานได้อย่างหมดจด ทำให้ไม่อ้วน
    แถมยังอิ่มเร็ว ในขณะที่ข้าวขาวมีวิตามินบีน้อย กินแล้วเผาผลาญไม่หมด
    เกิดสะสมเป็นไขมันตามต้นขา ต้นแขน สะโพก อก เอว อ้วนง่ายและไร้เรี่ยวแรง


    โรคเบาหวานข้าวฮาง ยังป้องกันโรคเบาหวาน เนื่องจากเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน
    เมื่อรับประทานเข้าไปแล้ว ร่างกายต้องใช้เวลาในการย่อย ร่างกายจะค่อยๆ ผลิตอินซูลิน
    ในระดับปกติ เพื่อการย่อยอาหาร ทำให้เกิดความสมดุลระหว่างการกินกับการใช้น้ำตาล
    ของร่างกาย ตับอ่อนที่ผลิตอินซูลินทำงานอย่างเป็นระบบ
    ขณะเดียวกัน ถ้ารับประทานข้าวขาว ขนมปังขัดขาว กินของหวาน น้ำอัดลม
    ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว ทำให้ตับอ่อนผลิตอินซูลินออกมาไม่ทัน
    ตับอ่อนทำงานหนักเกินไป ทำให้เกิดเป็นโรคเบาหวานขึ้นได้

    นอกจากนี้สารเส้นใยในข้าวกล้อง ทำหน้าที่ซับน้ำมันในอาหารทิ้ง และยังคอยซับ
    น้ำตาล ที่กินเข้าไปมากเกินไป จึงช่วยป้องกันระดับน้ำตาลในเลือดสูงได้อีก
    ข้าวฮางจึงกลายเป็นยาควบคุมเบาหวานได้ดี
    เห็นประโยชน์จากข้าวฮางมากมายขนาดนี้
    ถึงเวลาที่จะเปลี่ยนใจหันมากินข้าวฮางกันได้หรือยัง

  9. #9
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ ฅนภูไท
    วันที่สมัคร
    Apr 2007
    กระทู้
    2,115
    บล็อก
    1
    อันนี้ข้าวฮางฝีมือเฒ่าแม่ของฅนภูไทเองครับ เอามาฝากพี่น้องบ้านมหา




  10. #10
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม
    วันที่สมัคร
    Mar 2007
    กระทู้
    1,212
    บ้านผมกะมีเด้อ ข้าวฮาง กินมาแต่เป็นเด็กน้อย เท่าซุมื่อนี่กะยังเฮ็ดกินอยู่คือเก่า

    กินมาแต่ปู๋ แต่ปู้ วิธีเฮ็ดกะคือกันกับที่อ้ายภูบอกไว้

    นอกจากข้าวหอมมะลิแล้ว กะเฮ็ดได้ซุแนวข้าวเด้อครับ ข้าวเหนียว ข้าวเจ้า ข้าวดอ เฮ็ดได้เหมิด

    ผุลังคนเพินเอาข้าวจ้าวลอย(ข้าวนาเมือง) มาเฮ็ดข้าวฮาง แล่วกะเอามาโม่เฮ็ดเข่าละซอง(ลอดช่อง) หอมดีคัก หอมนมข้าว

หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 12 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •