กำลังแสดงผล 1 ถึง 4 จากทั้งหมด 4

หัวข้อ: สมณศักดิ์(ยศ) ของ คณะสงฆ์ไทย

  1. #1
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ หนุ่มเมืองกาญจน์
    วันที่สมัคร
    Dec 2007
    กระทู้
    565

    สมณศักดิ์(ยศ) ของ คณะสงฆ์ไทย

    "สมณศักดิ์"(ยศ) ของคณะสงฆ์ของไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเป็นผู้พระราชทาน นอกจากพระราชทานยศแล้ว จะทรงพระราชทาน ทินนาม (ชื่อเรียก) ด้วย พระท่านใดที่ได้รับพระราชทานสมศักดิ์และทินนาม ก็จะได้รับเครื่องหมายอันแสดงถึงลำดับชั้น นั่นก็คือ "พัดยศ"
    ลำดับชั้นสมณะศักดิ์
    1 สมเด็จพระสังฆราชสังฆปรินายก ( 1 รูป จะมาจากธรรมยุตหรือมหานิกาย ก็ได้ )
    2 สมเด็จพระราชาคณะชันสุพรรณบัตร (ชั้นสมเด็จ 8 รูป )เช่นสมเด็จพระวรรณรัตน์
    3 พระราชาคณะชั้นรองหิรัญบัตร(ชั้นรองสมเด็จ 16รูป )เช่นพระพรหมโมลี
    4 พระราชาคณะชั้นธรรม(35รูป)เช่นพระธรรมดิลก
    5 พระราชาคณะชั้นราช(144รูป) เช่นพระราชรัตนเวที
    6 พระราชาคณะชั้นสามัญ(ชั้นเจ้าคุณ394รูป)เช่นพระกิติสารเมธี
    7 พระครูสัญญาบัตรชั้น พิเศษ / เอก / โท / ตรี (ชั้นพระครู) เช่น พระครูพิศาลกาจนกิจ
    ........................................................................................................
    พระฐานานุกรม
    เป็นยศที่ได้รับการแต่งตั้งจากพระครูสัญญาบัตรชั้นเอกเป็นต้นไป ซึ่งแต่และรูปมีโควต้าในการแต่งตั้งแตกต่างกันไปตามลำดับ เช่น
    พระครูปลัด,พระครูใบฎีกา,เป็นต้น
    หมายเหตุ
    พระราชาคณะท่านใดที่สังกัดนิกายธรรฒยุตหลังสมณะศักดิ์และทินนามแล้ว จะมี (ธ) ต่อท้าย เช่น พระกาญจนวิจิตร(ธ)
    สำหรับลำดับที่3 และ6 ทินนามอาจจะไม่แตกต่างกันท่านให้ดูที่พัดยศ

    /
    /
    ปล. หากท่านใดมีความเห็นที่แตกต่างหรือมีข้อมูลที่มากกว่าโปรดแนะนำ ขอขอบคุณพระมหาตรรกวิทย์ ตกวิโช(ไชยรินทร์) (ปธ.6,พธ.บ.,สน.บ.) เอื้อเฟื้อข้อมูล

  2. #2
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ ฅนภูไท
    วันที่สมัคร
    Apr 2007
    กระทู้
    2,115
    บล็อก
    1
    สมณศักดิ์


    ความหมาย

    สมณศักดิ์ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ หมายความว่า ยศพระสงฆ์ที่ได้รับพระราชทานมีหลายชั้น แต่ละชั้นมีพัดยศเป็นเครื่องกำหนด

    อาจกล่าวได้ว่า สมณศักดิ์ คือบรรดาศักดิ์ หรือยศที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่พระสงฆ์ผู้ประพฤติดี ประพฤติชอบให้ดำรงมั่นอยู่ในสมณเพศ เพื่อเป็นกำลังสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาและเพื่อให้การปกครองคณะสงฆ์เป็นไปโดยเรียบร้อย เพราะการที่พระสงฆ์รูปใดได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ ย่อมได้รับมอบหมายภาระหน้าที่ในการปกครองหมู่คณะแห่งสงฆ์ไปพร้อมกันด้วย

    ความเป็นมาของสมณศักดิ์

    สมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้ทรงใช้จิตวิทยาในการปกครองพระสงฆ์สาวก โดยการยกย่องผู้ที่ควรยกย่อง ป้องปรามผู้ที่ควรป้องปราม ดังจะเห็นได้จากทรงยกย่องพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะเป็นพระอัครสาวก ฝ่ายซ้าย ฝ่ายขวา และทรงตั้งเอตทัคคะ ๑ กล่าวคือ ทรงยกย่องพระสาวกอีกส่วนหนึ่งว่ามีความเป็นเลิศในด้านต่างๆ ด้วยพุทธวิธี อย่างไรก็ตาม กรณีดังกล่าวยังมิได้ถือว่าเป็นสมณศักดิ์

    เมื่อพระพุทธองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว เพื่อสามารถสืบทอดเจตนารมณ์ของพระพุทธศาสนา พระประมุขแห่งประเทศต่างๆ ที่นับถือพุทธศาสนา จึงได้มีการพระราชทานสมณศักดิ์แก่พระสงฆ์ โดยปรากฏหลักฐานว่ามีการพระราชทานสมณศักดิ์ และพัดยศพร้อมทั้งเครื่องประกอบสมณศักดิ์อื่นๆ ประเทศต่างๆ ได้รับแบบอย่างมาจากประเทศศรีลังกา

