กำลังแสดงผล 1 ถึง 6 จากทั้งหมด 6

หัวข้อ: ทูน (คูน)

  1. #1
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ ฅนภูไท
    วันที่สมัคร
    Apr 2007
    กระทู้
    2,115
    บล็อก
    1

    ความเยือกเย็น ทูน (คูน)

    ทูน (คูน)

    มื้อนี้ฅนภูไทไปบ้านพี่สาวมาเห็นต้นทูนปลูกไว้หลังบ้านเลยเก็บมาฝากพี่น้องบ้านมหา ทูนเอามาลอกเปลือกออกกินกับตำบักหุง หรือสิเอามาคั่นส้มกินกะแซบครับ 8)8) ต้นทูนกะคล้ายๆบอนอยู่ในตระกูลเดียวกัน มาเบิ่งกันเลยว่าหน้าตาเป็นแบบได๋

    ทูน (คูน)

    ทูน (คูน)

    1. ชื่อ คูน
    2. ชื่ออื่น บอน ทูนขาว ออกดิบ กระดาดขาว กะเอาะขาว ทูน ตูน เอาะดิบ ออดิบ หัวคูน

    3. ชื่อวิทยาศาสตร์ Colocasia gigantea Hook. f.

    4. วงศ์ ARACEAE

    5. ชื่อสามัญ -

    6. แหล่งที่พบ พบทั่วไปของทุกภาค

    7. ประเภทไม้ ไม้ล้มลุก

    8. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
    ต้น ลำต้นสีขาวไม้ล้มลุกหลายปี มีเหง้าอยู่ใต้ดินก้านใบแทงออกจากเหง้า ก้านใบยาวสีเขียวที่ผิวมีแป้งเคลือบอยู่

    ใบ เป็นรูปหอกปนรีปลายใบมน ฐานใบเว้าริมใบเรียบหรือมีกลิ่นเล็กน้อย ผิวใบมันและมีสีเขียว ใบกว้าง 16-17 นิ้ว ใบยาว 11-19 นิ้ว ก้านใบมีแป้งเคลือบอยู่มองดูมีสีขาวนวล เนื้อของก้านใบกรอบน้ำและมี รูอากาศแทรกอยู่ใน เนื้อก้านใบ

    ดอก เป็นช่อออกเป็นแท่งเดี่ยวๆ ดอกย่อยแยกเพศอยู่ในช่อเดียวกันฉ่ำน้ำ

    ผล เป็นผลสดสีเขียว

    9. ส่วนที่ใช้บริโภค ก้าน ใบอ่อน
    10. การขยายพันธุ์ หน่อ เหง้า

    11. สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เป็นไม้ชุ่มชื้นขึ้นงอกงามได้ตลอดปีบริเวณที่มีน้ำเพียงพอ
    12. ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ ตลอดทั้งปี

    13. การปรุงอาหาร ก้าน ใบอ่อน รับประทานสดเป็นผักร่วมกับน้ำพริก แกงรสจัด ส้มตำ ลาบ ยำ หรือนำไป ปรุงอาหาร เช่น แกงส้ม แกงแค แกงกะทิ

    14. ลักษณะพิเศษ คูน รสจืดเย็น เหมาะในการรับประทานช่วงฤดูร้อน ช่วยบรรเทาความร้อน

  2. #2
    เบิ่งดอกไม้สวย ๆ ตากะแจ้งขึ้นมานิดหนึ่ง
    พอมาเห็นทูนไฟตะเกียงตากะมอดแล่วล่ะ
    ทำความเคารพคอมแล่ว ทำความเคารพอีก...
    สงสัยจะขอบคุณลุงคอมที่บ่พังไปก่อนวัย...
    หรือถ้าอยู่ต่อสงสัยลุงคอมสิต้องโดนน๊อค
    นับถึงสามโดนทุบแท้ ๆ ...อิอิอิ

  3. #3
    Membership renewed สัญลักษณ์ของ Sweet_M
    วันที่สมัคร
    Oct 2007
    ที่อยู่
    USA
    กระทู้
    1,097
    แม่นอยู่อ้ายคนภูไท กินกับตำบักหุ่งแซ่บอีหลี
    .....โลกหมุนไป ใจอยู่กับเสียงเพลง ชีวิตฉันคืออิสระ I am what I am.....

  4. #4
    น้ำตาล
    Guest
    กินกับตำหมากหุ่งแซบคักอ้ายภู..เอ๋าไสหละส้มทูนนะอ้ายว่าสิมาซิมแมะ...

  5. #5
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ ขุนสุราพ่าย
    วันที่สมัคร
    Nov 2007
    กระทู้
    170

    พบปะพูดคุย ต้นทุน >>>> ต้นทูนนิเอง อิอิ

    '' ขุนฯ กะงงตั้งโดน เอื้อยเด็กน้อยล่ะว่า ต้นทุน บาดได่พิมพ์ผิด ::) งงปานไก่ตาแตกเลยเนาะเอื้อยเนาะ เฮ็ดคนคักเนาะเอื้อย ::) ''

  6. #6
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ นวรัตน์
    วันที่สมัคร
    Feb 2008
    กระทู้
    687

    ความเยือกเย็น เพิ่มเติมต้นคูน

    เพิ่มเติมต้นคูน


    คูน เป็นพืชผักชนิดหนึ่งที่ทาง ภาคเหนือเรียก “ตูน” ทางอีสานเรียก “ทูน” สามารถนำมาทำอาหารได้หลายอย่าง รับประทานเป็นผักสดก็ได้ นำมารับประทานกับส้มตำก็แซบ หลายน้ำลายไหล ดูไปดูมาคูนที่ว่านี้มีลักษณะเหมือน ๆ กับบอน หากไม่เชี่ยวชาญพอก็มิอาจ แยกแยะได้

    วิธีการเลือกเก็บคูนเพื่อนำมารับประทานโดยไม่สับสนด้วยการเก็บก้านบอนมาแทน ต้องสังเกตดูจากก้านใบ คูนจะมีก้านใบอวบอ้วนใหญ่ สีเขียวอ่อนออกขาว บอนมีก้านใบเล็กและมีสีเขียวกว่า

    ข้อมูลจากปี 2545 ระบุว่า คูนมีการปลูกในพื้นที่ปลูกเพื่อการค้าที่ อ.บ้านนา จ.นครนายก 12 ไร่ อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี มี 1 ไร่ อ.บ้านแพรก จ.พระนครศรีอยุธยา 1 ไร่ นอกจากนั้นก็มีปลูกทั่ว ๆ ไปแถวริมไร่ปลายสวน

    อาจารย์มานะ เชื้อทองดี ประจำภาควิชาพืชศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์บางพระ เขียนไว้ใน วารสารศูนย์บางพระ เมื่อครั้ง ยังไม่ได้เป็นมหาวิทยาลัยเช่นทุกวันนี้ คือตั้งแต่ 10 กว่าปี มาแล้ว (ฉบับที่ 2 กันยายน-พฤศจิกายน 2537) แต่ข้อมูลยังอัพเดทอยู่นะ หากได้หน่อคูนมา อาจารย์บอกถึงวิธีการปลูกว่า การขุด หลุมปลูกไม่จำเป็นต้องลึกมากนัก กะให้ดินพยุงโคนก้านใบไว้ได้ก็พอ แต่ควรขุดและพรวนดินออกทางด้านข้างให้มากหน่อย ถ้ามีการผสมดินด้วยปุ๋ยหมักหรือใบไม้ผุด้วยก็ยิ่งดี ต้นคูนชอบดินที่มีความชื้นสูง แต่ไม่ถึงกับน้ำท่วมโคนต้นและไม่ชอบแดดจัดมาก การคลุมโคนด้วยใบไม้เป็น ชั้นหนาพอสมควรช่วยให้ต้นคูนเจริญเติบโตได้เร็วและแตกหน่อเป็น ปริมาณมาก หน่อด้านข้างนั้น ถ้าปล่อยให้เจริญเติบโตมาก ขึ้น มักมีรูปทรงของกอที่ผอมสูง จึงควรแยกออกมาปลูกเป็นกอใหม่จะดีกว่า โดยใช้ระยะห่างประมาณ 1.5-2.0 เมตร หน่อคูนที่ปลูกใหม่นั้นมีรากน้อยและรากยังไม่ทันจับดิน ก้านและใบจะเหี่ยวและโค้งงอลงดินหรือหักพับได้ง่าย จึงควรรดน้ำเบา ๆ แต่ด้วยปริมาณที่ชุมโชกพอหรือใช้แขนงไม้ปักดามก้านใบไว้ก็ยิ่งเป็นการดี ในระยะ 3 วันแรกภายหลังการปลูกหน่อใหม่นั้นควรรดน้ำประมาณวันละ 3 ครั้งหรือมากกว่านั้น เมื่อหน่อปลูกใหม่ตั้งก้านใบดีแล้วจึงรดน้ำวันละ 1-2 ครั้ง

    ในด้านของศัตรูพืช มีหนอนผีเสื้อตัวสีเขียว-น้ำตาล บางตัวมีลาย มากัดกินใบ ฉะนั้นหากเห็นใบเว้าแหว่งหายไป ให้คอยสังเกตในช่วงเช้า ตัวหนอนจะไต่ก้านขึ้นมา ให้ฆาตกรรมมันเสีย นอกเหนือจากหนอนผีเสื้อนี่แล้วยังไม่พบโรคและแมลงอื่นใดมาทำลายคูนเลย

    ในการเก็บเกี่ยวนั้น เมื่อต้นคูนแตกกอได้ประมาณ 8-12 ใบ ก็เริ่มตัดก้านมารับประทานได้หรือคอยให้ต้นคูนโตเต็มที่ก่อนก็ได้ และเนื่องจากคูนเป็นพืชที่เพาะปลูกเลี้ยงง่าย มีการแตกหน่อและเติบโตเร็ว ชอบดินที่มีความชื้นสูงแต่ไม่มีน้ำท่วมขัง ใช้เวลาเพาะปลูกประมาณ 2-3 เดือน ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้โดยตัดก้านแก่ออกมาใช้รับประทานได้ทั้งในรูปของผักสดหรือนำมาต้มแกงก็อร่อยดีมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว จากนั้นจึงทยอยเก็บเกี่ยวต่อไปเป็นระยะ

    คูนจึงเป็นพืชผักที่น่าสนใจและควรเพาะปลูกไว้เพื่อพยุงเศรษฐกิจในครอบครัวในภาวะที่ควรใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง หรือจะทำเป็นการค้าก็น่าสนใจมิใช่น้อย...อาจารย์มานะบอก.
    :)

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •