หน้าที่ 2 จากทั้งหมด 3 หน้า หน้าแรกหน้าแรก 123 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย
กำลังแสดงผล 11 ถึง 20 จากทั้งหมด 21

หัวข้อ: ประเพณีการแต่งงานของชาวอีสาน (มีคลิปนำ)

  1. #11
    เห็นบรรยากาศงานแต่งงานแล่ว
    สิมีโอกาสแต่งอีกบ่น้อ...อิอิอิ


    ปล. ผุบ่าวโอกับผุบ่าวเอ กะมาคือกันเสียดายบ่ได้ฝากไปขอลายเซ็นเน๊าะ :)

  2. #12
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ ฅนภูไท
    วันที่สมัคร
    Apr 2007
    กระทู้
    2,115
    บล็อก
    1
    เอารูปควันลงงานแต่งมาฝากครับ








  3. #13
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ ฅนภูไท
    วันที่สมัคร
    Apr 2007
    กระทู้
    2,115
    บล็อก
    1
    การแต่งงานแบบภูไท



    ขั้นที่ 1 ทาบทามพ่อล่าม – แม่ล่าม
    เมื่อฝ่าย ว่าที่เจ้าบ่าวได้แจ้งเรื่องให้ ญาติพี่น้อง พ่อ แม่ ได้ทราบถึงจุดประสงค์ที่จะทำการแต่งงาน เมื่อมีความพร้อมแล้ว และทุกคนเห็นชอบก็จะมีการปรึกษา หารือกัน และกันว่าจะไปทาบทามครอบครัวไหนมาเป็นพ่อล่าม หรือเป็นล่ามในการติดต่อกับญาติฝ่ายเจ้าสาวให้ เมื่อมีชื่อครอบครัวและหัวหน้าครอบครัวที่เห็นว่ามีความเหมาะสม ตามคุณสมบัติของการเลือกเป็นพ่อล่าม-แม่ล่ามแล้วก็จะไปทาบทาม โดยอาจมีการหมายไว้หลายคู่เผื่อทาบทามแล้วครอบครัวที่ไปปฏิเสธไม่รับ ก็ไม่มีการกล่าวโทษหรือโกธรกัน เพราะถือว่าเป็นการเสี่ยงทายอีกลักษณะหนึ่ง

    คุณสมบัติเบื้องต้นของครอบครัวที่จะเป็นพ่อล่าม-แม่ล่าม มีดังนี้

    1. เป็นครอบครัวที่มีผู้นำครอบครัว ทั้งสามี - ภรรยาอยู่พร้อมหน้า ขยันขันแข็ง และเป็นที่ยอมรับเรื่องการประพฤติตน ในการครองเรือน สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีทั้งในปัจจุบันและภายภาคหน้าได้

    2. ต้องไม่มีประวัติการอย่าร้าง ทะเลาะเบาะแว้ง ตบตีกัน หรือมีสถานภาพเป็นหม้าย

    3. คนในชุมชนให้การยอมรับว่าเป็นผู้มีความประพฤติดี เหมาะสมแก่การเป็นพ่อ-แม่คนที่สองของคู่สมรสได้

    4. มีอายุมากกว่าคู่สมรส และอยู่ในฐานะที่จะว่ากล่าว ตักเตือน บอกสอน หรือสนับสนุนคู่บ่าวสาวให้ควรค่าแก่การถือเอาเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตนอย่างเหมาะสม

    5. คนที่จะเป็นพ่อล่าม-แม่ล่ามจะมีลูกล่ามได้เท่ากับจำนวนบุตรของตนเท่านั้น เช่นมีบุตร 3 คนก็จะเป็นพ่อล่าม-แม่ล่ามให้คู่สมรสที่แต่งงานได้แค่ 3 คู่เท่านั้น แต่มีข้อยกเว้นว่าหากจะเป็นล่ามให้เกินจำนวนลูกของตนเอง ครอบครัวของเจ้าบ่าวต้องทำพิธีบายศรี-สู่ขวัญ ให้กับคนที่จะเป็นพ่อล่าม-แม่ล่ามของลูกชายตนเอง เพื่อป้องกันสิ่งที่ไม่ดี ที่อาจจะเกิดตามความเชื่อของคนภูไทว่า “มันจะแพ้” (เกิดสิ่งไม่ดี เช่น เจ็บป่วย ไม่สบายหรือเกิดเรื่องราวอื่นๆ)

    เมื่อเล็งเป้าหมายครอบครัวที่มีลักษณะดังกล่าวข้างต้นได้แล้ว พ่อ-แม่ฝ่ายว่าที่เจ้าบ่าวก็จะ

    เตรียมตัวไปทำการทาบทามครอบครัวดังกล่าว โดยการเตรียมสิ่งของดังนี้ คือ ดอกไม้ เทียนคู่ เป็นเครื่องขอสมมาบอกกล่าว (มีดอกไม้ 2 ดอก เทียน 2 เล่ม) เตรียมถือไปด้วย ซึ่งถือเป็นธรรมเนียมในการไปทาบทามที่ถือปฏิบัติ

    เมื่อไปถึงบ้านของครอบครัว เป้าหมายหลังแรกที่จะไปทาบทาม พ่อ-แม่ว่าที่เจ้าบ่าวก็จะเกริ่นถาม ผู้นำครอบครัวที่จะทาบทามให้เป็นพ่อล่าม-แม่ล่าม สำหรับลูกชายของตนด้วยภาษาพื้นบ้าน คือภาษาภูไท ว่า

    “เป็นซะเลอเด้....มื่อคืนฝันดีอยู่...แหน่บ่อหน้อ” หรือ “มื่อคืนฝันว่าซะเลอ ฝันดีอยู่บ่” (เป็นอย่างไรบ้าง เมื่อคืนฝันดีบ้างหรือเปล่า ? ฝันว่าอย่างไร)

    ถ้าครอบครัวเป้าหมายตอบว่าฝันไม่ค่อยดี ก็จะให้เขาไขความฝันให้คนที่ไปทาบทามรู้ เมื่อได้ฟังความฝันที่เขาตอบว่าไม่ดี ก็จะไม่ทำการทาบทามให้เป็นพ่อล่าม-แม่ล่าม แต่จะยังคงบอกกล่าวเป็นการเชิญชวนให้เข้าร่วมงานมงคลของลูกที่จะเกิดขึ้นในอนาคตแทน แล้วก็จะจากไป และไปยังบ้านเป้าหมายต่อไปเพื่อถามในลักษณะเดิม

    แต่กรณีที่ถามบ้านแรกแล้วเขาตอบว่าฝันดี ก็จะรีบแจ้งให้ครอบครัวนั้นทราบว่าวันนี้เอาข่าวดีมาให้ เอาสิ่งมงคลมาฝากไว้ให้ช่วยดูแลสั่งสอนช่วย และก็จะแจ้งให้ทราบจุดประสงค์ที่มาหาที่บ้านเพื่อให้ครอบครัวเป้าหมายได้ทราบจุดประสงค์ และถามความคิดเห็นว่าพร้อมที่จะรับเอาสิ่งมงคลที่มามอบให้หรือเปล่า ถ้าเขารับก็จะมอบธรรมเนียมคือดอกไม้ เทียนคู่ ที่เตรียมมามอบให้แก่ครอบครัวดังกล่าว เพื่อให้ถือว่าเป็นการรับปาก รับคำในการจะช่วยรับเป็นบุตรชายอีกคน และเป็นธุระต่อไปในการไปสู่ขอทาบทามว่าที่เจ้าสาว โดยพ่อ-แม่ ฝ่ายว่าที่เจ้าบ่าวจะเล่าเรื่องราวทุกอย่างให้ครอบครัวที่รับเป็นพ่อล่ามฟังทุกเรื่อง ทุกขั้นตอนจนเป็นที่เข้าใจแล้วก็จะลากลับเพื่อบอกข่าวแก่ดีแก่ญาติๆ ที่รอรับฟังความคืบหน้าที่บ้านและเตรียมดำเนินการขั้นต่อไป

    ขั้นที่ 2 การโอม (ทาบทามเพื่อหมั้นหมาย : สู่ขอลูกสะใภ้)

    บทบาทนี้ถือเป็นภาระสำคัญของพ่อล่าม-แม่ล่ามที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ในการออกหน้าแทน พ่อ-แม่ว่าที่เจ้าบ่าวในการไปพูดคุยกับญาติฝ่ายว่าที่เจ้าสาวหรือลูกสะใภ้ในอนาคต โดยอาจส่งคนไปบอกนัดหมายเจรจากับญาติ (เจ้าโคตร) ฝ่ายเจ้าสาว โดยนัดหมายวัน เวลา ที่เหมาะสม โดยสถานที่ส่วนใหญ่จะเป็นที่บ้านพ่อ-แม่ ของว่าที่เจ้าสาว

    ในอดีตสิ่งที่ที่ฝ่ายว่าที่เจ้าบ่าวต้องเตรียมให้พร้อมก่อนการไปโอม ก็คือการเตรียมกระหยังไป่ (ภาชนะใส่ของชนิดหนึ่งคล้ายตระกล้า สานด้วยหวายหรือไม้ไผ่ มีด้วยลวดลายงดงาม ) ซึ่งต้องจัดหาให้ครบ 4 ใบ ( อัน/ หน่วย) โดย ในแต่ละใบก็จะมีการบรรจุข้าวต้มมัดบรรจุในกระหยังละ 4 คบ (ข้าวต้ม 1 คบจะมี 3 กีบมัดใส่กันต้มจนสุก) มีอ้อยกระหยังละ 4 ท่อน และกล้วยกระหยังละ 1 หวี รวมแล้วก็จะมีข้าวต้ม 16 คบ มีอ้อย 16 ท่อน กล้วย 4 หวี ในกระหยังไป่ 4 ใบที่ต้องเตรียมไป รวมทั้งเงินสินสอดที่ต้องเตรียมไว้เผื่อญาติเจ้าสาวเรียกค่าสินสอด ซึ่งในอดีตมีการให้ค่าสินสอดทั้งตามฐานะของฝ่ายหญิงและตามแต่ญาติทั้งสองฝ่ายจะทำการตกลงกันได้

    เมื่อถึงวันตามกำหนดนัดหมายพ่อล่ามก็จะนำขบวนญาติฝ่ายว่าที่เจ้าบ่าวแห่ไปที่บ้านว่าที่เจ้าสาวพร้อมสิ่งของที่เตรียมเป็นธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติไปมอบให้ญาติผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงตรวจนับดู เบื้องต้น และอาจทำการตกลงค่าสินสอด โดยส่วนใหญ่ในอดีตค่าสินสอดอาจไม่มากแต่ฝ่ายชายต้องมีเรือนหอโดยอาจไปสร้างในพื้นที่ดินของฝ่ายเจ้าสาวหรือของตนก็ได้ เมื่อทำความตกลงร่วมก็จะนัดหมายกำหนดช่วงวันเวลาแต่งงาน เมื่อญาติฝ่ายว่าที่เจ้าสาวตกลงรับสินสอดและธรรมเนียมและตรวจนับเสร็จเป็นที่พอใจก็จะรับไว้ ถ้าญาติผู้ใหญ่ตกลงไม่ได้ก็จะไม่รับและส่งคืนสิ่งของทั้งหมดก็ถือว่าการเจรจาไม่สำเร็จ อาจต้องล้มเลิกหรือต้องกลับมาเตรียมเพื่อกลับไปเจรจาใหม่ ตามธรรมเนียมภูไทหากญาติฝ่ายว่าที่เจ้าสาวตกลงรับหมั้นจะรับกระหยังไป่ไว้สองใบพร้อมของที่บรรจุส่งคืนแก่พ่อล่ามและญาติฝ่ายเจ้าบ่าว คืนมาสองใบเพื่อให้นำข้าวต้ม กล้วย อ้อยที่อยู่ในกระหยังกลับมาแจกหรือมอบให้กับญาติฝ่ายชายเป็นการนำบอกกล่าวถึงงานมงคลที่จะมีขึ้นในอนาคตและแจ้งให้ญาติรับทราบ ฝ่ายหญิงก็จะรับไว้ สองใบ เช่นเดียวกันเพื่อจะได้นำข้าวต้ม กล้วย อ้อย ที่บรรจุไว้ ส่งมอบหรือแจ้งข่าวให้ญาติฝ่ายตนได้ทราบ ซึ่งถือเป็นกุศโลบายอย่างหนึ่งในการสร้างความสัมพันธ์กับญาติมิตรในการกระจายข่าวสารและเชื่อมความสัมพันธ์ และแจ้งให้ทราบถึงการเตรียมตัวเพื่อสร้างครอบครัวใหม่หรือการจะมีงานแต่งงานเกิดขึ้นในอีกไม่ช้า ซึ่งโดยปกตินิยมจัดให้มีงานแต่งในเดือนคู่คือ เดือน 2 เดือน 4 และ เดือน 6 เท่านั้น ส่วนเดือน 8 เดือน 10 ไม่ทำเพราะผิดจารีตประเพณี (คะลำ)

    ขั้นที่ 3 การตัดไม้เพื่อทำเสาขวัญ เฮีอนสู่ (เรือนหอ) และการเตรียมงานแต่ง

    หลังเจรจาตกลงกันได้ด้วยดี ฝ่ายชายต้องรีบดำเนินการตามข้อตกลง คือ รีบจัดหาไม้เพื่อทำเรือนหอ และทำการก่อสร้างโดยให้ความสำคัญกับการตัดและเลือกต้นไม้ที่มาตั้งเป็นเสาขวัญ (เสาเอก) โดยมีพิธีกรรมคือคนที่เป็นพ่อล่าม พ่อ แม่ฝ่ายว่าที่เจ้าบ่าวก็ไปคัดเลือกต้นไม่เนื้อแข็งคัดต้นที่มีลักษณะดี เพื่อทำเป็นเสาขวัญ ซึ่งไม้ที่นิยมคือ ไม้จิก ไม้แดง ไม้ประดู่ ซึ่งเป็นไม้เนื้อแข็ง โดยจะมีการทำพิธีก่อนล้มต้นไม้เพื่อตัดเป็นเสา โดยจะมีการพูดเพื่อเบิกเสาหรือแฮกเสาขัวัญ ว่า

    “ ไม้ต้นนี้คือเต่าสิมาสี ใบมันฮีคือหางนาค ง้ามันตากคือหางหงส์ ง้ามันก่งคือเป็นต๋าห้อยถ๋งเงินล้าน ก้านเล็กก้านน้อยคือข่อย ข้าสิมาสู่ แท้น้อ”

    เมื่อพูดจบพ่อล่ามก็จะก็จะทำการถากหรือฟันที่เปลือกไม้เพื่อเป็นพิธีก่อนทำการตัดลงเพื่อทำเป็นเสาขวัญ และในวันดังกล่าวก็จะตัดไม้ได้เพียงต้นเดียวเท่านั้น

    ซึ่งหลังจากวันดังกล่าวว่าที่เจ้าบ่าวและญาติ รวมทั้งพ่อล่าม อาจมาช่วยว่าที่ลูกล่ามในการพิจารณาและเตรียมวัสดุในการสร้างบ้านช่วยพ่อ-แม่ว่าที่เจ้าบ่าวอีกแรง อาจให้คำปรึกษาในการไปดำเนินการตัดไม้เพื่อนำมาทำเป็นส่วนประกอบบ้านจนครบและเตรียมสร้างจนแล้วเสร็จ โดยส่วนใหญ่นิยมปลูกเรือนหอด้วยลักษณะบ้านเสา 9 ต้น มี 2 ห้องคือห้องนอน และโถงบ้าน (เกย)สำหรับพักผ่อนอาศัย ระหว่างทำเจ้าบ่าวอาจเกณฑ์ญาติพี่น้องมาช่วยกันตัด เลื่อยไม้และดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จเพื่อให้ทันช่วงเวลาที่นัดหมาย

    ส่วนว่าที่เจ้าสาวและญาติๆก็จะช่วยกันทำเครื่องสมมา โดนเร่งมือในการทอผ้า ทั้งผ้าฝ้าย ผ้าไหม ตามแต่จะจัดเตรียม ซึ่งอาจประกอบไปด้วยผ้าห่ม ที่นอน หมอน ผ้าถุง ผ้าขาวม้า ผ้าตัดเสื้อ กระเป๋าสะพาย (ย่าม) และของที่จำเป็นต้องใช้(ของชำร่วย) ซึ่งเตรียมไว้สำหับมอบให้ญาติฝ่ายสามีเป็นสินน้ำใจและกล่าวขอบคุณ ส่วนหนึ่งก็จะเอาไว้ใช้เมื่อเริ่มใช้ชีวิตครอบครัว โดยจะทำให้ทันกำหนดวันงานแต่ง ญาติๆฝ่ายหญิง ที่ว่างจากงานก็จะมาช่วยกันทำเครื่องสมมา (สมนาคุณ)

    ขั้นที่ 4 วันแต่งงาน

    กิจกรรมวันแต่งงานนอกจากจะเป็นวันสำคัญในชีวิตของคู่บ่าว-สาว แล้วยังถือเป็นวันสำคัญของพ่อล่าม- แม่ล่ามที่จะต้องมีบทบาทสำคัญในการทำหน้าที่แทนพ่อแม่เจ้าบ่าวในการออกหน้านำขบวนเจ้าบ่าวเข้าพิธีแต่งงานที่บ้านของเจ้าสาวหรือที่เรือนหอที่สร้างไว้

    โดยพ่อล่าม- แม่ล่ามก็จะแต่งกายด้วยชุดพื้นเมืองสวยงาม เดินนำขบวนแห่เจ้าบ่าวจากบ้านพ่อแม่ไปยังบริเวณงาน ลักษณะเด่นของพ่อล่ามที่สังเกตได้ง่ายคือจะถือง้าว และสะพายย่าม เดินนำหน้าและมีภรรยาหรือแม่ล่ามเดินตามหลัง แล้วตามด้วยเจ้าบ่าวที่แต่งตัวหล่อสุดๆ ตามมาติดๆ ด้วยญาติฝ่ายเจ้าบ่าวถือสัมภาระที่จำเป็นเช่น ขันหมาก ถาดบรรจุสิ่งของที่จำเป็นต้องใช้ทำพิธีอื่นๆ

    ซึ่งในย่ามที่พ่อล่ามสะพายจะบรรจุสิ่งของดังต่อไปนี้

    - อูบหมาก ซึ่งภายในจะบรรจุ หมาก พลู แสด ปูนเคี้ยวหมาก และอุปกรณ์การเคี้ยวหมาก ยาสูบ โดยสิ่งเหล่านี้ที่ต้องเตรียมในอดีตคนจะชอบเคี้ยวหมาก สูบบุหรี่ ขณะเจรจาหรือพูดคุยพบปะกัน

    - น้ำเต้า บรรจุน้ำ ไว้ใช้ประกอบการเคี้ยวหมาก และแสดงว่าไม่ได้แล้งน้ำใจแสดงความ

    พร้อมเมื่อต้องการใช้ โดยอาจให้เจ้าบ่าวช่วยถือ

    - เครื่องราง - ของขลัง มีความเชื่อว่าเป็นจะเป็นตัวเสริมความมงคล เช่น งาช้าง นอแรด วัตถุมงคลอื่นๆ มีความเชื่อว่าสิ่ง เหล่านี้จะทำให้คู่สมรสค้าขายได้คล่อง เป็นเครื่องรางที่เรียกเงินเรียกทอง และคุ้มภัย จากสิ่งชั่วร้ายที่มองไม่เห็น

    - เงินทุนที่เตรียมมอบให้ลูก (นิยมมอบเงินเก่า เช่น เงินหัวโลน เงินพด เงินด้วง เงินฮาง

    เงินไผ่ เงินเจ้าเก่า(เงินช้างสามเศียร สมัย ร.5) เงินทุนที่ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย

    - ง้าว หรือดาบ เพราะมีความเชื่อว่าเป็นได้ทั้งอาวุธในการป้องกันภัยและเครื่องมือทำมา

    หากิน ตัด ใช้สำหรับตัด ถาง ป่าเพื่อทำการเกษตร โดยช่วงพิธีแห่ พ่อล่ามจะเป็นคนถือ หรือสะพายก็ได้

    ในการเข้าร่วมเดินขบวนแห่เจ้าบ่าว พ่อ-แม่ และญาติเจ้าบ่าวจะมีการเตรียมของที่ใช้

    ร่วมพิธีงานวันแต่งงานที่พิเศษแตกต่างออกไปคือ จัดให้มีญาติหรือผู้ติดตามหาบกระช้าแฮป (ตระกล้าที่ใช้ไม้ไผ่สานใบเล็กๆ สำหรับใส่ของต่างๆ) จำนวน 2 หาบ ๆ ละ 8 ใบ ซึ่งภายในกระช้าแฮป จะประกอบไปด้วย ไข่ไก่ต้มสุกกล้าช้าแฮปละ 1 ใบ ใบคูณ ใบยอ หมาก พลู เพื่อใช้สำหรับมอบให้แก่ญาติผ่ายเจ้าสาวเป็นการมอบเพื่อคารวะและให้เขารับทราบพิธีการแต่งงานของคู่สมรส

    เมื่อขบวนแห่เจ้าบ่าวที่เดินทางมาจากบ้านถึงบริเวณบ้านเจ้าสาวหรือที่จัดงานก็จะแห่เจ้าบ่าว และญาติๆไปที่เรือนหอที่มาก่อสร้างไว้แล้ว (ส่วนใหญ่เรือนหอของคนภูไทมักก่อสร้างในที่ดินของฝ่ายหญิง) และพ่อล่ามจะมีการร้องถามญาติผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงเพื่อขออนุญาตนำเจ้าบ่าวขึ้นบนเรื่อนหอโดยร้อถามว่า

    “ พ่อเฒ่าเอ้ย.....ลูกเขยมาแล้ว ไขป่องเอี่ยมเยี่ยมเบิ่งลูกเขย แน่เด้อ” เมื่อไปถึงบริเวณบ้านที่จัดงาน ญาติผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงเมื่อได้ยินเสียงขบวนร้องทัก ก็จะมาคอยต้อนรับและเชื้อเชิญขึ้นไปบนบ้านหรือ เรือนหอ พ่อล่ามก็จะเป็นคนนำขึ้นเรือนหอ แล้วนำเดินเข้าไปยังห้องนอนที่มีการจัดเตรียมไว้แล้ว และพ่อล่ามก็จะตรงไปยังเสาขวัญ (เสาเอก) ของบ้านเพื่อที่จะนำย่ามที่สะพายมาไปแขวนที่เสาขวัญ และช่วงของขั้นตอนนี้ทุกคนที่ขึ้นไปบนเรือนหอต้องยืนและห้ามนั่งจนกว่าจะทำพิธีแล้วเสร็จและได้รับอนุญาต โดยมีพิธีกรรมในการเสี่ยงทายโดยระหว่างที่จะตอกตะปูเพื่อห้อยย่าม และจะตั้งคำถามว่า

    พ่อล่ามจะหาที่ตอกตะปูเพื่อห้อยย่ามบนเสาขวัญ และพูดเป็นคำถามว่า “นี่บ้อ...ดอนจบดอนดี ดอนค้ำดอนคูณ” (ตรงนี้หรือที่เป็นที่มงคล)

    ญาติๆที่เข้าร่วมพิธีกรรมก็จะตอบว่า “มิแม้น” (ไม่ไช่)

    พ่อล่ามก็จะขยับหาที่ใหม่บนเสาขวัญและจะถามด้วยคำถามเดิมอีกครั้ง ญาติก็จะตอบว่า “ไม่ไช่” เช่นเคย (มิแม้น)

    จนถึงการถามครั้งที่สาม พ่อล่ามจะขยับหาที่ที่เหมาะแล้วถามญาติอีกครั้ง ครั้งที่สามนี้ญาติๆจะตอบว่า

    “แม้น...แล้ว บ่อนนี่หล่ะ บ่อนมั่นแก่นแน่นขนาย บ่อนมั่นคงขนงอยู่ บ่อนมั่งบ่อนมี บ่อนเศรษฐีมั่งมีเงินล้าน บ่อนซุ่ม บ่อนเย็น”

    เมื่อได้ยินคำพูดเหล่านี้จากบรรดาญาติ พ่อล่ามก็จะทำพิธีตอกตะปูเพื่อห้อยย่ามและง้าว (ดาบ) ที่ถือมาแล้วก็จะบอกให้เจ้าบ่าวและญาติๆฝ่ายเจ้าบ่าวยืนรอบนบ้านโดยห้ามนั่ง และพ่อล่าม-แม่ล่ามก็จะรีบลงจากบ้านเพื่อไปรับตัวเจ้าสาวที่รออยู่บ้านพ่อ-แม่ ของฝ่ายหญิง หรือจะเรียกแทนตัวพ่อ-แม่ผ่ายหญิงว่าเป็นพ่อดอง-แม่ดอง และจะรับตัวมาเพื่อประกอบพิธีกรรมต่อไป

    ช่วงเวลาเดียวกันที่มีการแห่เจ้าบ่าว มาที่บริเวณบ้านที่จัดงาน และระหว่างที่ฝ่ายเจ้าบ่าวและพ่อล่ามทำพิธีตอกตะปูสะพายย่ามอยู่ดังรายละเอียดด้านบน ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันที่บ้านเจ้าสาวก็จะมีพิธีกรรมในการเสริมความมงคลที่เชื่อว่าจะนำความสมบูรณ์พูนสุขแก่เจ้าสาวในการเรียกบุตร พ่อ-แม่และญาติฝ่ายหญิงก็จะทำพิธีกรรม โดยการกางมุ้งขึ้นที่บ้านตนเองเพื่อเป็นกลอุบายตามพิธีและจะมีการคัดสรรเอาเด็กผู้หญิงที่ยังไม่มีประจำเดือนมาจำนวน 4 คน แล้วก็จะให้เด็กเหล่านี้ประจำอยู่คนละด้านของมุ้งแล้ว พ่อ-แม่ว่าที่เจ้าสาวก็จะทำพิธีโยนข้าวต้ม (หรือขนม) เข้าไปในมุ้งแล้วให้เด็กๆเข้าไปแย่งข้าวต้มกันในมุ้งและนั่งกินกันในมุ้ง โดยพิธีกรรมนี้ทำขึ้นด้วยความเชื่อว่าจะเป็นการเสริมขวัญและมงคลให้แก่เจ้าสาวให้มีพลานามัยแข็งแรง สมบูรณ์และจะได้มีลูกเต็มบ้านมีหลานเต็มเมือง มีลูกหลายๆคน และที่ให้เด็กเข้าไปแย่งกันในมุ้ง ก็เพื่อเป็นกลอุบายที่ว่าหากเจ้าสาวมีลูก เด็กที่เป็นลูกทุกคนจะรักใคร่กันและไม่หลงลืมถิ่นฐานบ้านเกิดและจะมีความผูกพันกัน หรือตุ้มโฮมกัน มุ้งก็เปรียบเทียบกับท้องของแม่ โดยพิธีกรรมนี้จะทำก่อน วันแต่งงานหรือในวันงานเพื่อรอช่วงที่พ่อล่าม-แม่ล่ามจะมารับตัวว่าที่เจ้าสาวไปดำเนินพิธีกรรมอื่นๆก็ได้โดยเจ้าสาวก็จะเรียกพ่อล่ามแม่-แม่ล่าม ว่าปู่ล่าม-ย่ามล่ามแทนเพื่อให้เรียกติดปาก เมื่อมีลูกก็จะพาลูกเรียกอย่างนี้เสมือนพ่อ-แม่ฝ่ายสามี แต่มีคำว่า “ล่าม” เข้ามาต่อท้ายเพื่อให้รู้เท่านั้นเอง

    ส่วนพ่อ-แม่ จริงๆของสามีจะเรียกปู่ หรือย่า เมื่อมีลูกแล้ว ขณะที่ไม่มีลูกก็จะเรียกแทนตัวว่าคุณพ่อ – คุณแม่เหมือนเรียกพ่อแม่ตนเองก็ได้



  4. #14
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ ฅนภูไท
    วันที่สมัคร
    Apr 2007
    กระทู้
    2,115
    บล็อก
    1
    ขั้นที่ 5 พิธีกรรม (พิธีบายศรีสู่ขวัญ)

    เมื่อพ่อล่าม-แม่ล่าม ไปรับตัวเจ้าสาวมาจากพ่อดอง-แม่ดอง (พ่อ-แม่ฝ่ายหญิง) ก็จะนำตัวเจ้าสาวมายังเรือนหอและอาจติดตามด้วยญาติๆของฝ่ายหญิงติดตามมาด้วย โดยที่เรือนหอที่เจ้าบ่าวและญาติๆ ยังคงยืนรออยู่ พ่อล่าม-แม่ล่ามก็จะนำตัวเจ้าสาวมาถึงเรือนหอแล้วทุกคนถึงจะนั่งลงได้ ช่วงเวลาดังกล่าวขณะรออาจใช้เวลาไม่เกิน 20 นาที ขณะไปรับตัวเจ้าสาวเพราะส่วนใหญ่บ้านเจ้าสาวกับเรือนหอ ที่เจ้ามามาสร้างไว้มักอยู่ในบริเวณที่ดินผืนเดียวกัน และอยู่ใกล้บ้านพ่อแม่ฝ่ายหญิงอยู่แล้ว

    เมื่อทุกฝ่ายทั้งฝ่ายเจ้าบ่าว ฝ่ายเจ้าสาวและญาติๆทั้งสองฝ่ายมาครบและได้ฤกษ์ยามอันเป็นมงคล (ตามความพร้อมขณะนั้น) ก็จะเข้าสู่พิธีบายศรีสู่ขวัญ โดยพ่อล่าม-แม่ล่ามก็จะมีการเชิญพ่อหมอ หรือ พรามหณ์ ส่วนใหญ่จะเรียกว่า “หมอสูตร” ที่อาจประจำอยู่ในชุมชนหรือหมู่บ้านอื่นที่ครอบครัวนับถือ จะเป็นคนนำสวดและทำพิธีบายศรี-สู่ขวัญจนแล้วเสร็จพิธี

    อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมในพิธีบายศรี-สู่ขวัญ

    - พานบายศรี ภายในกรวยพานบายศรีจะมีเหล้า ข้าวต้มมัด และกล้วย

    - ไข่ต้ม,ไก่ต้ม สำหรับใช้ป้อนบ่าวสาวและเสี่ยงทาย

    - สำรับอาหาร (ขันโตก / พาข้าว) ขันน้ำ อาหารที่ประกอบด้วย ถ้วยเกลือซึ่งจะเป็นตัวแทนไข่มดไห่ ถ้วยข้าวสารซึ่งจะเป็นตัวแทนไข่มดส้ม (ไข่มดแดง) ถ้วยแกงที่มีน้ำ ไว้สำหรับป้อนคู่บ่าว-สาว (ถ้าสามารถหาไข่มดดังกล่าวได้ก็จะดี เชื่อว่าเป็นมดชนิดหนึ่งที่ขยันและเป็นมดชนิดเดียวที่จะตายอยู่บนรัง เปรียบเทียบกับการสอนคู่สามีภรรยา จะไปทำอะไรที่ไหนก็ต้องกลับมาตายรัง กลับมาบ้านของตนเอง)

    - ฝ้ายผูกแขน หรือมัดเส้นฝ้าย มัดเส้นไหม (ถ้ามี) แสดงให้เห็นว่าฝ่ายหญิงจะต้องทำงานฝีมือ ทอผ้าเพื่อนำมาใช้ในครัวเรือนได้

    โดยสำรับอาหารที่ใช้ประกอบพิธีกรรมทั้งสองฝ่ายทั้งชาย-หญิงต้องเตรียมมาทั้งสองฝ่ายซึ่ง

    แต่ละฝ่ายต้องจัดเตรียมสำรับอาหาร ดังนี้

    ฝ่ายชาย

    - ไก่ต้ม

    - ไข่ต้ม

    - ไข่มดแดง ไข่มดไห่

    - อาหารชนิด แกง (มีน้ำ)

    - ข้าวเหนียวนึ่ง

    ฝ่ายหญิง

    - ไก่ต้ม

    - อาหารชนิดแกง (มีน้ำ)

    - ข้าวเหนียวนึ่ง

    - ต่อนฝ้าย (รังฝ้าย) หรือไหม

    - พานบายศรีและอุปกรณ์ประกอบพาน

    เมื่อเสร็จพิธีสวดให้พรของหมอสูตร พ่อล่ามจะเป็นคนทำพิธีป้อนไข่ โดยการปอกไข่ที่จัดเตรียมแล้วนำเส้นผมของเจ้าสาวมาตัดผ่าไข่เพื่อเสี่ยงทายดู ถ้าไข่ที่ตัดผ่าแบ่งครึ่งแล้วพบว่า ไข่แดงเต็ม ไม่มีฟองอากาศก็ถือได้ว่าเป็นมงคล แต่ถ้าไข่ที่ผ่าครึ่งออกมาแล้วมีฟองอากาศก็เป็นลางไม่มีหลังแต่งอาจมีปากเสียงถ้าพบกรณีหลัง พ่อล่ามก็จะทำการสอนคู่สามี-ภรรยาใหม่ว่าให้ถนอมน้ำใจกัน อย่าให้มีช่องว่างในใจจนไม่เข้าใจกันเหมือนไข่ แล้วก็จะป้อนไข่ที่จิ้มเกลือให้เจ้าบ่าวกินแล้วตามด้วยให้เจ้าสาวกิน และมักมีพิธีกรรมเสี่ยงทายไก่ขวัญโดยเสี่ยงจากคางไก่ซึ่งมักทายโดยหมอสูตร เช่น ถ้าเส้นที่อยู่คางไก่มาทางเดียวกันก็จะถือว่าเป็นสิ่งดี แต่ถ้าสวนทางกันก็จะไม่ดีและอาจมีการแนะวิธีแก้ไขซึ่งส่วนใหญ่เป็นในทางการวางตัวในการดำเนินชีวิตคู่

    เมื่อเสร็จพิธีป้อนไข่ ป้อนข้าวในเบื้องต้นพอเป็นพิธีก็จะทำการผูกแขนขวัญให้กับคู่บ่าว-สาว หรือเรียกว่าผูกแขนรับเขย ผูกแขนรับสะใภ้ โดยให้หมอสูตรผูกให้เป็นคนแรก และ ตามด้วยพ่อล่าม-แม่ล่ามเป็นคนผู้ให้ จากนั้นค่อยตามด้วยญาติๆของทั้งสองฝ่าย และแขกผู้มาร่วมงาน

    ในพิธีการผูกแขน รับขวัญจะทำการรับขวัญตรงกันข้าม คือหลังจากพ่อล่าม-แม่ล่ามผูกแขนรับขวัญบ่าวสาวเป็นคู่แรกๆ โดยในการรับขวัญจะจัดให้คู่บ่าว-สาว นั้นเข้าพาขวัญด้วยกันเอามือก่ายกัน คือให้แขนท้าวก่ายแขนนาง (เอาแขนชายทับแขนหญิง) โดยในการผูกข้อมือเพื่อรับขวัญ ญาติแต่ละฝ่ายที่จะผูกแขนรับขวัญลูกเขย-ลูกสะใภ้ หรือหลานเขย – หลานสะใภ้ ต้องสลับด้านกันคือ ญาติฝ่ายชายหรือเจ้าบ่าวต้องผู้แขนรับขวัญเจ้าสาวก่อนแล้วค่อยมาผูกรับขวัญเจ้าบ่าว และในขณะที่ญาติฝ่ายเจ้าสาวก็ต้องผู้แขนรับขวัญลูกเขย-หลานเขยหรือเจ้าบ่าวก่อนแล้วค่อยผู้ให้เจ้าสาว ซึ่งจะมีการอวยพรหรือพูดแต่สิ่งดีๆเป็นการบอกสอนในเบื้องต้นก่อนทำพิธีเฆี่ยนเขยในช่วงต่อไป จนแล้วเสร็จครบทุกคนซึ่งรวมถึงแขกที่เข้าร่วมงานร่วมผูกแขนด้วย เสร็จแล้วผู้ชายจะนำดอกไม้ธูปเทียนไปสมมาพ่อแม่ โคตรวงศ์ของฝ่ายหญิง

