อริยาวโลกิเตศวาโร โพธิสัตตโว คัมภีรํ ปรัชญาปารมิตา จารยํ จารมโน วยาวโลกยาติ สมา ปัญจะ สกันธัส (ขันธะ) ตัมส จะ สว ภว ศุนยํ

-พระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ เมื่อปฏิบัติซึ้งในปรัชญาปารามิตาเพ่งเห็นขันธ์ 5 เป็นความว่างเปล่า จึงข้ามพ้นทุกข์

ปัศยาติ สมา อิหา ศารีปุตระ รูปํ ศุนยตา วะ รูปํ รูปํ นะ ปฤถัก
ศุนยตา ศุนยตายะ นะ ปฤทัก รูปํ ยัท รูปํ สะ ศุนยตา ยะ ศูนยตายะ สะ รูปํ
เอวัม เอวะ เวทนท สังชญา (สัญญา) สังสการา (สังขาร) วิชญานัม (วิญญาณ)

-รูปคือความว่างเปล่า ความว่างเปล่าคือรูป รูปไม่อื่นไปจากความว่างเปล่า ความว่างเปล่าไม่อื่นไปจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณก็ว่างเปล่า

อิหา ศารีปุตระ สารวะ ธารมะ ศุนยตา ลักษณะ อนุตปัณณะ อนิรุทธะ อวิมาละ อนูนะ อปาฤปูฤณะ ตัสมา ศารีปุตร ศุนยตายํ

-โอ สารีบุตร ธรรมทั้งปวงว่างเปล่า ไม่มีรูป ไม่เกิด ไม่ดับ ไม่มัวหมอง ไม่ผ่องแผ้ว ไม่เพิ่ม ไม่ลด ในความว่างเปล่าไม่มีรูป

นะ รูปํ นะ เวทานา นะ สังชญา นะ สังสการ นะ วิญญาณ
นะ จักษุ โสรตัม นะ ฆราน ชิว กาย มน
นะ รูป ศัพท คันธ รส ศปิสตาวยา ธารมา
นะ จักษุ ธาตุ ยะ วัน นะ มโน วิชญาณัม ธาตุ

-ไม่มีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่มีรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์ ไม่มีจักษุธาตุ ไม่มีมโนธาตุ

นะ วิทยา นะ วิทยา กศโย
ยะ วัน ชรามรณัม นะ ชรามรณัม กศโย
นะ ทุกข สมุทย นิโรธ มฤคาชณ
นะ ชญานัม นะ ปราปติ นะ ภิศมายะ ตัสมา นะ ปราปติ

-ไม่มีทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ไม่มีฌาน ไม่มีการบรรลุ เพราะไม่มีอะไรให้บรรลุ

ตวัท โพธิสัตตวะ ปรัชญาปารมิตา อศฤตยา วิหาระ ตยา จิตตา วรโน
นะ สิทธิตวัท อตรัสโต วิปา ฤยส ติ กรานโต
นิ สถา นิรวานะ ตยา ธยา วยาว สถิตา
สาระ พุทธา ปรัชญาปารมิตัม อศฤตยา
อนุตตรํ สัมยักสัมโพธิง อภิสัมพุทธา

-พระโพธิสัตว์ ด้วยเหตุดำเนินตาม “ปรัชญาปารามิตา” จิตย่อมไม่สับสนมืดมัว เพราะจิตไม่สับสนมืดมัว จึงไม่มีความกลัว อยู่เหนือความ หลอกลวง มีพระนิพพานเป็นที่สุด
พระพุทธเจ้าทั้ง 3 กาลด้วยเหตุดำเนินตาม ปรัชญาปารามิตา จึงได้บรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาน

ตา สมา ชญตา วยัม ปรัชญาปารมิตา มหามันตรัม มหาวิทยามันตรัม
อนุตตรมันตรัม อสมสมา มันตรัม
สารว ทุกขา ปรสามานัม สัตยํ อมิตยัทวัท
ปรัชญาปารมิตายัม อุทโท มันตรา ตัทยาถา

-จึงทราบว่า “ปรัชญาปารามิตา”เป็นมหาศักดาธารณี เป็นมหาวิทยาธารณี เป็นอนุตรธารณี เป็นอสมธารณี สามารถดับสรรพทุกข์ สัจจะธรรมไม่ผิดพลาด ฉะนั้นจึงประกาศ “ปรัชญาปารามิตาธารณี”ดังนี้

คะเต คะเต ปาระคะเต ปาระสังคะเต โพธิ สวาหา
-ไป ไป ไปสู่ฝั่งโน้น ฝั่งแห่งพุทธะ สวาหา

[WMA]http://audio.palungjit.com/attachment.php?attachmentid=2971[/WMA]