    สำหรับประเทศไทยนั้นระบบสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ เริ่มใช้ตั้งแต่สมัยสุโขทัยรัชสมัยพระมหาธรรมราชลิไทย พระองค์ได้โปรดให้ราชบัณฑิตไปอาราธนาพระมหาสามีสังฆราชมาแต่ลังกาเพื่อให้ประกาศพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ในกรุงสุโขทัย พระมหาสามีสังฆราชคงจะได้ถวายพระพรให้พระมหาธรรมราชาลิไททรงตั้งสมณศักดิ์ถวายแด่พระสงฆ์ตามราชประเพณีที่ถือปฏิบัติในประเทศลังการะบบสมณศักดิ์ในสมัยสุโขทัยไม่สลับซับซ้อนเพราะมีเพียง ๒ ระดับชั้นเท่านั้น คือ พระสังฆราชและพระครู

    ส่วนในสมัยอยุธยาระบบสมณศักดิ์ได้รับการปรับให้มีระดับชั้นเพิ่มขึ้นเป็น ๓ ระดับคือ สมเด็จพระสังฆราช พระสังฆราชคณะหรือพระราชาคณะและพระครู

    ---------------------------------------------


    ชั้นยศสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ไทยในปัจจุบัน

    ปัจจุบันชั้นยศสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ไทยได้เพิ่มขึ้นตามกาลสมัย และความจำเป็นในด้านการปกครองคณะสงฆ์ ดังนี้



    ๑. สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ๑ พระองค์


    ๒. สมเด็จพระราชาคณะชั้นสุพรรณบัตร ๘ รูป

    ๓. พระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัณยปัฏ ๑๙ รูป

    ๔. พระราชาคณะชั้นธรรม ๓๕ รูป

    ๕. พระราชาคณะชั้นเทพ ๖๖ รูป

    ๖. พระราชาคณะชั้นราช ๑๔๔ รูป

    ๗. พระราชาคณะชั้นสามัญ ๓๙๔ รูป

    ๘. พระครูสัญญาบัตรชั้นตรี-โท-เอก-พิเศษ (ไม่จำกัดจำนวน)

    ๙. พระครูฐานานุกรม ตั้งได้ตามจำนวนที่ปรากฏในสัญญาบัตรของพระราชาคณะ

    ๑๐. พระครูประทวนสมณศักดิ์ (พระครูผู้อุปการะการศึกษา) (ไม่จำกัดจำนวน)




    ประเพณีการพิจารณาแต่งตั้งสมณศักดิ์

    แต่เดิม การพิจารณาแต่งตั้งและเลื่อนสมณศักดิ์แก่พระสงฆ์เป็นพระราชอำนาจและเป็นพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ เมื่อทรงเห็นหรือทรงทราบด้วยพระเนตรพระกรรณว่า พระภิกษุรูปใดมีความรู้ความเชี่ยวชาญในพระไตรปิฏก มีศิลาจารวัตรน่าเลื่อมใส มีความสามารถในการปกครองหมู่คณะให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ทั้งยังเป็นศูนย์รวมแห่งศรัทธาของประชาชนแล้วก็จะพระราชทานสมณศักดิ์เพื่อเป็นเกียรติและกำลังใจ ในการจะได้ช่วยกันจรรโลงพระพุทธศาสนาสืบไป

    ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นช่วงเวลาที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชเจ้า สกลมหาสังฆปริณายกอยู่นั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะโปรดพระราชทานสมณศักดิ์แก่พระสงฆ์รูปใด ก็จะทรงปรึกษากับสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ก่อนทุกครั้ง ตรงนี้ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ทรงให้พระสงฆ์ได้มีส่วนร่วมในการพิจารณาเสนอความคิดเห็นได้

    ปัจจุบัน เป็นหน้าที่ทางคณะสงฆ์จะช่วยกันพิจารณาให้ความเห็นชอบตามลำดับขั้น คือ จากเจ้าอาวาส เจ้าคณะตำบล เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะภาค และเจ้าคณะใหญ่ เมื่อได้รับความเห็นชอบจากเจ้าคณะผู้ปกครองตามลำดับแล้ว กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการจึงได้เสนอเรื่องเพื่อนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานสมณศักดิ์ ตามระเบียบของทางราชการต่อไป

    อย่างไรก็ตาม ในการพระราชทานสมณศักดิ์ชั้นสูง เช่น สมเด็จพระสังฆราชหรือสมเด็จพระราชาคณะ ทางคณะสงฆ์ชอบที่จะถวายพระเกียรติแด่องค์พระมหากษัตริย์ด้วยการเสนอนามพระเถระที่เห็นสมควรขึ้นไปหลายรูปเพื่อให้ทรงพิจารณาตามพระราชอัธยาศัย เป็นธรรมเนียมปฏิบัติเสมอมา เพราะพระราชอำนาจส่วนนี้เป็นของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพียงพระองค์เดียว

  3. #3
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม
    วันที่สมัคร
    Mar 2007
    กระทู้
    1,212
    สมเด็จพระวันรัตน์ เขียนแบบนี้เด้อครับ
    สมัยก่อนเขียน พนรัตน์ มาจาก สมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว สมัยอยุธยา

  4. #4
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ บ่าวดอนโบม
    วันที่สมัคร
    Sep 2007
    กระทู้
    1,421
    คัน บวชศึกใหม่ เอิ้นว่า ทิด ติครับ

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •