กำลังแสดงผล 1 ถึง 6 จากทั้งหมด 6

หัวข้อ: ความดันโลหิตสูง (Hypertension)

  1. #1

    ความดันโลหิตสูง (Hypertension)

    โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) เป็นภาวะทางการแพทย์อย่างหนึ่ง โดยจะตรวจพบความดันโลหิต อยู่ในระดับที่สูงกว่าปรกติเรื้อรังอยู่เป็นเวลานาน
    ทั้งนี้องค์การอนามัยโลก กำหนดไว้ในปี 1999 ว่า ผู้ใดก็ตามที่มีความดันโลหิตวัดได้มากกว่า 140 /90 มม.ปรอทถือว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง
    และ การที่ความดันโลหิตสูงอยู่เป็นเวลานาน เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหลอดเลือดในสมองตีบ โรคหัวใจ โรคไตวาย เส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง อัมพาต ฯลฯ

    โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่ที่มีความดันโลหิตสูงมักจะไม่รู้ตัวว่าเป็น เมื่อรู้ตัวว่าเป็นส่วนมากจะไม่ได้รับการดูแลรักษา
    ส่วนหนึ่งอาจจะเนื่องจากไม่มีอาการทำให้คนส่วนใหญ่ ไม่ได้ให้ความสนใจ เมื่อเริ่มมีอาการหรือภาวะแทรกซ้อนแล้วจึงจะเริ่มสนใจและรักษา
    ซึ่งบางครั้งก็อาจจะทำให้ผลการรักษาไม่ดีเท่าที่ควร
    การควบคุมความดันโลหิตให้ปกติอย่างสม่ำเสมอ สามารถลดโอกาสเกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต
    หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เป็นข้อเท็จจริงทางการแพทย์ที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป


    ปัจจัยที่มีผลต่อความดันโลหิต
    ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลงได้ตามปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ดังนี้

    อายุ ส่วนใหญ่เมื่ออายุมากขึ้น ความดันโลหิตจะสูงขึ้น ตัวอย่างเช่น ขณะอายุ 18 ปีความดันโลหิต เท่ากับ 120/70 มม.ปรอท
    แต่พออายุ 60 ปี ความดันโลหิต อาจจะเพิ่มขึ้นเป็น 140/90 แต่ก็ไม่ได้เป็นกฏตายตัวว่าอายุมากขึ้นความดันโลหิตจะสูงขึ้นเสมอไป อาจวัดได้ 120/70 เท่าเดิมก็ได้
    เวลา ความดันโลหิตจะขึ้นๆ ลงๆ ไม่เท่ากันตลอดวัน ตัวอย่างเช่น ในตอนเช้าความดันซิสโตลิกอาจจะวัดได้ 130 มม.ปรอท
    ขณะที่ ตอนช่วงบ่ายอาจวัดได้ถึง 140 มม.ปรอท ขณะนอนหลับอาจวัดได้ต่ำถึง 100 มม.ปรอท เป็นต้น

    จิตใจและอารมณ์ พบว่ามีผลต่อความดันโลหิตได้มาก ขณะที่ได้รับความเครียด อาจทำให้ความดันโลหิตสูงกว่าปกติได้ถึง 30 มม.ปรอท
    ขณะที่พักผ่อนความดันโลหิตก็จะสามารถกลับมาสู่ภาวะปกติได้ เมื่อรู้สึกเจ็บปวดก็เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้เช่นกัน
    เพศ พบว่าเพศชายจะเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้บ่อยกว่าเพศหญิง
    พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ผู้ที่มีบิดาและมารดา เป็นโรคความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ที่ไม่มีประวัติในครอบครัว
    สิ่งแวดล้อม ที่เคร่งเครียด ก็ทำให้มีแนวโน้มการเป็นโรคความดันสูงขึ้นด้วยเช่นกัน
    สภาพภูมิศาสตร์ ผู้ที่อยู่ในสังคมเมืองจะพบภาวะความดันโลหิตสูงมากกว่าในสังคมชนบท

    เชื้อชาติ พบว่าชาวนิโกรอเมริกันความดันโลหิตสูงมากกว่าชาวอเมริกันผิวขาว
    ปริมาณเกลือที่รับประทาน ผู้ที่รับประทานเกลือมากจะมีโอกาสเกิดโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้ที่รับประทานเกลือน้อย
    ตัวอย่างเช่น ชาวญี่ปุนตอนเหนือรับประทานเกลือมากกว่า 27 กรัม/วัน มีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงถึง 39%
    ส่วนชาวญี่ปุ่นตอนใต้รับประทานเกลือวันละ 17 กรัม/วัน เป็นมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเพียง 21%



    ระดับความรุนแรง

    ระดับที่ 1 ความดันโลหิตสูงระยะเริ่มแรก ค่าความดันโลหิต ระหว่าง 140-159/90-99 มม.ปรอท
    ระดับที่ 2 ความดันโลหิตสูงระยะปานกลาง ค่าความดันโลหิต ระหว่าง 160-179/100-109 มม.ปรอท
    ระดับที่ 3 ความดันโลหิตสูงระยะรุนแรง ค่าความดันโลหิต มากกว่า 180/110 มม.ปรอท
    การวัดความดันโลหิตควรจะวัดขณะนอนพัก ควรวัดซ้ำ 2-3 ครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นความดันโลหิตสูงจริงๆ



    อาการของผู้ป่วย

    ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงอาจจะไม่มีอาการใดๆ เลย หรืออาจจะพบว่ามีอาการปวดศีรษะ มึนงง เวียนศีรษะ และเหนื่อยง่ายผิดปกติ อาจมีอาการแน่นหน้าอกหรือนอนไม่หลับ

    ความดันโลหิตสูงอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ 2 กรณีด้วยกันคือ

    กรณีที่ 1 ภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงโดยตรง ได้แก่ภาวะหัวใจวายหรือหลอดเลือดในสมองแตก
    กรณีที่ 2 ภาวะแทรกซ้อนจากหลอดเลือดแดงตีบหรือตัน เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือเรื้อรัง ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ
    อาจจะทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ หลอดเลือดสมองตีบ เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือหลอดเลือดแดงในไตตีบมากถึงขั้นไตวายเรื้อรังได้
    จากข้อมูลทางการแพทย์ระบุไว้ว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและไม่ได้รับการรักษาจะเสียชีวิตจากหัวใจวายถึง 60-75 %
    เสียชีวิตจากเส้นเลือดในสมองอุดตัดหรือแตก 20-30 % และเสียชีวิตจากไตวายเรื้อรัง 5-10 %



    ภาวะแทรกซ้อน
    หัวใจทำงานหนักขึ้น ทำให้ผนังหัวใจหนาตัวและถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ผนังหัวใจจะยืดออกและเสียหน้าที่ ทำให้เกิดหัวใจโต และหัวใจวายได้ในที่สุด
    อาจเกิดภาวะหลอดเลือดในสมองตีบตันหรือแตก ทำใหเป็นอัมพาตหรือเสียชีวิตได้ ถ้าเป็นเรื้อรัง อาจกลายเป็นโรคความจำเสื่อม สมาธิลดลง
    เลือดอาจไปเลี้ยงไตไม่พอ เนื่องจากหลอดเลือดเสื่อม ทำให้ไตวายเรื้อรังและภาวะไตวายจะยิ่งทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นอีก
    หลอดเลือดแดงในตาจะเสื่อมลงอย่างช้าๆ อาจมีเลือดที่จอตา ทำให้ประสาทตาเสื่อม ตามัวลงเรื่อยๆ จนตาบอดได้


    ข้อควรปฏิบัติเมื่อมีความดันโลหิตสูง

    1. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ตัวอย่างเช่น การเดินเร็วๆ วิ่งเหยาะ หรือว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน ควรออกกำลังกายประมาณ 15-20 นาที อย่างน้อย 3-6 ครั้ง/สัปดาห์
    2. ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มจัด เพื่อลดปริมาณเกลือซึ่งจะทำให้ความดันโลหิตสูงได้
    3. ลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และงดสูบบุหรี่
    4. ลดความเครียดของงานและภาวะแวดล้อม
    5. ลดน้ำหนักตัว โดยเฉพาะในรายที่น้ำหนักเกินมาตรฐาน ความอ้วนถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคความดันโลหิตสูง
    6. รับประทานยาและพบแพทย์สม่ำเสมอ เพื่อตรวจวัดความดันโลหิตและปรับยาให้เหมาะสม


    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    คนที่กล้าจะพ่ายแพ้เท่านั้น...ที่จะประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่

  2. #2
    ฝ่ายบริหารระดับสูง สัญลักษณ์ของ ตรี ศรีเมืองใหม่
    วันที่สมัคร
    Apr 2006
    ที่อยู่
    หนุ่มอุบล คนศรีเมืองใหม่
    กระทู้
    4,490
    ขอบคุณจ้าคุณพยาบาล..ที่ให้ความรู้อันเป็นประโยชน์ต่อบุคลทั่วไป
    :welcome3"...ศรีเมืองใหม่แดนธรรมประเสริฐ ถิ่นกำเนิดหลวงปู่มั่น ลือลั่นสวรรค์ภูหล่น ยลสวยหินผานางคอย ลอยล่องแก่งจุการ งามตระหง่านเสาธงวงกลมใหญ่...">>>>> www.muangmai.ob.tc

