โรคคาวาซากิ (Kawasaki disease)
โรคคาวาซากิคืออะไร?
เป็นโรคที่เป็นผลมาจากการอักเสบของเส้นเลือดขนาดกลางและขนาดเล็กทั่วร่างกาย สาเหตุที่แท้จริงของโรคยังไม่ทราบแน่ชัด แต่อาจเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อบางชนิดทั้งแบคทีเรียและไวรัส, การใช้แชมพูซักพรม, การอยู่ใกล้แหล่งน้ำ โรคนี้ตั้งชื่อตามนายแพทย์คาวาซากิ ซึ่งเป็นแพทย์ชาวญี่ปุ่น ที่ได้รวบรวมรายงานผู้ป่วยเป็นคนแรกของโลก
อาการของโรคคาวาซากิ
จะเริ่มด้วยอาการไข้สูงลอยทั้งวัน ไม่ค่อยตอบสนองต่อยาลดไข้ ไข้จะเป็นอยู่นานหลายวันหากไม่รักษา มักไม่มีอาการทางหวัดเช่น อาการไอ หรีอน้ำมูกไหล ไม่มีผลการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฎิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งวินิฉฉัยโรคนี้ได้อย่างเด็ดขาด แพทย์จะให้การวินิจฉัยได้จากเกณฑ์วินิจฉัยจาก 4 ใน 5 ข้อ ร่วมกับอาการไข้สูงหลายวัน
เกณฑ์การวินิจฉัย
-ตาแดงทั้งสองข้าง ไม่มีขี้ตา
-ลิ้นแดง (เป็นคล้ายสตอร์เบอรื่) , ปากแดง บางครั้งถึงกับแตก เจ็บมาก
- มือเท้าบวมในช่วงแรก มักไม่ยอมใช้มือเท้าเดินหรีอเล่น เนื่องมาจากเจ็บระบม มีผิวหนังลอกเริ่มที่บริเวณขอบเล็บ และ อาจพบที่รอบก้นและขาหนีบ
-มีผื่นขึ้นตามตัว เป็นได้ทุกรูปแบบ ยกเว้นตุ่มน้ำหรือตุ่มหนอง
-ต่อมน้ำเหลืองโต มักเป็นที่บริเวณคอ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่กว่า 1.5 เซนติเมตร
ประมาณ 80 % ของผู้ป่วยเป็นเด็ก อายุน้อยกว่า 5 ปี โดยส่วนใหญ่จะมีอายุน้อยกว่า 2 ปี
โรคนี้ถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษาจะเป็นอย่างไร
อาการดังกล่าวมาข้างต้น 5 ข้อ ไม่มีข้อใดจะมีการทำลายอย่างถาวรต่ออวัยวะนั้น ที่สำคัญทึ่สุดคือการอักเสบของเส้นเลือดโคโรนารี่ซึ่งเป็นเส้นเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจเมื่อมีการอักเสบมากจะเกิดการโป่งพองของเส้นเลือดนี้ และมีการอุดตันของเส้นเลือด ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง หัวใจวายหรือทำงานล้มเหลวเสียชีวิตได้เส้นเลือดทั่วร่างกายอาจมีการอักเสบได้เช่นกัน เกล็ดเลือดที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงท้ายของการดำเนินโรค จะทำให้มีการเสี่ยงต่อการอุดตันของเส้นเลือดเพิ่มขึ้น
โรคคาวาซากิจะรักษาอย่างไร ?เมื่อพบว่าผู้ป่วยเป็นโรคคาวาซากิ ควรให้นอนโรงพยาบาลเพื่อการติดตามการรักษาอย่างใกล้ชิด
วิธีรักษาทำได้โดย
-ให้แอสไพริน เพื่อลดการอักเสบของเส้นเลือด และป้องกันเกล็ดเลือดรวมตัวเป็นกลุ่มก้อน
( Aspirin ขนาดสูง ในช่วงแรก แบ่งให้ทางปาก เมื่อไข้ลงจะลดยาลง )
-ให้อิมโมโนโกลบูลิน เพื่อลดอุบัติการณ์การการเกิดการโป่งพองและการอักเสบของเส้นเลือดโคโรนารี่
จะต้องดูแลอย่างไรหลังจากออกจากโรงพยาบาล?
หากมีการโป่งพองของเส้นเลือดโคโรนาร๊ ( Coronary artery ) มีโอกาสที่เกิดอุดตันและมีกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยงได้ ในเด็กเล็กจะบอกเรื่องเจ็บหน้าอกด้านซ้ายไม่ได้แต่จะร้องกวนไม่หยุด ไม่กินนมหรือข้าว ซีด เหงื่อออก หายใจหอบเหนื่อย และชีพจรเต้นเร็วมากขึ้น ให้รีบพามาโรงพยาบาลเป็นการด่วน เพื่อตรวจคลื่นหัวใจ, อัลตราชาวน์หัวใจ ( 2D echocardiogram ) ซ้ำ และให้ยาละลายลิ่มเลือดและขยายหลอดเลือดโคโรนาร๊
หากตรวจไม่พบความผิดปกติของ Coronary artery ตั้งแต่ต้นและได้รับการรักษาที่ถูกต้องแต่ต้น โอกาสเกิดการโป่งพององเส้นเลือดในระยะต่อม จะลดน้อยมาก แต่ต้องมาติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง ให้กินยาแอสไพรินตามที่แพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ
ในช่วงที่กินยาแอสไพริน หากมีการระบาดของอีสุกอีใส ให้หยุดยาและมาติดต่อสอบถาม หรือมาพบแพทย์