จากข้อความด้านล่างนี้...ท่านคิดว่าเว็บไซต์บ้านมหา เข้าข่ายละเมิดลิขสิทธิ์ ร้ายแรงหรือไม่
ปัญหาการดาวน์โหลดเพลงออนไลน์ผิดกฎหมาย ยังคงเป็นประเด็นหลัก ที่บริษัทเพลงทั่วโลกกำลังหาทางแก้ไขกันอย่างเต็มที่ แต่ถึงแม้จะออกมาตรการป้องกันหลากหลาย ทั้งการฟ้องร้อง

และทำข้อตกลงกับเว็บไซต์ชื่อดัง อาทิ ยูทูบ แต่อุตสาหกรรมเพลงก็ยังประสบความเสียหายนับพันล้านเหรียญฯ ให้เว็บไซต์ละเมิดลิขสิทธิ์

ปัญหาหลักของบรรดาผู้ผลิตเพลง คือ ยอดขายแผ่นซีดีที่ตกต่ำลง โดยข้อมูลตั้งแต่ปี 2543 จนถึง 2549 พบว่า ยอดขายแผ่นซีดีทั่วโลกปรับตัวลดลงถึง 23%

อิริค การ์แลนด์ นักวิเคราะห์จากเว็บไซต์ที่ปรึกษาบิ๊ก แชมเปญ คาดการณ์ว่า การดาวน์โหลดเพลงผิดกฎหมายอาจจะมากถึง 1,000 ล้านเพลงในแต่ละเดือน ในทางกลับกัน ไอจูนส์ของแอปเปิล ซึ่งเป็น "ร้านเพลงออนไลน์" ที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐ มีส่วนแบ่งตลาดถึง 70% แต่กลับมียอดขายเพลงออนไลน์ตั้งแต่เปิดตัวเมื่อปี 2546 เป็นต้นมา เพียง 2,000 ล้านเพลงเท่านั้น

ผู้เชี่ยวชาญมองตรงกันว่า ปัญหาสำคัญอยู่ที่ระบบเครือข่ายที่เรียกว่า "เพียร์-ทู-เพียร์" (พี2พี) อย่าง Gnutella และ BitTorrent ที่มีส่วนสำคัญในการเชื่อมต่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์ส่วนตัวนับล้านคน โดยเปิดช่องให้ผู้ใช้พีซีที่ไม่ต้องเปิดเผยชื่อเสียงเรียงนาม สามารถแลกเปล ี่ยนเพลงได้อย่างอิสรเสรีบนอินเทอร์เน็ต

นับตั้งแต่ผู้เกี่ยวข้องในอุตหสากรรม ออกมาตรการจริงจังด้วยการฟ้องร้องเจ ้าของเว็บไซต์เครือข่าย พี2พี ดังกล่าว ในช่วงหลายปีหลังสุด ปรากฎว่า ตัวเลขอัตราเติบโตของผู้ใช้ไฟล์-แชริ่งผิดกฎหมายก็ลดลงอย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม ในแต่ละปี ก็ยังมีตัวเลขผู้ดาวน์โหลดเพลงผิดกฎหมายเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด

รัสส์ ครุพนิค นักวิเคราะห์จากกลุ่มวิจัยผู้บริโภค เอ็นพีดี กล่าวว่า ในปี 2549 ตัวเลขของผู้ใช้คอมพิวเตอร์พีซีในสหรัฐ ที่ใช้เครือข่าย พี2พี เพิ่มขึ้น 7% ขณะเดียวกัน ยอดการดาวน์โหลดเพลงออนไลน์ผิดกฎหมายนั้น เพิ่มขึ้น 24%

"พี2พี ถือเป็นปัญหาที่เราไม่สามารถยอมรับได้" มิตช์ เบนวอล ประธานสมาคมอุตสาหกรรมเพลงแห่งอเมริกา (อาร์ไอเอเอ) กล่าว โดยในปี 2548-2549 ที่ผ่านมา อาร์ไอเอเอ ดำเนินการฟ้องร้องและสั่งปิดเว็บไซต์ผิดกฎหมายอย่าง Grokster และ KaZaa ได้เป็นผลสำเร็จ

แต่ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า การสั่งปิดเว็บไซต์ดังกล่าว ไม่ได้ผลเท่าใดนัก "หากอินเทอร์เน็ตยังมีซอฟต์แวร์ที่เอื้อต่อการแชร์ไฟล์กัน การดาวน์โหลดเพลงผิดกฎหมายก็ยังคงเป็นเรื่องยากที่จะจัดการ" เวนย์ รอซโซ อดีตซีอีโอของ Grokster ที่ถูกศาลสั่งปิด ให้ความเห็น

ขณะที่เมื่อปีที่แล้ว ผู้ผลิตในอุตสาหกรรมเพลง ทั้งยูนิเวอร์แซล, โซนี, บีเอ็มจี และวอร์เนอร์ มิวสิค ต่างหันมาร่วมมือกับเว็บไซต์ชื่อดังอย่าง นิวส์ คอร์ป, มายสเปซ และยูทูบ เพื่อทำข้อตกลงในการแบ่งปันผลประโยชน์รายได้ เพื่อเปิดให้ผู้ใช้สามารถแจกจ่ายเพลงได้อย่างถูกกฎหมาย

ด้านรอซโซ ชี้ว่า บริษัทเพลงกำลังใช้กลยุทธ์สร้างความสัมพันธ์กับ "บริษัทที่พวกเขาเคยเรียกกล่าวหา ว่าทำผิดกฎหมาย" โดยมีเหตุผลสำคัญคือ เว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมดังกล่าวนั้น อาทิ ยูทูบ มีแฟนเพลงรุ่นเยาว์ติดตามอยู่มากมาย ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญที่บริษัทเพลงต้องการ

"บรรดาผู้ผลิตนั้นมีความต้องการสองด้าน หนึ่งคือ ต้องการปกป้องลิขสิทธิ์ของสินค้าตนเอง" จอน ไดอามอนด์ ซีอีโอของอาร์ทิสต์ดิสทริค กล่าว "อีกด้านหนึ่ง พวกเขาต้องการกลุ่มเป้าหมายที่วนเวียนอยู่ในเว็บไซต์ผิดกฎหมาย และพวกเขาต้องการรู้วิธีการดึงกลุ่มเหล่านั้นมาดาวน์โหลดอย่างถูกกฎหมายด้วย " นักวิเคราะห์มองว่า ถึงแม้บริษัทเพลงจะสามารถต่อสู้ลบล้างเว็บไซต์ผิดกฎหมายดังกล่าวออกไปจนหมด แต่ก็ไม่มีใครสามารถยืนยันได้ว่า ผู้คนจะหันมาซื้อเพลงอย่างถูกกฎหมายได้ ดังนั้นยุทธศาสตร์ของผู้ผลิตเพลง คือ การชะลอเครือข่าย พี2พี และตั้งความหวังว่า ยอดขายเพลงดิจิตอลจะปรับตัวสูงขึ้นในที่สุด

"เห็นได้ชัดว่า มันมีอุปสรรคมากมายในการเติบโตของตลาดเพลงออนไลน์" แลร์รี เคนส์วิล ผู้บริหารระดับสูงของยูนิเวอร์แซล มิวสิค กล่าว "แต่การเติบโตของเพลงออนไลน์ก็ยังมีอยู่ พี2พี จะไม่หายไปจากอินเทอร์เน็ต แต่ก็จะลดน้อยลงไปอนาคต"

แหล่งที่มา ไทยโพส