  3. #3
    อิอิ...ไปจำเขามาอีกเทือหนึ่งดอกจ้าอ้าย ลำพังความรู้เจ้าของคือสิบรรยายเป็นโตหนังสือบ่ได้หลายปานนี่
    เห็นว่าคนรอบข้างเป็นกะเลยไปศึกษาค้นคว้ามาสู่อ่านจ้า
    คนที่กล้าจะพ่ายแพ้เท่านั้น...ที่จะประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่

  4. #4
    ท่องเวบ สัญลักษณ์ของ pui.lab
    วันที่สมัคร
    Jul 2006
    ที่อยู่
    โสดไม่มีใครเอา หรือว่าเราไม่เอาใคร
    กระทู้
    8,954
    บล็อก
    9
    ข้อมูลดีมากค๊าน้องติ๋ม บัดเจ๊คอลเรสฯสูงนิดนึงอ่ะ 232 ขนาดเลือกกินนะนิยังขึ่นขนาดนิ
    บ้านมหาดอทคอม เว็บไซต์ส่งเสริม ศิลปะ วัฒนธรรมไทย ศิลปิน ความรู้ออนไลน์
    st1: มิตรภาพและรอยยิ้ม กับดีเจคนไกลบ้าน st1:

  5. #5
    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สัญลักษณ์ของ หล่อร้อยเมตร
    วันที่สมัคร
    Feb 2007
    กระทู้
    1,808
    สาเหตุที่ทำให้เกิดความดันสูงกะคือ ไขมันไปเกาะตามผนังหลอดเลือดเฮ็ดให้หลอดเลือดตีบ เวลาหัวใจบีบ ส่งเลือดไปยังเส้นเลือดต่างๆเลือดเดินทางบ่สะดวก กะก่อให้เกิดภาวะความดันสูงครับ หรือบางคนเลือดข้นหนืดหลายกะเป็นได้ ฉะนั้นกินไขมันให้น้อยลง แล้วกะออกกำลังกายหลายๆครับ
    คาดสิได้ลอยมาคือปลาเน่า ... สั่นแล๊ววว

  6. #6
    แม่นแล้วจ้าคุณหมอหล่อ8) สาเหตุหลักกะคือไขมัน แต่ร่างกายของคนเฮากะขาดไขมันเลยบ่ได้ จำเป็นอย่างยิ่งที่สิต้องกิน
    แต่กินไขมันอย่างไรจังบ่เกิดโทษ และไขมันอะไรบ้างที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของคนเรา

    ไขมันชนิดนี่ควารหลีกเลี่ยงเพราะบ่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
    ไขมันจากสัตว์ เช่น หมู วัว แกะ ห่าน เป็ด ผลิตภัณฑ์จากนมที่มี%ไขมันสูงๆ น้ำมันหมากพร้าว และน้ำมันปาล์ม
    แล้วมาเบิ่งไขมันที่ร่างกายควรสิได้รับและมีประโยชน์บ้าง
    น้ำมันหมากกอก(Oliven) เมล็ดถั่วต่างๆ อะโวคาโด(Avokado)
    น้ำมันจากปลาทะเลน้ำลึก
    น้ำมันพืช เช่น น้ำมันองุ่น น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันข้าวโพด และ ซิอิ๊วขาว เป็นต้น

    แต่กะอย่าไปกินหลายเด้อหละ เห็นว่ามีประโยชน์ อย่าลืมไขมัน1กรัมให้พลังงาน38kj
    ตัวอย่าง....พลังงานที่ร่างกายควรจะได้รับต่อ1วัน
    อายุ..................................ชายkj/วัน................หญิงkj/วัน
    15ปี.................................11.888..................8.800
    18-22ปี........................... 12.200..................8.800
    23-50ปี............................11.300..................8.400


    ผลที่แสดงให้เบิ่งหนี่คือผลลัพท์จากอาหารทุกชนิดที่กินเข้าไปภายใน1วันเด้อจ้า
    อันนี่ตามที่ติ๋มเรียนมาเด้อจ้า คั่นแปลหม่องใด๋บ่ถืกกะขออภัย เพราะติ๋มเรียนอยู่เมืองนอกจ้า
    คนที่กล้าจะพ่ายแพ้เท่านั้น...ที่จะประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •