หมอลำ ศิลปะพื้นบ้านอีสานที่ไม่มีวันตาย คำว่า “ลำ” มีความหมายสองอย่าง อย่างหนึ่งเป็นชื่อของเรื่อง อีกอย่างหนึ่งเป็นชื่อของ การขับร้องหรือการลำ ที่เป็นชื่อของเรื่องได้แก่เรื่องต่าง ๆ เช่น เรื่องนกจอกน้อย เรื่อง ท้าวก่ำกาดำ เรื่องขูลูนางอั้ว เป็นต้น เรื่องเหล่านี้โบราณแต่งไว้เป็นกลอน แทนที่จะเรียกว่า เรื่องก็เรียกว่า ลำ กลอนที่เอามาจากหนังสือลำเรียกว่า กลอนลำ อีกอย่างหนึ่งหมายถึงการขับร้อง หรือการลำ การนำเอาเรื่องในวรรณคดีอีสานมา ขับร้อง หรือมาลำ เรียกว่า ลำ ผู้ที่มีความชำนาญในการขับร้องวรรณคดีอีสาน โดยการท่องจำเอากลอน มาขับร้อง หรือผู้ที่ชำนาญในการเล่านิทานเรื่องนั้น เรื่องนี้ หลายๆ เรื่องเรียกว่า “หมอลำ” วิวัฒนาการของหมอลำ ความเจริญก้าวหน้าของหมอลำก็คงเหมือนกับความเจริญก้าวหน้าของสิ่งอื่นๆ เริ่มแรก คงเกิดจากผู้เฒ่าผู้แก่เล่านิทาน นิทานที่นำมาเล่าเกี่ยวกับจารีตประเพณีและศีลธรรม โดยเรียกลูกหลานให้มาชุมนุมกัน ทีแรกนั่งเล่า เมื่อลูกหลานมาฟังกันมากจะนั่งเล่าไม่เหมาะ ต้องยืนขึ้นเล่า เรื่องที่นำมาเล่าต้องเป็นเรื่องที่มีในวรรณคดี เช่น เรื่องกาฬเกษ สินชัย เป็นต้น ผู้เล่าเพียงแต่เล่า ไม่ออกท่าออกทางก็ไม่สนุก ผู้เล่าจึงจำเป็นต้องยกไม้ยกมือแสดงท่าทางเป็น พระเอก… Continue reading ศิลปะพื้นบ้านอีสาน
Tag: ศิลปะอีสาน
รำภูไทยสามเผ่า ฟ้อนผู้ไทจังหวัดนครพนม เป็นฟ้อนที่ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันดี
รำภูไทยสามเผ่า ฟ้อนผู้ไทจังหวัดนครพนม เป็นฟ้อนที่ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันดี การฟ้อนภูไทสามเผ่า 1. ฟ้อนผู้ไทจังหวัดนครพนม เป็นฟ้อนที่ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันดีคือ การฟ้อนผู้ไทของอำเภอเรณูนคร จนถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดนครพนม ในปี พ.ศ. 2498 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จมานมัสการพระธาตุพนม นายสง่า จันทรสาขา ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมในสมัยนั้นได้จัดให้มีการฟ้อนผู้ไทถวาย โดยมีนายคำนึง อินทร์ติยะ หัวหน้าหมวดการศึกษาอำเภอเรณูนคร ได้ปรับปรุงท่าฟ้อนผู้ไทให้สวยงามกว่าเดิม โดยเชิญผู้สูงอายุที่มีประสบการณ์ในการฟ้อนผู้ไทมาให้คำแนะนำ จนกลายเป็นท่าฟ้อนแบบแผนของชาวเรณูนคร ได้ถ่ายทอดให้แก่ลูกหลานสืบทอดต่อมา ท่าฟ้อนผู้ไทได้แก่ ท่าเตรียม ท่านกกระบาบิน ท่าลำเพลิน ท่ากาเต้นก้อน ท่ารำม้วน ท่าฉาย ท่ารำส่าย ท่ารำบูชา ท่าก้อนข้าวเย็น ท่าเสือออกเหล่า ท่าจระเข้ฟาดหาง ซึ่งการฟ้อนจัดเป็นคู่ๆ ใช้ชายจริงหญิงแท้ตั้งแต่ 10 คู่ขึ้นไป เครื่องดนตรีประกอบด้วย กลองกิ่ง กลองแตะ กลองยาว ฆ้องโหม่ง พังฮาด และกั๊บแก๊บ สำหรับเครื่องแต่งกาย ฝ่ายหญิงนิยมใช้เสื้อสีน้ำเงินเข้มขลิบสีแดงทั้งเสื้อและผ้าถุง ผ้าสไบสีขาว เครื่องประดับใช้เครื่องเงินตั้งแต่ตุ้มหู สร้อยคอกำไลเงิน ผมเกล้ามวยสูงทัดดอกไม้สีขาว ห่มผ้าเบี่ยงสีขาว ซึ่งปัจจุบันใช้ผ้าถักสีขาว… Continue reading รำภูไทยสามเผ่า ฟ้อนผู้ไทจังหวัดนครพนม เป็นฟ้อนที่ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันดี
เซิ้งโปงลาง Zeang pong lang
เซิ้งโปงลาง Zeang pong lang เซิ้งโปงลาง เซิ้งโปงลาง เป็นการแสดงของชาวไทยภาคอีสาน นิยมเล่นกันมากในจังหวัดกาฬสินธุ์ หรือที่นิยมเรียกกันว่า (กาฬสินธุ์ถิ่นโปงลาง) การแสดงจะมีทั้งหญิงและชาย ใช้ท่ารำที่ประดิษฐ์ขึ้นตามทำนองเพลง อันเกิดจากความบันดาลใจ ด้วยลีลาแคล่วคล่องว่องไว ใช้ดนตรีโปงลาง ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ร้อยต่อกันเหมือนระนาดแต่ใหญ่กว่า ใช้ผู้ตีสองคน คนตีคลอเสียงประสาน เรียกว่า ตีลูกเสิฟ และอีกคนตีเป็นทำนอง เรียกว่า ตีลูกเสพ มีจังหวะที่เร้าใจและสนุกสนาน เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของศิลปวัฒนธรรมของภาคอีสาน เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง ๑. โปงลาง ๒. แคน ๓. พิณ ๔. ซ่อ ๕. ฉาบ ๖. ฉิ่ง ๗. กลอง ข้อมูลอ้างอิง www.youtube.com/watch?v=7nm2SbVVJh4 http://www.banramthai.com/html/surngponglang.html
เซิ้งบั้งไฟ Zeang bung fai และประวัติความเป็นมา
เซิ้งบั้งไฟ และความประวัติเป็นมา การแสดงโปงลาง เซิ้งบั้งไฟ Zeang bung fai ของภาคอีสาน ประเพณีอีสานมีความสำคัญต่อชีวิตของชาวอีสาน ซึ่งมีฮีต 12 คลอง 14 เป็นหลักในการดำเนินชีวิต บุญบั้งไฟหรือบุญเดือนหกเป็นประเณีที่มีส่วนในการสร้างเสริมกำลังใจแก่ชาว บ้าน และเป็นการเตรียมพร้อมในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งเป็นอาชีพหลักของชาวอีสาน จุดประสงค์ใหญ่ของการมีงานบุญบั้งไฟ ก็เพื่อขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล จะได้ใช้น้ำในการทำนา เพื่อให้พืชพันธุ์ธัญญาหารมีความอุดมสมบูรณ์ การจุดบั้งไฟโดยมีความเชื่อว่า * การจุดบั้งไฟเพื่อบูชาพระยาแถน เพื่อบอกกล่าวให้ท่านดลบันดาลให้ฝนตกลงมาสู่โลกมนุษย์ตามนิทานพื้นบ้าน เรื่อง พญาคันคาก * จุด บั้งไฟเพื่อบูชาอารักมเหสักข์ หลักเมือง เพื่อขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล การจุดบั้งไฟทุกครั้งโดยเฉพาะในจังหวัดยโสธรจะต้องมีการบอกกล่าว หรือคารวะเจ้าพ่อมเหสักข์หลักเมืองเสียก่อน * เพื่อเสี่ยงทาย ดินฟ้าอากาศและพืชพันธุ์ธัญญาหารว่าในปีนั้นๆ จะเป็นอย่างไร เช่น ถ้าบั้งไฟขึ้นสูงก็ทำนายว่าปีนี้ฝนฟ้าจะตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ การเซิ้งบั้งไฟเป้นการฟ้อนประกอบการขับกาพย์ กาพย์เซิ้งบั้งไฟมีทั้งกาพย์เซิ้งเล่านิทานหรือตำนาน เช่น ตำนานผาแดงนางไอ่ ตำนานพญาคันคาก หรือเล่านิทานท้องถิ่น เช่น นิทานเรื่องก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ และกาพย์เซิ้งประเภทคำสอน เช่น กาพย์เซิ้งพระมุณี นอกจากนี้ยังมีกาพย์เซิ้งขอบริจาคจตุปัจจัย กาพย์เซิ้งอวยพร… Continue reading เซิ้งบั้งไฟ Zeang bung fai และประวัติความเป็นมา