    ขั้นที่ 6 การสมมา (การขอขมา และ สมนาคุณญาติ)

    เป็นกิจกรรมหลังที่ดำเนินการหลังจากพิธีกรรมบายศรี-สู่ขวัญ และการผูกแขนขวัญ โดยฝ่ายหญิงหรือเจ้าสาว ต้องจัดเตรียมเครื่องสมมาไว้ ซึ่งอาจจะประกอบไปด้วย ชุดผ้าซิ่นไหม ชุดผ้าฝ้าย ผ้าห่ม สะหนะ(ที่นอน) ผ้าขาวม้า หมอน หรือสิ่งของอื่นๆที่เป็นงานฝีมือที่ได้จัดเตรียมมอบให้แก่ญาติผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าบ่าวเป็นการขอขมาหรือสมนาคุณ หรือเชื่อมความสัมพันธ์ลักษณะการฝากเนื้อฝากตัวขอเป็นลูก-หลาน เครือญาติ ซึ่งจะคล้ายกับการมอบของชำร่วยแต่เป็นสิ่งของที่ใช้ได้จริงในวิถีชีวิตประจำวัน โดยการสมมาเจ้าสาวจะต้องทำการสมมาหมอสูตรก่อน แล้วตามด้วยพ่อล่าม-แม่ล่าม และตามด้วยญาติผู้ใหญ่คนอื่นๆของฝ่ายชายจนครบ

    ขั้นที่ 7 พิธีการทำปองแปง (การแต่งฮีตรับเขย)

    พ่อล่าม และญาติฝ่ายเจ้าบ่าวจะจัดเตรียมอุปกรณ์ ในการแต่งฮีตหรือตามพิธีกรรมในการรับ

    เขย โดยเตรียมจัดหามีด 1 เล่ม ถ้วยหรือชาม 1 ใบ ไก่ต้ม 1 ตัว เพื่อส่งมอบให้กับเจ้าโคตรฝ่ายหญิง (ญาติผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาว) เพื่อเป็นการบอกกล่าวฝากฝังลูกชายกับญาติให้ช่วยบอกสอนและรับเป็นเขย หรือเป็นญาติ ซึ่งหลังรับมอบ ญาติฝ่ายหญิงก็จะทำการจัดแบ่งให้ญาติที่มาร่วมพิธี กินด้วยกันทันทีเสมือนรับทราบร่วมกันว่าต่อไปนี้รับรู้แล้วว่าเจ้าบ่าวคนใหม่ เป็นลูกหลานสมบูรณ์แล้ว

    ขั้นที่ 8 พิธีปะสู่ (จัดเลี้ยงข้าวญาติสองฝ่าย)

    หลังทำพิธีปองแปง ก็จะดำเนินการต่อเนื่องเข้าสู่พิธีปะสู่ โดยแต่ละฝ่ายในวันแต่งงานนอกจากต้องเตรียมความพร้อมอื่นๆแล้ว ยังต้องจัดเตรียมสำรับอาหารฝ่ายละ 4 ชุด (4 พา) รวมแล้ว 8 ชุด กระติ๊บข้าว ฝ่ายละ 4 กระติ๊บ รวมแล้ว 8 กระติ๊บ เพื่อจัดเลี้ยงและกินข้าวร่วมกันโดยจัดให้ญาติทั้งสองฝ่ายมานั่งรวมกินข้าวด้วยกันและพูดคุยกันเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ในขั้นต้นและขณะเดียวกันก็จะเป็นการทำความคุ้นเคยและทำความรู้จักกันมากขึ้น ซึ่งในขณะทำพิธีดังกล่าวอาจมีการจัดเลี้ยงข้าวญาติๆคนอื่นๆหรือแขก ที่มาร่วมงานพิธีแต่งงานไปด้วย

    ขั้นที่ 9 พิธีเลี้ยงข้าวเขย และเฆี่ยนเขย

    ช่วงที่ที่ทำพิธีปะสู่ คนที่เป็นเขยจะยังไม่ได้ร่วมรับประทานอาหารร่วมกับคนอื่นๆโดยทั่วไปญาติฝ่ายเจ้าสาวจะมีการจัดให้มีการรวบรวมเขย ของครอบครัวเพื่อให้รอให้พิธีปะสู่ เสร็จสิ้นก่อน (ญาติผู้ใหญ่กินข้าวอิ่ม) เพื่อเป็นการฝึกความอดทนให้กับเขย เมื่อได้เวลาก็จะจัดหาสำรับข้าวมาจัดเลี้ยงเขย โดยให้เขยทุกคนของครอบครัวมาล้อมวงกินข้าวด้วยกันทำความรู้ลำดับขั้นอาวุโส ทำความ รู้จักกันไปในตัว โดยอาหารที่นำมาให้เขยกินคือ ต้มใส้ทั้งพวง และบ่วงทางขวาง(ช้อนที่ทำจากกะลาทางขวาง ลองคิดดูคงกินลำบากน่าดู) พอกินทุกคนกินข้าวร่วมกันจนอิ่ม (คงไม่อิ่ม หรือทำพอเป็นพิธี) พ่อตาหรือญาติผู้ใหญ่ก็จะแจกเนื้อวัวให้เขยทุกคน ๆละ 1 ชิ้นเท่าๆกันเพื่อนำกลับบ้านของตนเป็นการรับยอมเขย แล้วให้แยกย้ายไปทำหน้าที่ตนเอง และให้คงไว้เฉพาะเขยใหม่เพื่อเข้าสู่พิธีเฆี่ยนเขยต่อไป

    สำหรับการเฆี่ยนเขยเป็นพิธีกรรมที่ญาติผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงรวมทั้งพ่อตา-แม่ยาย จะได้มีโอกาสในการบกสอน ตักเตือน ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตนกับว่าที่ลูกเขย และลูกสาวได้ทราบวิธีการปฏิบัติตนให้เหมาะสมในการมาอยู่ร่วมกันกับครอบครัวใหม่ และการครองเรือน โดยอาจบอกสอนเป็นคำคมหรือผญา โดยพิธีกรรมนี้มุ่งสอนฝ่ายชาย ยกตัวอย่างคำพูดในการเฆี่ยนเขย เช่น

    “เป็นเขยเพิ่น....หน้าแข้งเฮ่อเอาเอ็ดหินฝน ตนโตเอ็ดข่อยใช้

    มิเฮ่อตีหมูซา ตีหมาเสด มิเฮ่อฮ้ายฮาด ฟาดจางให้ เซอลุงตา

    มิเฮ่อซูนน้องน้า มิเฮ่อกะฟ่าน้องเมีย มิเฮ่อบายโหลุงตา

    คุณเขยฮาวลุงหมา คุณตาฮาวคุณพระเจ้า”

    แปลความหมายว่า

    การมาร่วมเป็นเขย ต้องทำตนให้มีประโยชน์ ช่วยเหลือกันแบ่งเบาภาระไม่เกียจคร้าน ต้องอ่อนน้อมถ่อมตนช่วยเหลือกันได้ให้ช่วยเหลือ ไม่ให้ทำท่าทางโมโหโทโส เสียดสีประชด และทะเลาะเบาะแว้งกับญาติๆ หรือแม้แต่กับเขยด้วยกัน

    ห้ามแตะต้อง ผิดศีลธรรมน้องเมียที่เป็นผู้หญิง ห้ามทะเลาะหาเรื่องให้บาดหมางกันกับน้องเมียผู้ชาย ห้ามทำอะไรข้ามหัวผู้หลักผู้ใหญ่มีปัญหาคาใจอะไรให้ปรึกษาก่อน

    เปรียบเขยเป็นเพียงผู้น้อย ด้อยประสบการณ์ ส่วนคำสอนญาติผู้ใหญ่เปรียบเสมือนสิ่งที่คอยย้ำเตือนที่ให้นำไปปฏิบัติและ ต้องให้ความเคารพเชื่อฟัง

    หลังพิธีกรรมเฆี่ยนเขย (การสอนเขย) เขยใหม่อาจมีการสมมา(ขอขมา) ญาติผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงโดยการมอบดอกไม้ เทียนคู่มอบให้ให้และถ้าญาติผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงรับก็ถือเป็นอันเสร็จพิธีกรรม ฝ่ายชายอาจขอตัวกลับบ้านพ่อแม่ เพื่อทำกิจธุระส่วนตัว หรือเพื่อพักผ่อน ซึ่งถือเป็นการเสร็จพิธีในช่วงเช้าหรือกลางวัน เพื่อรอส่งตัวในภาคกลางคืนที่เรือนหอต่อไป

    ในพิธีกรรมส่งตัวกลางคืน ตามประเพณีภูไท ไม่ได้ให้ความสำคัญมากนักเพราะถือว่าก่อนแต่งงานคู่สมรสได้ศึกษาอุปนิสัย ใจคอ มีวุฒิภาวะที่พร้อม และเรียนรู้จักกันพอสมควรแล้ว และพ่อแม่แต่ละฝ่าย ก็ได้บอกสอนมาพอสมควรต่อการวางตัว เรื่องอื่นๆ คงเป็นหน้าที่ของคู่บ่าว-สาวที่จะค่อยๆทำความรู้จัก โดยทั่วไปมักเป็นเพื่อนๆ เจ้าบ่าวที่จะมาร่วมส่งตัวพอเป็นพิธีเพื่อกันเขิน อาจมีการละเล่นพิณ-แคน ขับร้องเพลงหมอลำแซวคู่บ่าว-สาว พอเป็นพิธี แล้วก็จะสลายกลับบ้าน

  5. #15
    ป้าดดดดดดดดดด...ผุบ่าวมีแต่คนหล่อ ๆ เลย
    คราวหน้ามีงานแต่งอีกให้ไปนำแนะเด้อจ้า...อิอิอิ
    แล่วรูปอ้ายปอบคือบ่มีเนี้ย...อยากเบิ่ง ๆๆๆๆๆ
    8)

  6. #16
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ มั่วหน่าฮ่าน
    วันที่สมัคร
    Jan 2007
    กระทู้
    1,781
    เอ.....เบิ่งตั้งโดนคือบ่มีภาพตอนเข้าห้องหอน้อ....สงสัยอีหลีว่าเข้าห้องหอแล้วเพิ่นเฮ็ดหยังกัน...สิจำเอาไว้ไปแต่งกินดองซั่นดอกว้า...อิอิ..
    ไม่เข้าถ้ำมอง เหตุไฉนจะได้มอง...http://img198.google.co.th/img198/6016/iinjiisjiisj.gif

  7. #17
    Membership renewed สัญลักษณ์ของ ไม่สวยแต่เร้าใจ
    วันที่สมัคร
    Mar 2007
    ที่อยู่
    ป่ากล้วย
    กระทู้
    833
    กั่วสิได้แต่ง ก่ัวสิได้มาอยู่นำกันบ่แมนเรื่องงา่ย ๆ เลย แต่ตอนสิเลิกกันกลับง่ายดาย ต่างคนต่างไปเอาโลด

  8. #18
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ บักเซียงเหมี่ยง
    วันที่สมัคร
    Feb 2008
    ที่อยู่
    ยโสธร
    กระทู้
    215
    หาเจ้าสาวบ่ได้คับ

  9. #19
    itblueboom
    Guest
    เห็นภาพแต่งงานล่ะคิดฮอดผู้สาวเผิ่นจะ เข้าพิธีมื้ออื่นนี่ คนผู้ฮ้ายคือเฮาเลยบ่มีโอกาส

  10. #20
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ คนนครผำ
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    กระทู้
    87
    กะขอแสดงควมยินดีกับเจ้าบ่าวเจ้าสาวและคณะญาติสุผู่สุคนเด้อคับ...

หน้าที่ 2 จากทั้งหมด 3 หน้า หน้าแรกหน้าแรก 123 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •